คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยรรยง ปานุราช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย้งกรณีส่งของไม่ตรงตามคำพรรณนา: ฟ้องพ้น 1 ปี นับจากวันส่งมอบเป็นอันขาดอายุความ
จำเลยฟ้องแย้งเรียกเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ย ค่าเสียหายหรือค่าเก็บรักษาสินค้าซึ่งล้วนเป็นผลโดยตรงจากการที่โจทก์จะต้องรับผิดเพื่อการส่งของไม่ตรงตามคำพรรณนาซึ่งห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 504 เมื่อจำเลยฟ้องแย้งเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน - เงื่อนไขสาระสำคัญ - ผู้เช่าไม่ยอมออกจากที่ดิน - เบี้ยปรับสูงเกินส่วน - ศาลลดเบี้ยปรับได้
ข้อสัญญาที่ว่า จำเลยจะดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินพิพาทก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์นั้นได้แยกออกมาเป็นข้อที่ 5 ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยเฉพาะ และเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้โจทก์ย่อมไม่สามารถเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทได้จนกว่าจำเลยจะดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดิน ทั้งในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ครั้งแรกโจทก์ได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระราคาที่เหลือครบถ้วน แต่ก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้เนื่องจากผู้เช่านายังไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาท จนถึงขนาดโจทก์จำเลยต้องทำบันทึกกันใหม่เลื่อนเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ไปเพื่อให้จำเลยดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ได้เลื่อนมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าสัญญาข้อนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ย่อมเป็นสาระสำคัญของสัญญาและเป็นหน้าที่ของจำเลย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน จึงต้องรับผิดโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ข้อ 10 กำหนดว่า หากจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ปรับจำเลยเป็นเงิน 4 เท่า ของเงินมัดจำคือปรับเป็นเงินจำนวน 400,000 บาท ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 เมื่อเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ที่ดินพิพาทโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันในราคา 1,000,000 บาท เมื่อถึงกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยก็ยอมจดทะเบียนโอนให้โดยดีแม้ผู้เช่านาจะไม่ยอมรื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่ก็ยอมขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกจากที่ดินโดยมีกำหนดเวลาไว้พอสมควรความเสียหายที่โจทก์ได้รับจึงมีไม่มาก เหตุที่โจทก์กำหนดค่าปรับสูงเพราะกลัวว่าจำเลยจะไม่บอกผู้เช่านาให้ออกจากที่ดินและกลัวว่าที่ดินจะมีราคาสูงขึ้นและโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้นำที่ดินพิพาทไปขายต่อให้บุคคลอื่นจำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จะนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่ ก. และไม่ทราบว่าโจทก์อาจถูก ก. เรียกเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาทั้งโจทก์ก็จะได้รับโอนที่ดินตามที่เรียกร้องมาอยู่แล้วหาใช่จะได้รับแต่เพียงเบี้ยปรับแต่เพียงอย่างเดียวไม่เมื่อเบี้ยปรับเป็นเงิน 400,000 บาท สูงเกินส่วน แม้โจทก์จะชำระเบี้ยปรับจำนวน 500,000 บาทให้แก่ ก.ฐานไม่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ตามสัญญา ก็เป็นเรื่องที่โจทก์สละข้อต่อสู้ในเรื่องเบี้ยปรับสูงเกินส่วนกับ ก.โดยไม่คำนึงว่า ก. จะได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใดโจทก์จะให้จำเลยรับผิดในเบี้ยปรับที่ชำระให้แก่ ก.จนเต็มจำนวนหาได้ไม่ ชอบที่ศาลจะกำหนดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์เป็นจำนวนพอสมควรเพียง 100,000 บาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้หากเกินความเสียหายที่แท้จริง
