คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลอ ทองแย้ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 406 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกโดยความยินยอมและการขาดอายุความฟ้องร้องสิทธิในที่ดินมรดก
แม้ข้อตกลงที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินมิใช่การสละมรดกเพราะไม่ได้แสดงเจตนาเป็นหนังสือมอบให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612แต่เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ตามบันทึกถ้อยคำที่ทำขึ้นเมื่อจำเลยไปขอโอนมรดกโดยให้จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินเพียงผู้เดียวถือว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยและจำเลยตกลงรับเอาแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินนั้นอีก โจทก์เพียงแต่เก็บผลไม้ในที่ดินมรดกโดยจำเลยซึ่งครอบครองและทำประโยชน์อยู่มิได้หวงห้ามยังไม่อาจถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ครอบครองที่ดินร่วมด้วยฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายคดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้ ไม่ต้องฟ้องหย่าก่อน และอายุความการฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่ามีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์ในทำนองชู้สาวตลอดมา จนถึงวันฟ้อง ลักษณะการกระทำของจำเลยได้กระทำต่อเนื่องกัน มายังมิได้หยุด การกระทำละเมิดของจำเลยได้เกิดขึ้นและ มีอยู่ในขณะฟ้อง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาจำเลยที่ว่า การฟ้องเรียกค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 จะต้องฟ้องหย่าเสียก่อนจึงจะเรียกค่าทดแทนได้นั้นเป็นฎีกาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ การเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง ไม่มีเงื่อนไขว่าภริยาต้องฟ้องหย่าสามีเสียก่อนจึงจะฟ้องเรียก ค่าทดแทนจากหญิงนั้นได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภรรยาน้อย: อำนาจฟ้องไม่มีเงื่อนไขต้องฟ้องหย่าก่อน และอายุความการฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่ามีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์ในทำนองชู้สาวตลอดมาจนถึงวันฟ้องลักษณะการกระทำของจำเลยได้กระทำต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดการกระทำละเมิดของจำเลยได้เกิดขึ้นและมีอยู่ในขณะฟ้องคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาจำเลยที่ว่าการฟ้องเรียกค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1523จะต้องฟ้องหย่าเสียก่อนจึงจะเรียกค่าทดแทนได้นั้นเป็นฎีกาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ การเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1523วรรคสองไม่มีเงื่อนไขว่าภริยาต้องฟ้องหย่าสามีเสียก่อนจึงจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงนั้นได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2680/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ข้อพิพาทต่างประเด็นย่อมไม่อาจรวมพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่าย ค่าจ้าง สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและ ค่าชดเชยส่วนจำเลย ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชดใช้เงินค่ารถยนต์ของจำเลยที่โจทก์นำไปใช้งานส่วนตัวที่บ้านโดยพลการแล้วสูญหายไปและโจทก์ได้ รับสภาพหนี้ไว้แม้ทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานแต่ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเป็นคนละประเด็นไม่เกี่ยวข้องกันจึงไม่อาจรับฟ้องแย้งไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาตามความเป็นธรรมต้องพิจารณาสภาพที่ดินและวัตถุประสงค์การเวนคืน
ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุดอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองพ.ศ.2527มาตรา5ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมมาตรา5นี้เน้นให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วยที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบลถนนและทะเลเป็นหลักการประเมินราคาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและเป็นการประเมินอย่างกว้างๆราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไปส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้มากขึ้นก็ตามแต่ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522มาตรา6กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวว่ามีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วยเมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นเป็นการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วยไม่ชอบด้วยมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าวข้างต้นแต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯนั้นที่ดินพิพาทมีราคาที่ซื้อขายกันจริงเป็นราคาเท่าใดจึงกำหนดเงินค่าทดแทนให้ตามราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายหลังจากพระราชกฤษฎีกาฯใช้บังคับประมาณ3เดือนอันเป็นเวลาใกล้เคียงกับการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯดังกล่าวซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายไว้เป็นราคาซื้อขายกันจริงและเป็นราคาที่ตรงตามสภาพและที่ตั้งของที่ดินแล้วและถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนตามความเป็นธรรมในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา
ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยองจังหวัดระยองพ.ศ.2527มาตรา5ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมมาตรา5นี้เน้นให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วยที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบลถนนและทะเลเป็นหลักการประเมินราคาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและเป็นการประเมินอย่างกว้างๆราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไปส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้มากขึ้นก็ตามแต่ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522มาตรา6กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวว่ามีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วยเมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นเป็นการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วยไม่ชอบด้วยมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าวข้างต้นแต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯนั้นที่ดินพิพาทมีราคาที่ซื้อขายกันจริงเป็นราคาเท่าใดจึงกำหนดเงินค่าทดแทนให้ตามราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายหลังจากพระราชกฤษฎีกาฯใช้บังคับประมาณ3เดือนอันเป็นเวลาใกล้เคียงกับการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯดังกล่าวซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายไว้เป็นราคาซื้อขายกันจริงและเป็นราคาที่ตรงตามสภาพและที่ตั้งของที่ดินแล้วและถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนตามความเป็นธรรมในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา
ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองพ.ศ. 2527 มาตรา 5 ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมมาตรา 5 นี้ เน้นให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบล ถนนและทะเลเป็นหลักการประเมินราคาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและเป็นการประเมินอย่างกว้าง ๆ ราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป ส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืน แม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้มากขึ้นก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522มาตรา 6 กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวว่ามีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย เมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้น เป็นการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าวข้างต้นแต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ นั้นที่ดินพิพาทมีราคาที่ซื้อขายกันจริงเป็นราคาเท่าใด จึงกำหนดเงินค่าทดแทนให้ตามราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายหลังจากพระราชกฤษฎีกาฯ ใช้บังคับประมาณ 3 เดือน อันเป็นเวลาใกล้เคียงกับการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายไว้เป็นราคาซื้อขายกันจริงและเป็นราคาที่ตรงตามสภาพและที่ตั้งของที่ดินแล้วและถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินต้องเป็นธรรม พิจารณาสภาพที่ตั้งและวัตถุประสงค์การเวนคืน
ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527 มาตรา 5ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... ทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม มาตรา 5 นี้เน้นให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบล ถนนและทะเลเป็นหลักการประเมินราคาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและเป็นการประเมินอย่างกว้าง ๆ ราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป ส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืน แม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้มากขึ้นก็ตามแต่ตาม พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มาตรา 6กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวว่ามีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้น เป็นการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่คำนึงถึงสภาพและทื่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์ และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าวข้างต้น แต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ นั้น ที่ดินพิพาทมีราคาที่ซื้อขายกันจริงเป็นราคาเท่าใด จึงกำหนดเงินค่าทดแทนให้ตามราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายหลังจากพระราชกฤษฎีกา ฯ ใช้บังคับประมาณ 3 เดือน อันเป็นเวลาใกล้เคียงกับการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ ดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายไว้เป็นราคาซื้อขายกันจริง และเป็นราคาที่ตรงตามสภาพและที่ตั้งของที่ดินแล้วและถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2240/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกบริษัทเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีเช่า กรณีมีสิทธิไล่เบี้ยตามสัญญาเช่า
คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลหมายเรียกบริษัท บ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้นอ้างเหตุว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าโรงแรมพิพาทจากบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผู้จะซื้อโรงแรมพิพาทจากโจทก์ โดยโจทก์มอบอำนาจให้บริษัท บ.เป็นตัวแทนในการที่จะให้บุคคลภายนอกเช่าโรงแรมพิพาทได้ จำเลยได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าและค่าเช่าประจำเดือนให้แก่บริษัทดังกล่าวไปแล้ว หากจำเลยแพ้คดีโจทก์ จำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยจากบริษัท บ.ในฐานะที่เป็นผู้ผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลยได้ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าต่อไปโดยอาศัยสัญญาเช่าฉบับใหม่ที่ทำขึ้นระหว่างบริษัท บ.กับจำเลย มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ กรณีมีเหตุสมควรที่จะเรียกบริษัท บ.เข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ก)
จำเลยฎีกาขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1(2) (ข) แห่ง ป.วิ.พ. จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2240/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีสัญญาเช่าและการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาฉบับใหม่
คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลหมายเรียกบริษัทบ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้นอ้างเหตุว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าโรงแรมพิพาทจากบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผู้จะซื้อโรงแรมพิพาทจากโจทก์โดยโจทก์มอบอำนาจให้บริษัทบ.เป็นตัวแทนในการที่จะให้บุคคลภายนอกเช่าโรงแรมพิพาทได้จำเลยได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าและค่าเช่าประจำเดือนให้แก่บริษัทดังกล่าวไปแล้วหากจำเลยแพ้คดีโจทก์จำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยจากบริษัทบ.ในฐานะที่เป็นผู้ผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลยได้ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าต่อไปโดยอาศัยสัญญาเช่าฉบับใหม่ที่ทำขึ้นระหว่างบริษัทบ.กับจำเลยมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์กรณีมีเหตุสมควรที่จะเรียกบริษัทบ. เข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(3)(ก) จำเลยฎีกาขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง200บาทตามตาราง1(2)ผขแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่จำเลย
of 41