คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยรรยง ปานุราช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องมีนิติสัมพันธ์กับทรัพย์สินพิพาท การเป็นผู้รับจ้างตัดไม้ไม่อาจเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในไม้ได้
โจทก์เป็นผู้รับจ้างตัดและขนไม้ให้ ย. ผู้รับสัมปทานเมื่อไม้ถูกยึดแม้โจทก์จะเสียค่าใช้จ่ายในการตัดไม้นั้นก็ถือไม่ได้ว่าไม้ที่ตัดเป็นของโจทก์เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้รับสัมปทานทั้งไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับจำเลยโจทก์จึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิและไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในไม้ตัดจากการจ้างช่วง: ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับผู้รับสัมปทาน ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าไม้
โจทก์เป็นผู้เช่ากิจการบริษัทโรงเลื่อยจักร บ. จำกัด ซึ่งรับจ้างตัดและขนไม้ให้แก่บริษัท ย. จำกัด ผู้รับสัมปทานทำไม้จากจำเลย โจทก์มีพันธะที่จะต้องปฏิบัติต่อบริษัท ย. จำกัด ผู้รับสัมปทานตามสัญญาจ้างเท่านั้น ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยทั้งสอง แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการตัดไม้ของกลาง และมีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลฎีกาไม่ริบไม้ของกลาง ก็จะถือว่าไม้ของกลางเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หาได้ไม่ โจทก์จึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระเงินค่าขายไม้ของกลางให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องมีนิติสัมพันธ์กับไม้พิพาท แม้มีค่าใช้จ่ายและคำพิพากษาไม่ริบไม้ก็ไม่ทำให้เป็นเจ้าของได้
โจทก์เป็นผู้เช่ากิจการบริษัทโรงเลื่อยจักร บ. จำกัดซึ่งรับจ้างตัดและขนไม้ให้แก่บริษัท ย. จำกัดผู้รับสัมปทานทำไม้จากจำเลยโจทก์มีพันธะที่จะต้องปฏิบัติต่อบริษัท ย. จำกัดผู้รับสัมปทานตามสัญญาจ้างเท่านั้นไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับจำเลยทั้งสองแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการตัดไม้ของกลางและมีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลฎีกาไม่ริบไม้ของกลางก็จะถือว่าไม้ของกลางเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หาได้ไม่โจทก์จึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระเงินค่าขายไม้ของกลางให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้างชำระหนี้ซื้อขาย: การคำนวณดอกเบี้ยและอายุความ
จำเลยเป็นหนี้เงินโจทก์ค่าซื้อปุ๋ยตามฟ้องแต่เมื่อไม่ปรากฎตามสัญญาและหนังสือขอซื้อปุ๋ยเชื่อว่าในกรณีที่จำเลยค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยส่วนใดส่วนหนึ่งโจทก์ผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระแล้วดอกเบี้ยซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยเพราะเหตุที่จำเลยค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยจำนวน11,900บาทนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรกจึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166(เดิม)หากเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดทดแทนค่าเสียหายภายหลังเมื่อศาลพิพากษาคดีอันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164(เดิม)ซึ่งมีกำหนด10ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้างชำระหนี้ซื้อขาย: อายุความ 10 ปี มิใช่ 5 ปี หากเป็นดอกเบี้ยทดแทนค่าเสียหาย
เงินที่จำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ค่าซื้อปุ๋ยตามฟ้องเมื่อไม่ปรากฏตามสัญญาและหนังสือขอซื้อปุ๋ยเชื่อว่าในกรณีที่จำเลยที่1ค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยส่วนใดส่วนหนึ่งโจทก์ในฐานะผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระดังนั้นดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่1เพราะเหตุที่จำเลยที่1ค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยนับแต่วันที่จำเลยที่1ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224จึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166(เดิม)หากแต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดทดแทนค่าเสียหายภายหลังเมื่อศาลพิพากษาคดีอันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนด10ปีตามมาตรา164เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากหนี้ค่าปุ๋ย: อายุความและประเภทดอกเบี้ย
จำเลยเป็นหนี้เงินโจทก์ค่าซื้อปุ๋ยตามฟ้อง แต่เมื่อไม่ปรากฎตามสัญญา และหนังสือขอซื้อปุ๋ยเชื่อว่า ในกรณีที่จำเลยค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยส่วนใดส่วนหนึ่ง โจทก์ผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระแล้ว ดอกเบี้ยซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลย เพราะเหตุที่จำเลยค้างชำระหนึ้ค่าปุ๋ยจำนวน11,900 บาท นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา224 วรรคแรก จึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตาม มาตรา 166 (เดิม) หากเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดทดแทนค่าเสียหายภายหลังเมื่อศาลพิพากษาคดีอันไม่มีกฎหมาย-บัญญัติอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 (เดิม) ซึ่งมีกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 130/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการเวนคืน แม้มีการประกาศโฆษณาพระราชกฤษฎีกาแล้ว โจทก์ยังคงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนที่เหมาะสม
แม้มีการประกาศโฆษณาพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงพิเศษสายพระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน-บางบัวทองตอนพระประแดง-บางแค-ตลิ่งชันพ.ศ.2523ในราชกิจจานุเบกษาแต่ก็มีผลเพียงให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายมีอำนาจดำเนินการแก่ที่ดินที่อยู่ในแนวทางหลวงดังกล่าวตามป.ว.ฉบับที่295ข้อ65(1)ถึง(4)หามีผลเป็นการห้ามโอนที่ดินดังกล่าวเป็นการเด็ดขาดไม่เมื่อโจทก์รับโอนที่ดินดังกล่าวมาโดยชอบย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเมื่อเงินค่าทดแทนยังไม่เหมาะสมและเป็นธรรมโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1ให้รับผิดชำระส่วนที่ยังขาดอยู่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติ: สิทธิการครอบครองเหนือระยะเวลาฟ้องแย่งการครอบครอง
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันจำเลยและจำเลยร่วมไม่มีสิทธิยกเอาระยะเวลาฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน1ปีตามป.พ.พ.มาตรา1375ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ยึดถือครอบครองอยู่ก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการอุทธรณ์ค่าทดแทนทำให้ขาดสิทธิฟ้องร้อง
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 และมาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไป ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์คือดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กรณีของโจทก์ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 พ.ศ. 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าตอบแทนที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนั้นการดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ซึ่งตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนการเวนคืนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาภายใน 60 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือให้มารับเงินค่าทดแทน และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ แต่เมื่อจำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่จะถูกเวนคืนให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2531 โดยไม่ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ก็ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิอุทธรณ์ค่าทดแทนและการฟ้องคดีหลังรับเงินแล้ว
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 และมาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพ.ร.บ.นี้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไป ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ คือดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 กรณีของโจทก์ขณะที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตาม พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนั้นการดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนการเวนคืนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ. ภายใน 60 วันนับแต่วันได้รับหนังสือให้มารับเงินค่าทดแทน และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ แต่เมื่อจำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่จะถูกเวนคืนให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ได้รับเงินดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม2531 โดยไม่ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ก็ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
of 52