พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทที่เป็นสินสมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อนโอน
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้มาเมื่อปี 2525เป็นทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 99 เดิม เมื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1474แต่โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งมาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วฯ และไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ดังนั้น สามีโจทก์จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ.2477 มาตรา 1468 การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1469 ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อน หากสามีโจทก์ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผล โจทก์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1475
โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56 วรรคสอง ก่อน แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56 วรรคสอง ก่อน แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีก่อนผูกพันคู่ความและโจทก์ร่วมในคดีใหม่ ห้ามโต้แย้งสิทธิที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
คดีก่อนศาลแพ่งได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินรายพิพาทมาจากนายพงษ์และนางถวิล สังข์เลี้ยง โดยสุจริต และจดทะเบียนสิทธิแล้ว และต่อมายกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินรายพิพาทโดยชอบ โจทก์ไม่อาจยกการได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครองซึ่งมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขึ้นต่อสู้ โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านประการใด คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ ซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณามิให้โต้เถียงเป็นอย่างอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ส่วนโจทก์ร่วมนั้นในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 พิพาทกันในคดีก่อน โจทก์ร่วมยังเป็นภริยาของโจทก์อยู่ ถึงแม้โจทก์ร่วมจะได้ร่วมกับโจทก์ครอบครองที่ดินรายพิพาทมา ที่ดินรายพิพาทก็เป็นสินสมรสซึ่งโจทก์ในฐานะสามีมีอำนาจจัดการ การที่โจทก์เข้าต่อสู้คดีเกี่ยวกับที่ดินรายพิพาทย่อมเป็นการกระทำแทนโจทก์ร่วมด้วย คำพิพากษาในคดีก่อนจึงผูกพันโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 ดุจเดียวกัน ดังนั้นโจทก์และโจทก์ร่วมจะฟ้องคดีใหม่ว่า จำเลยที่ 1 มิได้ซื้อที่ดินและจำเลยที่ 2 ไม่ได้กรรมสิทธิ์อันเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาในคดีก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การจัดการสินบริคณห์, และขอบเขตความรับผิดของประกันภัย
คำฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีละเมิดได้บรรยายชัดแจ้งพอสมควรว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร ค่าเสียหายแต่ละรายการเป็นจำนวนเงินเท่าใด จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะหลักฐานและรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายเป็นเรื่องที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณา
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมสามีเป็นผู้จัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาหรือการใด ๆ เพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ โจทก์สมรสกับภริยาก่อนใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิด เพื่อความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินอันเป็นการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ได้ เพราะบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสได้มีอยู่แล้ว
โจทก์จำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดมือและเท้าอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สามารถใช้การได้เป็นปกติ แต่โจทก์กะประมาณค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดโดยปราศจากพยานสนับสนุน เป็นการพ้นวิสัยที่ศาลจะหยั่งรู้ได้แน่นอนความเสียหายมีเพียงใด ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ และสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 วรรคสอง
จำเลย ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะว่ากล่าวเอาแก่จำเลย ที่ 2 ผู้เป็นคู่สัญญา แต่จะยกเหตุดังกล่าวมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างจำเลย ที่ 2 กับจำเลย ที่ 3 หาได้ไม่
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลดค่าเสียหายซึ่งจำเลย ที่ 2 จะต้องชดใช้ให้โจทก์น้อยลง และการชำระหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลย ที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมสามีเป็นผู้จัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาหรือการใด ๆ เพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ โจทก์สมรสกับภริยาก่อนใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิด เพื่อความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินอันเป็นการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ได้ เพราะบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสได้มีอยู่แล้ว
โจทก์จำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดมือและเท้าอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สามารถใช้การได้เป็นปกติ แต่โจทก์กะประมาณค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดโดยปราศจากพยานสนับสนุน เป็นการพ้นวิสัยที่ศาลจะหยั่งรู้ได้แน่นอนความเสียหายมีเพียงใด ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ และสงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 วรรคสอง
จำเลย ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะว่ากล่าวเอาแก่จำเลย ที่ 2 ผู้เป็นคู่สัญญา แต่จะยกเหตุดังกล่าวมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างจำเลย ที่ 2 กับจำเลย ที่ 3 หาได้ไม่
เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลดค่าเสียหายซึ่งจำเลย ที่ 2 จะต้องชดใช้ให้โจทก์น้อยลง และการชำระหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลย ที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, อำนาจฟ้อง, การผิดนัดชำระหนี้: การพิจารณาความสมบูรณ์ของฟ้องและการเกิดผลของการผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องมีความตอนหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการของห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ส่วนใหญ่ใจความเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจและเห็นได้ชัดว่ามีความหมายถึงจำเลยที่ 3 ฟ้องโจทก์เช่นนี้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นหญิงมีสามี เมื่อได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีได้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจมอบให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนตนได้ ไม่จำเป็นต้องให้สามีลงชื่อให้ความยินยอมในใบมอบอำนาจซ้ำอีก
จำเลยออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดนัดทันทีที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามอีก
โจทก์เป็นหญิงมีสามี เมื่อได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดีได้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจมอบให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนตนได้ ไม่จำเป็นต้องให้สามีลงชื่อให้ความยินยอมในใบมอบอำนาจซ้ำอีก
จำเลยออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดนัดทันทีที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรสและการยกอายุความมรดก: สามีมีอำนาจใช้สิทธิทายาทเพื่อต่อสู้คดีได้
โจทก์ฟ้องเรียกมรดกจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากัน เมื่อทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระหนึ่งจึงเป็นสินสมรส จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีย่อมมีอำนาจจัดการและฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกซึ่งเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ บรรพ 5 (เดิม) แม้ภายหลังมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงมีอำนาจจัดการทรัพย์พิพาทต่อไปตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจใช้สิทธิจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสินบริคณห์: สิทธิเดิมของผู้จัดการสินสมรสย่อมไม่ถูกกระทบโดยกฎหมายใหม่
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสืบบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 ใหม่นี้ เมื่อคดีได้ความว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 โจทก์ซึ่งเป็นสามีมีอำนาจจัดการรวมทั้งมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่ที่พิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์นั้นได้อยู่แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 (เดิม) มาตรา 1468, 1469 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยลำพัง