คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องเงินบำเหน็จ, ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน, และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า: กรอบระยะเวลาและเงื่อนไขการผิดนัด
ตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกำหนดให้พนักงานมีหนังสือขอรับเงินบำเหน็จจากนายจ้างภายใน 6 เดือน นับแต่วันออกจากงาน แต่ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวมิได้มีข้อจำกัดตัดสิทธิพนักงานที่ไม่ทำหนังสือแสดงความประสงค์ขอรับเงินบำเหน็จภายในกำหนด การที่โจทก์ทำหนังสือเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินบำเหน็จเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน จำเลยไม่ชำระ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินบำเหน็จแก่โจทก์ได้
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 เป็นสินจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) มีอายุความ 2 ปี หาใช่ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 ไม่
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินค้ำประกันการทำงาน และเงินบำเหน็จ มิใช่เงินที่จะต้องจ่ายทันทีเมื่อมีการเลิกจ้างเช่นเดียวกับค่าชดเชยซึ่งเป็นผลตามกฎหมายอันเกิดสิทธิบังคับให้ชำระหนี้ทันที แต่ผู้มีสิทธิในเงินดังกล่าวจะต้องทวงถามก่อน เมื่อไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อทวงถาม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง หาใช่นับแต่วันเลิกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งให้ลูกจ้างจัดหาเครื่องมือทำงานเองต้องมีระเบียบข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษร ประเพณีไม่อาจบังคับใช้ได้
ลูกจ้างจะต้องจัดหาเครื่องมือในการทำงานมาเองหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องกำหนดโดยระเบียบข้อบังคับหรือความตกลงระหว่างคู่กรณีเมื่อจำเลยไม่มีระเบียบข้อบังคับกำหนดให้ลูกจ้างที่เป็นช่างไม้จัดหาเครื่องมือช่างไม้มาทำงานเองดังนั้นแม้หากจะมีประเพณีให้ลูกจ้างที่เป็นช่างไม้จัดหาเครื่องมือมาเองดังที่จำเลยกล่าวอ้างก็หาอาจนำประเพณีนั้นมาบังคับแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างได้ไม่คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์นำเครื่องมือช่างไม้มาทำงานเองจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยไม่ได้ ประเพณีที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ทำให้คำสั่งของจำเลยกลับเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำสืบพยานว่ามีประเพณีนั้นหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับลูกจ้างจัดหาเครื่องมือทำงาน นายจ้างต้องมีระเบียบข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษร ประเพณีใช้ไม่ได้
ลูกจ้างจะต้องจัดหาเครื่องมือในการทำงานมาเองหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องกำหนดโดยระเบียบข้อบังคับหรือความตกลงระหว่างคู่กรณีเมื่อจำเลยไม่มีระเบียบข้อบังคับกำหนดให้ลูกจ้างที่เป็นช่างไม้จัดหาเครื่องมือช่างไม้ มาทำงานเองดังนั้นแม้หากจะมีประเพณีให้ลูกจ้างที่เป็นช่างไม้จัดหาเครื่องมือมาเองดังที่จำเลยกล่าวอ้างก็หาอาจนำประเพณีนั้นมาบังคับแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างได้ไม่ คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์นำเครื่องมือช่างไม้มาทำงานเอง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยไม่ได้
ประเพณีที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ทำให้คำสั่งของจำเลยกลับเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำสืบพยานว่ามีประเพณีนั้นหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง แม้ทำงานเกิน 1 ปี และการจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายเมื่อเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 10 วรรคแรกกำหนดสิทธิของลูกจ้างว่าถ้าได้ทำงานมาครบหนึ่งปีเต็มก็จะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อยหกวันทำงานและสิทธินี้เป็นสิทธิแต่ละปี เมื่อลูกจ้างทำงานครบปีแรกแล้ว ถ้าได้หยุดพักผ่อนประจำปีก็ถือว่าเป็นการหยุดพักผ่อนประจำปีของปีที่ผ่านมา และในปีต่อไปถือว่าลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ทันทีโดยไม่ต้องทำงานให้ครบปีอีก
โจทก์แต่ละคนทำงานกับจำเลยเป็นเวลาเกิน 3 ปีแล้ว โจทก์บางคนได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2526 ไปแล้ว ส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2527 ซึ่งโจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2526นั้นโจทก์ยังมิได้ใช้สิทธิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 2 พฤศจิกายน 2526 โดยโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2527จำนวน 6 วัน ให้แก่โจทก์แต่ละคนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45
ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อถึงกำหนดวันจ่ายค่าจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าครองชีพซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของเดือนพฤศจิกายน 2526 และมีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่2 พฤศจิกายน 2526 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยุบเลิกกิจการและเลิกจ้างจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธ จึงต้องถือว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนพฤศจิกายนนั้นในวันเลิกจ้างดังกล่าวในฟ้อง เมื่อจำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง แม้ทำงานเกินหนึ่งปี และดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ10วรรคแรกกำหนดสิทธิของลูกจ้างว่าถ้าได้ทำงานมาครบหนึ่งปีเต็มก็จะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อยหกวันทำงานและสิทธินี้เป็นสิทธิแต่ละปีเมื่อลูกจ้างทำงานครบปีแรกแล้วถ้าได้หยุดพักผ่อนประจำปีก็ถือว่าเป็นการหยุดพักผ่อนประจำปีของปีที่ผ่านมาและในปีต่อไปถือว่าลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ทันทีโดยไม่ต้องทำงานให้ครบปีอีก โจทก์แต่ละคนทำงานกับจำเลยเป็นเวลาเกิน3ปีแล้วโจทก์บางคนได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2526ไปแล้วส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2527ซึ่งโจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2526นั้นโจทก์ยังมิได้ใช้สิทธิเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่2พฤศจิกายน2526โดยโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2527จำนวน6วันให้แก่โจทก์แต่ละคนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ45 ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อถึงกำหนดวันจ่ายค่าจ้างเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าครองชีพซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของเดือนพฤศจิกายน2526และมีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่2พฤศจิกายน2526ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยุบเลิกกิจการและเลิกจ้างจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธจึงต้องถือว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนพฤศจิกายนนั้นในวันเลิกจ้างดังกล่าวในฟ้องเมื่อจำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816-2822/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ศาลอนุญาตเลิกจ้างแล้ว นายจ้างยังต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลแรงงานตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ที่อนุญาตให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ มีผลเป็นเพียงคำอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้างได้เท่านั้น มิใช่ เป็นคำสั่งแทนนายจ้างให้เลิกจ้างกันได้โดยทันที แต่เป็นการให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างได้และนายจ้างต้องออกคำสั่งเลิกจ้างตามที่ศาลแรงงานได้อนุญาตแล้ว สัญญาจ้างจึงจะเป็นอันสิ้นสุดลง ส่วนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้างโดยตรงต่อลูกจ้างว่านายจ้างมีความประสงค์จะเลิกจ้างลูกจ้างนั้น การยื่นคำร้องขอต่อศาลแรงงานกลางเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการแสดงเจตนาต่อโจทก์การที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ต่อมาตามคำสั่งของศาลแรงงาน โดยโจทก์มิได้กระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ตาม มาตรา 583 จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง คดีอยู่ระหว่างพิจารณา จำเลยได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีโดยกำหนดให้หยุดตั้งแต่วันที่กำหนดให้เป็นต้นไป ย่อมถือได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 แล้ว และเป็นการกำหนดช่วงระยะเวลาให้โจทก์พิจารณาเลือกวันหยุดเอาเองตามความสะดวกและเหมาะสม เมื่อโจทก์ไม่ยอมหยุดตามที่จำเลยกำหนดไว้ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816-2822/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ศาลอนุญาตเลิกจ้างแล้ว นายจ้างต้องออกคำสั่งเลิกจ้าง และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว
คำสั่งของศาลแรงงานตามมาตรา52แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ที่อนุญาตให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้มีผลเป็นเพียงคำอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้างได้เท่านั้นมิใช่เป้นคำสั่งแทนนายจ้างให้เลิกจ้างกันได้โดยทันทีแต่เป็นการให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างได้และนายจ้างต้องออกคำสั่งเลิกจ้างตามที่ศาลแรงงานได้อนุญาตแล้วสัญญาจ้างจึงจะเป็นอันสิ้นสุดลงส่วนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้างโดยตรงต่อลูกจ้างว่านายจ้างมีความประสงค์จะเลิกจ้างลูกจ้างนั้นการยื่นคำร้องขอต่อศาลแรงงานกลางเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์มิใช่เป็นการแสดงเจตนาต่อโจทก์การที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ต่อมาตามคำสั่งของศาลแรงงานโดยโจทก์มิได้กระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา583จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างคดีอยู่ระหว่างพิจารณาจำเลยได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีโดยกำหนดให้หยุดตั้งแต่วันที่กำหนดให้เป็นต้นไปย่อมถือได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ10แล้วและเป็นการกำหนดช่วงระยะเวลาให้โจทก์พิจารณาเลือกวันหยุดเอาเองตามความสะดวกและเหมาะสมเมื่อโจทก์ไม่ยอมหยุดตามที่จำเลยกำหนดไว้จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างทำงานไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารได้
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าเมื่อพนักงานของจำเลยผู้ใดทำงานครบกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีขึ้นไปจึงจะมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้แต่ละปีตามจำนวนวันที่กำหนดไว้และเมื่อมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้แล้วหากลาออกจากงานหรือมีการเลิกจ้างจำเลยก็จะจ่ายค่าจ้างสำหรับวันลาหยุดพักผ่อนประจำปีให้ซึ่งจะกระทำในกรณีจำเป็นและต้องได้รับอนุมัติจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยก่อนแต่กรณีของโจทก์ทั้งสองปรากฏว่ายังทำงานไม่ครบหนึ่งปีไม่มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีจึงไม่มีกรณีที่กรรมการผู้จัดการของจำเลยจะอนุมัติให้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ได้แม้ตามเอกสารที่จำเลยทำขึ้นจะมีข้อความว่าจำเลยได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ก็ตามจำเลยก็มีสิทธิที่จะนำสืบได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์นั้นความจริงแล้วเป็นการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ไม่เพราะกรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างนั้นกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือต่อกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าชดเชยวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับลูกจ้างที่ทำงานไม่ครบหนึ่งปี และการนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสาร
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าเมื่อพนักงานของจำเลยผู้ใดทำงานครบกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีขึ้นไปจึงจะมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้แต่ละปีตามจำนวนวันที่กำหนดไว้ และเมื่อมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้แล้ว หากลาออกจากงานหรือมีการเลิกจ้าง จำเลยก็จะจ่ายค่าจ้างสำหรับวันลาหยุดพักผ่อนประจำปีให้ ซึ่งจะกระทำในกรณีจำเป็น และต้องได้รับอนุมัติจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยก่อน แต่กรณีของโจทก์ทั้งสอง ปรากฏว่ายังทำงานไม่ครบหนึ่งปี ไม่มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี จึงไม่มีกรณีที่กรรมการผู้จัดการของจำเลยจะอนุมัติให้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ได้แม้ตามเอกสารที่จำเลยทำขึ้นจะมีข้อความว่า จำเลยได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ก็ตาม จำเลยก็มีสิทธิที่จะนำสืบได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์นั้นความจริงแล้วเป็นการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่ เพราะกรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างนั้น กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือต่อกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนเมื่อเลิกจ้าง: นายจ้างต้องจ่ายหากไม่ได้กำหนดวันหยุดให้ลูกจ้าง
คำสั่งของจำเลยแจ้งให้พนักงานของจำเลยใช้สิทธิลาพักผ่อนประจำปีรวมทั้งวันลาสะสมที่มีอยู่ให้หมดในปีที่พนักงานผู้นั้นจะเกษียณอายุหาใช่เป็นการกำหนดให้พนักงานหยุดพักผ่อนในช่วงเวลาใดที่กำหนดไว้แน่นอนไม่และไม่ปรากฏว่าหัวหน้าฝ่ายหัวหน้ากองและหัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานของจำเลยได้จัดวันหยุดให้พนักงานในสังกัดลาพักผ่อนประจำปีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีแล้วเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์ตามข้อ45แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน.
of 5