พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสหภาพแรงงาน-นายจ้าง การผ่อนปรนโบนัสช่วงขาดทุน และสิทธิการได้รับเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
วัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงานนอกจากเพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างแก่สมาชิกแล้ว ยังต้องส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกันด้วย การที่สหภาพแรงงานธนาคาร ก. และสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาธนาคาร ก. ทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคารจำเลยที่ 1 ก็เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างกับพนักงานลูกจ้าง เนื่องจากจำเลยที่ 1 ประสบภาวะขาดทุน การผ่อนปรน การจ่ายเงินโบนัสเป็นการชั่วคราวอาจจะช่วยพยุงฐานะทางการเงินและอาจเป็นผลให้จำเลยที่ 1สามารถแก้ไขสถานการณ์ในการประกอบกิจการของตนได้ ซึ่งหากผลประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 มีกำไร จำเลยที่ 1 ก็สามารถจ่ายเงินโบนัสตามปกติได้ และการที่มีข้อตกลงให้จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษนั้นถือได้ว่าเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างแก่สมาชิกด้วยอันเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะยกเลิกสิทธิการได้เงินโบนัสเพียงชั่วคราวเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อได้รับมติของที่ประชุมใหญ่สหภาพแรงงานทั้งสองจึงสามารถทำข้อตกลงกับจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบด้วยกฎหมายข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาธนาคาร ก. จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องจ่ายโบนัสในช่วงเวลาที่ระบุไว้ในข้อตกลงให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6535-6775/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแรงงาน: การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, ดอกเบี้ย, และการคำนวณค่าต่างๆ
พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 98 และ 103 และข้อบังคับของสหภาพแรงงาน ท. มิได้บังคับว่ามติที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานที่ให้ยื่นข้อเรียกร้องจะต้องมีรายละเอียดว่าให้เรียกร้องสิ่งใดเช่น ค่าจ้าง สวัสดิการ เป็นจำนวนเท่าไร และตั้งใครเป็นผู้แทนในการเจรจา ตามที่จำเลยอ้าง ดังนั้น มติที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงาน ท. ที่เพียงแต่ระบุให้สหภาพแรงงาน ท. ยื่นข้อเรียกร้องซึ่งเป็นกิจการอันมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของสมาชิกไว้ลอย ๆ โดยไม่มีรายละเอียดดังกล่าว จึงเป็นมติที่ชอบตาม มาตรา 103 (2) และข้อบังคับของสหภาพแรงงาน ท.
ข้อความที่ว่า "ประธานกล่าวว่าในปีที่ผ่านมาเราไม่ได้ยื่นข้อเรียกร้องเลย ฉะนั้นในปีนี้เราจำเป็นจะต้องยื่นข้อเรียกร้องก่อนสิ้นปี 2539 นี้ จึงอยากให้ที่ประชุมลงมติว่าเราจะยื่นข้อเรียกร้องหรือไม่ยื่น" มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าเป็นเพียงคำกล่าวชี้แจงแสดงเหตุผลของประธานต่อที่ประชุมใหญ่ว่าเพราะเหตุใดจึงขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะให้ยื่นข้อเรียกร้องหรือไม่เท่านั้น หาได้หมายความว่าให้ที่ประชุมลงมติว่าให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในสิ้นปี 2539 ด้วยไม่ เมื่อที่ประชุมใหญ่มิได้ลงมติไว้อย่างชัดแจ้งว่าให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในปี 2539 และไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องกระทำในระยะเวลาใด สหภาพแรงงาน ท. จึงสามารถยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยได้ภายในระยะเวลาอันสมควร ที่ประชุมใหญ่ลงมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2539 จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540 ไม่ปรากฏว่าสหภาพแรงงาน ท. ได้ยื่นข้อเรียกร้องมาก่อน การยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ท. เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 จึงเป็นการยื่นข้อเรียกร้องโดยมติของที่ประชุมใหญ่ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว
การที่สหภาพแรงงาน ท. ทำหนังสือแจ้งข้อพิพาทแรงงานให้พนักงานประนอมข้อพิพาททราบตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 21 ในวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการ โดยไปยื่นต่อ ส. ซึ่งทำหน้าที่เป็นเวรประจำที่ทำการของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน จึงถือได้ว่าสหภาพแรงงาน ท. ได้แจ้งข้อพิพาทแรงงานเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานแล้ว
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อจำเลยไม่ยอมจ่ายย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ที่ 19 ถึงที่ 241 ตั้งแต่วันเลิกจ้าง และเพื่อความเป็นธรรมอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยสำหรับค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 18 นับแต่วันเลิกจ้างด้วย แม้โจทก์ดังกล่าวจะไม่ได้อุทธรณ์ก็ตาม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้าง และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวหรือไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง
ข้อความที่ว่า "ประธานกล่าวว่าในปีที่ผ่านมาเราไม่ได้ยื่นข้อเรียกร้องเลย ฉะนั้นในปีนี้เราจำเป็นจะต้องยื่นข้อเรียกร้องก่อนสิ้นปี 2539 นี้ จึงอยากให้ที่ประชุมลงมติว่าเราจะยื่นข้อเรียกร้องหรือไม่ยื่น" มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าเป็นเพียงคำกล่าวชี้แจงแสดงเหตุผลของประธานต่อที่ประชุมใหญ่ว่าเพราะเหตุใดจึงขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะให้ยื่นข้อเรียกร้องหรือไม่เท่านั้น หาได้หมายความว่าให้ที่ประชุมลงมติว่าให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในสิ้นปี 2539 ด้วยไม่ เมื่อที่ประชุมใหญ่มิได้ลงมติไว้อย่างชัดแจ้งว่าให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในปี 2539 และไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องกระทำในระยะเวลาใด สหภาพแรงงาน ท. จึงสามารถยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยได้ภายในระยะเวลาอันสมควร ที่ประชุมใหญ่ลงมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2539 จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540 ไม่ปรากฏว่าสหภาพแรงงาน ท. ได้ยื่นข้อเรียกร้องมาก่อน การยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ท. เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 จึงเป็นการยื่นข้อเรียกร้องโดยมติของที่ประชุมใหญ่ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว
การที่สหภาพแรงงาน ท. ทำหนังสือแจ้งข้อพิพาทแรงงานให้พนักงานประนอมข้อพิพาททราบตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 21 ในวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการ โดยไปยื่นต่อ ส. ซึ่งทำหน้าที่เป็นเวรประจำที่ทำการของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน จึงถือได้ว่าสหภาพแรงงาน ท. ได้แจ้งข้อพิพาทแรงงานเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานแล้ว
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อจำเลยไม่ยอมจ่ายย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ที่ 19 ถึงที่ 241 ตั้งแต่วันเลิกจ้าง และเพื่อความเป็นธรรมอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยสำหรับค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 18 นับแต่วันเลิกจ้างด้วย แม้โจทก์ดังกล่าวจะไม่ได้อุทธรณ์ก็ตาม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้าง และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวหรือไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2622/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สหภาพแรงงานฟ้องคดีโดยไม่ผ่านมติที่ประชุมใหญ่ ขาดอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
โจทก์ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานฟ้องจำเลยว่าจำเลยปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงเป็นการจัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามมาตรา98(2)แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ซึ่งต้องผ่านมติที่ประชุมใหญ่เสียก่อนที่จะดำเนินการได้ตามมาตรา103(2)แต่ฟ้องฟ้องคดีโดยไม่มีมติของที่ประชุมใหญ่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง, การยุบหอพัก, สิทธิของนายจ้าง, อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน, การบังคับใช้สัญญา
บริษัทจำเลยได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้กับสหภาพแรงงานโดยมีข้อกำหนดว่าให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นมีผลใช้บังคับต่อลูกจ้างทุกคนของจำเลย คำฟ้องของโจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานจึงเป็นคำฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวอันเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีต่อกัน โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าลูกจ้างของจำเลยเป็นสมาชิกของโจทก์หรือไม่ ความในบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีว่า สหภาพแรงงานฯโจทก์ตกลงรับหลักการให้ยุบที่พักอาศัยของบริษัทฯ จำเลยได้โดยทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาในรายละเอียดร่วมกันและต้องทำความตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 และให้ลูกจ้างที่พักอาศัยทุกคนย้ายออกภายใน2 เดือนหลังจากตกลงกันได้ แสดงว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างเห็นชอบพร้อมกันในหลักการที่จะไม่ประสงค์ให้มีที่พักอาศัยของลูกจ้างของจำเลยต่อไปอีก เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำความตกลงกันได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด การเจรจาที่ตกลงกันไม่ได้นี้ก็หาเป็นเหตุให้หลักการสำคัญคือการยุบที่พักอาศัยของจำเลยเป็นอันยกเลิกหรือไม่มีผลบังคับต่อไปไม่ เมื่อปรากฏ ว่าวันที่จำเลยประกาศให้ลูกจ้างออกจากหอพักล่วงพ้นปี พ.ศ. 2529 มาแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิให้พนักงานของจำเลยออกไปจากหอพักได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างและการยินยอมของสหภาพแรงงาน การปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่มีการโต้แย้งทำให้สิทธิเรียกร้องสูญเสีย
เมื่อจำเลยได้มีคำสั่งกำหนดเงินส่วนแบ่งจากค่าโดยสารให้แก่พนักงานเก็บค่าโดยสารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนแบ่งจากคำสั่งเดิม สหภาพแรงงานผู้ปฏิบัติงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกอยู่ด้วยมิได้ทักท้วง ย่อมมีผลเป็นว่าสหภาพแรงงานฯ ได้เห็นชอบตามคำสั่งของจำเลยและเมื่อโจทก์เข้าเป็นลูกจ้างของจำเลยจนถึงวันฟ้องโจทก์ก็ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยโดยยอมรับเอาเงินส่วนแบ่งจากรายได้ค่าโดยสารตามอัตราที่กำหนดไว้ตลอดมาโดยมิได้โต้แย้งคัดค้าน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาส่วนแบ่งจากรายได้ค่าโดยสารนอกเหนือไปจากที่กำหนดอัตราไว้ในคำสั่งดังกล่าวของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยคำสั่งนายจ้าง การไม่โต้แย้งของสหภาพแรงงาน และการยอมรับเงื่อนไขของลูกจ้าง
เมื่อจำเลยได้มีคำสั่งกำหนดเงินส่วนแบ่งจากค่าโดยสารให้แก่พนักงานเก็บค่าโดยสารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนแบ่งจากคำสั่งเดิม สหภาพแรงงานผู้ปฏิบัติงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกอยู่ด้วยมิได้ทักท้วง ย่อมมีผลเป็นว่าสหภาพแรงงานฯ ได้เห็นชอบตามคำสั่งของจำเลยและเมื่อโจทก์เข้าเป็นลูกจ้างของจำเลยจนถึงวันฟ้องโจทก์ก็ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยโดยยอมรับเอาเงินส่วนแบ่งจากรายได้ค่าโดยสารตามอัตราที่กำหนดไว้ตลอดมาโดยมิได้โต้แย้งคัดค้าน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาส่วนแบ่งจากรายได้ค่าโดยสารนอกเหนือไปจากที่กำหนดอัตราไว้ในคำสั่งดังกล่าวของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน: ต้องแสดงสมาชิกภาพของลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ
โจทก์เป็นสหภาพแรงงานซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 98 ที่จะกระทำการอันใดอันหนึ่งเพื่อประโยชน์ของสมาชิกสหภาพแรงงานโดยเฉพาะ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนระเบียบใหม่ที่ออกมาใช้บังคับซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบเดิม และไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างใหม่โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า ลูกจ้างใหม่ที่จำเลยได้ทำสัญญาจ้างภายหลังวันที่ระเบียบใหม่มีผลใช้บังคับนั้นได้เป็นสมาชิกของโจทก์ด้วยหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนระเบียบฉบับใหม่ดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นโทษต่อลูกจ้างที่เข้ามาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน: ต้องมีสมาชิกได้รับผลกระทบโดยตรง จึงจะฟ้องแทนได้
โจทก์เป็นสหภาพแรงงานซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 98 ที่จะกระทำการอันใดอันหนึ่งเพื่อประโยชน์ของสมาชิกสหภาพแรงงานโดยเฉพาะ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนระเบียบใหม่ที่ออกมาใช้บังคับซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบเดิม และไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างใหม่โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า ลูกจ้างใหม่ที่จำเลยได้ทำสัญญาจ้างภายหลังวันที่ระเบียบใหม่มีผลใช้บังคับนั้นได้เป็นสมาชิกของโจทก์ด้วยหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนระเบียบฉบับใหม่ดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นโทษต่อลูกจ้างที่เข้ามาใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ: สิทธิฟ้องร้องต้องเกิดเมื่อมีการโต้แย้งสิทธิ
เมื่อพนักงานยาสูบซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอายุครบ 60ปี จำเลยจะดำเนินการเลิกจ้างทำให้พนักงานยาสูบดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าชดเชยนับแต่วันเลิกจ้าง หากจำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ก็ต้องถือว่าพนักงานยาสูบผู้นั้นถูกโต้แย้งสิทธินับแต่วันดังกล่าว ขณะที่สหภาพแรงงานฯ โจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่มีพนักงานยาสูบซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์คนใดถูกโต้แย้งสิทธิในกรณีเช่นว่านี้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยไว้ล่วงหน้าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4756/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน: ต้องระบุสมาชิกและรายละเอียดค่าจ้างที่ชัดเจน
ฟ้องของสหภาพแรงงานโจทก์ที่มีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย แก่ครูผู้มีสิทธินั้น เป็นการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่ครู โจทก์มีหน้าที่ ต้องบรรยายฟ้องว่า ครูตามคำฟ้องเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานโจทก์หรือไม่ เพราะถ้าครูผู้นั้นไม่เป็นสมาชิก โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจหรือหน้าที่ใด ๆ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 98 ที่จะดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่ครูผู้ที่ไม่ได้รับค่าจ้างนั้นได้เมื่อโจทก์ไม่บรรยายฟ้องดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง