คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยรรยง ปานุราช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราว แม้มีข้อจำกัดเรื่องการตั้ง/ถอนกรรมการ
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1151 จะบัญญัติว่า อันผู้เป็นกรรมการนั้นเฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่เท่านั้นอาจจะตั้งหรือถอนได้ก็ตาม บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเรื่องการตั้งหรือถอนกรรมการบริษัทโดยที่ประชุมใหญ่ จึงมิได้ตัดอำนาจของศาลที่จะถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวที่ศาลตั้งตาม ป.พ.พ.มาตรา 73 ซึ่งแม้ว่าจะไม่มีบทบัญญัติให้ศาลถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวดังกล่าวก็ตาม ศาลก็มีอำนาจที่จะมีคำสั่งถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวดังกล่าวที่ศาลตั้งได้หากมีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดอากรแสตมป์สัญญา และความรับผิดของผู้ค้ำประกันเพียงผู้เดียว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์ที่ด้านใดของเอกสาร เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์แผ่นเดียวกันมี 2 หน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงิน ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์หนังสือค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านที่เป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงินถึง200 บาท ทั้งที่ต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 93 บาท ส่วนหนังสือสัญญาค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท แสดงว่าโจทก์ปิดอากรแสตมป์ตามหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันครบถ้วนแล้ว จึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อตามหนังสือสัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ จึงให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดอากรแสตมป์และความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ป.รัษฎากร มาตรา 118 ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์ที่ด้านใดของเอกสาร เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์แผ่นเดียวกันมี 2 หน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงิน ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญาค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านที่เป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงินถึง 200 บาท ทั้งที่ต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 93 บาท ส่วนหนังสือสัญญาค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท แสดงว่าโจทก์ปิดอากรแสตมป์ตามหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันครบถ้วนแล้ว จึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อตามหนังสือสัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1ไม่ชำระ จึงให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดอากรแสตมป์บนหนังสือสัญญากู้และค้ำประกัน และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์ที่ด้านใดของเอกสาร เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์แผ่นเดียวกันมี 2 หน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงิน ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์หนังสือค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านที่เป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงินถึง200 บาท ทั้งที่ต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 93 บาท ส่วนหนังสือสัญญาค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท แสดงว่าโจทก์ปิดอากรแสตมป์ตามหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันครบถ้วนแล้ว จึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อตามหนังสือสัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ จึงให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การเนื่องจากความเข้าใจผิดและข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การแต่เนื่องจากจำเลยไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลจึงหลงเชื่อคำหลอกลวงของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ต้องยื่นคำให้การแต่ต้องไปศาลทุกครั้งตามที่ศาลนัด โจทก์จะไม่ดำเนินการใด ๆต่อจำเลย จำเลยจึงไม่ได้ยื่นคำให้การ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท กรณีหลงเชื่อคำหลอกลวง
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ แต่เนื่องจากจำเลยไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลจึงหลงเชื่อคำหลอกลวงของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ต้องยื่นคำให้การแต่ต้องไปศาลทุกครั้งตามที่ศาลนัด โจทก์จะไม่ดำเนินการใด ๆ ต่อจำเลย จำเลยจึงไม่ได้ยื่นคำให้การ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน ศาลมีอำนาจยกการบังคับคดีได้
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์และห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวอีกต่อไปขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3จำเลยรับว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่พิพาทเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3และศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองได้แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296เบญจกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้นและในการรื้อถอนให้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ณบริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวันดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งมอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองย่อมไม่ใช่เป็นวิธีการบังคับคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้ยกวิธีการบังคับคดีเฉพาะบ้านพิพาทและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและการปฏิบัติตามขั้นตอนของเจ้าพนักงานบังคับคดี
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินโจทก์ ให้จำเลยรื้อถอนรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์ และห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไปปรากฏว่าขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยอมรับว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่พิพาท เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองได้ ไม่เป็นการบังคับคดีเกินหรือนอกคำพิพากษา
ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ป.วิ.พ.มาตรา 296 เบญจ กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้น และในการรื้อถอนให้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณบริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการส่งมอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองจึงไม่ใช่เป็นวิธีการบังคับคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกวิธีการบังคับคดีดังกล่าวและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจช่วง: การกำหนดจำนวนอากรแสตมป์สำหรับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแพ่ง
ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจช่วงซึ่งระบุข้อความว่า "...ขอมอบอำนาจช่วงให้ พ. และ/หรือ ส. ...เป็นผู้ดำเนินคดีแพ่งฟ้องร้องช. ที่ 1 ว. ที่ 2 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ในข้อหาหรือฐานความผิดเรื่องสัญญากู้ยืมเงินเบิกเงินเกินบัญชี (บัญชีเดินสะพัด) สัญญาเช่าซื้อ สัญญาค้ำประกัน บังคับจำนำ บังคับจำนอง ตั๋วเงิน เรียกดอกเบี้ยค้าง เรียกค่าเสียหาย เบี้ยปรับ และค่าขาดประโยชน์อันเกิดจากการผิดสัญญาต่าง ๆ แทนบริษัท และให้มีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีและแก้ต่างคดีของบริษัท ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีภาษีอากร และคดีล้มละลาย มีอำนาจทวงถาม บอกกล่าวจำนอง ดำเนินการบังคับจำนอง ตลอดจนดำเนินการใด ๆ ในชั้นบังคับคดีจนเสร็จการ ขอรับเงินหรือเอกสารจากศาลหรือองค์การของรัฐตลอดจนคู่ความ รวมทั้งให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาไปในทางจำหน่ายสิทธิของบริษัทได้ เช่นการยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายเรียกร้อง การถอนฟ้องการประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาหรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ การมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจมอบอำนาจช่วงต่อไปให้บุคคลอื่นเข้ากระทำการแทนอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างหรือทุกอย่างตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจนี้..." ดังนี้ ข้อความที่ว่า...มอบอำนาจช่วงให้ พ. และ/หรือ ส.เป็นผู้ดำเนินคดีแพ่งฟ้องร้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้กับมีข้อความอื่นตามที่ระบุข้างต้นนั้น เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ข) ซึ่งกำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 30 บาท มิใช่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ค) ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์คนละ 30 บาท เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ 30 บาท จึงครบถ้วนบริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรแล้ว ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3361/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีล้มละลายและการยื่นคำขอรับชำระหนี้: ผลกระทบจากกระบวนการพิจารณาที่ผิดพลาด
เจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2526 ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้จึงฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536 อายุความตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (2) ที่ได้ตรวจชำระใหม่ และต้องเริ่มนับใหม่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดตามป.พ.พ.มาตรา 193/15 คือตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีล้มละลายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 15 เนื่องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิมพ์ชื่อลูกหนี้ผิดพลาดไป และให้เจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ ดังนี้ การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2538 ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ภายในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 91 แล้ว เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องแสดงให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ยังไม่ขาดอายุความ แต่เจ้าหนี้มิได้ให้การสอบสวนต่อเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ถึงข้อเท็จจริงในคดีในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ตลอดจนสิทธิเรียกร้องต่าง ๆของเจ้าหนี้ที่มีต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องนั้นแล้วแต่ถูกศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้เจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้และข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้นในคดีหมายเลขแดงที่ ล.182/2537 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2537 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2537 พร้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหมายถึงเจ้าหนี้ให้วางเงินประกันค่าใช้จ่ายจำนวน 5,000 บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดไว้ในคดีนี้ก่อนแล้ว แต่คดีนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายหลังคดีดังกล่าวเพราะพิมพ์ชื่อลูกหนี้ผิดพลาดไป และให้เจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เช่นนี้ เป็นข้อเท็จจริงที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบดีอยู่แล้ว ดังนี้จะกล่าวอ้าง และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 52