ข้อสัญญาที่ว่า จำเลยจะดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินพิพาทก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์นั้นได้แยกออกมาเป็นข้อที่ 5ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยเฉพาะ และเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ โจทก์ย่อมไม่สามารถเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทได้จนกว่าจำเลยจะดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดิน ทั้งในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ครั้งแรกโจทก์ได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระราคาที่เหลือครบถ้วน แต่ก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ เนื่องจากผู้เช่านายังไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาท จนถึงขนาดโจทก์จำเลยต้องทำบันทึกกันใหม่เลื่อนเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ไปเพื่อให้จำเลยดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ได้เลื่อนมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าสัญญาข้อนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ย่อมเป็นสาระสำคัญของสัญญาและเป็นหน้าที่ของจำเลย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน จึงต้องรับผิดโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ข้อ 10 กำหนดว่า หากจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ปรับจำเลยเป็นเงิน 4 เท่า ของเงินมัดจำ คือปรับเป็นเงินจำนวน400,000 บาท ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 เมื่อเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่ดินพิพาทโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันในราคา 1,000,000 บาทเมื่อถึงกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยก็ยอมจดทะเบียนโอนให้โดยดีแม้ผู้เช่านาจะไม่ยอมรื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่ก็ยอมขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกจากที่ดินโดยมีกำหนดเวลาไว้พอสมควร ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจึงมีไม่มาก เหตุที่โจทก์กำหนดค่าปรับสูงเพราะกลัวว่าจำเลยจะไม่บอกผู้เช่านาให้ออกจากที่ดินและกลัวว่าที่ดินจะมีราคาสูงขึ้นและโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้นำที่ดินพิพาทไปขายต่อให้บุคคลอื่น จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จะนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่ ก. และไม่ทราบว่าโจทก์อาจถูก ก.เรียกเบี้ยปรับฐานผิดสัญญา ทั้งโจทก์ก็จะได้รับโอนที่ดินตามที่เรียกร้องมาอยู่แล้วหาใช่จะได้รับแต่เพียงเบี้ยปรับแต่เพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อเบี้ยปรับเป็นเงิน400,000 บาท สูงเกินส่วน แม้โจทก์จะชำระเบี้ยปรับจำนวน 500,000 บาทให้แก่ ก.ฐานไม่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ตามสัญญา ก็เป็นเรื่องที่โจทก์สละข้อต่อสู้ในเรื่องเบี้ยปรับสูงเกินส่วนกับ ก.โดยไม่คำนึงว่า ก.จะได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด โจทก์จะให้จำเลยรับผิดในเบี้ยปรับที่ชำระให้แก่ ก.จนเต็มจำนวนหาได้ไม่ ชอบที่ศาลจะกำหนดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์เป็นจำนวนพอสมควรเพียง 100,000 บาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์, อำนาจศาลแก้ไขความบกพร่องความสามารถคู่ความ, และการแก้ไขคำพิพากษาตามฟ้อง
แม้ศาลชั้นต้นรวมคดีพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่สิทธิในการฎีกาต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนที่ฟ้องโดยแยกกันตามรายตัวโจทก์เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนรวมทั้งฟ้องแย้งของจำเลยในแต่ละสำนวนไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า ส. มิใช่ลูกจ้างและมิได้กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของอ. ซึ่งโจทก์ผู้เป็นนายจ้างจะต้องรับผิดตามฟ้องแย้งของจำเลยและฎีกาโต้เถียงในเรื่องค่าเสียหายล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยและพิพากษาเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลย แล้วพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นทำการพิพากษาใหม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงใหม่เกี่ยวกับจุดที่รถยนต์ชนกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์ทุกคนมีอายุเกิน 20 ปีแล้วแม้ขณะฟ้องโจทก์ยังเป็นผู้เยาว์ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์บกพร่อง และศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งให้แก้ไขความบกพร่องให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 เมื่อโจทก์บรรลุนิติภาวะก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์จึงมีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้ โดยศาลฎีกาไม่จำต้องสั่งแก้ไขเรื่องความสามารถ แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายในงานศพ และค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นสรุปในตอนท้ายของคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามคำฟ้องและในส่วนที่เกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้อง ศาลอุทธรณ์ได้แก้ไขให้เท่าที่ปรากฎในคำฟ้องแล้ว จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่าเมื่อมีการโอนขาย: ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน คชก. ก่อนฟ้อง
การฟ้องขอให้ผู้รับโอนนาให้แก่ผู้เช่า โดยอ้างว่าผู้ให้เช่าขายไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้เช่าทราบนั้น ผู้เช่าต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย กล่าวคือต้องร้องขอต่อ คชก.ตำบลเพื่อวินิจฉัยก่อนหากไม่พอใจคำวินิจฉัย คชก.ตำบลก็ต้องอุทธรณ์ไปยังคชก.จังหวัด เมื่อ คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่พอใจจึงมีสิทธิฟ้องคดีได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านามิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบังคับไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เช่าฟ้องผู้รับโอนต้องผ่าน คชก.ก่อน จึงมีสิทธิฟ้องคดี
การฟ้องขอให้ผู้รับโอนนาให้แก่ผู้เช่า โดยอ้างว่าผู้ให้เช่าขายไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้เช่าทราบนั้น ผู้เช่าต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย กล่าวคือต้องร้องขอต่อ คชก.ตำบลเพื่อวินิจฉัยก่อน หากไม่พอใจคำวินิจฉัย คชก.ตำบลก็ต้องอุทธรณ์ไปยัง คชก.จังหวัด เมื่อ คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่พอใจจึงมีสิทธิฟ้องคดีได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านามิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบังคับไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3209/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาขัดกับกรอบเวลา: การขออนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงหลังพ้นกำหนด
จำเลยยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิจารณาคดีอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยยื่นเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาตามกฎหมายแล้ว ฎีกาจำเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิจารณาคดีจะอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3209/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาพ้นกำหนดระยะเวลา ทำให้ศาลไม่อนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
จำเลยยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิจารณาคดีอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยยื่นเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาตามกฎหมายแล้วฎีกาจำเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิจารณาคดีจะอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการซื้อที่ดินโดยไม่สุจริต ทำให้สิทธิในที่ดินตกเป็นของผู้ครอบครอง
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีจึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ก่อนตกลงซื้อที่ดินพิพาท โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ปลูกพืชผลและปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว โจทก์จะอ้างว่าจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมแม้จะยังมิได้จดทะเบียนก็ยกเป็นข้อต่อสู้ โจทก์ซึ่งมิได้จดทะเบียนโดยสุจริตได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิจากเจ้าของเดิม โจทก์ทั้งสามไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท โดยไม่ได้บรรยายฟ้องถึงเรื่องที่จำเลยเช่าที่ดินเพื่อเลี้ยงปลา คดีจึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่าเพื่อเลี้ยงปลาที่โจทก์ที่ 2และที่ 3 ฎีกาว่า การเช่าที่ดินของจำเลยซึ่งเช่าจากโจทก์ที่ 2และที่ 3 ได้มีการเปลี่ยนลักษณะของการเช่าที่ดินจากการเช่าเพื่อทำนามาเป็นการเช่าเพื่อเลี้ยงปลา ย่อมไม่ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าและให้จำเลยออกไปจากที่ดินที่เช่าแล้ว โจทก์ที่ 2และที่ 3 จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยนั้น เป็นเรื่องนอกประเด็นแห่งคดีศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3162/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตประเด็นพิพาท: ศาลวินิจฉัยค่าเช่าบริการวิทยุติดตามตัวได้ แม้ประเด็นพิพาทกว้าง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่า ค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงใดหรือไม่เป็นการกำหนดประเด็นอย่างกว้าง ๆเมื่อค่าเสียหายตามคำฟ้องของโจทก์มีทั้ง ค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเช่าใช้บริการวิทยุติดตามตัว อันได้แก่ค่าเช่าใช้บริการที่ค้างชำระเป็นต้น และค่าเสียหายอันเกิดจากการขาดประโยชน์ที่จำเลยไม่ส่งมอบวิทยุติดตามตัวคืนโจทก์จึงไม่สามารถนำออกให้เช่าหาประโยชน์ได้ด้วย ดังนั้นคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับค่าเช่าใช้บริการวิทยุติดตามตัวจึงไม่นอกประเด็น
of 52