คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุชาติ ถาวรวงษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 644 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: สิทธิเรียกร้องค่าจ้างและภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้รับเหมา, การบอกเลิกสัญญา, และความรับผิด
การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาจ้างแก่จำเลยก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่จำเลยไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ใด ด้วยเหตุนี้ แม้พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบจะได้ความไม่แจ้งชัดก็ดีหรือบางรายการโจทก์เรียกร้องค่าเครื่องมือเครื่องใช้ หรือค่าก่อสร้างไม่ได้ อันเนื่องมาจากโจทก์ต้องเป็นผู้จัดหาเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับใช้ทำงานให้สำเร็จในแต่ละอย่าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 588 หรือเพราะมิได้กำหนดกันไว้ในสัญญา เป็นต้นว่าค่าปรับปรุงซ่อมแซมถนนก็ดี แต่เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งเอกสารสรุปผลงานของพนักงานจำเลยก่อนวันโจทก์หยุดงานในวันที่ 23 ตุลาคม 2535 เป็นเวลา 18 วัน ซึ่งก็ปรากฏว่างานที่จ้างได้ดำเนินการไปถึงงวดที่ 6 โดยงานวางท่อในงวดที่ 3 และที่ 5 สำเร็จ 45 เปอร์เซนต์ และ 2 เปอร์เซ็นต์ งานบ่อพักในงวดที่ 6 สำเร็จ 35 เปอร์เซ็นต์ จึงสมควรกำหนดค่างานก่อสร้างตลอดจนค่าวัสดุส่วนที่โจทก์ได้ทำขึ้นแล้ว นอกเหนือจากงานในงวดที่ 1 และที่ 2 และที่ 4 ให้โจทก์อีก เท่าจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับไปจากจำเลยก่อนงวดการจ่ายเงินในงวดต่าง ๆ ดังกล่าวตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ ศาลฎีกาได้ส่งสำนวนให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 10 วรรคสอง ซึ่งประธานศาลฎีกา ได้ตรวจสำนวนแล้วเห็นเป็นกรณีสืบเนื่องจากข้อพิพาทว่าผู้ใดผิดสัญญาจ้าง ไม่มีคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 วินิจฉัยว่า คดีของโจทก์ไม่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลภาษีอากร ดังนั้นศาลฎีกาจึงเห็นสมควรจะได้วินิจฉัยปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาปัญหาข้อนี้ใหม่
ผู้ที่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้จะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังความในมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) อันเป็นคนละส่วนกันกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งกฎหมายบัญญัติ ไว้เฉพาะแต่ผู้ประกอบการเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) บัญญัติวางเงื่อนไขไว้เช่นนี้ โจทก์ก็ต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามนั้น จึงจะก่อให้เกิดอำนาจแก่โจทก์ในข้อที่จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายดังกล่าวได้ ทั้งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ และด้วยเหตุดังกล่าวตามคำฟ้องของโจทก์ก็ดี หรือตามทางนำสืบของโจทก์ก็ดี ความไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ตามมาตรา 85/3 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิและเงื่อนไขตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อเรียกให้จำเลย ชำระหนี้ดังกล่าว
จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาแก่โจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษา: จำเลยต้องปฏิบัติตามลำดับชำระหนี้ตามคำพิพากษา แม้จะมีเจ้าของรวม
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดิน ส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000 บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตาม ลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะ อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญา จะซื้อจะขายนี้แล้ว และกรณีเช่นว่านี้โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดี แก่จำเลยรวมทั้ง อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ 1361 วรรคสองจำเลยไม่อาจเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำพังตนเองโดยปราศจาก ความยินยอมของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามลำดับที่ศาลกำหนด แม้เจ้าของรวมอีกคนยินยอม
เมื่อศาลฎีกาในคดีหลักมีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า อ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายนี้แล้ว โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่จำเลยรวมทั้ง อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ 1361 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามลำดับที่ศาลกำหนด แม้จะมีเจ้าของรวมอื่น ยินยอมการทำสัญญา
เมื่อศาลฎีกาในคดีหลักมีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า อ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายนี้แล้ว โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่จำเลยรวมทั้ง อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ 1361 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนที่ดินให้ครบถ้วน แม้มีเจ้าของรวมอื่น ย่อมถูกบังคับคดีได้
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000 บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะ อ.เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายนี้แล้ว และกรณีเช่นว่านี้โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีแก่จำเลยรวมทั้ง อ.เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบด้วยป.พ.พ.มาตรา 213 และ 1361 วรรคสอง จำเลยไม่อาจเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำพังตนเองโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6659/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: ฎีกาของผู้ขาดนัดยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อผู้ร้องสอด
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเพราะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ให้การไว้ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท หาใช่ผู้ร้องสอดแล้ว หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและมีคำสั่ง ให้ขับไล่จำเลย คำสั่งที่ให้ขับไล่นี้ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ ตามมาตรา 142(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6659/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ สิทธิฎีกาจำกัด ผู้ร้องสอดไม่มีสิทธิครอบครอง
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเพราะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ให้การไว้ ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 249
ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ.มาตรา57 (1) อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท หาใช่ผู้ร้องสอดแล้ว หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลย คำสั่งที่ให้ขับไล่นี้ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ตามมาตรา 142 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6413/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงสถานะยาจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดให้โทษต่อความผิดตามกฎหมายจราจร
ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "วัตถุออกฤทธิ์ หมายความว่าวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ฉะนั้นวัตถุสิ่งใดหรือวัตถุออกฤทธิ์ใดจะเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ต้องเป็นสิ่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสำคัญ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539)ให้ยกเลิกประกาศฉบับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตัวยาบางประเภทโดยเฉพาะเมทแอมเฟตามีนและแอมเฟตามีนเสียแล้วและตามบัญชีท้ายประกาศก็มิได้ระบุว่ายาทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเป็นวัตถุออกฤทธิ์ แต่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) และบัญชีท้ายประกาศ ข้อกำหนดดังกล่าวย่อมมีผลไปถึงกฎหมายฉบับอื่นที่ได้ระบุไว้เป็นการทั่ว ๆ ไปของคำว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไปด้วยในตัวการที่จำเลยขับรถยนต์ในขณะเสพเมทแอมเฟตามีน จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจารและการกระทำชำเรา ถือเป็นความผิด 2 กรรม
การที่จำเลยได้พาหรือชักจูงผู้เสียหาย(อายุ 12 ปีเศษ)ไปจากบริเวณถนนหน้าบ้านอาของผู้เสียหายที่ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่ ไปยังบ้านเพื่อนของจำเลยและได้กระทำชำเราผู้เสียหาย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้องด้วยทำนองคลองธรรม แล้วจำเลยพาผู้เสียหายกลับมาส่งที่บ้านพัก กรณีถือได้ว่าจำเลยโดยปราศจากเหตุอันสมควรได้พรากผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตอนหนึ่งแล้ว ครั้นจำเลยกระทำชำเราหรือร่วมเพศกับผู้เสียหายอายุไม่เกิน 13 ปีไม่ว่าผู้เสียหายยินยอมหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยในตอนหลังก็เป็นความผิดสำเร็จในอีกขั้นตอนหนึ่ง อันถือเป็นคนละขั้นตอนหรือเป็นคนละกรรมกับการกระทำความผิดในขั้นตอนแรก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรม
การที่จำเลยกอดปล้ำถอดเสื้อผ้าผู้เสียหายก็เพื่อการกระทำชำเราผู้เสียหาย และในเวลาเดียวกันจำเลยก็ได้กระทำชำเราหรือร่วมเพศกับผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่รวม 8 ครั้ง หลังจากนั้นตอนที่จำเลยพาผู้เสียหายมาไว้ที่หอพักจนกระทั่งจำเลยพาผู้เสียหายไปส่งที่บ้านพักก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำอนาจารหรือกอดจูบลูบคลำผู้เสียหายใด ๆ อีก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 279 วรรคแรก ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่ออนาจาร และกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ถือเป็นความผิด 2 กรรม
การที่จำเลยได้พาหรือชักจูงผู้เสียหาย (อายุ 12 ปีเศษ)ไปจากบริเวณถนนหน้าบ้านอาของผู้เสียหายที่ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่ ไปยังบ้านเพื่อนของจำเลยและได้กระทำชำเราผู้เสียหาย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้องด้วยทำนองคลองธรรมแล้วจำเลยพาผู้เสียหายกลับมาส่งที่บ้านพัก กรณีถือได้ว่าจำเลยโดยปราศจากเหตุอันสมควรได้พรากผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาหรือ ผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตอนหนึ่งแล้ว ครั้นจำเลยกระทำชำเราหรือร่วมเพศกับผู้เสียหายอายุไม่เกิน 13 ปี ไม่ว่าผู้เสียหายยินยอมหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยในตอนหลังก็เป็นความผิดสำเร็จในอีกขั้นตอนหนึ่ง อันถือเป็นคนละขั้นตอน หรือเป็นคนละกรรมกับการกระทำความผิดในขั้นตอนแรก การกระทำ ของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรม การที่จำเลยกอดปล้ำถอดเสื้อผ้าผู้เสียหายก็เพื่อกระทำชำเราผู้เสียหาย และในเวลาเดียวกันจำเลยก็ได้กระทำชำเราหรือร่วมเพศกับผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่รวม 8 ครั้ง หลังจากนั้นตอนที่จำเลยพาผู้เสียหายมาไว้ที่หอพักจนกระทั่งจำเลยพาผู้เสียหายไปส่งที่บ้านพักก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำอนาจารหรือกอดจูบลูบคลำผู้เสียหายใด ๆ อีก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคแรก ข้อนี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
of 65