คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยรรยง ปานุราช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความของผู้เสียหายในคดีอาญา ทำให้สิทธิการฟ้องคดีอาญาเป็นอันระงับ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 278 กระทงหนึ่ง ฐานร่วมกันกระทำผิดต่อเสรีภาพและฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง,310 วรรคแรก,83เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานกระทำผิดต่อเสรีภาพ ตามมาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดอีกกระทงหนึ่ง จำเลยฎีกา คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้เสียหายยื่นคำร้องมีข้อความว่าผู้เสียหายไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทุกข้อหา ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะความผิดตามมาตรา 278 และ 310 วรรคแรก ออกจากสารบบความคงมีปัญหาที่ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยเพียงว่า จำเลยกระทำผิดตามมาตรา 309 วรรคสอง หรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 309 วรรคแรก เท่านั้นซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้ และคดียังไม่ถึงที่สุดการที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องมีข้อความดังกล่าวนั้นถือได้ว่าเป็นการยอมความกันในความผิดที่ศาลฎีกาวินิจฉัยนี้ด้วย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) ศาลฎีกาต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีอาญาและการระงับการฟ้องร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 278 กระทงหนึ่ง ฐานร่วมกันกระทำผิดต่อเสรีภาพและฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพตาม ป.อ. มาตรา 309วรรคสอง, 310 วรรคแรก, 83 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานกระทำผิดต่อเสรีภาพ ตามมาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด อีกกระทงหนึ่ง จำเลยฎีกา คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้เสียหายยื่นคำร้องมีข้อความว่าผู้เสียหายไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทุกข้อหาศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะความผิดตามมาตรา 278 และ 310 วรรคแรกออกจากสารบบความ คงมีปัญหาที่ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยเพียงว่า จำเลยกระทำผิดตามมาตรา 309 วรรคสอง หรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 309 วรรคแรก เท่านั้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้ และคดียังไม่ถึงที่สุด การที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องมีข้อความดังกล่าวนั้นถือได้ว่าเป็นการยอมความกันในความผิดที่ศาลฎีกาวินิจฉัยนี้ด้วย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ศาลฎีกาต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล แม้คดีมีทุนทรัพย์ ศาลสั่งจำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แล้วถอนชื่อจำเลยจากโฉนดที่ดินและให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินคืนโจทก์หรือกองมรดก เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลฎีกามีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้ถูกต้องแต่โจทก์ไม่ยอมเสียภายในเวลาที่กำหนด ถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลเสียค่าขึ้นศาลฎีกา ทำให้การฟ้องคดีถูกทิ้งฟ้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วถอนชื่อจำเลยจากโฉนดที่ดินและให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินคืนโจทก์หรือกองมรดกเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
ศาลฎีกามีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่ยอมเสียภายในเวลาที่กำหนด ถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้จะเกิดขึ้นหลังสัญญากู้เงินเดิม
จำเลยทั้งสองกู้เงินโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.1 ต่อมาได้ทำเอกสารหมาย จ.2 มีข้อความว่า ข้าพเจ้าได้กู้เงิน บ.(โจทก์) เป็นเงิน 100,000 บาท จะผ่อนส่งคืนให้หมดสิ้นภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 แล้วลงท้ายด้วยการลงชื่อของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นข้อความที่แสดงแจ้งชัดว่าจำเลยทั้งสองรับว่าเป็นหนี้เงินกู้โจทก์รายนี้จริง จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้มีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองกู้เงินโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.1 ต่อมาได้ทำเอกสารหมาย จ.2 มีข้อความว่า ข้าพเจ้าได้กู้เงิน บ. (โจทก์) เป็นเงิน100,000 บาท จะผ่อนส่งคืนให้หมดสิ้นภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 แล้วลงท้ายด้วยการลงชื่อของจำเลยทั้งสอง ซึ่งเป็นข้อความที่แสดงแจ้งชัดว่าจำเลยทั้งสองรับว่าเป็นหนี้เงินกู้โจทก์รายนี้จริง จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลบังคับได้ตามป.พ.พ.มาตรา 172 (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่กฎหมายใช้บังคับ ไม่ใช่งวดเก่า และการวางเงินมีเงื่อนไขไม่ถือเป็นการวางเงินตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 วางเงินโดยมีเงื่อนไข ทำให้โจทก์ยังไม่ได้รับเงินทั้ง ๆ ที่ตาม พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯ พ.ศ. 2526 กำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนไว้ อันมีผลให้กรรมสิทธิ์โอนไปด้วยอำนาจกฎหมายโดยไม่จำต้องทำการแบ่งแยกโฉนด เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำไปวางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางในคราวเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่ามีการวางเงินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ระยะเวลาหนึ่งปีจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ ฯลฯ (2)ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น ฯลฯ ตาม พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯ พ.ศ. 2526 ไม่มีบทบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับเงินค่าทดแทน แต่ปรากฏว่าได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยใช้ราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมพ.ศ. 2514 ราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนตาม พ.ร.ฎ. และการวางเงินชดเชยที่ไม่สมบูรณ์ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 วางเงินโดยมีเงื่อนไข ทำให้โจทก์ยังไม่ได้รับเงินทั้ง ๆ ที่ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯพ.ศ.2526 กำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนไว้ อันมีผลให้กรรมสิทธิ์โอนไปด้วยอำนาจ-กฎหมายโดยไม่จำต้องทำการแบ่งแยกโฉนด เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำไปวางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางในคราวเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่ามีการวางเงินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ระยะเวลาหนึ่งปีจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ ฯลฯ (2) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น ฯลฯ ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสาย-รัชดาภิเษกฯ พ.ศ.2526 ไม่มีบทบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับเงินค่าทดแทน แต่ปรากฏว่าได้มีพ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัซดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ - แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยใช้ราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ.2514 ราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงเทศบาล-สายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ - แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 ใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5339/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินโดยเจตนาลวง และผลกระทบต่อสิทธิของผู้รับจำนอง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและเนื่องจากโจทก์เป็นหนี้ธนาคารจำนวนมาก แต่ที่ดินพิพาทมีราคาต่ำ ธนาคารไม่มีความเชื่อถือที่จะให้โจทก์ใช้เป็นหลักประกันในการกู้เงินได้โจทก์จึงต้องแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันโอนขายให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์แล้วให้จำเลยนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ที่ ป. เป็นผู้กู้จากธนาคารแทนโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้มอบเงินให้จำเลยชำระหนี้แก่ธนาคารครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวคืนโจทก์ต่อมาจำเลยนำที่ดินไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ที่ธนาคารอีก โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์และปฏิเสธไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนโจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคืนโจทก์โดยปลอดภาระหนี้สิน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความตามคำฟ้อง แต่ศาลก็ไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนโจทก์โดยปลอดภาระหนี้สิน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้ เพราะจะทำให้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้รับจำนอง เว้นแต่จะได้มีการชำระหนี้โดยครบถ้วนจึงจะดำเนินการไถ่ถอนจำนองได้ ดังนั้น หากจำเลยไม่ดำเนินการไถ่ถอนจำนองแล้ว จึงต้องให้โจทก์ดำเนินการแทนโดยให้จำเลยรับผิดชอบชดใช้ค่าใช้จ่ายทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5339/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมลวงซื้อขายที่ดินเพื่อจำนอง ศาลสั่งให้จำเลยไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์คืน
การที่โจทก์จดทะเบียนขายที่ดินให้จำเลยเพื่อให้จำเลยนำที่ดินไปประกันเงินกู้ของนางสาว ป. โดยมิได้ตกลงซื้อขายกันจริงหนังสือสัญญาขายที่ดินจึงเกิดขึ้นโดยเจตนาลวง เป็นโมฆะ จำเลยไม่มีอำนาจนำที่ดินไปจำนองต่อธนาคาร แต่ที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนโจทก์โดยปลอดภาระหนี้สิน หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ซึ่งการบังคับโดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยไม่สามารถทำได้ เพราะจะทำให้กระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ดังนั้นในกรณีนี้หากจำเลยไม่ดำเนินการไถ่ถอนจำนองก่อน ก็ให้โจทก์ดำเนินการแทนโดยให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายทั้งหมด
of 52