คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 98

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4756/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงานต้องระบุสมาชิกชัดเจน หากฟ้องแทนลูกจ้างที่ไม่เป็นสมาชิก ย่อมไม่มีอำนาจดำเนินการ
ฟ้องของสหภาพแรงงานโจทก์ที่มีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย แก่ครูผู้มีสิทธินั้น เป็นการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่ครู โจทก์มีหน้าที่ ต้องบรรยายฟ้องว่า ครูตามคำฟ้องเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานโจทก์หรือไม่ เพราะถ้าครูผู้นั้นไม่เป็นสมาชิก โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจหรือหน้าที่ใดๆตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 98 ที่จะดำเนินการ เพื่อประโยชน์แก่ครูผู้ที่ไม่ได้รับค่าจ้างนั้นได้เมื่อโจทก์ไม่บรรยายฟ้อง ดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี แม้สหภาพยินยอม ก็ต้องจ่ายตามกฎหมาย
แม้การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีจะเป็นสิทธิของนายจ้างที่ จะเป็นผู้กำหนดก็ตาม แต่การหยุดนั้นนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้เท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ดังนั้น การที่นายจ้างประกาศหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างที่ยังไม่มีสิทธิหยุดกับลูกจ้างที่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไปแล้วให้ได้หยุดโดยไม่ได้รับค่าจ้างจึงไม่ชอบ
การที่สหภาพแรงงานยินยอมให้นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีได้ โดยนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นประโยชน์แก่สมาชิกสหภาพแรงงานแต่อย่างใด การกระทำของสหภาพจึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น แม้ลูกจ้างจะไม่คัดค้านประกาศ และการประชุมชี้แจงของนายจ้างก็ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าลูกจ้างยินยอมที่จะไม่รับค่าจ้าง สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดพักผ่อนประจำปีต้องจ่ายค่าจ้าง การยินยอมของสหภาพแรงงานต้องเป็นประโยชน์ต่อสมาชิก การไม่คัดค้านไม่ถือเป็นความยินยอม
แม้การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีจะเป็นสิทธิของนายจ้างที่ จะเป็นผู้กำหนดก็ตาม แต่การหยุดนั้นนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้เท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ดังนั้น การที่นายจ้างประกาศหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างที่ยังไม่มีสิทธิหยุดกับลูกจ้างที่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไปแล้วให้ได้หยุดโดยไม่ได้รับค่าจ้างจึงไม่ชอบ
การที่สหภาพแรงงานยินยอมให้นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีได้โดยนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นประโยชน์แก่สมาชิกสหภาพแรงงานแต่อย่างใด การกระทำของสหภาพจึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น แม้ลูกจ้างจะไม่คัดค้านประกาศ และการประชุมชี้แจงของนายจ้างก็ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าลูกจ้างยินยอมที่จะไม่รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมหลังข้อตกลงสหภาพฯ และการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหาย
เมื่อสหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างและตกลงกันได้ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงคือสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งยื่นข้อเรียกร้องนั้น จึงถือได้ว่าสมาชิกสหภาพแรงงานเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานยื่นต่อนายจ้าง ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 การที่นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41(4) มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งเรื่องค่าเสียหายในกรณีเลิกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมได้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะกำหนดค่าเสียหายให้ลูกจ้างตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมและการคุ้มครองลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามดุลพินิจ
เมื่อสหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างและตกลงกันได้ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงคือสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งยื่นข้อเรียกร้องนั้น จึงถือได้ว่าสมาชิกสหภาพแรงงานเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานยื่นต่อนายจ้าง ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 การที่นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41(4) มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งเรื่องค่าเสียหายในกรณีเลิกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมได้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะกำหนดค่าเสียหายให้ลูกจ้างตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการฟ้องของสหภาพแรงงาน และการบังคับใช้มติคณะรัฐมนตรีกับบริษัทเอกชน
บทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นเพียง กำหนดให้สหภาพแรงงานดำเนินกิจการต่าง ๆ โดยทางผู้แทนทั้งหลายที่เรียกว่าคณะกรรมการเท่านั้น และไม่มีมาตรา อื่นใดบังคับว่า สหภาพแรงงานจะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการทุกคน เมื่อข้อบังคับของสหภาพ แรงงานโจทก์มิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 ว่าการจะทำความตกลงต่าง ๆ ในทางอำนวยกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ในหมู่ผู้จัดการทั้งหลายด้วยกัน
พระราชบัญญัติตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 36 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งคนเป็นสมาชิก ดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงาน ซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมาย แรงงานแทนลูกจ้าง ผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพ แรงงานโดยเฉพาะ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 98 (2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ ของสมาชิก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสหภาพแรงงานฟ้องคดี – เสียงข้างมากกรรมการ – สิทธิลูกจ้างมอบอำนาจ – สัญญาเช่าผูกพันตามมติคณะรัฐมนตรี
บทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เป็นเพียงกำหนดให้สหภาพแรงงานดำเนินกิจการต่าง ๆ โดยทางผู้แทนทั้งหลายที่เรียกว่าคณะกรรมการเท่านั้น และไม่มีมาตราอื่นใดบังคับว่า สหภาพแรงงานจะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการทุกคน เมื่อข้อบังคับของสหภาพแรงงานโจทก์มิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่นกรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 ว่าการจะทำความตกลงต่างๆ ในทางอำนวยกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้เป็นไปตามเสียงข้างมากในหมู่ผู้จัดการทั้งหลายด้วยกัน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา 36 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพแรงงานโดยเฉพาะ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา98(2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ของสมาชิกโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้
of 26