คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัญ หัตถกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5881/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับจำนองที่ดินโดยรู้อยู่ว่าทำให้เจ้าหนี้เดิมเสียเปรียบ ไม่อาจเรียกร้องสิทธิได้
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ผู้ร้องได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินที่จำเลยกู้ไปจากผู้ร้อง โดยก่อนที่ผู้ร้องจะมีการรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำเลยแจ้งผู้ร้องให้ทราบเรื่องที่จำเลยถูกโจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ และศาลมีคำสั่งบังคับคดีแล้ว เมื่อการจำนองระหว่างจำเลยกับผู้ร้องได้ร่วมกันกระทำขึ้นทั้งที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยเสียเปรียบตาม ป.พ.พ.มาตรา237 ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะขอรับชำระหนี้ก่อนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดต้องมีคำขอให้บังคับคู่ความชัดเจน หากไม่มี ศาลไม่รับพิจารณา แม้แสดงสิทธิในทรัพย์สิน
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้นำที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจำนวน 2 แปลง ตามฟ้องออกขายแล้วนำเงินมาแบ่งกันคนละครึ่งนั้น ความจริงผู้ร้องสอดมีส่วนร่วมในการซื้อที่ดินดังกล่าวมาตั้งแต่แรก ผู้ร้องสอดได้ซื้อทรัพย์สินดังกล่าวโดยกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นมาจ่ายค่าซื้อทรัพย์บางส่วนและบางส่วนได้ใช้เงินส่วนตัวชำระไป เฉพาะส่วนของจำเลยและโจทก์นั้นรวมราคาทรัพย์สินทั้งสองรายการเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท จึงขอร้องสอดเข้าเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(1) เมื่อคำร้องสอดเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 แต่คำร้องสอดของผู้ร้องไม่มีคำขอให้ศาลบังคับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีผู้ร้องสอดชนะคดีในประเด็นข้อพิพาท จึงไม่เป็นคำร้องสอดที่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
แม้ตามคำร้องสอดระบุว่า โจทก์และจำเลยมีสิทธิในทรัพย์สินเพียง 100,000 บาท เท่านั้น การที่โจทก์มาฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์กับจำเลย โดยตีราคาทรัพย์สินเป็นเงิน 1,600,000 บาท และขอแบ่งกรรมสิทธิ์เป็นเงิน 800,000บาท คำร้องสอดดังกล่าวแสดงถึงสิทธิของผู้ร้องสอดว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันคิดเป็นเงิน 1,500,000 บาท ก็ตาม ก็มิใช่คำขอบังคับตามความหมายในมาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดต้องมีคำขอบังคับชัดเจน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้นำที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจำนวน 2 แปลงตามฟ้องออกขายแล้วนำเงินมาแบ่งกันคนละครึ่งนั้นความจริงผู้ร้องสอดมีส่วนร่วมในการซื้อที่ดินดังกล่าวมาตั้งแต่แรก ผู้ร้องสอดได้ซื้อทรัพย์สินดังกล่าวโดยกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นมาจ่ายค่าซื้อทรัพย์บางส่วนและบางส่วน ได้ใช้เงินส่วนตัวชำระไป เฉพาะส่วนของจำเลยและโจทก์นั้นรวมราคาทรัพย์สินทั้งสองรายการเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท จึงขอร้องสอดเข้าเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)เมื่อคำร้องสอดเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 แต่คำร้องสอดของผู้ร้องไม่มีคำขอให้ศาลบังคับ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีผู้ร้องสอดชนะคดีในประเด็นข้อพิพาท จึงไม่เป็นคำร้องสอดที่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะรับไว้พิจารณา แม้ตามคำร้องสอดระบุว่า โจทก์และจำเลยมีสิทธิในทรัพย์สินเพียง 100,000 บาท เท่านั้น การที่โจทก์มาฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์กับจำเลย โดยตีราคาทรัพย์สินเป็นเงิน1,600,000 บาท และขอแบ่งกรรมสิทธิ์เป็นเงิน 800,000 บาทคำร้องสอดดังกล่าวแสดงถึงสิทธิของผู้ร้องสอดว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันคิดเป็นเงิน 1,500,000 บาท ก็ตาม ก็มิใช่คำขอบังคับตามความหมายในมาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจัดการมรดก, การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม, ผลของการโอนมรดกก่อนเสียชีวิต
แม้คำฟ้องโจทก์ในช่องจำเลยจะมิได้ระบุว่า จำเลยมีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม แต่ในคำฟ้องก็ได้บรรยายโดยรายละเอียดว่า เมื่อจำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยกระทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้จัดการโอนมรดกให้แก่โจทก์ทั้งสองตามพินัยกรรม แต่กลับโอนเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียวในชั้นสืบพยานโจทก์ทั้งสองก็นำสืบว่า ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งมีอายุความ 5 ปี นับแต่จัดการมรดกสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสองหาใช่คดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2536ยังไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยโอนที่ดินมรดกมาเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว แม้จะถือว่าวันดังกล่าวจัดการมรดกเสร็จสิ้นก็ตาม คดีก็ยังไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3 แต่สิทธิในที่ดินโฉนดเลขที่4779 โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับลดลงกึ่งหนึ่งเท่านั้น จำเลยมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3ดังนั้น ที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3
ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2252 เดิมมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน60 ตารางวา ป.เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง ขอยกให้จำเลย 5 ไร่3 งาน 60 ตารางวา ส่วนที่เหลือยกให้โจทก์ทั้งสองคนละเท่า ๆ กัน หมายความว่ายกให้โจทก์คนละ 2 ไร่ 2 งาน เมื่อคำนวณเป็นสัดส่วนแล้วจำเลยจะได้ที่ดิน 59 ส่วนโจทก์จะได้ที่ดินคนละ 25 ส่วน แต่ก่อน ป.ตาย ป.ได้โอนที่ดินแปลงนี้ให้แก่ ม.กึ่งหนึ่งกรณีต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินจำนวนกึ่งหนึ่งที่ยกให้ ม.เป็นอันเพอกถอนไป คงเหลือที่ดินจำนวนกึ่งหนึ่งตกเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตามเจตนารมณ์ของผู้ทำพินัยกรรมโดยการแบ่งตามสัดส่วนคือจำเลยได้ 59 ส่วน โจทก์ทั้งสองได้คนละ25 ส่วน ของที่เหลือ หรือได้รับที่ดินน้อยลงคนละกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ระบุในพินัยกรรมคิดแล้วจำเลยได้ที่ดิน 2 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา โจทก์ได้ที่ดินคนละ 1 ไร่ 1 งานมิใช่แบ่งให้จำเลยได้ที่ดินครบ 5 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ก่อน เมื่อมีที่ดินเหลือจึงตกเป็นของโจทก์ทั้งสองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจัดการมรดก: ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก มีอายุความ 5 ปี นับแต่วันจัดการมรดกสิ้นสุด
แม้คำฟ้องโจทก์ในช่องจำเลยจะมิได้ระบุว่า จำเลย มีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม แต่ก็ได้บรรยายโดย รายละเอียดว่า เมื่อจำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยกระทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้จัดการโอนมรดก ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามพินัยกรรม แต่กลับโอนเป็นของจำเลย แต่ผู้เดียวในชั้นสืบพยานโจทก์ทั้งสองก็นำสืบว่า ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ดังนี้ ถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นคดี เกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งมีอายุความ 5 ปี นับแต่จัดการมรดก สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่คดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2536 ยังไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ จำเลยโอนที่ดินมรดกมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว แม้จะถือว่าวันดังกล่าวจัดการมรดกเสร็จสิ้นก็ตาม คดีก็ยังไม่ขาดอายุความ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับที่ดิน และบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3 แต่สิทธิในที่ดินโฉนดเลขที่ 4779 โจทก์ที่ 1มีสิทธิได้รับลดลงกึ่งหนึ่งเท่านั้น จำเลยมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3 ดังนั้นที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง หมาย จล.3 จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยย่อม ไม่มีสิทธิฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก ตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3 ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2252 เดิมมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ป. เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายการเมือง ขอยกให้จำเลย 5 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ส่วนที่เหลือยกให้โจทก์ทั้งสองคนละเท่า ๆ กัน หมายความว่า ยกให้โจทก์คนละ 2 ไร่ 2 งาน เมื่อคำนวณเป็นสัดส่วนแล้วจำเลยจะได้ที่ดิน 59 ส่วน โจทก์จะได้ที่ดินคนละ 25 ส่วนแต่ก่อน ป. ตาย ป. ได้โอนที่ดินแปลงนี้ให้แก่ ม.กึ่งหนึ่ง กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินจำนวนกึ่งหนึ่งที่ยกให้ ม. เป็นอันเพิกถอนไปคงเหลือที่ดินจำนวนกึ่งหนึ่งตกเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตามเจตนารมณ์ของผู้ทำพินัยกรรมโดยการแบ่งตามสัดส่วนคือจำเลยได้ 59 ส่วน โจทก์ทั้งสองได้คนละ 25 ส่วน ของที่เหลือ หรือได้รับที่ดิน น้อยลงคนละกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ระบุในพินัยกรรม คิดแล้วจำเลยได้ที่ดิน 2 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวาโจทก์ได้ที่ดินคนละ 1 ไร่ 1 งาน มิใช่แบ่งให้จำเลยได้ที่ดินครบ 5 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ก่อน เมื่อมีที่ดิน เหลือจึงตกเป็นของโจทก์ทั้งสองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5684/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งมีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับพิจารณา
ฟ้องเดิมเป็นเรื่องโจทก์เรียกร้องหนี้เงินอันเกิดจากการที่โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าของจำเลยในการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยจำเลยกู้เงินโจทก์แล้วหักชำระหนี้กัน ส่วนจำเลยให้การ ต่อสู้ในชั้นแรกอ้างว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ แต่ต่อมา กลับฟ้องแย้งว่า หากจะฟังว่าจำเลยต้องรับผิด โจทก์ทำให้จำเลย เสียหายขอให้โจทก์ชดใช้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีเงื่อนไขและ ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไป ด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย ชอบที่ศาลจะไม่รับฟ้องแย้งไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5684/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งมีเงื่อนไขไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับพิจารณา
ฟ้องเดิมเป็นเรื่องโจทก์เรียกร้องหนี้เงินอันเกิดจากการที่โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าของจำเลยในการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยจำเลยกู้เงินโจทก์แล้วหักชำระหนี้กัน ส่วนจำเลยให้การต่อสู้ในชั้นแรกอ้างว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์แต่ต่อมากลับฟ้องแย้งว่า หากจะฟังว่าจำเลยต้องรับผิด โจทก์ทำให้จำเลยเสียหายขอให้โจทก์ชดใช้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีเงื่อนไขและไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสามและมาตรา 179 วรรคท้าย ชอบที่ศาลจะไม่รับฟ้องแย้งไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจขยายเวลาสัญญาและลดเบี้ยปรับ: พิจารณาเหตุผลและความเสียหายที่แท้จริง
คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาและลงมติเห็นชอบตามมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างตามที่สำนักงบประมาณได้ปรับปรุงแล้ว สำหรับการขยายเวลาสัญญาก่อสร้างนั้นให้หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณากำหนดระยะเวลาที่สมควรขยายตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ ไม่เกิน 90 วัน เป็นมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้เป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณากำหนดระยะเวลาที่สมควรขยายเวลาก่อสร้างตามความจำเป็นและเหมาะสม หาได้บังคับเด็ดขาดให้โจทก์ซึ่งเป็นส่วนราชการต้องปฏิบัติตามไม่ หากโจทก์พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรขยายเวลาก่อสร้างให้จำเลยจึงย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่เป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี และไม่ใช่ความผิดของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าการที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้า ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยหรือพ้นวิสัย จึงชอบที่ศาลจะมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้
เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา กฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วย มิใช่แก่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่า โจทก์เสียหายเต็มจำนวนค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา383 วรรคแรก
หลังจากการทำสัญญาฉบับพิพาทแล้ว ได้เกิดภาวะขาดแคลนปูนซีเมนต์ และเกิดการจลาจลในกรุงเทพมหานคร อันเป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังการเข้าทำสัญญา แม้ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะทำให้จำเลยพ้นผิดก็ตามแต่พฤติการณ์ดังกล่าวนับเป็นเหตุอันสมควรที่จะลดเบี้ยปรับแก่จำเลยลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจลดค่าปรับสัญญา - เหตุผลทางธุรกิจและเหตุการณ์หลังทำสัญญา
คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาและลงมติเห็นชอบตามมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้าง ตามที่สำนักงบประมาณได้ปรับปรุงแล้ว สำหรับการขยายเวลาสัญญาก่อสร้างนั้นให้หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณากำหนดระยะเวลาที่สมควรขยายตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ ไม่เกิน 90 วัน เป็นมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้ เป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณากำหนดระยะเวลาที่สมควรขยายเวลาก่อสร้างตามความจำเป็นและเหมาะสม หาได้บังคับเด็ดขาดให้โจทก์ซึ่งเป็นส่วนราชการต้องปฏิบัติตามไม่ หากโจทก์พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรขยายเวลาก่อสร้างให้จำเลยจึงย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่เป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรีและไม่ใช่ความผิดของโจทก์ เมื่อปรากฎว่าการที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้า ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยหรือพ้นวิสัย จึงชอบที่ศาลจะมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้ เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา กฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วยมิใช่แก่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่า โจทก์เสียหาย เต็มจำนวนค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา ศาลย่อม ใช้ดุลพินิจลดค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคแรก หลังจากการทำสัญญาฉบับพิพาทแล้ว ได้เกิดภาวะขาดแคลน ปูนซีเมนต์ และเกิดการจลาจลในกรุงเทพมหานครอันเป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังการเข้าทำสัญญา แม้ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะทำให้จำเลยพ้นผิดก็ตามแต่พฤติการณ์ดังกล่าวนับเป็นเหตุอันสมควรที่จะลดเบี้ยปรับแก่จำเลยลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ: การแจ้งข้อเท็จจริงตามที่รับรู้ ไม่ใช่ความผิด แม้ต่อมาพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง
จำเลยนำความไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ขับรถยนต์ เฉี่ยวชนจำเลยได้รับบาดเจ็บเป็นการแจ้งความตามข้อเท็จจริง ที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่ จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะการแจ้งข้อความ ย่อมหมายถึงแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับกฎหมาย แม้ต่อมา พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความ ดังกล่าวเป็นความเท็จจำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
of 80