คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลอ ทองแย้ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การมอบอำนาจฟ้องต่อผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้อง
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า โจทก์ขอมอบอำนาจให้ ส. มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ขอให้เพิกถอนการประเมิน และคำชี้ขาด และขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนที่โจทก์ ชำระไว้เกินแก่จำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุให้ฟ้อง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ไว้ด้วยแต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการต่าง ๆ แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และเมื่อโจทก์ไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของ จำเลยที่ 1 จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ต่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เท่านั้นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำคำชี้ขาด หากโจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลได้ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 29,30,31 เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องเพื่อขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดและขอคืนเงินค่าภาษี ที่ชำระไว้เกิน การที่ ส. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย จึงถูกต้องตามหนังสือมอบอำนาจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องกรุงเทพมหานครจำเลยที่1เกี่ยวกับคดีภาษีโรงเรือนและที่ดินขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดและขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระไว้เกินแก่กรุงเทพมหานครแม้โจทก์จะไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยที่2ด้วยแต่จำเลยที่2เป็นผู้มีอำนาจกระทำการต่างๆแทนจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลเมื่อโจทก์ไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต่อจำเลยที่2และจำเลยที่2เท่านั้นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำคำชี้ขาดหากโจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่2โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลได้การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่2ด้วยจึงถูกต้องตามหนังสือมอบอำนาจแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ฟ้องเคลือบคลุม, อายุความ, การนำสืบ และประเด็นข้อพิพาทในคดีเรียกทรัพย์สินคืน
จำเลยให้การเพียงว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้ที่จำเลยทดรองจ่ายค่าโฆษณาแทนโจทก์ไปก่อน จำเลยจึงนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินจากโจทก์ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยจ่ายเงินค่าสินค้าและของแถมเกินกว่าโจทก์เป็นเงิน 1,000,000 บาทเศษ จึงเป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยนำเช็คของโจทก์ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดชลบุรี มูลคดีจึงเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดชลบุรีด้วย พยานหลักฐานคือเช็คทั้งหมดก็อยู่ที่ธนาคาร การพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดชลบุรีจึงเป็นการสะดวก ศาลจังหวัดชลบุรีจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ยื่นฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) เดิม
อุทธรณ์ของจำเลยได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่บรรยายว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทโฆษณาและโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใคร มีใบเสร็จรับเงินหรือไม่ บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่ และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ที่กล่าวไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองกล่าวไว้ข้างต้น หาใช่เป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งอันจะไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งไม่
โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า โจทก์ได้ทำสัญญาแต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าตามสัญญาแต่งตั้งผู้จัดจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้จำเลยเป็นผู้จัดให้มีการโฆษณาโดยโจทก์และจำเลยร่วมกันจ่ายค่าโฆษณาคนละครึ่ง และโจทก์บรรยายในฟ้องด้วยว่า จำเลยเอาความเท็จมาอ้างกับโจทก์ให้โจทก์จ่ายเงิน 4,068,734 บาทแก่จำเลยโดยอ้างว่าจะนำเงินไปชำระค่าโฆษณา ฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วข้อที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทโฆษณาโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใคร มีใบเสร็จรับเงินหรือไม่ บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่ และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่นั้น โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ศาลชั้นต้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับฟ้องเคลือบคลุมเพราะไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองโดยรอไว้วินิจฉัยรวมในคำพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์ออกเช็คแล้ว นำไปเรียกเก็บเงินเป็นของจำเลยโดยมิชอบ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้กระทำมิชอบต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ ฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความฟ้องโจทก์ในกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นฟ้องฐานลาภมิควรได้ไม่
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินตามเช็คของโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 1นำไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 คืน การที่โจทก์ที่ 2 ลงชื่อในเช็คดังกล่าวก็เป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ฟ้องเรียกคืน จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธแต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้หลอกลวงให้โจทก์จ่ายเช็คเป็นการชำระค่าโฆษณา แต่จำเลยไม่นำเช็คดังกล่าวไปชำระค่าโฆษณา กลับนำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินเองเป็นส่วนตัว และศาลชั้นต้นกำหนดประะเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยหลอกให้โจทก์สั่งจ่ายเช็ค แล้วนำไปเรียกเก็บเงินมาเป็นของจำเลยโดยมิชอบหรือไม่ เช่นนี้ การที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่าโฆษณาและค่าของแถมเป็นเงิน 14 ล้านบาทเศษ ส่วนจำเลยชำระค่าโฆษณา และค่าของแถมเป็นเงินเพียง 8 ล้านบาทเศษ โจทก์จึงจ่ายเงินค่าโฆษณาและของแถมเกินกว่าที่จำเลยชำระ 4 ล้านบาทเศษ เป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์สั่งจ่ายเช็คได้อย่างไร อันเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงแวดล้อมกรณี หาเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้กระทำมิชอบ, อำนาจฟ้อง, อายุความ, การนำสืบพยานนอกฟ้อง, และประเด็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยให้การเพียงว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้ที่จำเลยทดรองจ่ายค่าโฆษณาแทนโจทก์ไปก่อนจำเลยจึงนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินจากโจทก์การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยจ่ายเงินค่าสินค้าและของแถมเกินกว่าโจทก์เป็นเงิน1,000,000บาทเศษจึงเป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยนำเช็คของโจทก์ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดชลบุรีมูลคดีจึงเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดชลบุรีด้วยพยานหลักฐานคือเช็คทั้งหมดก็อยู่ที่ธนาคารดังกล่าวการพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดชลบุรีจึงเป็นการสะดวกศาลจังหวัดชลบุรีจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ยื่นฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิม อุทธรณ์ของจำเลยได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่บรรยายว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทโฆษณาและโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใครมีใบเสร็จรับเงินหรือไม่บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่เป็นอุทธรณ์ที่กล่าวไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองกล่าวไว้ข้างต้นหาใช่เป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งอันจะไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งไม่ โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่าโจทก์ได้ทำสัญญาแต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าตามสัญญาแต่งตั้งผู้จัดจำหน่ายซึ่งกำหนดให้จำเลยเป็นผู้จัดให้มีการโฆษณาโดยโจทก์และจำเลยร่วมกันจ่ายค่าโฆษณาคนละครึ่งและโจทก์บรรยายในฟ้องด้วยว่าจำเลยเอาความเท็จมาอ้างกับโจทก์ให้โจทก์จ่ายเงิน4,068,734บาทแก่จำเลยโดยอ้างว่าจะนำเงินไปชำระค่าโฆษณาฟ้องของโจทก์แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วข้อที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทกับบริษัทโฆษณาโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใครมีใบเสร็จรับเงินหรือไม่มีใบเสร็จรับเงินหรือไม่บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่นั้นโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมศาลชั้นต้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับฟ้องเคลือบคลุมเพราะไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองโดยรอไว้วินิจฉัยรวมในคำพิพากษาได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์ออกเช็คแล้วนำไปเรียกเก็บเงินเป็นของจำเลยโดยมิชอบจึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้กระทำมิชอบต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความฟ้องโจทก์ในกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นฟ้องฐานลาภมิควรได้ไม่ โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินตามเช็คของโจทก์ที่1ที่จำเลยที่1นำไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่1คืนการที่โจทก์ที่2ลงชื่อในเช็คดังกล่าวก็เป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ที่1เท่านั้นโจทก์ที่2ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์เรียกคืนจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแม้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธแต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้หลอกลวงให้โจทก์จ่ายเงินเช็คเป็นการชำระค่าโฆษณาแต่จำเลยไม่นำเช็คดังกล่าวไปชำระค่าโฆษณากลับนำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินเองเป็นส่วนตัวและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยหลอกให้โจทก์สั่งจ่ายเช็คแล้วนำไปเรียกเก็บเงินมาเป็นของจำเลยโดยมิชอบหรือไม่เช่นนี้การที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่าโฆษณาและค่าของแถมเป็นเงิน14ล้านบาทเศษส่วนจำเลยชำระค่าโฆษณาและค่าของแถมเป็นเงินเพียง8ล้านบาทเศษโจทก์จึงจ่ายเงินค่าโฆษณาและของแถมเกินกว่าที่จำเลยชำระ4ล้านบาทเศษเป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์จ่ายเช็คได้อย่างไรอันเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงแวดล้อมกรณีหาเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4778/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมวินิจฉัยความผูกพันตามแคชเชียร์เช็คแล้ว การฟ้องเรียกเงินตามหนี้เดิมเป็นฟ้องซ้ำ
คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างเหตุมาจากการที่โจทก์นำเช็คจำนวน3ฉบับตามฟ้องเดิมไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยโดยโจทก์ไม่ขอรับเป็นเงินสดแต่ยื่นคำขอให้จำเลยออกแคชเชียร์เช็คที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายให้แทนซึ่งเป็นฉบับเดียวกับแคชเชียร์เช็คตามฟ้องเดิมนั่นเองปรากฎว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยในคดีเดิมแล้วว่าความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นไปตามแคชเชียร์เช็คดังกล่าวโดยหาได้นำเงินสดมาแลกแคชเชียร์เช็คและเช็คทั้งสามฉบับที่นำมาแลกก็ขึ้นเงินไม่ได้โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างหนี้เดิมตามคำขอให้ออกแคชเชียร์เช็คเมื่อโจทก์ไม่อาจเรียกเก็บเงินตามแคชเชียร์เช็คโจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงิน400,000บาทนั้นก็เป็นคำฟ้องเนื่องจากจำเลยไม่จ่ายเงินตามแคชเชียร์เช็คนั่นเองเมื่อคดีเดิมมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโจทก์กลับมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4778/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การฟ้องคดีประเด็นเดียวกันอีกจึงเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างเหตุมาจากการที่โจทก์นำเช็คจำนวน 3 ฉบับตามฟ้องเดิมไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยโดยโจทก์ไม่ขอรับเป็นเงินสด แต่ยื่นคำขอให้จำเลยออกแคชเชียร์เช็คที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายให้แทน ซึ่งเป็นฉบับเดียวกับแคชเชียร์เช็คตามฟ้องเดิมนั่นเอง ปรากฏว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยในคดีเดิมแล้วว่าความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นไปตามแคชเชียร์เช็คดังกล่าว โดยหาได้นำเงินสดมาแลกแคชเชียร์เช็คและเช็คทั้งสามฉบับที่นำมาแลกก็ขึ้นเงินไม่ได้โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างหนี้เดิมตามคำขอให้ออกแคชเชียร์เช็ค เมื่อโจทก์ไม่อาจเรียกเก็บเงินตามแคชเชียร์เช็คโจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงิน 400,000บาท นั้น ก็เป็นคำฟ้องเนื่องจากจำเลยไม่จ่ายเงินตามแคชเชียร์เช็คนั่นเอง เมื่อคดีเดิมมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4716/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คไม่ถือเป็นการชำระหนี้ด้วยเงินสดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิไม่รับเช็คได้
การชำระหนี้ด้วยเช็คเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิไม่ยอมรับการชำระหนี้เงินด้วยเช็คได้ไม่เป็นการผิดข้อตกลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์การประเมินภาษี: การส่งหมายแจ้งที่ไม่ถูกต้อง และสิทธิในการฟ้องบังคับให้รับอุทธรณ์
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันว่า การส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้ส่งยังสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ ผลตามกฎหมายก็คือโจทก์ยังไม่ได้รับแจ้งการประเมิน กำหนดเวลาให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีหรือผู้แทนผู้แทนกรมอัยการ และผู้แทนกรมมหาดไทย ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจึงยังไม่เริ่มนับเมื่อโจทก์ได้รับทราบผลการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินแล้วโจทก์ย่อมอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทันที เพราะถือว่ายังไม่พ้นกำหนดเวลาที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 30(1)(ก) บัญญัติไว้ การอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 นั้นโจทก์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน ผู้แทนกรมอัยการและผู้แทนกรมมหาดไทย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังกล่าวแล้วเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์กรมสรรพากรจำเลยที่ 1 หามีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้ และตามคำฟ้องโจทก์หาได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 2 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะมาฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับ อุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ตีความเอาการกระทำของจำเลยที่ 1ที่แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่ขยายเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์มีผลเป็นการที่จำเลยที่ 1 ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 กระทำในนามของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งมีจำเลยที่ 2เป็นประธานและตัวแทนจึงต้องรับผิดร่วมกันนั้น มีผลเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั่นเอง แม้จะเป็นดังกรณีที่โจทก์เข้าใจเอาเองดังกล่าวก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่โจทก์จะต้องมาฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับ อุทธรณ์ของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องอีก เพราะหากผลการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเท่ากับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อศาลได้ อำนาจฟ้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องอุทธรณ์ภาษี: การยื่นอุทธรณ์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมิน
ตามมาตรา30แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดว่าในกรณีเจ้าพนักงานประเมินผู้ทำการประเมินมีสำนักงานอยู่ในเขตจังหวัดพระนครให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กรมสรรพากรไม่มีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และตามฟ้องโจทก์มิได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและเนื่องจากเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์การประเมินภาษี: สิทธิในการอุทธรณ์และการฟ้องร้องบังคับรับอุทธรณ์
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันว่า การส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้ส่งยังสำนักงานแห่งใหม่ของโจทก์ ผลตามกฎหมายก็คือโจทก์ยังไม่ได้รับแจ้งการประเมิน กำหนดเวลาให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีหรือผู้แทน ผู้แทนกรมอัยการ และผู้แทนกรมมหาดไทย ภายในสามสิบวัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจึงยังไม่เริ่มนับเมื่อโจทก์ได้ทราบผลการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินแล้ว โจทก์ย่อมอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทันที เพราะถือว่ายังไม่พ้นกำหนดเวลาที่ ป.รัษฎากร มาตรา 30 (1) (ก) บัญญัติไว้
การอุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 นั้น โจทก์ต้องยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วย อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทนผู้แทนกรมอัยการและผู้แทนกรมมหาดไทย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังกล่าวแล้วเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ กรมสรรพากรจำเลยที่ 1หามีหน้าที่ในการสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้ และตามคำฟ้องโจทก์หาได้ยืนยันว่าอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 2 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นผู้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะมาฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ตีความเอาการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่ขยายเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์มีผลเป็นการที่จำเลยที่ 1 ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 กระทำในนามของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นประธานและตัวแทนจึงต้องรับผิดร่วมกันนั้น มีผลเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั่นเอง แม้จะเป็นดังกรณีที่โจทก์เข้าใจเอาเองดังกล่าวก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่โจทก์จะต้องมาฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องอีก เพราะหากผลการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเท่ากับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อศาลได้ อำนาจฟ้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
of 41