พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีมรดก: คดีขับไล่ไม่ใช่คดีมรดกโดยตรง
อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ฟ้องขับไล่จำเลยให้ขนย้ายบริวารและทรัพย์สินออกไปจากตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส.เจ้ามรดก แม้โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะมิใช่เป็นคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก หากแต่เป็นกรณีที่กองมรดกฟ้องขับไล่ผู้อาศัยอยู่ในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีขับไล่ทรัพย์มรดก: ไม่ใช่คดีมรดกตามมาตรา 1754
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ฟ้องขับไล่จำเลยให้ขนย้ายบริวารและทรัพย์สินออกไปจากตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส. เจ้ามรดก แม้โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่ เจ้ามรดกตาย คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะมิใช่เป็น คดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก หากแต่เป็นกรณีที่กองมรดกฟ้องขับไล่ผู้อาศัยอยู่ในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจดำเนินคดีอาญา & การตกลงชดใช้ค่าเสียหาย ไม่ถือเป็นการยอมความ
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ ผู้เสียหายระบุให้ จ.เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งต่อพนักงานสอบสวนในเหตุความผิดทั้งหลายซึ่งได้มีผู้กระทำขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายย่อมเป็นการมอบอำนาจโดยชัดแจ้งให้ จ.ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว
บันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยยอมตกลงโอนสิทธิและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เสียหายภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีผลผูกพันกันเฉพาะทางแพ่ง เมื่อไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับ
บันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยยอมตกลงโอนสิทธิและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เสียหายภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีผลผูกพันกันเฉพาะทางแพ่ง เมื่อไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ & การยอมความ: สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ แม้มีการตกลงชดใช้ค่าเสียหาย
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ ผู้เสียหายระบุให้จ. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งต่อพนักงานสอบสวนในเหตุความผิดทั้งหลายซึ่งได้มีผู้กระทำขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายย่อมเป็นการมอบอำนาจโดยชัดแจ้งให้ จ. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว บันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยยอมตกลงโอนสิทธิ และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เสียหายภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีผลผูกพันกันเฉพาะทางแพ่งเมื่อไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความ ทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ของผู้เสียหายจึงไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์: การประดิษฐ์ไม่ใหม่-ขาดขั้นสูง, จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบละเมิด
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำ(ชนิดใช้สารกรอง) อันเป็นผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ซึ่งมีโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงสิทธิบัตร จำเลยที่ 1 ได้เคยฟ้องโจทก์ร่วมเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ฉบับเดียวกันนี้เป็นคดีแพ่ง ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่าการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้แก่โจทก์ร่วม ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 54 วรรคแรก จำเลยที่ 1ย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จะต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งต้องไม่ใช่งานที่ปรากฏอยู่แล้ว คำว่า งานที่ปรากฏอยู่แล้วมีอยู่หลายกรณีด้วยกันคือมีการจดสิทธิบัตรไว้แล้ว เป็นงานที่ใช้หรือแพร่หลายอยู่แล้วก่อนยื่นคำขอ หรือเป็นงานที่เปิดเผยต่อสาธารณชนโฆษณาในสิ่งพิมพ์ หากสิ่งประดิษฐ์ใดมีลักษณะ 3 ประการที่กล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นสิ่งใหม่
ก่อนหน้าที่โจทก์ร่วมจะไปขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเครื่องกรองน้ำที่พิพาท เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมได้มีแพร่หลายอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ร่วมไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมแตกต่างจากการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำที่แพร่หลายอยู่ก่อนนั้นอย่างไร กรณีจึงยังไม่แน่ชัดว่าการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำของโจทก์ร่วมเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งเข้ากฎเกณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ นอกจากนี้เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่พิพาทของโจทก์ร่วมอันมีวิธีการทำงานโดยการปล่อยให้น้ำไหลจากท่อน้ำในถังกรองที่ 1ผ่านสารกรองต่างๆ ที่ใส่ไว้เป็นชั้นๆ โดยน้ำจากสารกรองชั้นสุดท้ายจะไหลผ่านท่อน้ำรูปตัวแอลไปสู่ด้านบนของถังกรองที่ 2 แล้วไหลผ่านสารกรองในถังกรองที่ 2 ที่จัดเรียงเป็นชั้นๆ จนถึงชั้นสุดท้าย หลังจากนั้นน้ำจะไหลออกจากปลายท่อซึ่งมีก๊อกสำหรับเปิดน้ำใช้ ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่พิพาทดังกล่าวนั้น เป็นหลักการทำงานที่อาศัยหลักของแรงดันน้ำ ขับดันให้น้ำไหลไปตามท่อที่วางไว้ภายในถังกรอง ประกอบกับหลักการไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านสารกรองด้านบนสุดไปยังสารกรองที่อยู่ด้านล่างสุด อันเป็นหลักการอย่างธรรมดาสามัญที่บุคคลทั่ว ๆ ไปย่อมทราบดีอยู่แล้ว
คดีแพ่งเรื่องก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้พิพาทกันในคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เดียวกันกับในคดีนี้ โดยศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้นวินิจฉัยไว้ว่า สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 นั้นไม่สมบูรณ์แม้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งจะผูกพันคู่ความในคดีดังกล่าวเฉพาะในทางแพ่งก็ตาม แต่ศาลย่อมจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของคู่ความในคดีอาญาได้
สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 ของโจทก์ร่วมมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ จึงมิใช่การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนที่สูงขึ้น เมื่อสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่สมบูรณ์ การกระทำของจำเลยทั้งสองในการผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิด
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จะต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งต้องไม่ใช่งานที่ปรากฏอยู่แล้ว คำว่า งานที่ปรากฏอยู่แล้วมีอยู่หลายกรณีด้วยกันคือมีการจดสิทธิบัตรไว้แล้ว เป็นงานที่ใช้หรือแพร่หลายอยู่แล้วก่อนยื่นคำขอ หรือเป็นงานที่เปิดเผยต่อสาธารณชนโฆษณาในสิ่งพิมพ์ หากสิ่งประดิษฐ์ใดมีลักษณะ 3 ประการที่กล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นสิ่งใหม่
ก่อนหน้าที่โจทก์ร่วมจะไปขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเครื่องกรองน้ำที่พิพาท เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมได้มีแพร่หลายอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ร่วมไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมแตกต่างจากการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำที่แพร่หลายอยู่ก่อนนั้นอย่างไร กรณีจึงยังไม่แน่ชัดว่าการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำของโจทก์ร่วมเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งเข้ากฎเกณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ นอกจากนี้เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่พิพาทของโจทก์ร่วมอันมีวิธีการทำงานโดยการปล่อยให้น้ำไหลจากท่อน้ำในถังกรองที่ 1ผ่านสารกรองต่างๆ ที่ใส่ไว้เป็นชั้นๆ โดยน้ำจากสารกรองชั้นสุดท้ายจะไหลผ่านท่อน้ำรูปตัวแอลไปสู่ด้านบนของถังกรองที่ 2 แล้วไหลผ่านสารกรองในถังกรองที่ 2 ที่จัดเรียงเป็นชั้นๆ จนถึงชั้นสุดท้าย หลังจากนั้นน้ำจะไหลออกจากปลายท่อซึ่งมีก๊อกสำหรับเปิดน้ำใช้ ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่พิพาทดังกล่าวนั้น เป็นหลักการทำงานที่อาศัยหลักของแรงดันน้ำ ขับดันให้น้ำไหลไปตามท่อที่วางไว้ภายในถังกรอง ประกอบกับหลักการไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านสารกรองด้านบนสุดไปยังสารกรองที่อยู่ด้านล่างสุด อันเป็นหลักการอย่างธรรมดาสามัญที่บุคคลทั่ว ๆ ไปย่อมทราบดีอยู่แล้ว
คดีแพ่งเรื่องก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้พิพาทกันในคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เดียวกันกับในคดีนี้ โดยศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้นวินิจฉัยไว้ว่า สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 นั้นไม่สมบูรณ์แม้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งจะผูกพันคู่ความในคดีดังกล่าวเฉพาะในทางแพ่งก็ตาม แต่ศาลย่อมจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของคู่ความในคดีอาญาได้
สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 ของโจทก์ร่วมมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ จึงมิใช่การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนที่สูงขึ้น เมื่อสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่สมบูรณ์ การกระทำของจำเลยทั้งสองในการผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ เครื่องกรองน้ำที่แพร่หลายก่อน การผลิตไม่เป็นความผิด
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำ (ชนิดใช้สารกรอง) อันเป็นผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ซึ่งมีโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงสิทธิบัตร จำเลยที่ 1 ได้เคย ฟ้องโจทก์ร่วมเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ฉบับเดียวกันนี้เป็นคดีแพ่ง ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด โดยวินิจฉัยว่าการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้แก่โจทก์ร่วม ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 54 วรรคแรก จำเลยที่ 1 ย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จะต้องเป็นการประดิษฐ์ ขึ้นใหม่ซึ่งต้องไม่ใช่งานที่ปรากฏอยู่แล้ว คำว่า งานที่ปรากฏ อยู่แล้วมีอยู่หลายกรณีด้วยกันคือมีการจดสิทธิบัตรไว้แล้ว เป็นงานที่ใช้หรือแพร่หลายอยู่แล้วก่อนยื่นคำขอ หรือเป็นงานที่ เปิดเผยต่อสาธารณชนโฆษณาในสิ่งพิมพ์ หากสิ่งประดิษฐ์ใด มีลักษณะ 3 ประการที่กล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นสิ่งใหม่ ก่อนหน้าที่โจทก์ร่วมจะไปขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเครื่องกรองน้ำ ที่พิพาท เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมได้มี แพร่หลายอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ร่วมไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า การประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมแตกต่าง จากการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำที่แพร่หลายอยู่ก่อนนั้นอย่างไร กรณีจึงยังไม่แน่ชัดว่าการประดิษฐ์เครื่อง กรอง น้ำ ของ โจทก์ร่วม เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งเข้ากฎเกณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตร การประดิษฐ์ได้ นอกจากนี้เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่พิพาทของโจทก์ร่วมอันมีวิธีการทำงานโดยการปล่อยให้น้ำไหล จากท่อน้ำในถังกรองที่ 1 ผ่านสารกรองต่าง ๆ ที่ใส่ไว้ เป็นชั้น ๆ โดยน้ำจากสารกรองชั้นสุดท้ายจะไหลผ่านท่อน้ำ รูปตัวแอลไปสู่ด้านบนของถังกรองที่ 2 แล้วไหลผ่านสารกรองในถังกรองที่ 2 ที่จัดเรียงเป็นชั้น ๆ จนถึงชั้นสุดท้ายหลังจากนั้นน้ำจะไหลออกจากปลายท่อซึ่งมีก๊อกสำหรับเปิดน้ำใช้ ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่พิพาทดังกล่าวนั้น เป็นหลักการทำงานที่อาศัยหลักของแรงดันน้ำ ขับดันให้น้ำไหลไปตามท่อที่วางไว้ภายในถังกรอง ประกอบกับ หลักการไหลจากที่สูงไปยังที่ต่ำของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านสารกรอง ด้านบนสุดไปยังสารกรองที่อยู่ด้านล่างสุด อันเป็นหลักการอย่างธรรมดาสามัญที่บุคคลทั่ว ๆ ไปย่อมทราบดีอยู่แล้ว คดีแพ่งเรื่องก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1ได้พิพาทกันในคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เดียวกันกับในคดีนี้ โดยศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้นวินิจฉัยไว้ว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 นั้นไม่สมบูรณ์แม้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งจะผูกพันคู่ความในคดีดังกล่าว เฉพาะในทางแพ่งก็ตาม แต่ศาลย่อมจะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว มาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของคู่ความในคดีอาญาได้ สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่สิทธิบัตร 422 ของโจทก์ร่วมมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ จึงมิใช่การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนที่สูงขึ้น เมื่อสิทธิบัตร การประดิษฐ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่สมบูรณ์ การกระทำของ จำเลยทั้งสองในการผลิตและมีไว้เพื่อขายเครื่องกรองน้ำ ตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมาย – การสอบถามทนายความก่อนพิจารณาคดีในศาลแขวง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2539ที่บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หรือในคดีที่จำเลย มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนด อำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามจำเลยในเรื่องการมีทนายความเสียก่อนในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิด ที่มีอัตราโทษจำคุกทุกกรณี และต้องนำมาใช้ในการพิจารณา คดีอาญาทุกคดี ส่วนบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 แม้จะเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในศาลแขวงโดยเฉพาะแต่บทบัญญัติดังกล่าว ก็เป็นเพียงบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และวิธีพิจารณาคดีของศาลในกรณีที่จำเลย ให้การรับสารภาพเพื่อให้การพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยเร็ว เท่านั้น มิใช่เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของจำเลยในการดำเนินคดี การต่อสู้คดี และการได้รับความ ช่วยเหลือทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงไม่มีบทบัญญัติ ที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในกรณีที่ให้จำเลยมีโอกาส ได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความในการดำเนินคดี กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ดังนี้เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก แต่ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ และถ้าไม่มี จำเลยต้องการทนายความหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนายความ: ศาลต้องสอบถามก่อนเริ่มพิจารณาคดีอาญาที่มีโทษจำคุก
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2539 ที่บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามจำเลยในเรื่องการมีทนายความเสียก่อนในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกทุกกรณี และต้องนำมาใช้ในการพิจารณาคดีอาญาทุกคดี ส่วนบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 แม้จะเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในศาลแขวงโดยเฉพาะแต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการของพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการ และวิธีพิจารณาคดีของศาลในกรณีที่จำเลยให้การรับสารภาพเพื่อให้การพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยเร็วเท่านั้น มิใช่เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในการดำเนินคดี การต่อสู้คดี และการได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงไม่มีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในกรณีที่ให้จำเลยมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความในการดำเนินคดี กรณีจึงต้องนำ ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับตามนัยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ดังนี้ เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก แต่ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ และถ้าไม่มีจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5218/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เงินในบัญชีไม่พอจ่ายเป็นสาระสำคัญในการลงโทษคดีเช็ค การนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลล่างไม่รับวินิจฉัย
การที่จะลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็คได้นั้น โจทก์จะต้องนำสืบแสดงให้ปรากฏ ชัดว่าในวันที่ 5 กรกฎาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ร่วมนำ เช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินนั้น เงินในบัญชีของจำเลย ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงิน มีไม่พอจ่ายแต่ตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วม ไม่ปรากฏ ข้อเท็จจริงเช่นนั้น จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ กรณีจึงไม่ต้อง วินิจฉัยว่าวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงินจะเป็นวันหยุด ของทางราชการและธนาคารหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงส่วนสำเนาภาพถ่ายคำเบิกความและบัญชีกระแสรายวัน ของจำเลยซึ่งแนบท้ายฎีกาของโจทก์ร่วมนั้นเป็นข้อเท็จจริง ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5218/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้เช็ค – เงื่อนไขการลงโทษจำเลย
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แต่การจะลงโทษจำเลยได้นั้น โจทก์จะต้องนำสืบแสดงให้ปรากฏชัดว่าในวันที่โจทก์ร่วมนำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินนั้น เงินในบัญชีของจำเลยณ วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงินมีไม่พอจ่าย เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเช่นนั้น ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
สำเนาภาพถ่ายคำเบิกความของพยาน และบัญชีกระแสรายวันของจำเลยซึ่งแนบท้ายฎีกาของโจทก์ เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำเนาภาพถ่ายคำเบิกความของพยาน และบัญชีกระแสรายวันของจำเลยซึ่งแนบท้ายฎีกาของโจทก์ เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย