พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8585/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาจากความรู้สึกของสาธารณชนทั่วไป ว่าจะสับสนหรือไม่
ความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าต้องถือเอาความรู้สึกของสาธารณชนที่ซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้น ๆ เป็นหลักว่ารู้สึกสับสนหรือก่อให้เกิดความหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะเป็นคำประกอบด้วยตัวอักษรโรมันมีขนาดเดียวกันจำนวน 9 ตัว อ่านออกเสียงว่า "เพรสซิเด็นท์" ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 17 ตัว แม้จะมีคำว่า "PRESIDENT" อยู่ด้วยแต่ก็มีคำว่า "UNI" นำหน้า เป็น "UNI PRESIDENT" ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างจากของโจทก์ ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าอักษรตัว P ประดิษฐ์และอักษรคำว่า "UNIF" หลายเท่า สำหรับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนอีกอันหนึ่ง มีอักษรโรมันตัวเดียวเป็นรูปตัว P ประดิษฐ์ นอกนั้นเป็นอักษรไทยว่า "ยูนิ - เพรสซิเดนท์" ซึ่งตัวเล็กมากแต่เน้นคำว่า "ยูนิฟ" ให้มีขนาดใหญ่ เมื่อพิจารณาถึงรูปลักษณะโดยรวมตลอดจนสำเนียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก จนไม่อาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดไปได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดทั้งสองเครื่องหมาย จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะเป็นคำประกอบด้วยตัวอักษรโรมันมีขนาดเดียวกันจำนวน 9 ตัว อ่านออกเสียงว่า "เพรสซิเด็นท์" ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 17 ตัว แม้จะมีคำว่า "PRESIDENT" อยู่ด้วยแต่ก็มีคำว่า "UNI" นำหน้า เป็น "UNI PRESIDENT" ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างจากของโจทก์ ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าอักษรตัว P ประดิษฐ์และอักษรคำว่า "UNIF" หลายเท่า สำหรับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนอีกอันหนึ่ง มีอักษรโรมันตัวเดียวเป็นรูปตัว P ประดิษฐ์ นอกนั้นเป็นอักษรไทยว่า "ยูนิ - เพรสซิเดนท์" ซึ่งตัวเล็กมากแต่เน้นคำว่า "ยูนิฟ" ให้มีขนาดใหญ่ เมื่อพิจารณาถึงรูปลักษณะโดยรวมตลอดจนสำเนียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก จนไม่อาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดไปได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดทั้งสองเครื่องหมาย จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8462/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าไฟฟ้า, สัญญาค้ำประกัน, วงเงินรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน, การต่ออายุสัญญา
พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มาตรา 6 บัญญัติว่า"ให้จัดตั้งการไฟฟ้าขึ้นเรียกว่า "การไฟฟ้านครหลวง" มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้(2) จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และ (3) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวง"จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการไฟฟ้านครหลวงหรือโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" ตามมาตรา 165(1) เดิมเป็นคำว่า "ผู้ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น โจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 193/34(1) การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปจากจำเลยจึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าการงานที่ได้ทำ ย่อมมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34(1)
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2531 ถึงเดือนมกราคม 2533 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ยังไม่ได้ออกมาใช้บังคับ หากโจทก์จะฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าได้ซึ่งตามมาตรา 165(1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(1) ดังกล่าว แต่โจทก์อาจฟ้องได้ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งในกรณีเช่นนี้มีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535)หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิมให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" เมื่อกำหนดอายุความตามมาตรา 164 เดิมแตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตามมาตรา 193/34(1)ที่ได้ตรวจชำระใหม่ การฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลง คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
แม้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 บกพร่องโดยเดินช้าผิดปกติเนื่องจากความผิดพลาดของพนักงานของโจทก์ผู้ติดตั้งโดยฝ่ายจำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เป็นเหตุให้แสดงค่าน้อยกว่าจำนวนกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไปจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 สัญญาต่อโจทก์ว่าจะชำระค่าไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไป ซึ่งแปลความหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง จำเลยที่ 1 จึงยังคงมีหน้าที่ตามที่ได้สัญญาไว้ดังกล่าวที่ต้องชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง
ธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำนวนรวม 290,000 บาท หลังจากครบอายุหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว ได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันต่อมาตามลำดับ โดยมีข้อความอ้างถึงหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับเดิมวงเงินค้ำประกันก็เป็นไปตามข้อความและเงื่อนไขอื่น ๆ ในหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2ขอต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันส่วนที่ปรากฏว่าการต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ต้องปิดอากรแสตมป์ทุกฉบับและมีการเก็บค่าธรรมเนียมทุกครั้งด้วย ก็เป็นเรื่องของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดให้กระทำ จะให้แปลงความหมายเลยไปถึงว่าจำเลยที่ 2ต้องรับผิดในวงเงินทุกฉบับรวมกันอันขัดต่อข้อความในหนังสือสัญญาไม่ได้
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2531 ถึงเดือนมกราคม 2533 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ยังไม่ได้ออกมาใช้บังคับ หากโจทก์จะฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าได้ซึ่งตามมาตรา 165(1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(1) ดังกล่าว แต่โจทก์อาจฟ้องได้ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งในกรณีเช่นนี้มีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535)หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิมให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" เมื่อกำหนดอายุความตามมาตรา 164 เดิมแตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตามมาตรา 193/34(1)ที่ได้ตรวจชำระใหม่ การฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลง คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
แม้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 บกพร่องโดยเดินช้าผิดปกติเนื่องจากความผิดพลาดของพนักงานของโจทก์ผู้ติดตั้งโดยฝ่ายจำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เป็นเหตุให้แสดงค่าน้อยกว่าจำนวนกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไปจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 สัญญาต่อโจทก์ว่าจะชำระค่าไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไป ซึ่งแปลความหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง จำเลยที่ 1 จึงยังคงมีหน้าที่ตามที่ได้สัญญาไว้ดังกล่าวที่ต้องชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง
ธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำนวนรวม 290,000 บาท หลังจากครบอายุหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว ได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันต่อมาตามลำดับ โดยมีข้อความอ้างถึงหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับเดิมวงเงินค้ำประกันก็เป็นไปตามข้อความและเงื่อนไขอื่น ๆ ในหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2ขอต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันส่วนที่ปรากฏว่าการต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ต้องปิดอากรแสตมป์ทุกฉบับและมีการเก็บค่าธรรมเนียมทุกครั้งด้วย ก็เป็นเรื่องของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดให้กระทำ จะให้แปลงความหมายเลยไปถึงว่าจำเลยที่ 2ต้องรับผิดในวงเงินทุกฉบับรวมกันอันขัดต่อข้อความในหนังสือสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8462/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าไฟฟ้า, สัญญาค้ำประกัน, วงเงินความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน
พ.ร.บ.การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มาตรา 6 บัญญัติว่า"ให้จัดตั้งการไฟฟ้าขึ้นเรียกว่า "การไฟฟ้านครหลวง" มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้...(2) จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและ (3) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวง" จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการไฟฟ้านครหลวงหรือโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ประกอบกับป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" ตามมาตรา 165 (1) เดิมเป็นคำว่า "ผู้ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น โจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 193/34 (1) การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปจากจำเลยจึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าการงานที่ได้ทำ ย่อมมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1)
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2531 ถึงเดือนมกราคม 2533 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ยังไม่ได้ออกมาใช้บังคับ หากโจทก์จะฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าได้ ซึ่งตามมาตรา 165 (1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165 (1) ดังกล่าว แต่โจทก์อาจฟ้องได้ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งในกรณีเช่นนี้มี พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า"บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์...ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535)หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" เมื่อกำหนดอายุความตามมาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตามมาตรา 193/34 (1) ที่ได้ตรวจชำระใหม่การฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลงคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
แม้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 บกพร่องโดยเดินช้าผิดปกติเนื่องจากความผิดพลาดของพนักงานของโจทก์ผู้ติดตั้งเองโดยฝ่ายจำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เป็นเหตุให้แสดงค่าน้อยกว่าจำนวนกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไปจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 สัญญาต่อโจทก์ว่าจะชำระค่าไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไป ซึ่งแปลความหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริงจำเลยที่ 1 จึงยังคงมีหน้าที่ตามที่ได้สัญญาไว้ดังกล่าวที่ต้องชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง
ธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำนวนรวม 290,000 บาท ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 และหนังสือเพิ่มวงเงินค้ำประกันและต่ออายุสัญญาเอกสารหมาย จ.2 หลังจากครบอายุหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว ได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ต่อมาตามลำดับ ข้อความในเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ได้อ้างถึงหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1ทุกฉบับ วงเงินค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ก็เป็นไปตามเอกสารหมายจ.1 และ จ.2 คือจำนวน 260,000 บาท และเพิ่มวงเงินค้ำประกันอีกจำนวน30,000 บาท รวมเป็นจำนวน 290,000 บาท ทุกฉบับ และเอกสารหมาย จ.3ถึง จ.5 ได้ระบุข้อความตรงกันทั้ง 3 ฉบับ ว่า ข้อความและเงื่อนไขอื่น ๆ ในหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ขอต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ทำเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 เป็นสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อให้ตนรับผิดเพิ่มเติมต่างหากจากสัญญาตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 ส่วนที่ปรากฏว่าการต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ต้องปิดอากรแสตมป์ทุกฉบับและมีการเก็บค่าธรรมเนียมทุกครั้งด้วย ก็เป็นเรื่องของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดให้กระทำ จะให้แปลความหมายเลยไปถึงว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในวงเงินทุกฉบับรวมกันอันขัดต่อข้อความในหนังสือสัญญาไม่ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ในวงเงินจำนวนเพียง 290,000 บาท เท่านั้น
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2531 ถึงเดือนมกราคม 2533 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ยังไม่ได้ออกมาใช้บังคับ หากโจทก์จะฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าได้ ซึ่งตามมาตรา 165 (1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165 (1) ดังกล่าว แต่โจทก์อาจฟ้องได้ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งในกรณีเช่นนี้มี พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า"บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์...ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535)หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" เมื่อกำหนดอายุความตามมาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตามมาตรา 193/34 (1) ที่ได้ตรวจชำระใหม่การฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลงคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
แม้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 บกพร่องโดยเดินช้าผิดปกติเนื่องจากความผิดพลาดของพนักงานของโจทก์ผู้ติดตั้งเองโดยฝ่ายจำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เป็นเหตุให้แสดงค่าน้อยกว่าจำนวนกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไปจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 สัญญาต่อโจทก์ว่าจะชำระค่าไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไป ซึ่งแปลความหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริงจำเลยที่ 1 จึงยังคงมีหน้าที่ตามที่ได้สัญญาไว้ดังกล่าวที่ต้องชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง
ธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำนวนรวม 290,000 บาท ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 และหนังสือเพิ่มวงเงินค้ำประกันและต่ออายุสัญญาเอกสารหมาย จ.2 หลังจากครบอายุหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว ได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ต่อมาตามลำดับ ข้อความในเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ได้อ้างถึงหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1ทุกฉบับ วงเงินค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ก็เป็นไปตามเอกสารหมายจ.1 และ จ.2 คือจำนวน 260,000 บาท และเพิ่มวงเงินค้ำประกันอีกจำนวน30,000 บาท รวมเป็นจำนวน 290,000 บาท ทุกฉบับ และเอกสารหมาย จ.3ถึง จ.5 ได้ระบุข้อความตรงกันทั้ง 3 ฉบับ ว่า ข้อความและเงื่อนไขอื่น ๆ ในหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ขอต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ทำเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 เป็นสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อให้ตนรับผิดเพิ่มเติมต่างหากจากสัญญาตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 ส่วนที่ปรากฏว่าการต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ต้องปิดอากรแสตมป์ทุกฉบับและมีการเก็บค่าธรรมเนียมทุกครั้งด้วย ก็เป็นเรื่องของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดให้กระทำ จะให้แปลความหมายเลยไปถึงว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในวงเงินทุกฉบับรวมกันอันขัดต่อข้อความในหนังสือสัญญาไม่ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ในวงเงินจำนวนเพียง 290,000 บาท เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8081/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: โจทก์มีสิทธิฟ้องทั้งนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้
พ.ร.ฎ. แบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา (จำเลยที่ 1) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วย? เครื่องหมายการค้า? มาตรา 4 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2 ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 5 (3) (ก) เป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและควบคุมดูแลการดำเนินการของกองตรวจสอบ 2 เกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ส่วนจำเลยที่ 10 เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอำนาจหน้าที่รับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เมื่อจำเลยที่ 10 มีคำวินิจฉัยให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นคัดค้านไว้และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมติยืนตามคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 10 โดยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า รวมทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 10 เป็นจำเลยต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8081/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา(จำเลยที่ 1) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า มาตรา 4 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 5(3)(ก) เป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและควบคุมดูแลการดำเนินการของกองตรวจสอบ 2เกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ส่วนจำเลยที่ 10เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอำนาจหน้าที่รับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 เมื่อจำเลยที่ 10 มีคำวินิจฉัยให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นคัดค้านไว้และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมติยืนตามคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 10 โดยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ารวมทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 10เป็นจำเลยต่อศาลได้
เครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัดภาษาไทย คำว่า คอฟ-ทีกับเครื่องหมายการค้าคำว่าค๊อฟ-ซี่ ของโจทก์คู่หนึ่ง และเครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัดอักษรโรมัน คำว่า KOF-T กับเครื่องหมายการค้าคำว่า COFCY ของโจทก์อีกคู่หนึ่งนั้นต่างมีสำเนียงเสียงอ่านที่ใกล้เคียงกันมาก และมี 2 พยางค์เหมือนกัน การออกเสียงเรียกขานชื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำดังกล่าวอาจทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดได้เนื่องจากคนไทยไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และผู้ซื้อสินค้าอาจจะไม่ได้ดูชื่อที่เขียนอยู่บนห่อสินค้านั้นเพราะเป็นสินค้าที่มีราคาไม่มากตัวอักษรที่นำมาประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าทั้งอักษรไทยและอักษรโรมันต่างก็มีจำนวนตัวอักษรที่เกือบจะเท่ากันแม้ตัวอักษรบางตัวและลีลาการเขียนตัวอักษรจะแตกต่างกันบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัด เครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่างใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันความสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้โดยง่ายโดยเฉพาะในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกตหรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า ค๊อฟ-ซี่ และ COFCY รวมทั้งผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแก่คนทั่วไปมาหลายปีแล้ว บริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า คอฟ-ที และ KOF-Tใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของโจทก์อีกไม่ได้เพราะเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
เครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัดภาษาไทย คำว่า คอฟ-ทีกับเครื่องหมายการค้าคำว่าค๊อฟ-ซี่ ของโจทก์คู่หนึ่ง และเครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัดอักษรโรมัน คำว่า KOF-T กับเครื่องหมายการค้าคำว่า COFCY ของโจทก์อีกคู่หนึ่งนั้นต่างมีสำเนียงเสียงอ่านที่ใกล้เคียงกันมาก และมี 2 พยางค์เหมือนกัน การออกเสียงเรียกขานชื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำดังกล่าวอาจทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดได้เนื่องจากคนไทยไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และผู้ซื้อสินค้าอาจจะไม่ได้ดูชื่อที่เขียนอยู่บนห่อสินค้านั้นเพราะเป็นสินค้าที่มีราคาไม่มากตัวอักษรที่นำมาประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าทั้งอักษรไทยและอักษรโรมันต่างก็มีจำนวนตัวอักษรที่เกือบจะเท่ากันแม้ตัวอักษรบางตัวและลีลาการเขียนตัวอักษรจะแตกต่างกันบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัด เครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่างใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันความสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้โดยง่ายโดยเฉพาะในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกตหรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า ค๊อฟ-ซี่ และ COFCY รวมทั้งผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแก่คนทั่วไปมาหลายปีแล้ว บริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า คอฟ-ที และ KOF-Tใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของโจทก์อีกไม่ได้เพราะเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8076/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ คดีประกันภัยขนส่งระหว่างประเทศ และความรับผิดร่วมของลูกจ้าง
