พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8258/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาใช้ไฟฟ้าและหน้าที่ชำระค่าบริการ แม้เกิดความผิดพลาดจากผู้ให้บริการ
จำเลยเป็นผู้ขอใช้กระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงโจทก์และสัญญาว่าจะชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไปตามข้อบังคับจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่ใช้จริงเต็มจำนวนแม้การต่อสายไฟฟ้าสลับขั้วผิดพลาดจะเกิดจากการกระทำของพนักงานของโจทก์เองโดยจำเลยมิได้มีส่วนผิดพลาดด้วยก็ตามโจทก์ก็สามารถเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยใช้ไปตามความเป็นจริงได้ตามข้อบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7825/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันแยกจากลูกหนี้ตามสัญญาจ้าง แม้มีข้อตกลงชำระเงินแทนทันที
จำเลยที่3มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นตามสัญญาจ้างคงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันเท่านั้นแม้จะมีข้อกำหนดในหนังสือสัญญาค้ำประกันว่าจำเลยที่3ยอมชำระเงินแทนให้โจทก์ทันทีโดยโจทก์ไม่จำต้องเรียกร้องให้จำเลยที่1ชำระก่อนก็ไม่ทำให้จำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาจ้างและไม่ทำให้จำเลยที่1กลายเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่3โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่1และที่2รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7825/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันไม่เปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาจ้าง แม้ตกลงชำระหนี้แทน
จำเลยที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นตามสัญญาจ้าง คงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันเท่านั้น แม้จะมีข้อกำหนดในหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า จำเลยที่ 3 ยอมชำระเงินแทนให้โจทก์ทันทีโดยโจทก์ไม่จำต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาจ้าง และไม่ทำให้จำเลยที่ 1 กลายเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7577/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีเงินบริจาคเพื่อจัดตั้งมูลนิธิยังไม่จดทะเบียน
โจทก์เป็นประธานกรรมการและเลขานุการจัดตั้งมูลนิธิ น.พระครู ส.ในฐานะเจ้าอาวาสวัดจำเลยได้ยืมเงินจำนวน 150,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ น.ไปจากโจทก์ ดังนี้ แม้มูลนิธิ น.จะยังไม่ได้จดทะเบียนก่อตั้งให้สมบูรณ์ และเงินที่พระครู ส.ขอยืมไปเป็นเงินที่ได้รับบริจาคเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ น. มิใช่เงินของโจทก์ก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของโจทก์ หากมูลนิธิ น.ได้จดทะเบียนก่อตั้งสมบูรณ์ตามกฎหมายโจทก์มีหน้าที่จะต้องส่งมอบคืนให้แก่มูลนิธิ น. ดังนั้นเมื่อโจทก์ต้องรับผิดชอบชดใช้เงินคืน ทั้งได้ทวงถามแล้ว พระครู ส.ไม่ยอมชดใช้ ย่อมเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ ถือว่าโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7335/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกัน โดยไม่ได้ใช้เป็นเครื่องหมายการค้า ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"ซีแพค" เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่าCAPAC มิได้ใช้ชื่อซีแพคเป็นนามบุคคลหรือนิติบุคคลส่วนจำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดชื่อบริษัทซีแพค จำกัดหรือเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่าบริษัทSEAPACกรณีจึงไม่ใช่จำเลยใช้นามเดียวกันกับโจทก์โดยมิได้รับอำนาจเพราะคำว่าซีแพคไม่ใช่นามของโจทก์ทั้งชื่อของจำเลยที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษก็แตกต่างจากชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และไม่ปรากฎว่าการใช้นามของจำเลยทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบกับจำเลยไม่ได้นำชื่อเครื่องหมายการค้าคำว่าซีแพคไปใช้เป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยการที่จำเลยนำเอาชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาเป็นชื่อของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7335/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อบริษัทคล้ายเครื่องหมายการค้า: ไม่เป็นการละเมิดหากไม่ทำให้เสียประโยชน์และไม่ใช่การใช้เป็นเครื่องหมายการค้า
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "ซีแพค" เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า CPAC มิได้ใช้ชื่อซีแพคเป็นนามบุคคลหรือนิติบุคคล ส่วนจำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดชื่อบริษัทซีแพค จำกัด หรือเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า บริษัท SEAPAC กรณีจึงไม่ใช่จำเลยใช้นามเดียวกันกับโจทก์โดยมิได้รับอำนาจ เพราะคำว่าซีแพคไม่ใช่นามของโจทก์ ทั้งชื่อของจำเลยที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษก็แตกต่างจากชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และไม่ปรากฏว่าการใช้นามของจำเลยทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ ประกอบกับจำเลยไม่ได้นำชื่อเครื่องหมายการค้าคำว่าซีแพคไปใช้เป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลย การที่จำเลยนำเอาชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาเป็นชื่อของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ไม่มีเหตุที่จะห้ามจำเลยใช้นามของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7327/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระเงินมัดจำล่าช้าและการบอกเลิกสัญญาซื้อขายบ้าน จำเลยมิอาจอ้างเหตุผลทางเศรษฐกิจเพื่อบอกเลิกสัญญาได้
