คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลอ ทองแย้ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7818/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดร่วมกับผู้รับจ้างเมื่อผู้ควบคุมงานละเลยไม่สั่งระงับการก่อสร้างที่เสี่ยงอันตราย
ตามสัญญาจ้างระบุว่าจำเลยที่2ผู้รับจ้างจะต้องก่อสร้างตามรูปแบบและรายการที่จำเลยที่1ผู้ว่าจ้างกำหนดไว้ทุกประการและจำเลยที่1ได้แต่งตั้งให้ว.ช่างโยธาของจำเลยที่1เป็นผู้ควบคุมงานเมื่อว.เห็นว่าจำเลยที่4ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการของจำเลยที่2ใช้คนและเครื่องจักรขุดดินรางระบายน้ำเก่าโดยไม่ได้ใช้ไม้ค้ำยันและอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ดินพังลงมาแต่ว.ก็มิได้สั่งห้ามมิให้ทำเป็นเหตุให้ดินพังลงมาทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายถือว่าจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำด้วยจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่2ผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา428เพราะว.ผู้ควบคุมงานของจำเลยที่1มีหน้าที่ควบคุมวิธีการก่อสร้างด้วยมิใช่มีหน้าที่เพียงควบคุมให้ผลของงานเป็นไปตามสัญญาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7818/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดร่วมกับผู้รับจ้างในความเสียหายจากการควบคุมงานที่ไม่ปลอดภัย
ตามสัญญาจ้างระบุว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างจะต้องก่อสร้างตามรูปแบบและรายการที่จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างกำหนดไว้ทุกประการ และจำเลยที่ 1ได้แต่งตั้งให้ ว.ช่างโยธาของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมงาน เมื่อ ว.เห็นว่าจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการของจำเลยที่ 2 ใช้คนและเครื่องจักรขุดดินรางระบายน้ำเก่าโดยไม่ได้ใช้ไม้ค้ำยันและอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ดินพังลงมา แต่ ว.ก็มิได้สั่งห้ามมิให้ทำเป็นเหตุให้ดินพังลงมาทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย ถือว่าจำเลยที่ 1ในฐานะผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 428 เพราะ ว.ผู้ควบคุมงานของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ควบคุมวิธีการก่อสร้างด้วย มิใช่มีหน้าที่เพียงควบคุมให้ผลของงานเป็นไปตามสัญญาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7737/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาเช่านาตามกฎหมายและการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จำเลยเช่าที่ดินเพื่อทำนาแล้วไม่ชำระค่าเช่านาในปี2527ถึงปี2530อ. ผู้รับมอบอำนาจผู้ให้เช่านาแจ้งบอกเลิกการเช่านาไปยังจำเลยและคชก.ตำบลแล้วตามสัญญาเช่านานั้นมีกำหนดเวลาเช่าถึงวันที่31มีนาคม2533จึงเป็นการบอกเลิกการเช่านาก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาคชก.ตำบลได้ประชุมและมีมติให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและให้จำเลยเช่าที่ดินต่อไปอ. อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคชก.จังหวัดคชก.จังหวัดได้ประชุมและมีมติให้จำเลยเช่าทีนาถึงวันที่31มีนาคม2533ซึ่งสิ้นสุดตามกฎหมายโดยจำเลยต้องชำระค่าเช่าที่ค้างมติดังกล่าวเป็นมติที่ได้วินิจฉัยในเรื่องการบอกเลิกการเช่านาและเรื่องให้จำเลยออกจากที่นาที่เช่าด้วยมติของที่ประชุมเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทของคู่กรณีดังกล่าวจำเลยเข้าร่วมประชุมและลงชื่อในบันทึกท้ายมติที่ประชุมได้ทราบเรื่องที่ประชุมตลอดจนมติที่ประชุมโดยตลอดแล้วแต่จำเลยไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดมติดังกล่าวย่อมถึงที่สุดจำเลยต้องปฏิบัติตามโดยผู้ให้เช่านาไม่จำต้องบอกเลิกการเช่านาอีกเมื่อครบกำหนดวันที่31มีนาคม2533จำเลยยังทำนาในที่นาที่เช่าอยู่ต่อมาเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคชก.จังหวัดที่ให้จำเลยออกจากนาโดยไม่มีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7737/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่านา การวินิจฉัยของ คชก. และผลผูกพันตามมติ
จำเลยเช่าที่ดินเพื่อทำนาแล้วไม่ชำระค่าเช่านาในปี 2527ถึงปี 2530 อ.ผู้รับมอบอำนาจผู้ให้เช่านาแจ้งบอกเลิกการเช่านาไปยังจำเลยและ คชก.ตำบลแล้ว ตามสัญญาเช่านานั้นมีกำหนดเวลาเช่าถึงวันที่ 31 มีนาคม2533 จึงเป็นการบอกเลิกการเช่านาก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาการเช่านา คชก.ตำบลได้ประชุมและมีมติให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและให้จำเลยเช่าที่ดินต่อไปอ.อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อ คชก.จังหวัด คชก.จังหวัดได้ประชุมและมีมติให้จำเลยเช่าทำนาถึงวันที่ 31 มีนาคม 2533 ซึ่งสิ้นสุดตามกฎหมาย โดยจำเลยต้องชำระค่าเช่าที่ค้าง มติดังกล่าวเป็นมติที่ได้วินิจฉัยในเรื่องการบอกเลิกการเช่านาและเรื่องให้จำเลยออกจากที่นาที่เช่าด้วย มติของที่ประชุมเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทของคู่กรณีดังกล่าว จำเลยเข้าร่วมประชุมและลงชื่อในบันทึกท้ายมติที่ประชุม ได้ทราบเรื่องที่ประชุมตลอดจนมติที่ประชุมโดยตลอดแล้ว แต่จำเลยไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด มติดังกล่าวย่อมถึงที่สุด จำเลยต้องปฏิบัติตาม โดยผู้ให้เช่านาไม่จำต้องบอกเลิกการเช่านาอีก เมื่อครบกำหนดวันที่ 31 มีนาคม 2533 จำเลยยังทำนาในที่นาที่เช่าอยู่ต่อมาเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ คชก.จังหวัดที่ให้จำเลยออกจากนาโดยไม่มีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7540/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี และการทิ้งฟ้องที่มิชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องจำหน่ายคดี วันที่ 6 มีนาคม 2535 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี เพราะโจทก์ไม่ได้จงใจทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2535 ว่า เมื่อโจทก์ได้ลงชื่อในท้ายคำร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลในวันนั้นแล้วให้ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดี เมื่อวันที่ 8 เมษายน2535 ดังนี้ ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์นั้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าวเสียได้หากมีเหตุผลสมควร กรณีจึงต้องถือว่ากำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2535อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 8เมษายน 2535 จึงไม่พ้นกำหนด 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์โดยให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 2 ทราบภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้อง ดังนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่ทนายจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วการที่เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมาย ซึ่งหมายถึงค่าธรรมเนียมการส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นรายงานที่ไม่ถูกต้อง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7540/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้อง: การพิจารณาความชอบด้วยกระบวนพิจารณาและกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องจำหน่ายคดี วันที่ 6 มีนาคม 2535 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี เพราะโจทก์ไม่ได้จงใจทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2535 ว่า เมื่อโจทก์ได้ลงชื่อในท้ายคำร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลในวันนั้นแล้วให้ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดี เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 ดังนี้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์นั้นศาลชั้นต้นมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าวเสียได้หากมีเหตุผลสมควร กรณีจึงต้องถือว่ากำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2535 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ของโจทก์ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ในวันที่8 เมษายน 2535 จึงไม่พ้นกำหนด 1 เดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์โดยให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 2 ทราบภายใน 7 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้อง ดังนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่ทนายจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วการที่เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายซึ่งหมายถึงค่าธรรมเนียมการส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นรายงานที่ไม่ถูกต้อง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7524/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นไม่จำเป็นต้องติดทางสาธารณะโดยตรง เพียงแต่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1649มิได้บัญญัติว่าทางจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับทางสาธารณะโดยตรงความมุ่งหมายของกฎหมายสำคัญอยู่ที่ให้ที่ดินถูกล้อมมีทางออกถึงทางสาธารณะได้เท่านั้นดังนั้นการขอเปิดทางจำเป็นปลายทางหาจำต้องติดทางสาธารณะเสมอไปไม่เมื่อโจทก์สามารถใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ที่ดินของกรมชลประทานแล้วใช้ที่ดินของกรมชลประทานเดินไปสู่ทางสาธารณะได้ทางพิพาทก็เป็นทางจำเป็นตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7524/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: ไม่ต้องติดทางสาธารณะโดยตรง เพียงแต่ให้ที่ดินถูกล้อมมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางเดินให้โจทก์และบริวารผ่านเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ด้วย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวและศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจึงไม่เป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและพิพากษานอกเหนือจากคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง
ป.พ.พ.มาตรา 1349 มิได้บัญญัติว่า ทางจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับทางสาธารณะโดยตรง ความมุ่งหมายของกฎหมายสำคัญอยู่ที่ให้ที่ดินที่ถูกล้อมมีทางออกถึงทางสาธารณะได้เท่านั้น ดังนั้น การขอเปิดทางจำเป็นปลายทางหาจำต้องติดทางสาธารณะเสมอไปไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสองสามารถใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ที่ดินของกรมชลประทานแล้วใช้ที่ดินของกรมชลประทานเดินไปสู่ทางสาธารณะได้ ทางพิพาทก็เป็นทางจำเป็นตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองและการสืบทอดมรดก
จ.ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้ว จ.จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สิทธิอันเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และ 1600 จึงตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของ จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการสืบมรดกในที่ดิน
จ.ครอบครองที่ดินโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาจนถึงแก่ความตายเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วจ. จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ซึ่งการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ดังกล่าวเป็นทรัพยสิทธิอันเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ตามมาตรา1599และ1600จึงตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของจ. แม้โจทก์มิได้ครอบครองต่อเนื่องในที่ดินที่จ. ได้กรรมสิทธิ์โจทก์ก็ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จ.ครอบครองมาโดยทางมรดก
of 41