พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่ออายุอัตโนมัติหากไม่มีการบอกเลิก & สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยที่1มิได้ให้การว่าได้ชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน524,396.24บาทแก่โจทก์ส่วนจำเลยที่2ขาดนัดยื่นคำให้การดังนั้นจำเลยที่2ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาว่าได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วฎีกาของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์และจำเลยที่1ตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนด12เดือนโดยมีข้อตกลงว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาตามสัญญาหากไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานให้ถือว่าได้มีการตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาต่อไปอีกคราวละ6เดือนดังนั้นเมื่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด12เดือนแล้วโดยโจทก์และจำเลยที่1มิได้ตกลงต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกก็ตามทั้งไม่ปรากฎว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่งจึงถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวมีการต่ออายุสัญญาไปอีก6เดือนตามที่ได้ตกลงกันไว้โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นระหว่างระยะเวลา6เดือนต่อมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7190/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี: นับจากคำพิพากษาศาลฎีกา ไม่ใช่อายุความตาม ป.พ.พ.
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 271 มิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลใดก็ตาม แต่เมื่อมีการอุทธรณ์หรือฎีกา ผลของคำพิพากษาอาจจะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้ แล้วแต่กรณี ดังนั้น กรณีที่มีการฎีกา ระยะเวลาการบังคับคดีก็ต้องนับจากวันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา แม้ในชั้นฎีกาจำเลยไม่ได้ขอทุเลาการบังคับคดีและโจทก์มีสิทธิขอบังคับคดีได้ ก็เป็นคนละเรื่องกับกำหนดเวลาในการบังคับคดี
กำหนดเวลาในการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. กำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความไม่อาจนำเรื่องการเริ่มนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 มาใช้บังคับได้
กำหนดเวลาในการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. กำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความไม่อาจนำเรื่องการเริ่มนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7190/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดีตามคำพิพากษาเริ่มนับจากวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ไม่ใช่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271มิได้กล่าวได้โดยแจ้งว่า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลใด แต่เมื่อมีการอุทธรณ์หรือฎีกา ผลของคำพิพากษาอาจจะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือพิพากษาได้แล้วแต่กรณี กรณีที่มีการฎีการะยะเวลาการบังคับคดีก็ต้องนับจากวันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา แม้ในชั้นฎีกาจำเลยไม่ได้ขอทุเลาการบังคับคดีและโจทก์มีสิทธิขอบังคับคดีได้ก็เป็นคนละเรื่องกับกำหนดเวลาในการบังคับคดี กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดี แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดระยะเวลาดังกล่าว จึงไม่ใช่อายุความ ไม่อาจนำเรื่องการเริ่มนับอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7190/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี: เริ่มนับจากคำพิพากษาศาลฎีกา แม้ไม่มีการขอทุเลา
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271มิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน10ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลใดก็ตามแต่เมื่อมีการอุทธรณ์หรือฎีกาผลของคำพิพากษาอาจจะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้แล้วแต่กรณีดังนั้นกรณีที่มีการฎีการะยะเวลาการบังคับคดีก็ต้องนับจากวันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแม้ในชั้นฎีกาจำเลยไม่ได้ขอทุเลาการบังคับคดีและโจทก์มีสิทธิขอบังคับคดีได้ก็เป็นคนละเรื่องกับกำหนดเวลาในการบังคับคดี กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความไม่อาจนำเรื่องการเริ่มนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/12มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6938/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดอำนาจฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
เมื่อ คชก.ตำบลมิได้วินิจฉัยในข้อที่โจทก์ร้องขอ แทนที่โจทก์จะดำเนินการตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 56 วรรรคหนึ่ง โดยการอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด ในข้อที่ คชก.ตำบลมิได้พิจารณาวินิจฉัยตามที่โจทก์ร้องขอ แต่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีเสียเองโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลและการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่: การระบุความเสียหายและผู้มีสิทธิเรียกร้อง
กรมทะเบียนการค้าโจทก์ที่ 1 กรมการค้าภายในโจทก์ที่ 2และสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์โจทก์ที่ 3 ต่างมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันตามกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะมอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์เป็นผู้เก็บเงินค่าธรรมเนียมก็ตาม สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ก็เป็นเพียงตัวแทนของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น เมื่อเงินตามคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปนั้นเป็นเงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนอันเป็นรายได้ของโจทก์ที่ 1 และเงินค่าธรรมเนียมรายได้เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ อันเป็นรายได้ของโจทก์ที่ 2 มิใช่เงินค่าธรรมเนียมรายได้ของโจทก์ที่ 3 หรือเงินค่าธรรมเนียมรายได้ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ ที่โจทก์ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชาควบคุมและดูแลอยู่ โจทก์ที่ 3 จึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ที่ 3 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานทะเบียนการค้ามีหน้าที่รับจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยที่ 5 คงรับเฉพาะเงินค่าธรรมเนียมจากผู้ที่มาขอจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วนำไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่การเงินเท่านั้น หาใช่เป็นเจ้าหน้าที่การเงินที่ได้รับมอบเงินค่าธรรมเนียมแล้วนำไปส่งคลังจังหวัดไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 รับเงินค่าธรรมเนียมแล้วมอบเงินนั้นให้จำเลยที่ 1 นำไปส่งคลังจังหวัด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานทะเบียนการค้ามีหน้าที่รับจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยที่ 5 คงรับเฉพาะเงินค่าธรรมเนียมจากผู้ที่มาขอจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วนำไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่การเงินเท่านั้น หาใช่เป็นเจ้าหน้าที่การเงินที่ได้รับมอบเงินค่าธรรมเนียมแล้วนำไปส่งคลังจังหวัดไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 รับเงินค่าธรรมเนียมแล้วมอบเงินนั้นให้จำเลยที่ 1 นำไปส่งคลังจังหวัด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 3 และความรับผิดของจำเลยที่ 5 ในคดีละเมิดจากการยักยอกเงินรายได้แผ่นดิน
กรมทะเบียนการค้าโจทก์ที่ 1 กรมการค้าภายในโจทก์ที่ 2และสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์โจทก์ที่ 3 ต่างมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันตามกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2จะมอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์เป็นผู้เก็บเงินค่าธรรมเนียมก็ตาม สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ก็เป็นเพียงตัวแทนของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น เมื่อเงินตามคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปนั้นเป็นเงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนอันเป็นรายได้ของโจทก์ที่ 1 และเงินค่าธรรมเนียมรายได้เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ อันเป็นรายได้ของโจทก์ที่ 2 มิใช่เงินค่าธรรมเนียมรายได้ของโจทก์ที่ 3 หรือเงินค่าธรรมเนียมรายได้ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ ที่โจทก์ที่ 3เป็นผู้บังคับบัญชาควบคุมและดูแลอยู่ โจทก์ที่ 3 จึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ที่ 3 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานทะเบียนการค้ามีหน้าที่รับจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยที่ 5 คงรับเฉพาะเงินค่าธรรมเนียมจากผู้ที่มาขอจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วนำไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่การเงินเท่านั้นหาใช่เป็นเจ้าหน้าที่การเงินที่ได้รับมอบเงินค่าธรรมเนียมแล้วนำไปส่งคลังจังหวัดไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 รับเงินค่าธรรมเนียมแล้วมอบเงินนั้นให้จำเลยที่ 1 นำไปส่งคลังจังหวัด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อห้ามโอนอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน จึงมีผลบังคับใช้
โจทก์ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา โดยมีข้อตกลงด้วยวาจาว่าห้ามมิให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขาย ต่อมาจำเลยที่ 1ได้ขายที่ดินพิพาทจำนวน 1,000 ส่วนใน 1,064 ส่วน ให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคา500,000 บาท โดยจดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจำนวนดังกล่าวดังนี้ เมื่อข้อห้ามโอนดังกล่าวเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ แต่โจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งมิได้กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นในเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอนไว้ ข้อห้ามโอนดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 1700 และ 1702 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อกำหนดห้ามโอนอสังหาริมทรัพย์ต้องทำหนังสือจดทะเบียน มิเช่นนั้นเป็นโมฆะ
โจทก์ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่1โดยเสน่หาโดยมีข้อตกลงด้วยวาจาว่าห้ามมิให้จำเลยที่1นำที่ดินพิพาทไปขายต่อมาจำเลยที่1ได้ขายที่ดินพิพาทจำนวน1,000ส่วนใน1,064ส่วนให้แก่จำเลยที่2ในราคา500,000บาทโดยจดทะเบียนให้จำเลยที่2มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจำนวนดังกล่าวดังนี้เมื่อข้อห้ามโอนดังกล่าวเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์แต่โจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่รวมทั้งมิได้กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นในเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอนไว้ข้อห้ามโอนดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1700และ1702จำเลยที่1จึงมีอำนาจขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 และผลของกฎหมายใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ที่แก้ไขใหม่โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่12)พ.ศ.2534ได้บัญญัติไว้ในมาตรา2ว่าให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด60วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่27สิงหาคม2534ดังนั้นจึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่27ตุลาคม2534เป็นต้นไปการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่27ตุลาคม2534เป็นต้นไปจึงต้องอยู่ภายใช้บังคับของมาตรา224ที่แก้ไขใหม่ด้วยแม้การยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นจะได้ยื่นก่อนที่กฎหมายใหม่จะมีผลบังคับก็หาใช่สาระสำคัญไม่ทั้งการนำกฎหมายวิธีพิจารณาความมาใช้บังคับไม่ใช่กรณีลงโทษทางอาญาจึงไม่ต้องนำหลักกฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลังมาใช้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทเพื่อให้จำเลยที่2โอนที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลยที่1หรือโจทก์ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ด้วยนั่นเองซึ่งถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้ที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ทั้งกรณีตามคำฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวแต่อย่างใดคดีโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง