คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยรรยง ปานุราช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจรเป็นความผิดต่างกรรมกัน แม้ถูกจับพร้อมกัน เหตุเกิดต่างเวลากัน
โจทก์ฟ้องคดีทั้งสามสำนวนข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรโดยบรรยายว่าระหว่างเวลาที่ทรัพย์ถูกลักไปซึ่งแตกต่างกัน จนถึงวันที่เจ้าพนักงานจับจำเลยได้วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยรับของโจรจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน เพราะว่าเวลาที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานรับของโจรแตกต่างกัน แม้จำเลยทั้งสองจะถูกจับพร้อมรถจักรยานยนต์ทั้งสามคันในขณะเดียวกัน ก็หาทำให้การกระทำดังที่โจทก์บรรยายฟ้อง กลายเป็นความผิดกระทงเดียวและกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถเช่าซื้อ: ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิได้รับคืน แม้จำเลยใช้รถกระทำผิด
เดิมรถจักรยานยนต์ของกลางที่ศาลมีคำสั่งให้ริบเป็นของ ว.ซึ่งจำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอเช่าซื้อมา แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1มีเงินไม่พอจึงไปติดต่อผู้ร้องเพื่อทำสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องจึงได้ซื้อรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมาจาก ว. และได้ให้จำเลยที่ 1เช่าซื้ออีกทอดหนึ่ง ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์จึงตกเป็นของผู้ร้องแล้วโดยผู้ร้องไม่จำเป็นต้องเอารถจักรยานยนต์เข้ามาอยู่ในความครอบครองของผู้ร้องก่อน และไม่จำต้องโอนใส่ชื่อผู้ร้องในคู่มือการจดทะเบียนด้วย ทั้งการทำสัญญาเช่าซื้อนี้ก็มิใช่นิติกรรมอำพรางการกู้เงินของจำเลยที่ 1 เพื่อไปซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย เมื่อผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จึงต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่น (มาตรา 309) ต้องระบุรายละเอียดการข่มขืนใจให้ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้มีดปลายแหลมเป็นอาวุธจี้ขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อร่างกายผู้เสียหาย และฉุดบังคับผู้เสียหายไปกับจำเลย แล้วบังคับจับกดให้ผู้เสียหายนอนลงกับพื้นดิน โดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยข่มขืนใจผู้เสียหายให้ไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้ผู้เสียหายกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพของผู้เสียหายจนผู้เสียหายต้องจำยอมต่อสิ่งนั้น เป็นการบรรยายการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158(5)จึงครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคสอง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนใจโดยมีอาวุธและการกระทำโดยข่มขู่จนผู้เสียหายจำยอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้มีดปลายแหลมเป็นอาวุธจี้ขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อร่างกายผู้เสียหาย และฉุดบังคับผู้เสียหายไปกับจำเลย แล้วบังคับจับกดให้ผู้เสียหายนอนลงกับพื้นดิน โดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยข่มขืนใจผู้เสียหายให้ไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้ผู้เสียหายกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพของผู้เสียหาย จนผู้เสียหายต้องจำยอมต่อสิ่งนั้น เป็นการบรรยายการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 (5) จึงครบองค์ประกอบความผิดตามป.อ.มาตรา 309 วรรคสอง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์ที่ไม่ใช่เอกสารปลอม หากมีเจตนาเพื่อโฆษณาและไม่ใช่แผ่นโลหะ
จำเลยได้นำแผ่นกระดาษซึ่งมีข้อความ และตัวเลขว่าเหมือนกับแผนป้ายทะเบียนกรุงเทพมหานคร 9 ง - 9999 ของทางราชการ แล้วนำไปใส่กรอบโลหะติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย ซึ่งจำเลยอยู่ในระหว่างดำเนินการขอหมายเลขทะเบียนจากทางราชการ เมื่อแผ่นป้ายดังกล่าวมิได้ทำขึ้นด้วยแผ่นโลหะเช่นของทางราชการ ทั้งยังปรากฏข้อความอย่างอื่นในแผ่นกระดาษนั้นว่า คุ้มครองป้ายทะเบียนและ ห.จ.ก.รวมการช่าง ผู้ถือสิทธิบัตรอยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่าเป็นป้ายที่ใช้เป็นตัวอย่างในการโฆษณา การจัดทำป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์เพื่อจำหน่ายของห้างดังกล่าว กรณีจึงมิใช่การทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง เอกสารแผ่นป้ายดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารปลอม แม้จำเลยจะนำไปติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานใช้เอกสาร-ปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารปลอม – ป้ายทะเบียนรถ – โฆษณา – ไม่เข้าข่าย – ยกฟ้อง
