คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยนาท พันตาวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 295 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินเพิ่มภาษี vs. การลดเบี้ยปรับ: ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษี
การเสียเงินเพิ่มเนื่องจากผู้เสียภาษีไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดนั้น ป.รัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้แน่นอน โดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บแต่อย่างใด และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้
ส่วนปัญหาการงดหรือลดเบี้ยปรับนั้น โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมเอกสารรายงานผู้สอบบัญชี งบดุลของโจทก์รายละเอียดสินค้าคงเหลือ หมายเหตุประกอบงบดุล และรายการแสดงรายได้รายจ่ายและโจทก์ได้จัดส่งบัญชีและเอกสารพร้อมทั้งหลักฐานต่าง ๆ อีกทั้งมอบให้ ส.และ ท.ไปให้การต่อเจ้าพนักงานประเมิน 3 ครั้ง และรับทราบผลของการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นนี้ พอฟังได้ว่าโจทก์มิได้มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษีแต่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานด้วยดีพอสมควร เพราะมิฉะนั้นแล้วเจ้าพนักงานประเมินคงจะไม่สามารถประเมินรายได้ของโจทก์ได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้มาหรือรับเอกสารของเจ้าพนักงานทุกครั้ง ก็อาจเป็นกรณีมีความจำเป็นหรือไม่ทราบก็อาจเป็นได้ จึงยังไม่พอฟังว่าโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์กึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีรอผลคดีมรดก: ปัญหาความขัดแย้งคำพิพากษาและผลกระทบต่อคู่ความ
คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีนี้กับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในอีกคดีหนึ่งมีข้อความไม่เหมือนกันในสาระสำคัญในทำนองที่ว่าโจทก์คดีนี้เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกหรือโจทก์ถูกตัดมิให้ได้รับมรดกจึงยังเป็นปัญหาที่น่าสงสัยอยู่ และจำเลยคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาลในคดีแพ่ง ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับพวกในคดีดังกล่าวร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรม คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ดังนี้หากจะให้มีการบังคับคดีต่อไปแล้วและในชั้นที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี การบังคับคดีก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป และหากมีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปแล้ว การบังคับคดีของจำเลยอาจจะไร้ประโยชน์ อันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายและการงดบังคับคดีของโจทก์ไว้ชั่วคราวไม่น่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพียงแต่ทำให้โจทก์บังคับคดีช้าไปบ้างเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้งดการบังคับคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวตามที่จำเลยร้องขอซึ่งทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี จึงนับว่ามีเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 292(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีมรดก: งดบังคับคดีชั่วคราวเพื่อรอผลคดีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในมรดกที่ยังไม่ยุติ
คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีนี้กับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในอีกคดีหนึ่งมีข้อความไม่เหมือนกันในสาระสำคัญในทำนองที่ว่าโจทก์คดีนี้เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกหรือโจทก์ถูกตัดมิให้ได้รับมรดกจึงยังเป็นปัญหาที่น่าสงสัยอยู่และจำเลยคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาลในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยที่1กับพวกในคดีดังกล่าวร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมคดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นดังนี้หากจะให้มีการบังคับคดีต่อไปแล้วและในชั้นที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีการบังคับคดีก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปและหากมีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปแล้วการบังคับคดีของจำเลยอาจจะไร้ประโยชน์อันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายและการงดบังคับคดีของโจทก์ไว้ชั่วคราวไม่น่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพียงแต่ทำให้โจทก์บังคับคดีช้าไปบ้างเท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้งดการบังคับคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวตามที่จำเลยร้องขอซึ่งทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดีจึงนับว่ามีเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา292(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดบังคับคดีชั่วคราวรอผลคดีมรดก: ศาลมีดุลพินิจชอบธรรมเพื่อความยุติธรรม
คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีนี้กับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในอีกคดีหนึ่งมีข้อความไม่เหมือนกันในสาระสำคัญในทำนองที่ว่าโจทก์คดีนี้เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกหรือโจทก์ถูกตัดมิให้ได้รับมรดกจึงยังเป็นปัญหาที่น่าสงสัยอยู่ และจำเลยคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาลในคดีแพ่ง ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับพวกในคดีดังกล่าวร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรม คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ดังนี้ หากจะให้มีการบังคับคดีต่อไปแล้วและในชั้นที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี การบังคับคดีก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป และหากมีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปแล้ว การบังคับคดีของจำเลยอาจจะไร้ประโยชน์ อันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย และการงดบังคับคดีของโจทก์ไว้ชั่วคราวไม่น่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพียงแต่ทำให้โจทก์บังคับคดีช้าไปบ้างเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้งดการบังคับคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวตามที่จำเลยร้องขอซึ่งทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี จึงนับว่ามีเหตุอันสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา292 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญานายหน้าต้องมีข้อตกลงโดยตรงกับจำเลย แม้มีส่วนแบ่งค่านายหน้าจากผู้อื่นก็ไม่ผูกพันจำเลย
สัญญานายหน้าจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการตกลงกันระหว่างบุคคลที่ประสงค์จะทำสัญญากับบุคคลที่จะทำหน้าที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญาหรือจัดการให้ได้ทำสัญญาที่เรียกว่านายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา845และมาตรา846โจทก์ไม่เคยรู้จักจำเลยพ. น้องจำเลยเป็นผู้ติดต่อขอให้โจทก์ช่วยเสนอขายที่ดินของจำเลยโดยโจทก์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินและราคาจากพ. โดยพ. ตกลงกับโจทก์ว่าค่านายหน้าที่จำเลยจะให้ในอัตราร้อยละ3ของราคาซื้อขายที่ดินนั้นพ. จะแบ่งให้โจทก์ร้อยละ2ในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยกับจ. โจทก์ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินจ.เป็นคนรับเงินค่านายหน้าไว้แทนโจทก์200,000บาทและบอกว่าส่วนที่เหลือให้โจทก์ติดต่อพ. แสดงให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยไม่ได้ตกลงโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้จ. มาซื้อที่ดินจำเลยการที่โจทก์ตกลงร่วมกับพ. ทำหน้าที่ติดต่อชี้ช่องให้จ. เข้าทำสัญญากับจำเลยแล้วได้ส่วนแบ่งค่านายหน้าจากพ. จึงเป็นเพียงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับพ. เท่านั้นโจทก์ย่อมไม่ใช่นายหน้าของจำเลยเพราะเหตุไม่มีนิติสัมพันธ์ข้อตกลงต่อกันโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับเรียกเอาค่านายหน้าจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญานายหน้าต้องมีข้อตกลงโดยตรงกับผู้ขาย ไม่ใช่ผ่านบุคคลอื่น
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา845และ846แสดงให้เห็นว่าสัญญานายหน้าจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีการตกลงกันระหว่างบุคคลที่ประสงค์จะทำสัญญากับบุคคลที่จะทำหน้าที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญาหรือจัดการให้ได้ทำสัญญาที่เรียกว่านายหน้าเมื่อได้ความว่าโจทก์ไม่เคยรู้จักจำเลยพ. น้องจำเลยเป็นผู้ติดต่อขอให้โจทก์ช่วยเสนอขายที่ดินของจำเลยโดยโจทก์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินและราคาจากพ. พ. ตกลงกับโจทก์ว่าค่านายหน้าที่จำเลยจะให้ในอัตราร้อยละ3ของราคาซื้อขายที่ดินนั้นพ. จะแบ่งให้โจทก์ร้อยละ2ส่วนพ. จะเอาไว้ร้อยละ1โจทก์ไม่เคยตกลงเรื่องค่านายหน้ากับจำเลยในวันทำสัญญาจะซื้อขายโจทก์ได้รับเงินค่านายหน้าจากพ. และในวันที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยกับจ. โจทก์ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินจ. เป็นคนรับเงินค่านายหน้าไว้แทนโจทก์200,000บาทและบอกว่าส่วนที่เหลือให้โจทก์ติดต่อพ. แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้ตกลงโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้จ.มาซื้อที่ดินจำเลยแม้โจทก์ตกลงร่วมกับพ. ทำหน้าที่ติดต่อชี้ช่องให้จ. เข้าทำสัญญากับจำเลยหรือจัดการให้จ. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยแล้วได้ส่วนแบ่งค่านายหน้าจากพ. ก็เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับพ. เท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยตกลงให้โจทก์ร่วมกับพ.ทำหน้าที่ชี้ช่องให้จำเลยกับจ. เข้าทำสัญญากันแล้วโจทก์ย่อมไม่ใช่นายหน้าของจำเลยโจทก์ได้รับแบ่งค่านายหน้าที่จำเลยจ่ายให้จากพ. และจ. มาบางส่วนก็เป็นเพราะเหตุที่มีข้อตกลงกันไว้ระหว่างโจทก์กับพ. และจ.แต่โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับเรียกเอาค่านายหน้าจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญานายหน้าต้องมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างจำเลยกับนายหน้า การตกลงกับบุคคลอื่นไม่ใช่หลักฐานเพียงพอ
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 845 และ 846 แสดงให้เห็นว่า สัญญานายหน้าจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีการตกลงกันระหว่างบุคคลที่ประสงค์จะทำสัญญากับบุคคลที่จะทำหน้าที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญาหรือจัดการให้ได้ทำสัญญาที่เรียกว่านายหน้า เมื่อได้ความว่าโจทก์ไม่เคยรู้จักจำเลย พ.น้องจำเลยเป็นผู้ติดต่อขอให้โจทก์ช่วยเสนอขายที่ดินของจำเลย โดยโจทก์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินและราคาจาก พ. พ.ตกลงกับโจทก์ว่าค่านายหน้าที่จำเลยจะให้ในอัตราร้อยละ 3ของราคาซื้อขายที่ดินนั้น พ.จะแบ่งให้โจทก์ร้อยละ 2 ส่วน พ.จะเอาไว้ร้อยละ 1 โจทก์ไม่เคยตกลงเรื่องค่านายหน้ากับจำเลยในวันทำสัญญาจะซื้อขายโจทก์ได้รับเงินค่านายหน้าจาก พ. และในวันที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยกับ จ.โจทก์ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดิน จ.เป็นคนรับเงินค่านายหน้าไว้แทนโจทก์ 200,000 บาท และบอกว่าส่วนที่เหลือให้โจทก์ติดต่อ พ. แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้ตกลงโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้ จ.มาซื้อที่ดินจำเลย แม้โจทก์ตกลงร่วมกับ พ.ทำหน้าที่ติดต่อชี้ช่องให้ จ.เข้าทำสัญญากับจำเลย หรือจัดการให้ จ.ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยแล้วได้ส่วนแบ่งค่านายหน้าจาก พ. ก็เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ พ.เท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยตกลงให้โจทก์ร่วมกับ พ.ทำหน้าที่ชี้ช่องให้จำเลยกับ จ.เข้าทำสัญญากันแล้ว โจทก์ย่อมไม่ใช่นายหน้าของจำเลย โจทก์ได้รับแบ่งค่านายหน้าที่จำเลยจ่ายให้จาก พ.และ จ.มาบางส่วน ก็เป็นเพราะเหตุที่มีข้อตกลงกันไว้ระหว่างโจทก์กับ พ.และ จ.แต่โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับเรียกเอาค่านายหน้าจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เช่าซื้อมีสิทธิทำประกันภัยรถยนต์ และมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยได้หากรถยนต์สูญหาย
โจทก์ที่2เป็นผู้เช่าซื้อรถที่จำเลยรับประกันภัยแม้จะชำระค่าเช่าซื้อยังไม่หมดมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถทั้งสองคันแต่โจทก์ที่2ในฐานะผู้เช่าซื้อมีสิทธิยึดถือและใช้ประโยชน์ตลอดจนรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดขึ้นแก่รถที่เช่าซื้อและเมื่อชำระเงินครบถ้วนแล้วรถนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่2หรือหากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโจทก์ที่2มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนผู้ให้เช่าซื้อโจทก์ที่2จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถทั้งสองคันมีสิทธิทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยได้ตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งมีผลบังคับใช้ในขณะรถที่จำเลยรับประกันภัยสูญหายและในกรมธรรม์ก็มีชื่อตัวชื่อสกุลของโจทก์ที่2ปรากฏอยู่ในช่องผู้เอาประกันภัยแม้จะอยู่ในวงเล็บก็มิได้หมายความว่ามิใช่เป็นผู้เอาประกันภัยประกอบกับโจทก์ที่2เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยโจทก์ที่2จึงเป็นคู่สัญญาประกันภัยกับจำเลยมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้ใดเป็นคนร้ายลักรถที่จำเลยรับประกันภัยไปและจนกระทั่งบัดนี้ก็ยังไม่ทราบว่ารถที่จำเลยรับประกันภัยอยู่ที่ใดทั้งว.คนขับรถซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ที่2ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตามพฤติการณ์จึงยังฟังไม่ได้ว่าว.ลักรถที่จำเลยรับประกันภัยไปจำเลยเพียงสงสัยว่าว.อาจจะเป็นคนร้ายเท่านั้นดังนี้จำเลยจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซื้อขายสินค้าเพื่อกิจการของลูกหนี้: 5 ปี, การยอมรับหนี้ทำให้สะดุด
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการโรงงานผลิตอาหารสัตว์ทุกชนิดเพื่อจำหน่าย ส่วนจำเลยมีอาชีพตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้ง และเป็นลูกค้าโจทก์ โดยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งจากโจทก์เพื่อนำไปเลี้ยงกุ้ง เมื่อจำเลยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งไปเพื่อเลี้ยงกุ้งจำหน่าย หาได้ซื้อไปเพื่อเลี้ยงกุ้งไว้บริโภคเอง กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ดังนั้น อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงมีกำหนด 5 ปี หาใช่ 2 ปี ไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ลงชื่อยอมรับยอดหนี้ตามบันทึกลงวันที่ 1 ตุลาคม 2533 อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เมื่อนับระยะเวลาจากวันดังกล่าวถึงวันที่ 23 เมษายน 2536ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซื้อขายอาหารสัตว์: กรณีซื้อเพื่อกิจการค้ามีอายุความ 5 ปี
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดประกอบกิจการโรงงานผลิตอาหารสัตว์ทุกชนิดเพื่อจำหน่ายส่วนจำเลยมีอาชีพตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้งและเป็นลูกค้าโจทก์โดยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งจากโจทก์เพื่อนำไปเลี้ยงกุ้งเมื่อจำเลยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งไปเพื่อเลี้ยงกุ้งจำหน่ายหาได้ซื้อไปเพื่อเลี้ยงกุ้งไว้บริโภคเองกรณีจึงตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(1)ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองดังนั้นอายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนด5ปีหาใช่2ปีไม่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ลงชื่อยอมรับยอดหนี้ตามบันทึกลงวันที่1ตุลาคม2533อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเมื่อนับระยะเวลาจากวันดังกล่าวถึงวันที่23เมษายน2536ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด5ปีฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 30