พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการส่งมรดกไปยังทายาท
จ.ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วจ.จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สิทธิอันเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1599และ1600จึงตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของจ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7466/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการบังคับคดี: ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อน, มิใช่ฟ้องคดีใหม่
โจทก์ฟ้องจำเลยที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีเพราะเหตุที่จำเลยที่2ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องการบังคับคดีและมีคำขอให้มีการเพิกถอนการบังคับคดีในการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งที่11โดยมิได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่2ในกรณีเช่นนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่าให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงโจทก์จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวจะฟ้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเป็นคดีใหม่มิได้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าขอให้เพิกถอนการบังคับคดีในการขายทอดตลาดทรัพย์คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่1ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีเดิมและจำเลยที่3ถึงที่5ซึ่งเป็นผู้ซื้อและผู้ขายทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยมิได้เรียกค่าเสียหายมาด้วยก็เป็นคำฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7466/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการบังคับคดี: ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี เพราะเหตุที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องการบังคับคดีและมีคำขอให้มีการเพิกถอนการบังคับคดีในการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งที่ 11 โดยมิได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ในกรณีเช่นนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า ให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง โจทก์จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว จะฟ้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเป็นคดีใหม่มิได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าขอให้เพิกถอนการบังคับคดีในการขายทอดตลาดทรัพย์ คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีเดิมและจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ซื้อและผู้ขายทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยมิได้เรียกค่าเสียหายมาด้วยก็เป็นคำฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าขอให้เพิกถอนการบังคับคดีในการขายทอดตลาดทรัพย์ คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีเดิมและจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ซื้อและผู้ขายทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยมิได้เรียกค่าเสียหายมาด้วยก็เป็นคำฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7348/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า: หน้าที่การดำเนินการขออนุมัติการโอนสิทธิ และผลของการผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาว่าจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ภายในวันที่ 22สิงหาคม 2534 ซึ่งจำเลยทราบดีว่าการโอนสิทธิการเช่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเสียก่อน โดยต้องใช้เวลาในการยื่นเรื่องราวจนได้รับอนุมัติอย่างน้อย 1 เดือน แต่จำเลยมิได้ดำเนินการยื่นเรื่องราวขอโอนก่อนวันครบกำหนดที่จะต้องโอนตามสัญญาเดิม ดังนั้น จะอ้างว่าโจทก์บ่ายเบี่ยงเรื่องค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่า ซึ่งค่าธรรมเนียมดังกล่าวต้องชำระในวันโอนหากไม่ยื่นเรื่องราวขอโอนเสียก่อนก็ไม่อาจอนุมัติให้โอนได้ หากจำเลยขออนุมัติให้โอนไว้แล้ว โจทก์ไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียม จึงจะถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยยังมิได้ยื่นเรื่องราวขอโอนไว้ก่อน จึงไม่มีเหตุที่การรถไฟ-แห่งประเทศไทยจะปฏิเสธ แต่เมื่อโจทก์และจำเลยขอโอนสิทธิการเช่าในวันครบกำหนดโอนแล้วได้รับการปฏิเสธ ย่อมถือได้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปฏิเสธการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์
สัญญาระบุว่าค่าต่อสัญญาเช่ากับค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าผู้จะรับโอนเป็นผู้ชำระซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระ เมื่อโจทก์เคยขอให้จำเลยร้องขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าจึงมีการรั้งรอที่จะยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่า นับว่าโจทก์มีส่วนในความล่าช้าของการดำเนินการอยู่ด้วย
