คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยรรยง ปานุราช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินต้องเป็นธรรม พิจารณาสภาพที่ดิน, ที่ตั้ง, และประโยชน์ที่ได้รับ
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยองจังหวัดระยอง พ.ศ. 2527 มาตรา 5 บัญญัติ ให้จำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ โดยนอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย และตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 6 กำหนดให้จำเลยมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย จำเลยย่อมได้รับผลประโยชน์จากที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย เมื่อจำเลยได้รับที่ดินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรจะต้องใช้ค่าทดแทนราคาให้แก่โจทก์ตามราคาของ ที่ดินของโจทก์ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ จึงถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม ที่ดินพิพาทของโจทก์ด้านหนึ่งติดทะเล อีกด้านหนึ่งติดถนนซอยสาธารณะ โจทก์ได้ปรับปรุงที่ดินทั้งแปลงให้มีสภาพที่ดีขึ้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยทั้งที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา ไม่มากจนถึงกับมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดราคาให้แตกต่างกันเป็นส่วน ๆ ลดหลั่นลงไปตามหน่วยที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอำเภอเมืองระยอง ปี 2525-2527 การกำหนดค่าทดแทนที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลงเท่ากับราคาที่กำหนดไว้ตามบัญชีกำหนดราคา ฯ ในส่วนที่ดินนอกเขตสุขาภิบาลฝั่งทิศใต้ถนนสุขุมวิท บริเวณชายทะเลห่างจากทะเลหรือถนนริมทะเลรัศมี 100 เมตร จึงชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุดอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ. 2527

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาที่เป็นธรรมต้องพิจารณาสภาพที่ดิน, ที่ตั้ง, และวัตถุประสงค์การเวนคืน
พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527 มาตรา 5 บัญญัติให้จำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ โดยนอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย และตาม พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มาตรา 6กำหนดให้จำเลยมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย จำเลยย่อมได้รับผลประโยชน์จากที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย เมื่อจำเลยได้รับที่ดินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรจะต้องใช้ค่าทดแทนราคาให้แก่โจทก์ตามราคาของที่ดินของโจทก์ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ จึงถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม
ที่ดินพิพาทของโจทก์ด้านหนึ่งติดทะเล อีกด้านหนึ่งติดถนนซอยสาธารณะ โจทก์ได้ปรับปรุงที่ดินทั้งแปลงให้มีสภาพที่ดีขึ้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยทั้งที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา ไม่มากจนถึงกับมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดราคาให้แตกต่างกันเป็นส่วน ๆ ลดหลั่นลงไปตามหน่วยที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อำเภอเมืองระยอง ปี 2525 -2527 การกำหนดค่าทดแทนที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลงเท่ากับราคาที่กำหนดไว้ตามบัญชีกำหนดราคา ฯ ในส่วนที่ดินนอกเขตสุขาภิบาลฝั่งทิศใต้ถนนสุขุมวิท บริเวณชายทะเลห่างจากทะเลหรือถนนริมทะเลรัศมี 100 เมตร จึงชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้องกันเกินสมควร: การตอบโต้รุนแรงเกินเหตุหลังถูกทำร้าย
แม้จำเลยจะเป็นหญิงรูปร่างเล็กกว่าผู้ตายมากก็ตาม แต่ผู้ตายเพียงแต่ใช้ไม้ไผ่ตีทำร้ายจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยยิงผู้ตายถึง 4 นัด และกระสุนปืนถูกผู้ตาย 2 นัด ที่บริเวณหน้าท้องอันเป็นอวัยวะสำคัญเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นการกระทำโต้ตอบรุนแรงเกินสมควร การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ: การใช้กำลังตอบโต้เกินกว่าเหตุที่ถูกทำร้าย
แม้จำเลยจะเป็นหญิงรูปร่างเล็กกว่าผู้ตายมากก็ตาม แต่ผู้ตายเพียงแต่ใช้ไม้ไผ่ตีทำร้ายจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยยิงผู้ตายถึง4 นัด และกระสุนปืนถูกผู้ตาย 2 นัด ที่บริเวณหน้าท้องอันเป็นอวัยวะสำคัญเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นการกระทำโต้ตอบรุนแรงเกินสมควร การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจอนุญาตถอนฟ้อง: ศาลพิจารณาจากข้อได้เสียของคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น
แม้จำเลยคัดค้านไม่ยอมให้โจทก์ถอนฟ้องก็ตาม แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล คดีนี้จำเลยต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยไม่ผิดสัญญา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้จำเลยฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์คืน น.ส.3 ก. ที่โจทก์ยึดไว้และยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องก็ตาม เมื่อคดียังไม่มีการสืบพยานของคู่ความทั้งสองฝ่ายและยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว หากศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนี้ไป ก็หาทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบแต่อย่างใดไม่ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงตกไป ทำให้จำเลยต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความตั้งประเด็นฟ้องเป็นคดีใหม่อีกคดีหนึ่งต่างหากนั้น เห็นว่า การใช้ดุลพินิจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้น ศาลจะคำนึงถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคดีในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น ไม่ต้องคำนึงในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้งแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลอนุญาตถอนฟ้อง: คำนึงเฉพาะข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคำฟ้องและคำให้การ ไม่ต้องคำนึงถึงฟ้องแย้ง
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลโดยศาลจะคำนึงถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคดีในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น ไม่ต้องคำนึงในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจอนุญาตถอนฟ้อง: ศาลพิจารณาเฉพาะข้อได้เปรียบเสียเปรียบจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ต้องคำนึงถึงฟ้องแย้ง
แม้จำเลยคัดค้านไม่ยอมให้โจทก์ถอนฟ้องก็ตาม แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล คดีนี้จำเลยต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ผิดสัญญา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้จำเลยฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์คืน น.ส.3 ก. ที่โจทก์ยึดไว้และยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องก็ตาม เมื่อคดียังไม่มีการสืบพยานของคู่ความทั้งสองฝ่ายและยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวหากศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนี้ไป ก็หาทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบแต่อย่างใดไม่ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงตกไป ทำให้จำเลยต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความตั้งประเด็นฟ้องเป็นคดีใหม่อีกคดีหนึ่งต่างหากนั้น เห็นว่า การใช้ดุลพินิจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้น ศาลจะคำนึงถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคดีในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น ไม่ต้องคำนึงในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้งแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6248/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายมีผลเมื่อมีเจตนาทำสัญญา หากรับของเพื่อทดลองใช้ก่อนยังไม่ถือเป็นการซื้อขาย
จำเลยทั้งสองได้ให้การไว้แล้วว่า ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ จึงไม่มีหนี้ซึ่งจะต้องชำระให้แก่โจทก์ ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญาซื้อขายตามที่โจทก์อ้างหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า จำเลยที่ 2 รับของไปจากโจทก์เพื่อทดลองใช้ดูก่อนหากเป็นที่พอใจจะได้ตกลงทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันในภายหลังจึงเป็นการนำสืบและวินิจฉัยในประเด็นโดยตรงว่า จำเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญาซื้อขายตามที่โจทก์อ้างหรือไม่นั่นเอง กรณีหาใช่การรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6248/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นคู่สัญญาซื้อขาย: การนำสืบต้องตรงประเด็นข้อพิพาท
จำเลยทั้งสองได้ให้การไว้แล้วว่า ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ จึงไม่มีหนี้ซึ่งจะต้องชำระให้แก่โจทก์ ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญาซื้อขายตามที่โจทก์อ้างหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า จำเลยที่ 2 รับของไปจากโจทก์เพื่อทดลองใช้ดูก่อน หากเป็นที่พอใจจะได้ตกลงทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันในภายหลัง จึงเป็นการนำสืบและวินิจฉัยในประเด็นโดยตรงว่า จำเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญาซื้อขายตามที่โจทก์อ้างหรือไม่นั่นเอง กรณีหาใช่การรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6118/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและเรียกเก็บค่าบริการ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน
จำเลยได้ชักชวนผู้เสียหายกับพวกไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์โดยเรียกเงินค่าใช้จ่ายเป็นเงินในการดำเนินการจากพวกผู้เสียหายเป็นค่าตอบแทนแล้วจำเลยได้พาพวกผู้เสียหายเดินทางไปทำงานเป็นกรรมการก่อสร้างที่ประเทศสิงคโปร์ โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานไปทำงานต่างประเทศ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอันเป็นการจัดหางานตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4 แล้ว เพราะจำเลยรู้อยู่แล้วว่า จำเลยไม่มีใบอนุญาตให้จัดหางาน แต่จำเลยก็ดำเนินการต่าง ๆ เป็นการหางานให้พวกผู้เสียหายโดยมุ่งจะเอาค่าตอบแทนจากพวกผู้เสียหายเป็นรายบุคคล จึงมีความผิดข้อหานี้แล้ว
of 52