จำเลยได้นำแผ่นกระดาษซึ่งมีข้อความ และตัวเลขว่าเหมือนกับแผ่นป้ายทะเบียนกรุงเทพมหานคร 9ง-9999 ของทางราชการ แล้วนำไปใส่กรอบโลหะติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย ซึ่งจำเลยอยู่ในระหว่างดำเนินการขอหมายเลขทะเบียนจากทางราชการ เมื่อแผ่นป้ายดังกล่าวมิได้ทำขึ้นด้วยแผ่นโลหะเช่นของทางราชการ ทั้งยังปรากฎข้อความอย่างอื่นในแผ่นกระดาษนั้นว่า คุ้มครองป้ายทะเบียนและห.จ.ก.รวมการช่าง ผู้ถือสิทธิบัตรอยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่าเป็นป้ายที่ใช้เป็นตัวอย่างในการโฆษณา การจัดทำป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์เพื่อจำหน่ายของห้างดังกล่าว กรณีจึงมิใช่การทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงเอกสารแผ่นป้ายดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารปลอม แม้จำเลยจะนำไปติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารปลอมต้องมีเจตนาทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารจริง การติดแผ่นกระดาษโฆษณาป้ายทะเบียนไม่ถือเป็นเอกสารปลอม
จำเลยได้นำแผ่นกระดาษซึ่งเขียนข้อความให้เหมือนกับแผ่นป้ายทะเบียนหมายเลข กรุงเทพมหานคร 9ง-9999 ที่ทางราชการได้ทำขึ้นแล้วนำไปใส่กรอบโลหะติดไว้กับรถจักรยานยนต์ของจำเลย ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการขอหมายเลขทะเบียนจากทางราชการ เมื่อแผ่นป้ายดังกล่าวมิได้ทำขึ้นด้วยแผ่นโลหะเช่นของทางราชการ ทั้งยังปรากฏข้อความว่า คุ้มครองป้ายทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัดรวมการช่างผู้ถือสิทธิบัตรเลขที่ 1091 อยู่ด้วย อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นป้ายที่ใช้เป็นตัวอย่างในการโฆษณาการจัดทำป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์เพื่อจำหน่ายของห้างร้านผู้จัดทำจำหน่าย กรณีจึงมิใช่การทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่า เป็นเอกสารที่แท้จริง เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารปลอม แม้จำเลยจะนำเอกสารนั้นไปติดไว้กับรถจักรยานยนต์ จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ตัวแทนจำหน่าย, การส่งมอบเงินมัดจำ, และความรับผิดต่อตัวการ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบหมายให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า จำเลยขายสินค้าโจทก์แล้วไม่ส่งมอบเงินมัดจำค่าสินค้าแก่โจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่า จำเลยในฐานะตัวแทนขายได้รับทรัพย์สินไว้แทนตัวการแล้วมิได้ส่งมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการ เป็นการผิดสัญญาตัวแทนและบรรยายคำขอบังคับ ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ โดยมีหลักฐานการสั่งซื้อสินค้าพร้อมหนังสือของจำเลยที่รับทราบการสั่งซื้อสินค้า และยอมรับการเป็นตัวแทนขายสินค้าให้แก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์แต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรของโจทก์ในประเทศไทย จำเลยมีหน้าที่แนะนำผู้ซื้อเกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องจักรให้ถูกต้องดูแลให้มีการตรวจสอบเครื่องจักรทุกชิ้นก่อนที่จะใช้เครื่องจักรดังกล่าว และจะต้องรับผิดชอบในการให้บริการหลังการขายตามสัญญา จำเลยจึงเป็นตัวแทนของโจทก์มิใช่นายหน้า จำเลยจะต้องส่งมอบเงินมัดจำให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการเมื่อจำเลยไม่ส่งมอบจึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 811
เมื่อสัญญาตัวแทนมีข้อกำหนดว่า ราคาสินค้าที่ตัวแทนจะเสนอแก่ผู้จะซื้อนั้น จะต้องไม่สูงเกินกว่ารายการราคาสินค้าที่ส่งให้แก่ตัวแทน ดังนั้นการขายสินค้าเกินราคาให้แก่ลูกค้า และไม่ส่งเงินมัดจำดังกล่าวให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จึงเป็นการที่ตัวแทนทำมิชอบด้วยหน้าที่ ตัวแทนไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทน การส่งมอบเงินมัดจำ และสิทธิในการได้รับค่าบำเหน็จเมื่อตัวแทนกระทำผิดสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบหมายให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า จำเลยขายสินค้าโจทก์แล้วไม่ส่งมอบเงินมัดจำค่าสินค้าแก่โจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่า จำเลยในฐานะตัวแทนขายได้รับทรัพย์สินไว้แทนตัวการแล้วมิได้ส่งมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการ เป็นการผิดสัญญาตัวแทนและบรรยายคำขอบังคับ ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์โดยมีหลักฐานการสั่งซื้อสินค้าพร้อมหนังสือของจำเลยที่รับทราบการสั่งซื้อสินค้า และยอมรับการเป็นตัวแทนขายสินค้าให้แก่โจทก์ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์แต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรของโจทก์ในประเทศไทย จำเลยมีหน้าที่แนะนำผู้ซื้อเกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องจักรให้ถูกต้อง ดูแลให้มีการตรวจสอบเครื่องจักรทุกชิ้นก่อนที่จะใช้เครื่องจักรดังกล่าว และจะต้องรับผิดชอบในการให้บริการหลังการขายตามสัญญา จำเลยจึงเป็นตัวแทนของโจทก์มิใช่นายหน้า จำเลยจะต้องส่งมอบเงินมัดจำให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการ เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบจึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 811 เมื่อสัญญาตัวแทนมีข้อกำหนดว่า ราคาสินค้าที่ตัวแทนจะเสนอแก่ผู้จะซื้อนั้น จะต้องไม่สูงเกินกว่ารายการราคาสินค้าที่ส่งให้แก่ตัวแทน ดังนั้นการขายสินค้าเกินราคาให้แก่ลูกค้า และไม่ส่งเงินมัดจำดังกล่าวให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จึงเป็นการที่ตัวแทนทำมิชอบด้วยหน้าที่ ตัวแทนไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ ใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยรับว่าเป็นหนี้ตามเช็คในคดีความผิดเกี่ยวกับเช็คคดีนี้จริง และขอผ่อนชำระเงินเป็นงวด หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมด และยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อให้นัดฟังคำพิพากษา อีกทั้งยอมให้ฟ้องร้องบังคับคดีในทางแพ่งได้ด้วย ส่วนผู้เข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายไม่ได้แสดงเจตนาใด ๆ ให้ปรากฎในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวว่าจะสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันทีหรือตกลงให้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแต่อย่างใด ส่วนคำแถลงของผู้เข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายก็มีใจความสำคัญว่า โจทก์จำเลยตกลงกันว่าหากตกลงกันได้โจทก์จะถอนฟ้อง แต่ปรากฎว่าจำเลยถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย หากโจทก์ถอนฟ้องก็ไม่มีทางอื่นใดที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยอีก ขอให้ศาลพิพากษาไปได้เลย ไม่มีข้อความใดที่โจทก์แสถงเจตนาสละสิทธิดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันทีหรือตกลงให้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช่นเดียวกัน กลับมีข้อความยืนยันให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไปเสียอีกดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความและคำแถลงของผู้เข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายดังกล่าว จึงมิใช่การยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายตามนัย ป.วิ.อ.มาตรา39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไป
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกินสองเท่าของจำนวนเงินที่ระบุในเช็ค แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ปรากฎว่าระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดกำหนดโทษไว้ให้ปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ อันเป็นอัตราโทษที่เบากว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยผู้กระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
of 52