พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องยื่นคำร้องก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น หากเลยกำหนดสิทธิขาด
การเพิกถอนการขายทอดตลา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้นลงแต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วันนับแต่วันทราบการฝ่าฝืน ข้อเท็จจริงได้ความว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดถึง 7 ครั้ง ตั้งแต่ปี2528 ถึงปี 2529 จนมีผู้ซื้อทรัพย์ได้ในการประกาศขายครั้งสุดท้ายวันที่ 15 สิงหาคม 2529 ศาลได้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดทะเบียนโอนแก่ผู้ซื้อทรัพย์เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2529 ถือว่าการบังคับคดีเสร็จสิ้นลงแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารล้ำแนวรั้ว และการใช้สิทธิโดยก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
จำเลยก่อสร้างหลังคาสังกะสีต่อเติมอาคารของตนล้ำมาบนกำแพงรั้วด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์ โดยจำเลยใช้กำแพงรั้วเป็นฝาห้องด้านล่างและใช้กระเบื้องซีเมนต์กั้นต่อขึ้นไปถึงหลังคา แล้วใช้ปูนซีเมนต์พอก เชื่อมรอยต่อระหว่างอาคารของจำเลยกับรั้ว ทำให้น้ำฝนไม่สาดเข้าไปในอาคารของจำเลย แต่ไหลไปในที่ดินของโจทก์มากกว่าปกติจำเลยจึงใช้สิทธิอันมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 โจทก์มีสิทธิที่จะปฏิบัติเพื่อยังให้ความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญนั้นสิ้นไปตาม มาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารรุกล้ำทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้าน ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สมควร
รั้วที่กั้นเขตบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเดิมเมื่อจำเลยยังมิได้ต่อเติมอาคารโดยใช้กำแพงรั้วดังกล่าวเป็นฝาห้อง น้ำฝนก็จะสาดและไหลเป็นปกติทั้งสองด้านไม่มีผู้ใดเดือดร้อนครั้นจำเลยต่อเติมอาคารขึ้นน้ำฝนไม่สาดเข้าไปโดนทรัพย์สินของจำเลยและไหลไปในที่ดินของโจทก์มากกว่าปกติซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินที่ควรคาดคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องป้องกันหรือแก้ไข เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยมิได้จัดการแก้ไขเพื่อบรรเทาผลร้ายของฝ่ายของฝ่ายโจทก์การกระทำของจำเลยที่ต่อเติมอาคาร จึงเป็นการใช้สิทธิอันมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 และโจทก์มีสิทธิที่จะปฏิบัติการเพื่อยังให้ความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญนั้นสิ้นไปได้ตามมาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารรุกล้ำ ทำให้เกิดความเดือดร้อนกับข้างบ้าน เจ้าของต้องรับผิดชอบแก้ไข
รั้วที่กั้นเขตบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย เดิมเมื่อจำเลยยังมิได้ต่อเติมอาคารโดยใช้กำแพงรั้วดังกล่าวเป็นฝาห้อง น้ำฝนก็จะสาดและไหลเป็นปกติทั้งสองด้านไม่มีผู้ใดเดือดร้อน ครั้นจำเลยต่อเติมอาคารขึ้นน้ำฝนไม่สาดเข้าไปโดนทรัพย์สินของจำเลยและไหลไปในที่ดินของโจทก์มากกว่าปกติ ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินที่ควรคาดคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องป้องกันหรือแก้ไข เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยมิได้จัดการแก้ไขเพื่อบรรเทาผลร้ายของฝ่ายของฝ่ายโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ต่อเติมอาคาร จึงเป็นการใช้สิทธิอันมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421 และโจทก์มีสิทธิที่จะปฏิบัติการเพื่อยังให้ความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญนั้นสิ้นไปได้ตามมาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทบุตรนอกกฎหมายรับรองแล้ว และสิทธิผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือว่า เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกในลำดับที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 หาจำต้องไปฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำสั่งศาลว่าผู้ร้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่ชายร่วมบิดามารดากับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกหรือร่วมกับผู้อื่นเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายตามมาตรา 1713
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งแก้ไขในเรื่องนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งแก้ไขในเรื่องนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายรับรองมีสิทธิมรดกเช่นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก
ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายรับรองแล้วจึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในลำดับที่ 1ตามมาตรา 1629 หาจำต้องฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำสั่งศาลว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ ผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้ตายไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกหรือร่วมกับ บ. ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมิได้สั่งและศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แม้จำเลยจะรับรองลายมือชื่อ
จำเลยให้การปฏิเสธลายมือชื่อในสัญญากู้ว่าไม่ใช่ของจำเลยเท่ากับปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงแห่งเอกสารและกล่าวอ้างว่าหนี้นั้นไม่สมบูรณ์ ศาลจึงจำต้องใช้สัญญากู้มาเป็นพยานหลักฐานในคดีเมื่อสัญญากู้ไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ถือว่าสัญญากู้ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จึงไม่อาจรับฟังสัญญากู้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แม้จำเลยจะเบิกความรับว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นของจำเลย ก็เป็นเรื่องในชั้นพิจารณาว่าข้อเท็จจริงในประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ฟังได้เพียงใด ไม่ใช่กรณีที่ไม่ต้องใช้เอกสารสัญญากู้เป็นพยานหลักฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ (ไม่ขีดฆ่า) ใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยยอมรับลายมือชื่อ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้รับเงินกู้ไปแล้วจำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จะต้องอ้างสัญญากู้เป็นพยานหลักฐานในคดีเมื่อหนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลมิได้ขีดฆ่าแสตมป์ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ดังนี้ ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานที่จะรับฟังว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้เงินที่มิได้ขีดฆ่าแสตมป์ ทำให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้รับเงินกู้ไปแล้ว จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จะต้องอ้างสัญญากู้เป็นพยานหลักฐานในคดี เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลมิได้ขีดฆ่าแสตมป์ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ดังนี้ ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานที่จะรับฟังว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งคำร้องขอปล่อยทรัพย์ ทำให้ขาดสิทธิร้องเพิกถอนการขายทอดตลาด
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีกรณีคำร้องขอปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องนั้น เพราะผู้ร้องไม่วางเงินค่าขึ้นศาลภายในเวลาที่ศาลกำหนดเป็นการจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้ร้องทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ซึ่งตามมาตรา 176บัญญัติถึงผลของการทิ้งคำร้องว่าย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำร้องรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำร้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำร้องเลยเช่นนี้ ถือได้ว่าขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้น ไม่มีคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทของผู้ร้องอยู่ในศาลแล้ว ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ในอันที่จะร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามมาตรา 296 วรรคสอง