คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยรรยง ปานุราช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6046/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ชำระหนี้กองมรดก แม้ไม่ปรากฏทรัพย์มรดกเพียงพอในชั้นพิจารณา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายในหนี้เงินกู้ที่ผู้ตายกู้ไปจากโจทก์ เมื่อโจทก์นำสืบฟังได้ว่าผู้ตายค้างชำระหนี้เงินกู้โจทก์จริงก็เป็นการเพียงพอที่ศาลจะบังคับให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกและชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กองมรดก ต้องรับผิดชำระหนี้ของผู้ตายแก่โจทก์ โดยความรับผิดนั้นไม่เกินกองทรัพย์มรดกส่วนทรัพย์มรดกผู้ตายมีพอชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ เป็นเรื่องความรับผิดของกองทรัพย์มรดกอันเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี โจทก์ไม่จำต้องนำสืบปัญหาดังกล่าวในชั้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6004/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายภารจำยอม: ศาลพิจารณาความสะดวกของผู้ใช้ทางและผลกระทบต่อทรัพย์สินของผู้อื่น
ตามฎีกาของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ปรากฏว่าการย้ายภารจำยอมจากทางพิพาทเดิมไปยังที่ดินในโฉนดเลขที่ 24612ของจำเลยที่ 5 ทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลงประการใดบ้าง เพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ว่าการย้ายภารจำยอมดังกล่าวทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลงเท่านั้นและทางที่เปิดเป็นภารจำยอมขึ้นใหม่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 24612ก็ปรากฏว่าเป็นทางเชื่อมต่อกับที่ดินว่างเปล่าพื้นเทคอนกรีตในที่ดินโฉนดเลขที่ 1157 ของจำเลยที่ 1 ออกสู่ถนนโดยสะดวกทั้งจำเลยที่ 1 ก็ดำเนินการปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้ามาในทางพิพาทเดิมตั้งแต่ปี 2525 หากทางพิพาทเป็นทางที่โจทก์ที่ 2และที่ 3 ผ่านเข้าออกโดยสะดวกอยู่ก่อนแล้ว โจทก์ที่ 2 และที่ 3ก็น่าจะรีบดำเนินการฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำทางพิพาทในเวลาอันสมควร แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2ก็เพิ่งมาฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2527โดยมีโจทก์ที่ 3 ร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม และโจทก์ที่ 2และที่ 3 ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 5 ถึงที่ 10 มาเป็นจำเลยร่วมในภายหลังซึ่งเป็นเวลาหลังจากเริ่มทำการก่อสร้างตึกแถวนานถึง 2 ปี และเป็นเวลาหลังจากทำการก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งเป็นเวลาหลังจากโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10ไปแล้วอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าทางพิพาทที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ใช้ผ่านเข้าออกมาแต่เดิมนั้นไม่ใช่ทางที่ผ่านเข้าออกโดยสะดวกถือได้ว่าการย้ายภารจำยอมจากทางพิพาทเดิมไปยังที่ดินในโฉนดเลขที่ 24612 ของจำเลยที่ 5 ไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2และที่ 3 ลดน้อยลง นอกจากนี้ก็ปรากฏว่าตึกแถวที่รุกล้ำเข้ามาในทางพิพาทกว้างประมาณ 3 ถึง 4 เมตร จำนวนตึกแถวที่รุกล้ำเข้ามาก็มีถึง 12 คูหา ซึ่งเห็นได้ว่าหากมีการรื้อตึกแถวในส่วนที่รุกล้ำเข้ามาทุกคูหาย่อมเกิดความเสียหายมาก การย้ายภารจำยอมดังกล่าวจึงเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 และเป็นการเหมาะสมแก่พฤติการณ์อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6004/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายภาระจำยอมไม่กระทบสิทธิใช้ทางของโจทก์ และความล่าช้าในการฟ้องร้องแสดงว่าไม่ใช่ทางสะดวก
ตามฎีกาของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ปรากฏว่าการย้ายภาระจำยอมจากทางพิพาทเดิมไปยังที่ดินในโฉนดเลขที่ 24612 ของจำเลยที่ 5ทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลงประการใดบ้าง เพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ว่าการย้ายภาระจำยอมดังกล่าวทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลงเท่านั้น และทางที่เปิดเป็นภาระจำยอมขึ้นใหม่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 24612 ก็ปรากฏว่าเป็นทางเชื่อมต่อกับที่ดินว่างเปล่าพื้นเทคอนกรีตในที่ดินโฉนดเลขที่ 1157 ของจำเลยที่ 1 ออกสู่ถนนโดยสะดวก ทั้งจำเลยที่ 1ก็ดำเนินการปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้ามาในทางพิพาทเดิมตั้งแต่ปี 2525 หากทางพิพาทเป็นทางที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ผ่านเข้าออกโดยสะดวกอยู่ก่อนแล้วโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็น่าจะรีบดำเนินการฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำทางพิพาทในเวลาอันสมควร แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ก็เพิ่งมาฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2527 โดยมีโจทก์ที่ 3 ร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 5ถึงที่ 10 มาเป็นจำเลยร่วมในภายหลังซึ่งเป็นเวลาหลังจากเริ่มทำการก่อสร้างตึกแถวนานถึง 2 ปี และเป็นเวลาหลังจากทำการก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งเป็นเวลาหลังจากโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ไปแล้วอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าทางพิพาทที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ใช้ผ่านเข้าออกมาแต่เดิมนั้นไม่ใช่ทางที่ผ่านเข้าออกโดยสะดวก ถือได้ว่าการย้ายภาระจำยอมจากทางพิพาทเดิมไปยังที่ดินในโฉนดเลขที่ 24612 ของจำเลยที่ 5 ไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลง นอกจากนี้ก็ปรากฏว่าตึกแถวที่รุกล้ำเข้ามาในทางพิพาทกว้างประมาณ 3 ถึง 4 เมตร จำนวนตึกแถวที่รุกล้ำเข้ามาก็มีถึง 12 คูหา ซึ่งเห็นได้ว่าหากมีการรื้อตึกแถวในส่วนที่รุกล้ำเข้ามาทุกคูหาย่อมเกิดความเสียหายมากการย้ายภาระจำยอมดังกล่าวจึงเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 และเป็นการเหมาะสมแก่พฤติการณ์อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในการรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ยึด แม้ผู้จำนองไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานถึงกำหนดหนี้ตามสัญญาจำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ที่ว. และจำเลยทำไว้เป็นประกันหนี้ประธานดังกล่าว ย่อมถึงกำหนดเช่นกัน ทรัพย์ที่ว. และจำเลยสามีภริยามีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ได้จำนองไว้แก่ผู้ร้องเป็นประกันหนี้ของ ว. นั้น โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินชำระหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ แม้ ว. มิได้ถูกฟ้องหรือเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก็มีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองเติมจำนวนทั้งสองว.และจำเลยในฐานะเจ้าหนี้จำนองจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ประธานถึงกำหนด หนี้จำนองถึงกำหนดตาม, ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินจากการบังคับคดี
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานถึงกำหนดหนี้ตามสัญญาจำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ที่ ว.และจำเลยทำไว้เป็นประกันหนี้ประธานดังกล่าวย่อมถึงกำหนดเช่นกัน
ทรัพย์ที่ ว.และจำเลยสามีภริยามีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ได้จำนองไว้แก่ผู้ร้องเป็นประกันหนี้ของ ว.นั้น โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินชำระหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ แม้ ว.มิได้ถูกฟ้องหรือเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก็มีสิทธิดได้รับชำระหนี้จำนองเติมจำนวนทั้งสอง ว.และจำเลยในฐานะเจ้าหนี้จำนองจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 2 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5745/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่างตอบแทนและการรับโอนสิทธิหน้าที่จากสัญญาเดิม ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
การที่จำเลยออกเงินปลูกสร้างตึกแถวให้ ช. เจ้าของที่ดินเดิมและ ช. ให้จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนดเวลารวม 12 ปีเช่นนี้สัญญาเช่าตึกแถวเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่าง ช. กับจำเลยยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา แม้สัญญาเช่าดังกล่าวที่ทำกัน 4 ฉบับ ๆ ละ3 ปี โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งผูกพันจำเลยกับ ช. คู่สัญญา เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกรับโอนที่ดินและตึกแถวจาก ช. ได้รับทราบและตกลงยินยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น ซึ่งมีผลเป็นการตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทน ช. ผู้ให้เช่าเดิมต่อไป อันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งทำให้จำเลยในฐานะบุคคลภายนอกและเป็นผู้เช่าตึกแถวจาก ช. มีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ย่อมต้องผูกพันที่จะให้จำเลยเช่าต่อไปตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ เพราะในกรณีเช่นนี้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์จะอ้างว่าได้ที่ดินและตึกแถวโดยสุจริตหาได้ไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5745/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าตกทอดต่อบุคคลภายนอก: การรับทราบและตกลงยินยอมทำให้บุคคลภายนอกมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าเดิม
การที่จำเลยออกเงินปลูกสร้างตึกแถวให้ ช. เจ้าของที่ดินเดิมและ ช. ให้จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนดเวลารวม 12 ปี เช่นนี้สัญญาเช่าตึกแถวเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่าง ช. กับจำเลยยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา แม้สัญญาเช่าดังกล่าวที่ทำกัน 4 ฉบับ ๆ ละ 3 ปี โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งผูกพันจำเลยกับ ช. คู่สัญญา เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกรับโอนที่ดินและตึกแถวจาก ช. ได้รับทราบและตกลงยินยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น ซึ่งมีผลเป็นการตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทน ช. ผู้ให้เช่าเดิมต่อไป อันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งทำให้จำเลยในฐานะบุคคลภายนอกและเป็นผู้เช่าตึกแถวจาก ช. มีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์ย่อมต้องผูกพันที่จะให้จำเลยเช่าต่อไปตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ เพราะในกรณีเช่นนี้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์จะอ้างว่าได้ที่ดินและตึกแถวโดยสุจริตหาได้ไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5669/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย และผู้ดูแลไม่ได้หมดอำนาจปกครอง
การที่ขณะเกิดเหตุ ผู้เยาว์อายุ 16 ปีเศษอยู่ที่บ้านของผู้เสียหายซึ่งเป็นบิดาที่จังหวัดอุตรดิตถ์กับ อ. พี่ชายอายุ18 ปี ผู้เสียหายฝาก ด. ซึ่งเช่าบ้านอยู่ติดกันเป็นผู้ดูแลและให้เงินเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนผู้เสียหายไปทำงานที่กรุงเทพมหานครนั้นไม่ทำให้อำนาจปกครองของผู้เสียหายหมดไปผู้เยาว์ยังคงอยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหาย การที่ผู้เยาว์ออกจากบ้านไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายซึ่งเป็นบิดา แล้วจำเลยพาผู้เยาว์ไปค้างคืนที่บ้านจำเลยตลอดมาเพราะรักใคร่ชอบพอกันฉันชู้สาว โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ถือได้ว่า จำเลยพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดาเป็นการล่วงละเมิดต่ออำนาจปกครองของผู้เสียหายขณะเกิดเหตุ จำเลยอายุ 31 ปีมีภรรยาและบุตรแล้ว ไม่มีเจตนาจะเลี้ยงดูผู้เยาว์เป็นภริยา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5669/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารและความรับผิดทางอาญา
การที่ขณะเกิดเหตุ ผู้เยาว์อายุ 16 ปีเศษอยู่ที่บ้านของผู้เสียหายซึ่งเป็นบิดาที่จังหวัดอุตรดิตถ์กับ อ. พี่ชายอายุ 18 ปี ผู้เสียหายฝากด. ซึ่งเช่าบ้านอยู่ติดกันเป็นผู้ดูแลและให้เงินเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนผู้เสียหายไปทำงานที่กรุงเทพมหานครนั้น ไม่ทำให้อำนาจปกครองของผู้เสียหายหมดไปผู้เยาว์ยังคงอยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหาย
การที่ผู้เยาว์ออกจากบ้านไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายซึ่งเป็นบิดา แล้วจำเลยพาผู้เยาว์ไปค้างคืนที่บ้านจำเลยตลอดมาเพราะรักใคร่ชอบพอกันฉันชู้สาว โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ถือได้ว่า จำเลยพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดาเป็นการล่วงละเมิดต่ออำนาจปกครองของผู้เสียหายขณะเกิดเหตุ จำเลยอายุ 31 ปี มีภรรยาและบุตรแล้ว ไม่มีเจตนาจะเลี้ยงดูผู้เยาว์เป็นภริยา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5669/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: การกระทำความผิดทางอาญาต่อผู้เยาว์และการพิจารณาเหตุบรรเทาโทษ
ผู้เยาว์อายุ 16 ปีเศษ อยู่ที่บ้านของผู้เสียหายซึ่งเป็นบิดาที่ต่างจังหวัดกับพี่ชายซึ่งมีอายุ 18 ปี โดยผู้เสียหายฝาก ด.ซึ่งเช่าบ้านอยู่ติดกันเป็นผู้ดูแลและให้เงินเป็นค่าใช้จ่ายส่วนผู้เสียหายไปทำงานที่กรุงเทพมหานครไม่ทำให้อำนาจปกครองของผู้เสียหายหมดไป การที่ผู้เยาว์ออกจากบ้านไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย แล้วจำเลยพาผู้เยาว์ไปค้างคืนอยู่ที่บ้านจำเลยตลอดมาเพราะรักใคร่ชอบพอกันฉันชู้สาว ถือได้ว่าจำเลยพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดา ขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 31 ปี และมีภรรยากับบุตรแล้ว ไม่มีเจตนาจะเลี้ยงดูผู้เยาว์เป็นภริยา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก
of 52