พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจะซื้อขาย: การเลื่อนโอนกรรมสิทธิ์ & การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดิน
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์โดยกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายการที่โจทก์นำสืบว่ามีการเลื่อนกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์จากวันที่กำหนดไว้ในสัญญาหาใช่นำสืบว่าวันที่กำหนดโอนไว้ในสัญญาไม่ใช่วันที่ระบุไว้ในสัญญาจึงมิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน การเลื่อนกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงด้วยพยานบุคคล
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์ โดยกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายการที่โจทก์นำสืบว่ามีการเลื่อนกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์จากวันที่กำหนดไว้ในสัญญาหาใช่นำสืบว่าวันที่กำหนดโอนไว้ในสัญญาไม่ใช่วันที่ระบุไว้ในสัญญา จึงมิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4981/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การไม่ชัดเจนเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิ์, ภาระจำยอมโดยอายุความ, และขอบเขตทางภาระจำยอม
จำเลยให้การว่า โจทก์จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทตามฟ้องหรือไม่อย่างไร จำเลยที่ 1 ไม่ทราบและไม่รับรอง เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าเป็นคำให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้อง จึงไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์เพราะเหตุไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้องหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ชาวบ้านซึ่งรวมถึงผู้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ใช้ซอยพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางเข้าออกโดยเจตนาให้ซอยพิพาทเป็นทางภาระจำยอม และระยะเวลาที่ใช้รวมกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382
ทางภาระจำยอมในส่วนที่อยู่ในที่ดินของจำเลยมีความกว้าง3 เมตร และจำเลยได้สร้างรั้วปิดกั้นทางภาระจำยอมส่วนนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าทางภาระจำยอมตามแผนที่ท้ายฟ้องกว้าง 6 เมตร มีความยาวเท่ากับความยาวของที่ดินตามโฉนดของจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่เป็นทางภาระจำยอมกว้างเท่าใด เพราะตามแผนที่ท้ายฟ้องระบุว่าทางภาระจำยอมอยู่ในที่ดินของจำเลยกว้าง 3 เมตร และอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 2และที่ 3 กว้าง 3 เมตร อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกาจึงแก้ในส่วนนี้ให้ชัดเจน
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ทั้งแปด โจทก์ที่ 5 มิได้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์ที่ 5ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยจึงไม่ชอบ
ชาวบ้านซึ่งรวมถึงผู้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ใช้ซอยพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางเข้าออกโดยเจตนาให้ซอยพิพาทเป็นทางภาระจำยอม และระยะเวลาที่ใช้รวมกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382
ทางภาระจำยอมในส่วนที่อยู่ในที่ดินของจำเลยมีความกว้าง3 เมตร และจำเลยได้สร้างรั้วปิดกั้นทางภาระจำยอมส่วนนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าทางภาระจำยอมตามแผนที่ท้ายฟ้องกว้าง 6 เมตร มีความยาวเท่ากับความยาวของที่ดินตามโฉนดของจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่เป็นทางภาระจำยอมกว้างเท่าใด เพราะตามแผนที่ท้ายฟ้องระบุว่าทางภาระจำยอมอยู่ในที่ดินของจำเลยกว้าง 3 เมตร และอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 2และที่ 3 กว้าง 3 เมตร อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกาจึงแก้ในส่วนนี้ให้ชัดเจน
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ทั้งแปด โจทก์ที่ 5 มิได้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์ที่ 5ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4981/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและประเด็นอำนาจฟ้อง การพิพากษาเกินคำขอ
จำเลยให้การว่า โจทก์จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทตามฟ้องหรือไม่อย่างไร จำเลยที่ 1 ไม่ทราบและไม่รับรอง เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองถือไม่ได้ว่าเป็นคำให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้อง จึงไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์เพราะเหตุไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้องหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ชาวบ้านซึ่งรวมถึงผู้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ใช้ซอยพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางเข้าออกโดยเจตนาให้ซอยพิพาทเป็นทางภารจำยอม และระยะเวลาที่ใช้รวมกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 ทางภารจำยอมในส่วนที่อยู่ในที่ดินของจำเลยมีความกว้าง3 เมตร และจำเลยได้สร้างรั้วปิดกั้นทางภารจำยอมส่วนนี้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าทางภารจำยอมตามแผนที่ท้ายฟ้องกว้าง 6 เมตร มีความยาวเท่ากับความยาวของที่ดินตามโฉนดของจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่เป็นทางภารจำยอมกว้างเท่าใด เพราะตามแผนที่ท้ายฟ้องระบุว่าทางภารจำยอมอยู่ในที่ดินของจำเลยกว้าง 3 เมตรและอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 กว้าง 3 เมตรอันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกาจึงแก้ในส่วนนี้ให้ชัดเจน ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ทั้งแปด โจทก์ที่ 5 มิได้อุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนภารจำยอมให้แก่โจทก์ที่ 5 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องเป็นไปตามขั้นตอน หากผู้มีอำนาจไม่สั่งเลิกจ้าง การเสนอให้ลาออกไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
พ. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มมีบันทึกถึงป. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลว่าควรเลิกจ้างโจทก์และขอให้ป. ดำเนินการพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่งตามลำดับของการบังคับบัญชาไม่มีผลเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ทันทีเมื่อป. มิได้บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติแต่ขอเป็นการส่วนตัวให้โจทก์ลาออกเพื่อพักรักษาตัวก่อนเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยกลับเข้ามาทำงานใหม่ในเชิงไม่ต้องการเลิกจ้างโจทก์และเป็นข้อแนะนำในเชิงทางเลือกที่จะเป็นผลดีแก่โจทก์เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์ถูกเลิกจ้างจึงเป็นสิทธิของโจทก์จะปฏิบัติตามคำแนะนำหรือไม่ก็ได้ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การเสนอให้ลาออกเพื่อพักรักษาตัว ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
พ. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มมีบันทึกถึง ป. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลว่าควรเลิกจ้างโจทก์และขอให้ ป. ดำเนินการพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่งตามลำดับของการบังคับบัญชาหามีผลเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ทันทีไม่เมื่อ ป. มิได้บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติแต่ขอเป็นการส่วนตัวให้โจทก์ลาออกเพื่อพักรักษาตัวก่อนเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยกลับเข้ามาทำงานใหม่ซึ่งเป็นข้อแนะนำในเชิงให้ทางเลือกที่จะเป็นผลดีแก่โจทก์เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์ถูกเลิกจ้างจึงเป็นสิทธิของโจทก์จะปฏิบัติตามคำแนะนำหรือไม่ก็ได้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งเลิกจ้างที่ไม่สมบูรณ์และการแนะนำให้ลาออกไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
บันทึกของ พ. ถึง ป.ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลย มีข้อความว่า "โปรดดำเนินการพิจารณาเลิกจ้าง ค.ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกจัดเลี้ยงด้วย(หมายถึงโจทก์) เหตุผลขาดงาน ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2536 ถึง 8พฤษภาคม 2536 โดยมิได้แจ้งให้ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มทราบ อีกทั้งในการปฏิบัติหน้าที่มักจะหยุดงานอยู่เสมอ ให้มีผลวันที่ 8 พฤษภาคม 2536" นั้นเป็นเรื่องที่ พ.มีความเห็นว่าควรเลิกจ้างโจทก์และได้ขอให้ ป.ดำเนินการพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่งตามลำดับของการบังคับบัญชา หาได้มีผลเป็นการสั่งหรือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ทันทีไม่ ป.จึงยังมีหน้าที่จะต้องดำเนินการพิจารณา หากเห็นชอบด้วยแล้วก็ต้องดำเนินการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์เป็นขั้นตอนตามระเบียบข้อบังคับและวิธีปฏิบัติของจำเลยต่อไป การที่ ป.มิได้ดำเนินการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติ แต่กลับขอให้โจทก์ลาออกเพื่อพักรักษาตัวก่อนเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยกลับเข้ามาทำงานใหม่นั้น เป็นเรื่องที่ ป.พิจารณาแล้วดำเนินการไปตามความเห็นของ ป.เอง ในเชิงไม่ต้องการมีการเลิกจ้างโจทก์ และเป็นข้อแนะนำในเชิงให้ทางเลือกที่จะเป็นผลดีแก่โจทก์ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์ต้องถูกเลิกจ้างกรณีเช่นว่านี้จึงเป็นสิทธิของโจทก์จะปฏิบัติตามที่ ป.แนะนำหรือไม่ก็ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่า ป.ได้รับมอบหมายจากจำเลยให้ทำการแทนในการแนะนำโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่าง ป.กับโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง เมื่อยังมิได้มีการบอกเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว
ประเด็นเรื่องค่าจ้างค้างจ่าย ค่าบริการตามคำขอโจทก์ และเงินประกันการทำงานนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยจึงต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
ประเด็นเรื่องค่าจ้างค้างจ่าย ค่าบริการตามคำขอโจทก์ และเงินประกันการทำงานนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยจึงต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931-4933/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องการมอบอำนาจ และการครอบครองปรปักษ์เป็นเหตุให้ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยที่4และที่5ให้การแต่เพียงว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์และโจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินขึ้นเองโดยไม่สุจริตเท่านั้นจำเลยที่4และที่5หาได้ให้การว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ช. เป็นตัวแทนของโจทก์เพื่อทำสัญญาเช่าที่พิพาทและกรณีไม่อาจแปลความได้ว่าจำเลยที่4และที5ได้ให้การต่อสู้คดีในปัญหาข้อนี้ไว้แล้วถือได้ว่าปัญหาดังกล่าวจำเลยที่4และที5ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิได้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา249แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทซึ่งให้จำเลยเช่าต่อมาไม่ประสงค์ให้จำเลยที่4และที่5และที่6อยู่ในที่ดินดังกล่าวขอให้บังคับจำเลยออกจากที่พิพาทจำเลยให้การว่าจำเลยที่4ที่5และที่6ครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์แล้วการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยและพิพากษาว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์จึงตรงตามประเด็นที่ว่าจำเลยแต่ละคนได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382หรือไม่แล้วหาขัดต่อมาตรา142แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้รับมอบอำนาจฟ้องได้ตามหนังสือมอบอำนาจ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่าโจทก์ขอมอบอำนาจให้ส.มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับกรุงเทพมหานครจำเลยที่1เกี่ยวกับคดีภาษีโรงเรือนและที่ดินขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดและขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระไว้เกินแก่จำเลยที่1แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุให้ฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่2ไว้ด้วยแต่จำเลยที่2เป็นผู้มีอำนาจกระทำการต่างๆแทนจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเมื่อโจทก์ไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต่อจำเลยที่2และจำเลยที่2เท่านั้นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำคำชี้ขาดหากโจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่2โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลได้ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา29,30,31เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ส. ฟ้องเพื่อขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดและขอคืนเงินค่าภาษีที่ชำระไว้เกินการที่ส.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่2ด้วยจึงถูกต้องตามหนังสือมอบอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การดำเนินการตามขั้นตอนและอำนาจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1เกี่ยวกับคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดและขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระไว้เกินแก่กรุงเทพมหานคร แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการต่าง ๆแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล เมื่อโจทก์ไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เท่านั้นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำคำชี้ขาด หากโจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลได้ การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย จึงถูกต้องตามหนังสือมอบอำนาจแล้ว