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งสินค้ารับผิดต่อโจทก์ และฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดเนื่องจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยโดยประมาทในทางการที่จ้างชนกำแพงทำให้รถยนต์คันนั้นเสียหาย และคู่ความขอให้โอนคดีไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยมีการสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ดังนี้ เมื่อประธานศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า คดีสำหรับจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับการประกันภัยที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งระหว่างประเทศอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ส่วนฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ก็เป็นการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้เดียวกันและเกี่ยวข้องกับที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญารับขนดังกล่าว ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียงคำฟ้องอุทธรณ์ต้องเป็นทนายความหรือเจ้าพนักงาน มิฉะนั้นคำฟ้องไม่สมบูรณ์
แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ประกอบมาตรา 215 มิได้กำหนดคำว่า "ผู้เรียง" จะเป็นใคร ทั้งมิได้กำหนดผู้ลงลายมือชื่อผู้เรียงเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่มีบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้คือ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ซึ่งกำหนดให้ทนายความหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่บุคคลอื่น เมื่อปรากฏว่า ส. ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมิได้เป็นบุคคลตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงมิชอบด้วยกฎหมาย แม้จะได้ความว่า จำเลยลงลายมือชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์นั้นก็ตาม ย่อมไม่กลับทำให้มีผลสมบูรณ์ขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียงคำฟ้องอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามกฎหมายทนายความ ผู้ลงลายมือชื่อต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้เรียงตามกฎหมาย
แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7)ประกอบมาตรา 215 มิได้กำหนดคำว่า "ผู้เรียง" จะเป็นใคร ทั้งมิได้กำหนดผู้ลงลายมือชื่อผู้เรียงเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 มาตรา 33 กำหนดให้ทนายความหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่บุคคลอื่น เมื่อปรากฏว่าส. ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมิได้เป็นบุคคลตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงมิชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยลงลายมือชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์นั้นก็ไม่กลับทำให้มีผลสมบูรณ์ขึ้นมาได้ ความหลงผิดคลาดเคลื่อนในกรณีจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าวไม่เป็นข้อแก้ตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023-8032/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่ทำให้คดีเช็คเลิกกันตาม พ.ร.บ. เช็ค
การที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งด้วยเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินรวมใบอนุญาตและเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง ซึ่งจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ไม่แน่นอนว่าศาลจะพิพากษาคดีเป็นประการใด การบอกเลิกสัญญาชอบหรือไม่ และคดียังไม่ถึงที่สุด ถือไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คเพื่อให้ใช้เงินสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แตกต่างจากกรณีที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงยังไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023-8032/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ร่วมและผลของการบอกเลิกสัญญาต่อคดีเช็ค: การพิจารณาคุณสมบัติโจทก์และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
สำนวนคดีที่ห้าถึงที่สิบ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงมิใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าว ส่วนสำนวนคดีที่สามและที่สี่ แม้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ที่ 1 ด้วยก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ที่ 3 เข้าร่วมเป็นโจทก์เนื่องจากคำฟ้องทั้งสองสำนวนดังกล่าวโจทก์ที่ 3 ไม่ใช่ผู้เสียหายด้วย โจทก์ที่ 3 จึงมิใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวเช่นกันการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกัน หามีผลให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ที่ 1 ทุกสำนวนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกันไม่
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งด้วยเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินรวมใบอนุญาตและเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรมนั้น เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งสองยังมีข้อต่อสู้อยู่ ไม่แน่นอนว่าศาลจะพิพากษาคดีเป็นประการใด การบอกเลิกสัญญาชอบหรือไม่ และคดียังไม่ถึงที่สุด ถือไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คเพื่อให้ใช้เงินสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แตกต่างจากกรณีที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งด้วยเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินรวมใบอนุญาตและเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรมนั้น เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งสองยังมีข้อต่อสู้อยู่ ไม่แน่นอนว่าศาลจะพิพากษาคดีเป็นประการใด การบอกเลิกสัญญาชอบหรือไม่ และคดียังไม่ถึงที่สุด ถือไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คเพื่อให้ใช้เงินสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แตกต่างจากกรณีที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7