สัญญาระบุว่าค่าต่อสัญญาเช่ากับค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าผู้จะรับโอนเป็นผู้ชำระซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระ เมื่อโจทก์เคยขอให้จำเลยร้องขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าจึงมีการรั้งรอที่จะยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่า นับว่าโจทก์มีส่วนในความล่าช้าของการดำเนินการอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7348/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิการเช่า: ความรับผิดของผู้ขายเมื่อไม่ดำเนินการยื่นเรื่องขออนุมัติการโอนก่อนกำหนด
จำเลยทำสัญญาว่าจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ภายในวันที่22สิงหาคม2534ซึ่งจำเลยทราบดีว่าการโอนสิทธิการเช่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเสียก่อนโดยต้องใช้เวลาในการยื่นเรื่องราวจนได้รับอนุมัติอย่างน้อย1เดือนแต่จำเลยมิได้ดำเนินการยื่นเรื่องราวขอโอนก่อนวันครบกำหนดที่จะต้องโอนตามสัญญาเดิมดังนั้นจะอ้างว่าโจทก์บ่ายเบี่ยงเรื่องค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าซึ่งค่าธรรมเนียมดังกล่าวต้องชำระในวันโอนหากไม่ยื่นเรื่องราวขอโอนเสียก่อนก็ไม่อาจอนุมัติให้โอนได้หากจำเลยขออนุมัติให้โอนไว้แล้วโจทก์ไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียมจึงจะถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อจำเลยยังมิได้ยื่นเรื่องราวขอโอนไว้ก่อนจึงไม่มีเหตุที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจะปฏิเสธแต่เมื่อโจทก์และจำเลยขอโอนสิทธิการเช่าในวันครบกำหนดโอนแล้วได้รับการปฏิเสธย่อมถือได้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปฏิเสธการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวแก่โจทก์แล้วจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ สัญญาระบุว่าค่าต่อสัญญาเช่ากับค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าผู้จะรับโอนเป็นผู้ชำระซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเมื่อโจทก์เคยขอให้จำเลยร้องขอลดค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าจึงมีการรั้งรอที่จะยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่านั้นว่าโจทก์มีส่วนในความล่าช้าของการดำเนินการอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7027/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา: การโต้แย้งก่อนมีคำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิได้กำหนดระยะเวลาโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้ เมื่อโจทก์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา226 (2)
คำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลของโจทก์มีข้อความว่า คดีมีประเด็นโต้เถียงกันหลายประเด็นซึ่งยังตกลงกันไม่ได้ ควรต้องชี้สองสถานและให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานหลักฐานต่อไป ที่ศาลมีคำสั่งให้งดการชี้สองสถานและงดการสืบพยานโจทก์จำเลยทำให้โจทก์เสียหาย ถือได้ว่าคำแถลงของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว
คำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลของโจทก์มีข้อความว่า คดีมีประเด็นโต้เถียงกันหลายประเด็นซึ่งยังตกลงกันไม่ได้ ควรต้องชี้สองสถานและให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานหลักฐานต่อไป ที่ศาลมีคำสั่งให้งดการชี้สองสถานและงดการสืบพยานโจทก์จำเลยทำให้โจทก์เสียหาย ถือได้ว่าคำแถลงของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7027/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา & การชี้สองสถาน-สืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงครอบครองที่ดิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226มิได้กำหนดระยะเวลาโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้เมื่อโจทก์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226(2) คำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลของโจทก์มีข้อความว่าคดีมีประเด็นโต้เถียงกันหลายประเด็นซึ่งยังตกลงกันไม่ได้ควรต้องชี้สองสถานและให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานหลักฐานต่อไปที่ศาลมีคำสั่งให้งดการชี้สองสถานและงดการสืบพยานโจทก์จำเลยทำให้โจทก์เสียหายถือได้ว่าคำแถลงของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6943-6944/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: การแย่งการครอบครองใช้ไม่ได้กับที่วัด ต้องใช้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ และห้ามยกอายุความ
การแย่งครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375เป็นกรณีที่ใช้บังคับได้แต่เฉพาะแก่ทรัพย์สินธรรมดาสำหรับสินอันเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์นั้นต้องใช้บังคับตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ซึ่งได้บัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องกรรมสิทธิ์และการโอนที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะนำบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินธรรมดามาใช้บังคับไม่ได้ซึ่งตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา34ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติและห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ดังนั้นโจทก์จะยกเรื่องการแย่งการครอบครองขึ้นมาเป็นข้อโต้แย้งในเรื่องที่วัดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6923/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์เนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่ารายรับของจำเลยเป็นวิธีแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจวิธีหนึ่ง ในแต่ละปีจำเลยมีกำไรจัดแบ่งโบนัสให้แก่โจทก์และพนักงานคนอื่นจำเลยอุทธรณ์ว่ารายรับของจำเลยไม่มีกำไร จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเอกสารหมาย ล.3 เป็นเพียงซีด้าหารือมาเพื่อให้จำเลยหาทางลดจำนวนพนักงานลงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในปีต่อไปเท่านั้นหลังจากที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยก็ยังประกาศรับสมัครพนักงานอื่นอีกและได้เปลี่ยนวิธีการเป็นจ้างนิติบุคคลมาทำงานแทน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดตามสัญญา ทำให้โจทก์มีปัญหาในครอบครัวของโจทก์ที่ขาดรายได้ตามปกติ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ซึ่งโจทก์ยังมีสิทธิที่จะได้ทำงานตามสัญญาอีกมีระยะเวลาถึง7 เดือน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างมาก เพราะโจทก์หวังว่าจะได้ทำงานจนครบกำหนดตามสัญญาและเมื่อใกล้จะครบกำหนดตามสัญญาโจทก์จึงจะหางานใหม่ได้ทัน จำเลยทำสัญญาไว้กับโจทก์มีระยะเวลาที่แน่นอนและโจทก์มิได้กระทำความผิดที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายนั้น ศาลแรงงานวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า หน่วยงานการพัฒนาระหว่างประเทศของแคนาดา (CIDA) มีคำสั่งให้ลดพนักงานลงเนื่องจากโครงการของหน่วยงานการพัฒนาระหว่างประเทศของแคนาดา (CIDA) มีจำนวนลดลงจริง จำเลยจึงมีเหตุผลเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม โจทก์อุทธรณ์ว่าหน่วยงานการพัฒนาระหว่างประเทศแคนาดา (CIDA) เพียงแต่หารือมาให้จำเลยหาทางลดจำนวนพนักงานลงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในปีต่อไปเท่านั้น จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้นเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน อุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6923/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่ารายรับของจำเลยเป็นวิธีแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจวิธีหนึ่ง ในแต่ละปีจำเลยมีกำไรจัดแบ่งโบนัสให้แก่โจทก์และพนักงานคนอื่น จำเลยอุทธรณ์ว่ารายรับของจำเลยไม่มีกำไร จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เอกสารหมาย ล.3 เป็นเพียงซีด้าหารือมาเพื่อให้จำเลยหาทางลดจำนวนพนักงานลงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในปีต่อไปเท่านั้น หลังจากที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยก็ยังประกาศรับสมัครพนักงานอื่นอีกและได้เปลี่ยนวิธีการเป็นจ้างนิติบุคคลมาทำงานแทน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดตามสัญญา ทำให้โจทก์มีปัญหาในครอบครัวของโจทก์ที่ขาดรายได้ตามปกติ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ซึ่งโจทก์ยังมีสิทธิที่จะได้ทำงานตามสัญญาอีกมีระยะเวลาถึง 7 เดือน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างมาก เพราะโจทก์หวังว่าจะได้ทำงานจนครบกำหนดตามสัญญาและเมื่อใกล้จะครบกำหนดตามสัญญาโจทก์จึงจะหางานใหม่ได้ทัน จำเลยทำสัญญาไว้กับโจทก์มีระยะเวลาที่แน่นอนและโจทก์มิได้กระทำความผิด ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายนั้น ศาลแรงงานวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า หน่วยงานการพัฒนาระหว่างประเทศของแคนาดา (CIDA)มีคำสั่งให้ลดพนักงานลงเนื่องจากโครงการของหน่วยงานการพัฒนาระหว่างประเทศของแคนาดา (CIDA) มีจำนวนลดลงจริง จำเลยจึงมีเหตุผลเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม โจทก์อุทธรณ์ว่าหน่วยงานการพัฒนาระหว่างประเทศแคนาดา(CIDA) เพียงแต่หารือมาให้จำเลยหาทางลดจำนวนพนักงานลงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในปีต่อไปเท่านั้น จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้นเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน อุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย