พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ใหม่ vs. การแปลงหนี้: อายุความฟ้องคดี
กรณีที่จะต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35ต้องเป็นกรณีลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว ต่อมาหนี้ขาดอายุความภายหลังจากนั้นลูกหนี้จึงได้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยไม่เคยเป็นหนี้โจทก์มาก่อน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ขอชำระหนี้แทนบริษัท บ. ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา 193/35 แต่กรณีเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัท บ.จำกัด มาเป็นจำเลย
การฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/30
การฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่และการกำหนดอายุความฟ้องคดี การฟ้องโดยอาศัยหนี้เดิมตามเช็คหรือไม่
กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้วต่อมาหนี้ขาดอายุความภายหลังจากนั้นลูกหนี้จึงได้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือจำเลยไม่เคยเป็นหนี้โจทก์มาก่อน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ตามมาตรา 193/35 แต่กรณีเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการ เปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทอื่นมาเป็นจำเลย การฟ้องคดีตาม บันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความสิบปีตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8752/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุคำว่า 'กู้ยืม' หากมีหลักฐานหนี้สินชัดเจนและลงลายมือชื่อผู้กู้
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งมิได้เคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่ากู้ยืมอยู่ในหนังสือนั้น เมื่อหนังสือมีข้อความระบุว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ จำนวน 188,259 บาท และยังไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์กับมีลายมือชื่อจำเลยลงไว้และมีตัวโจทก์มาสืบประกอบอธิบายว่าหนี้เงินจำนวนดังกล่าวเป็นหนี้ที่จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปซื้อกระดาษทำกล่องใส่เค้กมาขายให้ โจทก์เพื่อหักหนี้กันจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8447/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิกรมสรรพากรขอเฉลี่ยหนี้ภาษีอากรค้างในคดีบังคับคดี แม้ไม่ใช่หนี้ตามคำพิพากษา และระยะเวลาการยื่นคำขอ
กรมสรรพากรมีสิทธินำหนี้ภาษีอากรค้างมายื่นขอเฉลี่ยในคดีที่มีการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290 วรรคสามได้ ถึงแม้มิใช่หนี้อันเกิดจากคำพิพากษาก็ตาม ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2534 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเฉลี่ยภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2534 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสี่มิใช่ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8256/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีนอกประเด็น และการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท
ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยซึ่งคู่ความรับกันแล้วว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 378 ของจำเลยออกทับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 15 ของโจทก์คือที่ดินพิพาททั้งแปลง การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าที่ดินแปลงที่สามคือที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 15 ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่โจทก์นำชี้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่ติดที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 196 และ 202 แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างการยื่นฎีกานั้นจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 การที่โจทก์ขอถือเอาอุทธรณ์ของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น เป็นฎีกาที่มิชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารและการรื้อถอนส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมอาคาร โดยคำนึงถึงอาคารเดิมที่สร้างก่อนมีข้อบัญญัติ
จากแบบแปลนแผนผังที่นายตรวจอาคารงานโยธาทำขึ้นไม่ปรากฏว่ามีห้องน้ำห้องส้วมในตัวอาคาร แสดงว่าขณะที่จำเลยซื้อบ้านพิพาทมีห้องน้ำห้องส้วมรวมกันอยู่ติดกับรั้วกว้างประมาณ 1 วา ยาวประมาณ 1 วาเศษ ต่อมาจำเลยได้แบ่งซอยห้องน้ำห้องส้วม เดิมเป็นสองห้องใหม่โดยไม่ปรากฏว่ามีการเพิ่มหรือขยายพื้นที่ จึงไม่ทำให้พื้นที่ว่างเดิมลดน้อยลง อาคารของจำเลยได้ก่อสร้างมาก่อนพ.ศ.2522 ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479เป็นอาคารที่สร้างขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายมีพื้นที่ว่างไม่ถึงร้อยละ 30 แม้จะขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็หามีผลย้อนหลังใช้บังคับแก่อาคารของจำเลยได้ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรื้อถอนห้องน้ำห้องส้วมที่แบ่งซอย
ห้องส้วมอีก 4 ห้อง ขนาด 1.20 x 1.30 เมตร สูง 2 เมตรเป็นการก่อสร้างขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้จะก่อสร้างอยู่ใต้ชายคาเดิมเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้ความว่ามีบางส่วนด้านที่ติดกับรั้วบ้านเลขที่8/10 ล้ำออกไปจากชายคาประมาณ 20 เซนติเมตร ทำให้เหลือที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมลดลงไปกว่าเดิม และน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522ข้อ 76 (1) และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จำเลยจึงต้องรื้อถอนห้องส้วมจำนวน 4 ห้อง ที่ก่อสร้างขึ้นใหม่
ห้องส้วมอีก 4 ห้อง ขนาด 1.20 x 1.30 เมตร สูง 2 เมตรเป็นการก่อสร้างขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้จะก่อสร้างอยู่ใต้ชายคาเดิมเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้ความว่ามีบางส่วนด้านที่ติดกับรั้วบ้านเลขที่8/10 ล้ำออกไปจากชายคาประมาณ 20 เซนติเมตร ทำให้เหลือที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมลดลงไปกว่าเดิม และน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522ข้อ 76 (1) และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จำเลยจึงต้องรื้อถอนห้องส้วมจำนวน 4 ห้อง ที่ก่อสร้างขึ้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8013/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้ดุลพินิจศาลแรงงานในการลงโทษทางวินัย การลงโทษต้องสอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับและพฤติการณ์
แม้ตามคำขอท้ายคำร้องของนายจ้างผู้ร้องได้ขอให้ศาลแรงงานอนุญาตลงโทษลูกจ้างผู้คัดค้านด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือก็ตาม แต่ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องได้กำหนดโทษทางวินัยไว้ว่า พนักงานผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะถูกพิจารณาลงโทษตามที่เห็นสมควรดังนี้(1) ตักเตือนด้วยวาจา (2) ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร (3) ตัดค่าจ้าง(4) ลดค่าจ้าง (5) พักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างไม่เกิน 7 วัน (6) เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย จะเห็นได้ว่า การพิจารณาลงโทษพนักงานตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวต้องดูพฤติการณ์ของพนักงานที่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับตามความร้ายแรงเป็นเรื่อง ๆ ไป กรณีคดีนี้ ผู้คัดค้านขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเป็นครั้งแรกและผู้ร้องมิได้เกิดความเสียหาย ที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจา จึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว ทั้งโทษตักเตือนด้วยวาจาที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตก็เป็นโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง หาใช่เป็นการอนุญาตให้ลงโทษต่ำกว่าโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานไม่ และคำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 52 ดังกล่าวมีผลเป็นเพียงการอนุญาตให้สิทธิแก่ผู้ร้องที่จะตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านได้เท่านั้น มิใช่เป็นคำสั่งแทนผู้ร้องให้มีผลลงโทษตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านได้โดยทันที หากผู้ร้องประสงค์จะใช้สิทธิลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจาดังกล่าวก็จะต้องดำเนินการตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านเป็นอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้โทษตักเตือนด้วยวาจาก็เป็นโทษสถานเบากว่าโทษตักเตือนเป็นหนังสือตามที่ผู้ร้องร้องขอ คำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจาดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8013/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานมีอำนาจอนุญาตลงโทษทางวินัยลูกจ้างตามระเบียบของนายจ้างได้ โดยไม่เกินกรอบที่กฎหมายกำหนด
แม้ตามคำขอท้ายคำร้องของนายจ้างผู้ร้องได้ขอให้ศาลแรงงานอนุญาตลงโทษลูกจ้างผู้คัดค้านด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือก็ตามแต่ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องได้กำหนดโทษทางวินัยไว้ว่าพนักงานผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะถูกพิจารณาลงโทษตามที่เห็นสมควรดังนี้(1)ตักเตือนด้วยวาจา(2)ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร(3)ตัดค่าจ้าง(4)ลดค่าจ้าง(5)พักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างไม่เกิน7วัน(6)เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยจะเห็นได้ว่าการพิจารณาลงโทษพนักงานตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวต้องดูพฤติการณ์ของพนักงานที่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับตามความร้ายแรงเป็นเรื่องๆไปกรณีคดีนี้ผู้คัดค้านขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเป็นครั้งแรกและผู้ร้องมิได้เกิดความเสียหายที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจาจึงเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้วทั้งโทษตักเตือนด้วยวาจาที่ศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาตก็เป็นโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องหาใช่เป็นการอนุญาตให้ลงโทษต่ำกว่าโทษที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานไม่และคำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา52ดังกล่าวมีผลเป็นเพียงการอนุญาตให้สิทธิแก่ผู้ร้องที่จะตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านได้เท่านั้นมิใช่เป็นคำสั่งแทนผู้ร้องให้มีผลลงโทษตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านได้โดยทันทีหากผู้ร้องประสงค์จะใช้สิทธิลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจาดังกล่าวก็จะต้องดำเนินการตักเตือนด้วยวาจาแก่ผู้คัดค้านเป็นอีกส่วนหนึ่งนอกจากนี้โทษตักเตือนด้วยวาจาก็เป็นโทษสถานเบากว่าโทษตักเตือนเป็นหนังสือตามที่ผู้ร้องร้องขอคำสั่งของศาลแรงงานที่อนุญาตให้ลงโทษตักเตือนผู้คัดค้านด้วยวาจาดังกล่าวจึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา52ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7974/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อต่อสู้สัญญากู้ไม่สมบูรณ์: จำเลยมีสิทธิสืบพยานได้
จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินและไม่เคยรับเงินจากโจทก์ตามสัญญากู้ เงินที่จำเลยรับไปจากโจทก์เป็นค่ามัดจำที่โจทก์ซื้อที่ดินของจำเลย แต่ตกลงกันทำเป็นสัญญากู้ยืมเงินไว้เพราะหากจำเลยผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้ ยอมให้โจทก์บังคับตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อเรียกค่ามัดจำคืนจำเลยส่งมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์เข้าทำประโยชน์แล้วแต่โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระเงินที่เหลือตามกำหนด จำเลยจึงบอกเลิกการขายที่ดินและริบเงินมัดจำ โจทก์จะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยไม่ได้ ตามคำให้การของจำเลยเท่ากับต่อสู้ว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลเข้าสืบตามข้อต่อสู้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7974/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินที่ไม่สมบูรณ์และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเรื่องค่ามัดจำที่ดิน ศาลฎีกาอนุญาตให้สืบพยานได้
จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินและไม่เคยรับเงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เงินที่จำเลยรับไปจากโจทก์เป็นค่ามัดจำที่โจทก์ซื้อที่ดินของจำเลยแต่ตกลงกันทำเป็นสัญญากู้ยืมเงินไว้เพราะหากจำเลยผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้ยอมให้โจทก์บังคับตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อเรียกค่ามัดจำคืนจำเลยส่งมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์เข้าทำประโยชน์แล้วแต่โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระเงินที่เหลือตามกำหนดจำเลยจึงบอกเลิกการขายที่ดินและริบเงินมัดจำโจทก์จะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยไม่ได้ตามคำให้การของจำเลยเท่ากับต่อสู้ว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องไม่สมบูรณ์จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลเข้านำสืบตามข้อต่อสู้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้าย