ตามสัญญาจะซื้อจะขายกำหนดไว้ว่าโจทก์จะต้องชำระเงินมัดจำภายในวันที่ 10 ของทุกเดือนรวม 10 งวด ถ้าไม่ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนี้ แม้ว่าโจทก์ชำระเงินมัดจำงวดที่ 8 เมื่อวันที่ 13กุมภาพันธ์ 2533 และชำระเงินมัดจำงวดที่ 9 วันที่ 12 มีนาคม 2533 แต่จำเลยที่ 1 ก็รับไว้ โดยไม่ได้โต้แย้งแต่ประการใด และในงวดที่ 10 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายจำเลยที่ 1 ก็ได้รับจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว เห็นได้ว่าโจทก์ชำระช้าไปเพียงเล็กน้อยและปรากฏว่าวันที่ 10 และ 11 มีนาคม 2533 ตรงกับวันเสาร์และวันอาทิตย์อีกด้วยการที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ทักท้วงก็แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามิได้ถือกำหนดระยะเวลาชำระเงินเป็นสาระสำคัญ นอกจากนี้การบอกเลิกสัญญาจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้อ้างว่าโจทก์ชำระเงินไม่ตรงตามงวดเป็นการผิดสัญญาแต่อย่างใด แต่อ้างเหตุผลในการบอกเลิกสัญญาว่าจำเลยที่ 1 ประสบกับภาวะขาดทุนเนื่องจากวัสดุก่อสร้างและค่าแรงสูงขึ้น ซึ่งข้ออ้างดังกล่าวไม่ใช่เหตุที่จำเลยที่ 1 จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ การที่โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างบ้านให้โจทก์ตามสัญญาถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7325/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างตึกแถวผิดแบบ เว้นที่ว่างด้านหลังไม่เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
ตึกแถวที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตโดยด้านหลังตึกแถวสร้างชิดเขตที่ดินแม้จะไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ75เพราะเป็นผนังทึบแต่อาคารที่จำเลยครอบครองเป็นตึกแถวจึงอยู่ในบังคับของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ76ที่จะต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า2.00เมตรจึงไม่อาจสร้างให้ด้านหลังชิดเขตที่ดินติดต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7325/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการก่อสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน: ตึกแถวต้องมีทางเดินหลัง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522 ข้อ 75 มีความว่า อาคารที่ปลูกชิดเขตที่ดินต่างผู้ครอบครอง อนุญาตให้เฉพาะฝาหรือผนังทึบไม่มีประตูหน้าต่างและช่องระบายอากาศอยู่ชิดเขตได้พอดีแม้อาคารที่จำเลยครอบครองจะไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 75 ดังกล่าว แต่อาคารที่จำเลยครอบครองเป็นตึกแถวจึงอยู่ในบังคับของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 ซึ่งมีความว่า อาคารประเภทต่าง ๆจะต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมไม่น้อยกว่าส่วนที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้...(4) ห้องแถว ตึกแถว...จะต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร อาคารที่จำเลยครอบครองจึงไม่อาจสร้างให้ด้านหลังชิดเขตที่ดินติดต่อได้ตามข้อบัญญัติกรุงเทพ-มหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี การต่ออายุโดยปริยาย และผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การว่าได้ชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 524,396.24 บาท แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาว่าได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนด12 เดือน โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาตามสัญญาหากไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐาน ให้ถือว่าได้มีการตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน ดังนั้นเมื่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด12 เดือนแล้ว โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ตกลงต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกก็ตาม ทั้งไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง จึงถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวมีการต่ออายุสัญญาไปอีก 6 เดือน ตามที่ได้ตกลงกันไว้โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นระหว่างระยะเวลา 6 เดือนต่อมา
โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนด12 เดือน โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาตามสัญญาหากไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐาน ให้ถือว่าได้มีการตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน ดังนั้นเมื่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด12 เดือนแล้ว โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ตกลงต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกก็ตาม ทั้งไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง จึงถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวมีการต่ออายุสัญญาไปอีก 6 เดือน ตามที่ได้ตกลงกันไว้โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นระหว่างระยะเวลา 6 เดือนต่อมา