พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางวีดีโอ/เทปที่ไม่มีฉลาก: พิจารณาความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และการขอริบตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทป
ของกลางอันได้แก่วีดีโอเทปที่ไม่มีฉลาก จำนวน 323 ม้วน และเทปเพลงที่ไม่มีฉลากจำนวน 629 ม้วน ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น ล้วนแต่เป็นจำพวกที่ไม่มีฉลาก อันต้องด้วยความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งในขณะเดียวกันเฉพาะวีดีโอเทปที่ไม่มีฉลากนั้นยังเป็นทรัพย์สินที่มิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส อันต้องด้วยความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530อีกด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้สั่งริบของกลางทั้งสองจำพวกที่ไม่มีฉลาก โดยมิได้ขอให้สั่งริบวีดีโอเทปที่มิได้แสดงตรา หมายเลขรหัสด้วย ย่อมแสดงว่าโจทก์มีเจตนาขอให้สั่งริบของกลางในส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522เท่านั้น คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ฉบับเดิมมาใช้บังคับ ซึ่งมิได้บัญญัติเกี่ยวกับการริบของกลางไว้ กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.อ.มาตรา 33 ดังที่โจทก์ขอมา แต่โดยที่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 58 (พ.ศ.2536) ลงวันที่ 14พฤษภาคม 2536 กำหนดให้ของกลางทั้งสองจำพวกเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ประกอบกับบทกำหนดโทษตามมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 บัญญัติให้ลงโทษผู้ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก ย่อมแสดงให้เห็นว่า กรณีจะเกิดเป็นความผิดตามมาตรา 52 ได้นั้น ก็เพราะเหตุที่สินค้าที่ควบคุมฉลากนั้นไม่มีฉลากนั่นเอง หาใช่เกิดจากตัวสินค้าโดยตรงไม่ ดังนั้น ของกลางทั้งสองจำพวกจึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ริบของกลางโดยอ้างว่าวีดีโอเทปของกลางมิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส จึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา32 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ริบของกลางอันเนื่องมาจากความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โดยที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52วรรคหนึ่ง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยก่อนที่จะลดโทษ โดยให้ปรับจำเลยฐานนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขายซึ่งเทปเพลงและวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากเป็นเงินสองหมื่นบาทนั้น เป็นเรื่องข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือเขียน ทั้งนี้เพราะเมื่อศาลชั้นต้นรวมค่าปรับทุกกระทงความผิดแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 801,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นวางโทษปรับถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นรวมโทษปรับผิดและรวมโทษปรับใหม่เพิ่มขึ้นอีก 10,000 บาท นั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ริบของกลางโดยอ้างว่าวีดีโอเทปของกลางมิได้มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส จึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา32 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ริบของกลางอันเนื่องมาจากความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โดยที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 52วรรคหนึ่ง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยก่อนที่จะลดโทษ โดยให้ปรับจำเลยฐานนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขายซึ่งเทปเพลงและวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากเป็นเงินสองหมื่นบาทนั้น เป็นเรื่องข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือเขียน ทั้งนี้เพราะเมื่อศาลชั้นต้นรวมค่าปรับทุกกระทงความผิดแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 801,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นวางโทษปรับถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นรวมโทษปรับผิดและรวมโทษปรับใหม่เพิ่มขึ้นอีก 10,000 บาท นั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางคดีคุ้มครองผู้บริโภคและเทปฯ พิจารณาจากความผิดตามกฎหมายและเหตุผลการริบ
ของกลางอันได้แก่วีดีโอเทปที่ไม่มีฉลาก จำนวน 323 ม้วน และเทปเพลงที่ไม่มีฉลากจำนวน 629 ม้วน ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น ล้วนแต่เป็นจำพวกที่ไม่มีฉลาก อันต้องด้วยความผิดตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งในขณะเดียวกัน เฉพาะวีดีโอเทปที่ไม่มีฉลากนั้นยังเป็นทรัพย์สินที่มิได้ มีการแสดงตรา หมายเลขรหัส อันต้องด้วยความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 อีกด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้สั่งริบของกลางทั้งสองจำพวกที่ไม่มีฉลาก โดยมิได้ขอให้สั่งริบวีดีโอเทปที่มิได้แสดงตรา หมายเลขรหัสด้วย ย่อมแสดงว่าโจทก์มีเจตนาขอให้สั่งริบของกลาง ในส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เท่านั้น คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ฉบับเดิมมาใช้บังคับ ซึ่งมิได้บัญญัติเกี่ยวกับ การริบของกลางไว้ กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ดังที่โจทก์ขอมา แต่โดยที่ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 58 (พ.ศ. 2536) ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2536 กำหนดให้ของกลางทั้งสองจำพวก เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ประกอบกับบทกำหนดโทษตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 บัญญัติ ให้ลงโทษผู้ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก ย่อมแสดง ให้เห็นว่า กรณีจะเกิดเป็นความผิดตามมาตรา 52 ได้นั้น ก็เพราะเหตุที่สินค้าที่ควบคุมฉลากนั้นไม่มีฉลากนั่นเอง หาใช่เกิดจากตัวสินค้าโดยตรงไม่ ดังนั้น ของกลางทั้งสองจำพวก จึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ขอ ให้ ริบ ของ กลาง โดย อ้าง ว่า วีดีโอเทป ของกลาง มิได้ มี การ แสดง เจตนา หมาย เลข รหัส จึง เป็น ทรัพย์ ที่ มี ไว้ เป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 นั้น เป็น กรณี ที่ โจทก์ ขอให้ ริบ ของกลาง อัน เนื่อง มา จาก ความผิด ตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือคำขอท้ายฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522มาตรา 52 วรรคหนึ่ง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับจำเลยก่อนที่จะลดโทษ โดยให้ ปรับจำเลยฐานนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย ซึ่งเทปเพลง และวีดีโอเทปที่ไม่ปิดฉลากเป็นเงินสองหมื่นบาทนั้น เป็นเรื่องข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือเขียน ทั้งนี้เพราะ เมื่อศาลชั้นต้นรวมค่าปรับทุกกระทงความผิดแล้วเป็นจำนวนเงิน ทั้งสิ้น 801,000 บาท ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้น วางโทษปรับถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ อ้างว่าศาลชั้นต้น รวมโทษปรับผิดและรวมโทษปรับใหม่ เพิ่มขึ้นอีก 10,000 บาท นั้นจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควร แก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นค่าเสียหายที่มิได้กำหนดในศาลชั้นต้นถือว่าสละ ส่วนภาระจำยอมยังคงมีผลผูกพัน
โจทก์บรรยายเรื่องค่าเสียหายมาในฟ้องแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้และคู่ความไม่ได้โต้แย้ง ย่อมถือว่าคู่ความได้สละประเด็นดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะนอกประเด็น
เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นโฉนดเดียวกัน ครั้นเจ้าของเดิมแบ่งแยกออกเป็นโฉนดเลขที่ 11887 และเลขที่ 1521 แล้ว ได้มีการโอนกันต่อมาหลายทอดจนถึงโจทก์และจำเลย โดยโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 11887ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ซึ่งได้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11887 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์ เมื่อภาระจำยอมนี้ยังไม่ระงับสิ้นไป จึงมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ต่อไป ดังนี้ เมื่อรูปคดีมิใช่เป็นเรื่องจำเลยผู้เป็นเจ้าของภารยทรัพย์เรียกให้พ้นจากภาระจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ ในกรณีที่ภารย-ทรัพย์ไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์ส่วนใดจึงชอบที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนแผงลอยและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นภารยทรัพย์
เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นโฉนดเดียวกัน ครั้นเจ้าของเดิมแบ่งแยกออกเป็นโฉนดเลขที่ 11887 และเลขที่ 1521 แล้ว ได้มีการโอนกันต่อมาหลายทอดจนถึงโจทก์และจำเลย โดยโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 11887ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ซึ่งได้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11887 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์ เมื่อภาระจำยอมนี้ยังไม่ระงับสิ้นไป จึงมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ต่อไป ดังนี้ เมื่อรูปคดีมิใช่เป็นเรื่องจำเลยผู้เป็นเจ้าของภารยทรัพย์เรียกให้พ้นจากภาระจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ ในกรณีที่ภารย-ทรัพย์ไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์ส่วนใดจึงชอบที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนแผงลอยและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นภารยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมยังไม่ระงับสิ้นแม้เจ้าของภารยทรัพย์ถูกบังคับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง การพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่กำหนดประเด็นไว้ ถือไม่ชอบ
โจทก์บรรยายเรื่องค่าเสียหายมาในฟ้องแล้ว แต่ศาลชั้นต้น มิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้และคู่ความไม่ได้โต้แย้งย่อมถือว่าคู่ความได้สละประเด็นดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะนอกประเด็น เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นโฉนดเดียวกันครั้นเจ้าของเดิมแบ่งแยกออกเป็นโฉนดเลขที่ 11887 และเลขที่ 1521 แล้ว ได้มีการโอนกันต่อมาหลายทอดจนถึงโจทก์ และจำเลย โดยโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 11887ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1521 ซึ่งได้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11887 ซึ่งเป็นสามยทรัพย์ เมื่อภารจำยอมนี้ยังไม่ระงับสิ้นไป จึงมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ต่อไป ดังนี้ เมื่อรูปคดีมิใช่เป็นเรื่องจำเลยผู้เป็นเจ้าของ ภารยทรัพย์เรียกให้พ้นจากภารจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ ในกรณีที่ภารยทรัพย์ไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการเพื่อ ประโยชน์แก่ทรัพย์ส่วนใดจึงชอบที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสอง รื้อถอนแผงลอยและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นภารยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6496/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขู่เข็ญด้วยอาวุธปืนในที่ดินส่วนตัว ไม่ถือเป็นการพาอาวุธไปในหมู่บ้าน
ผู้เสียหายกับจำเลยต่างมีเรื่องบาดหมางกันมาก่อนทั้งก่อนเกิดเหตุคดีนี้เล็กน้อยผู้เสียหายกับจำเลยก็ยังมีปากเสียงโต้เถียงกัน ต่อมาเมื่อผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ตามไปทันมารดาผู้เสียหาย จำเลยเดินเข้าไปหาผู้เสียหายแล้วจำเลยซักอาวุธปืนสั้นซึ่งยังใส่อยู่ในซองปืนออกจากเอวเล็งไปทางผู้เสียหายขณะอยู่ห่างกันประมาณ 2 เมตร ทั้งจำเลยยังพูดอีกด้วยว่า "มึงจะลองกับกูหรือมึงอยากตายหรือไง"ลักษณะกิริยาอาการตลอดจนคำพูดของจำเลยแสดงแจ้งชัดอยู่ในตัวว่า จำเลยใช้อาวุธปืนขู่เข็ญผู้เสียหาย การที่จำเลยใช้อาวุธปืน ซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงใช้ประหัตประหาร แม้จะยังอยู่ในซองปืน กระทำการดังกล่าวแล้วตามวิสัยวิญญูชนผู้ตกอยู่ในภาวะ อันมิได้คาดคิดมาก่อน ย่อมจะต้องตกใจกลัว ผู้เสียหาย ซึ่งประสบเหตุการณ์เช่นนี้ก็มิได้พูดอะไรกับจำเลย ทั้งที่ ก่อนหน้านั้นยังโต้เถียงกับจำเลย แต่ผู้เสียหายกลับขับรถจักรยานยนต์ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจทันทีแสดงว่าผู้เสียหายกลัวภัยที่จะเกิดขึ้นแก่ตนแล้ว ตามวิสัย ปุถุชนทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 การที่จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวอยู่ในที่ดินซึ่งตนมีส่วน เป็นเจ้าของอยู่ด้วย หาใช่เป็นการพาอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านดังที่พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ,72 ทวิ ประสงค์ให้เป็นความผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6496/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขู่ด้วยอาวุธปืน แม้ยังอยู่ในซองปืน ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
ผู้เสียหายกับจำเลยต่างมีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน ทั้งก่อนเกิดเหตุคดีนี้เล็กน้อยผู้เสียหายกับจำเลยก็ยังมีปากเสียงโต้เถียงกัน ต่อมาเมื่อผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ตามไปทันมารดาผู้เสียหาย จำเลยเดินเข้าไปหาผู้เสียหาย แล้วจำเลยชักอาวุธปืนสั้นซึ่งยังใส่อยู่ในซองปืนออกจากเอวเล็งไปทางผู้เสียหายขณะอยู่ห่างกันประมาณ 2 เมตร ทั้งจำเลยยังพูดอีกด้วยว่า "มึงจะลองกับกูหรือ มึงอยากตายหรือไง" ลักษณะกิริยาอาการตลอดจนคำพูดของจำเลยแสดงแจ้งชัดอยู่ในตัวว่า จำเลยใช้อาวุธปืนขู่เข็ญผู้เสียหาย การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงใช้ประหัตประหาร แม้จะยังอยู่ในซองปืน กระทำการดังกล่าวแล้วตามวิสัยวิญญูชนผู้ตกอยู่ในภาวะอันมิได้คาดคิดมาก่อน ย่อมจะต้องตกใจกลัว ผู้เสียหายซึ่งประสบเหตุการณ์เช่นนี้ก็มิได้พูดอะไรกับจำเลย ทั้งที่ก่อนหน้านั้นยังโต้เถียงกับจำเลย แต่ผู้เสียหายกลับขับรถจักรยานยนต์ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจทันที แสดงว่าผู้เสียหายกลัวภัยที่จะเกิดขึ้นแก่ตนแล้วตามวิสัยปุถุชนทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 392
การที่จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวอยู่ในที่ดินซึ่งตนมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย หาใช่เป็นการพาอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านดังที่ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา8 ทวิ, 72 ทวิ ประสงค์ให้เป็นความผิดไม่
การที่จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวอยู่ในที่ดินซึ่งตนมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย หาใช่เป็นการพาอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านดังที่ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา8 ทวิ, 72 ทวิ ประสงค์ให้เป็นความผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนส่งสินค้าและการปฏิบัติตามสัญญา การเวนคืนใบตราส่งเป็นสาระสำคัญ
บรรดาหน้าที่และความรับผิดอันเกิดจากการซื้อขายสินค้ามีผลบังคับระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายกับบริษัท อ.ซึ่งเป็นผู้ซื้อ หามีผลใด ๆ เกี่ยวข้องถึงจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนไม่
โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรา615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กัน ท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่ง หรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัท อ.แล้ว โดยบริษัท อ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา615 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัท อ.ผู้ซื้อ โดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30
โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรา615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กัน ท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่ง หรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัท อ.แล้ว โดยบริษัท อ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา615 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัท อ.ผู้ซื้อ โดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งต่อผู้ส่งสินค้า กรณีไม่ปฏิบัติตามสัญญาขนส่งและการเวนคืนใบตราส่ง
บรรดาหน้าที่และความรับผิดอันเกิดจากการซื้อขายสินค้ามีผลบังคับระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายกับบริษัทอ. ซึ่งเป็นผู้ซื้อ หามีผลใด ๆ เกี่ยวข้องถึงจำเลยซึ่ง เป็นผู้รับขนไม่ โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534 ซึ่งขณะนั้น พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติ ถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตาม มาตรา 615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กันท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัทอ.แล้วโดยบริษัทอ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 615จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัทอ.ผู้ซื้อโดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลย ปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6364/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่ากระแสไฟฟ้า: การเป็นผู้ประกอบการค้าและการเริ่มนับอายุความ
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาเพียงแต่โต้แย้งในปัญหาข้อกฎหมายว่า จากข้อเท็จจริงที่ยุติดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย นอกจากโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2506 มาตรา 6 แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" ตามมาตรา 165(1) เดิม เป็นคำว่า"ผู้ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้า หนี้ค่ากระแสไฟฟ้าตามใบเสร็จรับเงินฉบับพิพาทได้มีการ จดหน่วยกระแสไฟฟ้าครั้งสุดท้ายวันที่ 12 เมษายน 2527 ซึ่งโจทก์อาจทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันดังกล่าว อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2527 เป็นต้นมา โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่ากระแสไฟฟ้าอันเป็น การเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2537 ย่อมเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าตามเอกสารดังกล่าวจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทำแท้งที่ไม่เข้าข่ายความผิดต่อส่วนตัว และการรับฟังพยานหลักฐานยืนยันการกระทำความผิด
ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 302มิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวพนักงานสอบสวนมีอำนาจทำการสอบสวนได้โดยไม่จำต้องมีการร้องทุกข์ตามระเบียบดังนั้น แม้นางน.มารดาของเด็กหญิงล.มิใช่ผู้ได้รับความเสียหายจะเป็นผู้ร้องทุกข์ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้วพนักงานอัยการย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 ระหว่างการทำแท้งซึ่งเป็นเวลากลางวัน เด็กหญิงล.มีโอกาสเห็นจำเลยในระยะใกล้ชิดเป็นเวลานานนับชั่วโมงเชื่อได้ว่าเด็กหญิงล. จดจำจำเลยได้แม่นยำไม่ผิดตัว เมื่อพยานโจทก์ทุกปากต่างเบิกความได้สอดคล้องเชื่อมโยงมีเหตุผลทั้งไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน จึงไม่มีข้อระแวงสงสัยว่าจำเลยจะถูกเบิกความปรักปรำใส่ร้าย แม้คำเบิกความของพยานโจทก์ บางปากจะขัดแย้งหรือแตกต่างกันไปบ้างก็เป็น เพียงรายละเอียดข้อปลีกย่อยไม่ทำให้คดีโจทก์ต้องเสียไป ข้อต่อสู้ของจำเลยนั้นเลื่อนลอยและขัดกับคำให้การชั้นสอบสวน จึงมีน้ำหนักไม่พอฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยทำให้เด็กหญิงล.แท้งลูกโดยเด็กหญิงล. ยินยอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 302 วรรคหนึ่ง