คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลอ ทองแย้ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง: ศาลล่างวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท ย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาพยานหลักฐาน
ตามคำให้การของจำเลยถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จริงคดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนมารดาโจทก์หรือไม่การที่ศาลล่างหยิบยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเพียงใส่ชื่อแทนมารดาโจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจึงเป็นการหยิบยกข้อเท็จจริงนอกประเด็นขึ้นวินิจฉัยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่นั้นจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบเมื่อเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็นย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ทั้งกรณีมิใช่เป็นการนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายข้อนี้แม้โจทก์มิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงจากการดำเนินกระบวนพิจารณา หากจำเลยไม่ปฏิเสธกรรมสิทธิ์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่นั้นจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องไว้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดดังกล่าวดังนั้นคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนมารดาโจทก์หรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นเพียงใส่ชื่อแทนมารดาโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง จึงเป็นการหยิบยกข้อเท็จจริงนอกประเด็นขึ้นวินิจฉัยเป็นปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ข้อนี้แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และเมื่อศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยพิจารณาพยานหลักฐานตามที่คู่ความนำสืบโต้แย้งกันก่อน กรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองเมื่อเจ้าของที่ดินใช้สิทธิบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองตึกแถวพิพาทไว้จากจำเลยชอบที่จะใช้สิทธิเพื่อให้ตนได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้สามัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 วรรคแรก เท่านั้น แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ตึกแถวพิพาทซึ่งจำเลยปลูกอยู่ใช้สิทธิบังคับคดีขับไล่จำเลยให้รื้อถอนตึกแถวดังกล่าวออกไปย่อมไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหรือผู้ร้องเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอันเกี่ยวกับตึกแถวพิพาท ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนการยึดและระงับการรื้อถอนตึกแถวพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองเมื่อเจ้าของที่ดินบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง – ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดี
โจทก์ใช้สิทธิบังคับคดีขับไล่จำเลยให้รื้อถอนตึกแถวพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองตึกแถวดังกล่าวไว้จากจำเลยชอบเพียงที่จะใช้สิทธิเพื่อให้ตนได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้สามัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา289วรรคแรกเท่านั้นผู้ร้องจึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีเกี่ยวกับตึกแถวพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนออกไปจากที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปีนับจากวันที่ผิดนัดชำระ และมีผลถึงลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่2สมัครเป็นสมาชิกผู้ใช้บัตรเครดิตประเภทบัตรเสริมของโจทก์โดยจำเลยที่ 2 สามารถนำบัตรไปใช้ซื้อสินค้าและบริการตลอดจนเสียเงินสดจากสถานประกอบกิจการที่เป็นสมาชิกของโจทก์ได้โดยโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยที่ 2 ให้แก่สถานประกอบกิจการค้าต่างๆไปก่อนจากนั้นโจทก์จะเรียกเก็บเงินที่ทดรองจ่ายแทนจากจำเลยที่ 2 เป็นรายเดือนตามรอบระยะเวลาทางบัญชีที่โจทก์กำหนดเช่นนี้โจทก์จึงเป็นผู้ค้ารับทำการงานต่างๆให้แก่สมาชิกและการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165 (7) เดิม คดีนี้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยทั้งห้าเป็นอย่างเดียวกันการที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกันแม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 245 (1), 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติเกษียณอายุ ต้องเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ การบันทึก 'เพื่อพิจารณาอนุมัติ' ไม่ถือเป็นการอนุมัติ
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนครบกำหนดได้คือกรรมการผู้จัดการดังนั้นที่ผู้จัดการโรงงานของจำเลยบันทึกลงในคำขอเกษียณอายุก่อนครบกำหนดของโจทก์ว่าเพื่อพิจารณาอนุมัติจึงเป็นการบันทึกเสนอให้กรรมการผู้จัดการพิจารณาเท่านั้นหาใช่เป็นการอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนครบกำหนดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุมัติเกษียณก่อนกำหนด: ผู้จัดการโรงงานเสนอ, กรรมการผู้จัดการอนุมัติ
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนครบกำหนดได้คือกรรมการผู้จัดการ ดังนั้น ที่ผู้จัดการโรงงานของจำเลยบันทึกลงในคำขอเกษียณอายุก่อนครบกำหนดของโจทก์ว่า เพื่อพิจารณาอนุมัติ จึงเป็นการบันทึกเสนอให้กรรมการผู้จัดการพิจารณาเท่านั้น หาใช่เป็นการอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนครบกำหนดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ: การไม่มีสถานประกอบการถาวรและฐานะตัวแทนทางภาษี
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์ไม่ใช่สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าดังกล่าวได้รับประโยชน์จากอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ขายสินค้าจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่เป็นตัวแทนในการชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวด้วย ดังนี้ คำฟ้องนี้เป็นคำฟ้องที่ได้ความชัดแจ้งแล้ว ส่วนอนุสัญญาดังกล่าวจะทำกันเมื่อใด รัฐบาลทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกันเมื่อใด และอนุสัญญาดังกล่าวมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ รวม 9 บริษัท การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศทั้ง 9 บริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีขายให้แก่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนนั้น โจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทย แล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่อง โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้า ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไร ไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า ไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไป ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: โจทก์ซื้อมาขายไป ไม่เป็นตัวแทนบริษัทต่างประเทศ ไม่เข้าข่ายภาษีตามมาตรา 76 ทวิ
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์ไม่ใช่สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าดังกล่าวได้รับประโยชน์จากอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ขายสินค้าจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่เป็นตัวแทนในการชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวด้วยดังนี้ คำฟ้องนี้เป็นคำฟ้องที่ได้ความชัดแจ้งแล้ว ส่วนอนุสัญญาดังกล่าวจะทำกันเมื่อใดรัฐบาลทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกันเมื่อใด และอนุสัญญาดังกล่าวมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันในชั้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ รวม 9บริษัท การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศทั้ง 9 บริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีขายให้แก่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนนั้น โจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทย แล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่อง โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้า ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไร ไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า ไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไป ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสินค้าโดยไม่ถือเป็นตัวแทนของบริษัทต่างประเทศ และการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทผู้ขายในต่างประเทศการจำหน่ายสินค้าของโจทก์มี2วิธีวิธีที่1โจทก์เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชำระเงินเองเมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทยแล้วโจทก์จะขายต่อให้ลูกค้าส่วนวิธีที่2โจทก์เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าแต่ให้ลูกค้าเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินเองวิธีนี้ไม่ว่าลูกค้าจะเป็นหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนโจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทยแล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเองโจทก์มีอิสระในการขายถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่องโจทก์ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้าผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไรไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้าแม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายในต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้าการจำหน่ายสินค้าตามวิธีนี้จึงไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ขายในต่างประเทศบริษัทผู้ขายในต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทยโจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไปไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการ ตัวแทนของ นิติบุคคลต่างประเทศตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิโจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนนิติบุคคลต่างประเทศ
of 41