พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานที่ปฏิบัติงานบกพร่อง แต่ไม่ร้ายแรง และสิทธิในเงินบำเหน็จ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า การสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนมิได้เป็นไปโดยรอบคอบเป็นเหตุให้จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลย การเลิกจ้างที่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าก่อน เป็นการมิชอบด้วย ป.พ.พ.และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากโจทก์มิได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับที่ให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงาน ให้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมค่าขาดรายได้ประจำ เงินโบนัส ส่วนรายละเอียดในการจ้าง การเลิกจ้าง และข้อกล่าวหาที่คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิด เป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้โจทก์มีส่วนร่วมในความผิดพลาดในการวิเคราะห์ลูกหนี้ และการประเมินราคาหลักทรัพย์ และโจทก์ประเมินความสามารถในการชำระหนี้โดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้รอบคอบเพียงพอให้สมกับตำแหน่งผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลยที่มีหน้าที่ดูแลระมัดระวังผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัด เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่การกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจทำให้จำเลยเสียหาย และการปล่อยสินเชื่อของโจทก์ก็เป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยตรง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าการกระทำผิดของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง แต่ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลย และโจทก์เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในสาขา มีหน้าที่รับผิดชอบงานทุกอย่างในสาขา การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องย่อมทำให้จำเลย เสียหายแม้ความเสียหายดังกล่าวจะยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยเสียหายร้ายแรงก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าการกระทำของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่จำต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
โจทก์เพียงแต่บกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่ไม่ถึงขั้นกรณีที่ร้ายแรง และจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้เตือนเป็นหนังสือก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จงใจขัดคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำผิดในประการอื่นอีกจำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
ตามระเบียบว่าด้วยเงินบำเหน็จของจำเลยกำหนดว่า พนักงานที่จำเลยให้ออกหรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ บำนาญ และเงินพิเศษใด ๆ (1) ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อจำเลย (2) จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว (4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร (5) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท (7) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง(8) มีพฤติการณ์ที่ทำให้ขาดความไว้วางใจ หรือมีมลทินมัวหมอง หากให้ปฏิบัติงานต่อไปจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อจำเลย แต่การกระทำของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยเสียหายร้ายแรง จึงไม่เข้ากรณีที่โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ตามระเบียบ
แม้โจทก์มีส่วนร่วมในความผิดพลาดในการวิเคราะห์ลูกหนี้ และการประเมินราคาหลักทรัพย์ และโจทก์ประเมินความสามารถในการชำระหนี้โดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้รอบคอบเพียงพอให้สมกับตำแหน่งผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลยที่มีหน้าที่ดูแลระมัดระวังผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัด เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่การกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจทำให้จำเลยเสียหาย และการปล่อยสินเชื่อของโจทก์ก็เป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยตรง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าการกระทำผิดของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง แต่ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลย และโจทก์เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในสาขา มีหน้าที่รับผิดชอบงานทุกอย่างในสาขา การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องย่อมทำให้จำเลย เสียหายแม้ความเสียหายดังกล่าวจะยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยเสียหายร้ายแรงก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าการกระทำของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่จำต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
โจทก์เพียงแต่บกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่ไม่ถึงขั้นกรณีที่ร้ายแรง และจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้เตือนเป็นหนังสือก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จงใจขัดคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำผิดในประการอื่นอีกจำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
ตามระเบียบว่าด้วยเงินบำเหน็จของจำเลยกำหนดว่า พนักงานที่จำเลยให้ออกหรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ บำนาญ และเงินพิเศษใด ๆ (1) ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อจำเลย (2) จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว (4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร (5) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท (7) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง(8) มีพฤติการณ์ที่ทำให้ขาดความไว้วางใจ หรือมีมลทินมัวหมอง หากให้ปฏิบัติงานต่อไปจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อจำเลย แต่การกระทำของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยเสียหายร้ายแรง จึงไม่เข้ากรณีที่โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ตามระเบียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อ และสิทธิรับเงินบำเหน็จของลูกจ้าง
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า การสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนมิได้ เป็นไปโดยรอบคอบเป็นเหตุให้จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจาก การเป็นลูกจ้างของจำเลย การเลิกจ้างที่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า ก่อน เป็นการมิชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็น การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากโจทก์มิได้กระทำผิดตามที่ ถูกกล่าวหาทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก แห่งข้อหาและคำขอบังคับที่ให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงาน ให้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าขาดรายได้ประจำเงินโบนัส ส่วนรายละเอียดในการจ้าง การเลิกจ้าง และข้อกล่าวหาที่คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิด เป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แม้โจทก์มีส่วนร่วมในความผิดพลาดในการวิเคราะห์ลูกหนี้และการประเมินราคาหลักทรัพย์ และโจทก์ประเมินความสามารถในการชำระหนี้โดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้รอบคอบเพียงพอให้สมกับตำแหน่งผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลยที่มีหน้าที่ดูแลระมัดระวังผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัด เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่การกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจทำให้จำเลยเสียหาย และการปล่อยสินเชื่อของโจทก์ก็เป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยตรง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าการกระทำผิดของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงแต่ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลย และโจทก์ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในสาขา มีหน้าที่รับผิดชอบงานทุกอย่างในสาขา การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องย่อมทำให้จำเลย เสียหายแม้ความเสียหายดังกล่าวจะยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยเสียหายร้ายแรงก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าการกระทำของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่จำต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ โจทก์เพียงแต่บกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่ไม่ถึงขั้นกรณีที่ร้ายแรง และจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้เตือนเป็นหนังสือก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จงใจขัดคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำผิดในประการอื่นอีก จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ ตามระเบียบว่าด้วยเงินบำเหน็จของจำเลยกำหนดว่า พนักงาน ที่จำเลยให้ออกหรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยอย่างหนึ่ง อย่างใดดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ บำนาญและ เงินพิเศษใด ๆ (1) ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อจำเลย (2) จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย(3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว (4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร (5) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท (7) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง(8) มีพฤติการณ์ที่ทำให้ขาดความไว้วางใจ หรือมีมลทินมัวหมอง หากให้ปฏิบัติงานต่อไปจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อจำเลย แต่การกระทำของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยเสียหายร้ายแรง จึงไม่เข้ากรณีที่โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ตามระเบียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: การบังคับใช้ภาระจำยอมและการชำระค่าใช้ที่ดิน
จำเลยประกาศเรียกประกวดราคาซื้อที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าผู้ขายต้องถมที่ดินและล้อมรั้วด้วยเสาคอนกรีตเสริมเหล็กรอบที่ดินในเนื้อที่ 1 ไร่ อันเป็นส่วนที่จะใช้ก่อสร้างอาคาร ป.ซึ่งเป็นตัวแทนขายที่ดินแก่จำเลยได้ทำรั้วตามแนวโฉนดด้วยความระมัดระวังตามแนวที่เจ้าของที่ดินชี้ และจำเลยได้ปลูกสร้างอาคารในเขตรั้วนั้น โดยไม่มีคำคัดค้านจาก บ.เจ้าของที่ดินข้างเคียง ส่วนโจทก์ซื้อที่ดินจาก บ.ในระหว่างที่จำเลยกำลังปลูกสร้างอาคาร แต่โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้านแนวเขตแม้จำเลยมิได้รังวัดสอบเขตก่อนลงมือปลูกสร้างอาคาร แต่พฤติการณ์มีเหตุให้จำเลยเชื่อและถือเอาตามแนวเขตหรือแนวรั้วที่ครอบครอง และจำเลยปลูกสร้างอาคารในเขตรั้วที่ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ขายทำไว้โดยไม่อาจคาดคิดว่าจะรุกล้ำ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ แต่เป็นกรณีที่จำเลยสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตมาตั้งแต่แรกแล้ว กรณีต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312 วรรคหนึ่งคือ จำเลยเป็นเจ้าของอาคารส่วนที่รุกล้ำโดยไม่ต้องรื้อถอน แต่ต้องชำระค่าใช้ที่ดินให้โจทก์ และโจทก์ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่อาคารของจำเลยตามฟ้องแย้ง และหากอาคารส่วนที่รุกล้ำสลายไปหรือรื้อถอนก็ให้โจทก์จดทะเบียนเพิกถอนภาระจำยอม และจำเลยไม่ต้องชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: สิทธิเจ้าของอาคาร, ค่าใช้ที่ดิน, และภาระจำยอม
จำเลยประกาศเรียกประกวดราคาซื้อที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ขายต้องถมที่ดินและล้อมรั้วด้วยเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก รอบที่ดินในเนื้อที่ 1 ไร่ อันเป็นส่วนที่จะใช้ก่อสร้างอาคาร ป. ซึ่งเป็นตัวแทนขายที่ดินแก่จำเลยได้ทำรั้วตามแนวโฉนดด้วยความระมัดระวังตามแนวที่เจ้าของที่ดินชี้ และจำเลย ได้ปลูกสร้างอาคารในเขตรั้วนั้น โดยไม่มีคำคัดค้านจาก ป. เจ้าของที่ดินข้างเคียง ส่วนโจทก์ซื้อที่ดินจาก บ. ในระหว่างที่จำเลยกำลังปลูกสร้างอาคาร แต่โจทก์ก็มิได้ โต้แย้งคัดค้านแนวเขตแม้จำเลยมิได้รังวัดสอบเขตก่อนลงมือ ปลูกสร้างอาคาร แต่พฤติการณ์มีเหตุให้จำเลยเชื่อและถือเอาตาม แนวเขตหรือแนวรั้วที่ครอบครอง และจำเลยปลูกสร้างอาคารในเขตรั้วที่ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ขายทำไว้โดยไม่อาจคาดคิดว่าจะรุกล้ำ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ แต่เป็นกรณี ที่จำเลยสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตมาตั้งแต่ แรกแล้ว กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง คือ จำเลยเป็นเจ้าของอาคารส่วนที่รุกล้ำโดยไม่ต้องรื้อถอน แต่ต้องชำระค่าใช้ที่ดินให้โจทก์และโจทก์ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่อาคารของ จำเลยตามฟ้องแย้ง และหากอาคารส่วนที่รุกล้ำสลายไปหรือ รื้อถอนก็ให้โจทก์จดทะเบียนเพิกถอนภาระจำยอม และจำเลยไม่ต้อง ชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบเรียกรับเงินจากผู้ขับรถบรรทุกเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง
คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันใช้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานตำรวจให้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ไปเรียกเก็บเงินจากบรรดาคนขับรถยนต์บรรทุกที่แล่นผ่านไปมาไม่เลือกว่าคนขับรถนั้นจะได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1เข้าไปพูดกับคนขับรถว่า "ตามธรรมเนียม" คนขับรถนั้นแม้มิได้ กระทำความผิดก็ต้องจำใจจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ด้วยความ เกรงกลัวต่ออำนาจในการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวเป็นการร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจเพื่อให้คนขับรถยนต์บรรทุกมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 แล้วและหากรถยนต์บรรทุกคันใดมีการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมายถ้าจำเลยที่ 1 เรียกเอาเงินจากคนขับรถได้แล้ว จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ก็จะไม่ทำการจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ดังกล่าวย่อมเป็นการร่วมกันเรียกและรับเงินจากคนขับรถยนต์บรรทุกสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อไม่กระทำการในตำแหน่งคือไม่จับกุมตามหน้าที่ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 แต่คืนเกิดเหตุมีการเรียกเก็บเงินหลายครั้งหลายหนจากบรรดาคนขับรถหลาย ๆ คนดังนี้ เมื่อโจทก์รวมการกระทำเหล่านี้ไว้ในฟ้องข้อเดียวกันโดยถือเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือผิดทั้งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148และ 149 จึงต้องบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ ซึ่งแต่ละบทมาตรามีโทษเท่ากัน และเมื่อผิดตามบทเฉพาะเช่นนี้แล้วก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157อันเป็นบททั่วไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจมิชอบเรียกเก็บเงินจากผู้ขับรถ แม้ไม่มีความผิด เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148/149
คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันใช้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานตำรวจให้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ไปเรียกเก็บเงินจากบรรดาคนขับรถยนต์บรรทุกที่แล่นผ่านไปมาไม่เลือกว่าคนขับรถนั้นจะได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1เข้าไปพูดกับคนขับรถว่า "ตามธรรมเนียม" คนขับรถนั้นแม้มิได้กระทำความผิดก็ต้องจำใจจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ด้วยความเกรงกลัวต่ออำนาจในการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวเป็นการร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจเพื่อให้คนขับรถยนต์บรรทุกมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 148 แล้วและหากรถยนต์บรรทุกคันใดมีการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมาย ถ้าจำเลยที่ 1เรียกเอาเงินจากคนขับรถได้แล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็จะไม่ทำการจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวย่อมเป็นการร่วมกันเรียกและรับเงินจากคนขับรถยนต์บรรทุกสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อไม่กระทำการในตำแหน่งคือไม่จับกุมตามหน้าที่ อันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 149 แต่คืนเกิดเหตุมีการเรียกเก็บเงินหลายครั้งหลายหน จากบรรดาคนขับรถหลาย ๆ คนดังนี้ เมื่อโจทก์รวมการกระทำเหล่านี้ไว้ในฟ้องข้อเดียวกันโดยถือเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือผิดทั้งป.อ.มาตรา 148 และ 149 จึงต้องบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ ซึ่งแต่ละบทมาตรามีโทษเท่ากัน และเมื่อผิดตามบทเฉพาะเช่นนี้แล้วก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเจ้ามรดก: การรู้ถึงความตายต้องชัดเจนและมีหลักฐานยืนยัน
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม ที่ระบุห้ามเจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น การรู้หรือควรได้รู้ดังกล่าว ต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน
แม้จะได้ความว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานให้ทราบว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจ ได้ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการเป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้องผู้ประกันให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับจำนวน 500,000 บาท กองคดีแพ่ง กรมอัยการรับดำเนินการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของผู้ประกัน ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานว่าผู้ประกันได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตรให้โจทก์รับทราบในวันเดียวกัน ย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของผู้ประกันแล้วนับแต่นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของผู้ประกันเจ้ามรดก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้จะได้ความว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานให้ทราบว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจ ได้ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการเป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้องผู้ประกันให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับจำนวน 500,000 บาท กองคดีแพ่ง กรมอัยการรับดำเนินการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของผู้ประกัน ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่าผู้ประกันถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานว่าผู้ประกันได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตรให้โจทก์รับทราบในวันเดียวกัน ย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของผู้ประกันแล้วนับแต่นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของผู้ประกันเจ้ามรดก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ต้องมีหลักฐานยืนยันการตายที่แน่นอน
ตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ได้ระบุห้ามเจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้นต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน แม้จะได้ความจากพันตำรวจโทพ.พยานโจทก์ตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงาน ให้ทราบว่า ส.ถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจได้ ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการ เป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้อง ส. ให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับกองคดีแพ่งกรมอัยการ รับดำเนินการให้เมื่อ วันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียง ข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของ ส. ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่า ส.ถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานพันตำรวจโทพ.ว่าส.ได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตร พันตำรวจโทพ. รับทราบในวันเดียวกันย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของส.แล้วนับแต่นั้นโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของส.เจ้ามรดกฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ส.เป็นผู้ประกันตัวว. ผู้ต้องหาแล้วผิดสัญญาประกันต้องใช้เงินจำนวน 500,000 บาท จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกและจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทผู้รับ ทรัพย์ตามพินัยกรรมของส.จึงต้องรับผิดต่อโจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุยาเสพติดเพื่อเสพเองไม่เป็นความผิดฐานผลิต หากไม่มีลักษณะร้ายแรง การแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายต้องพิจารณาข้อเท็จจริง
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4คำว่า "ผลิต" ให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุด้วยนั้นต้องหมายถึงการกระทำอันมีลักษณะที่เป็นภัยอย่างร้ายแรงต่อสังคมในทำนองเดียวกับการเพาะ ปลูก ทำผสม ปรุง แปรสภาพเปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการแบ่งบรรจุเพื่อความสะดวกในการใช้หรือเสพของตนเอง ย่อมมีเป็นธรรมดาของบุคคลที่ต้องการใช้เสพ ไม่มีลักษณะร้ายแรงดังเช่นที่กล่าวมา จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่า "ผลิต" ฉะนั้นการแบ่งบรรจุกรณีใดจะอยู่ในความหมายของคำว่า "ผลิต"ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป หาใช่ว่าเมื่อมีการแบ่งบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 แล้วต้องถือว่าเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เสมอไปไม่ เฮโรอีนของกลางที่ยึดได้จากจำเลยมีน้ำหนักเพียง 0.26 กรัมกรณีถือได้ว่าเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย การแบ่งบรรจุในหลอดกาแฟจำนวน 11 หลอด จะถือว่าเป็นจำนวนเกินสมควรยังไม่ถนัดทั้งจำเลยให้การในชั้นสอบสวนและชั้นศาลตลอดมาว่าจำเลยมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อเสพ แม้โจทก์จะนำสืบว่าเจ้าพนักงานตำรวจสืบทราบว่า จำเลยลักลอบขายยาเสพติดและลักลอบมั่วสุมเสพยาเสพติด จึงได้มีการออกหมายค้นที่อยู่อาศัยของจำเลยก็ตาม แต่เป็นเพียงคำเบิกความลอย ๆมิได้นำพยานแวดล้อมอื่นใดมาสืบประกอบว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ กรณียังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ทั้งยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยแบ่งบรรจุยาเสพติดดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ให้แก่ประชาชน จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตน้ำหนัก 0.26 กรัมนับว่ามีปริมาณไม่มาก และจำเลยให้การรับสารภาพว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพตลอดมาจนถึงชั้นศาลประกอบกับจำเลยถูกต้องขังในระหว่างสอบสวนและระหว่างพิจารณา ตลอดมาเป็นเวลาพอสมควรแล้วจึงสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ในฟ้อง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจำเลยบังอาจเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการทำนาโดยไม่ได้รับอนุญาติ เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์โจทก์ห้ามจำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไม่ให้จำเลยยุ่งเกี่ยว และใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงพิพาท จำเลยได้รับหนังสือ บอกกล่าวแล้วนั้น แสดงให้เห็นว่า โจทก์ได้กล่าวถึงสภาพ แห่งข้อหาว่า จำเลยทำละเมิดเข้าไปใช้ประโยชน์โดยทำนาในที่ดินของโจทก์ และบรรยายถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือโจทก์มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไม่ให้จำเลยยุ่งเกี่ยวและใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามฟ้องโจทก์จึงได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้ว โจทก์หาจำต้องกล่าวให้ละเอียดไปถึงว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในส่วนใดของโฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้อง และส่วนใดเป็นกรรมสิทธิ์ของพจำเลยบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ตั้งแต่เมื่อใด เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา และในคดีแพ่งโจทก์หาจำต้องบรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดกรณีพิพาทในฟ้องดังเช่นการบรรยายฟ้องในคดีอาญาแต่อย่างใดไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม