คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัญ หัตถกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเกษียณอายุ กรณีเลิกจ้างไม่ใช่เพราะครบเกษียณอายุ
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเรื่องเงินบำเหน็จกำหนดไว้ว่า พนักงานมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อทำงานครบเกษียณอายุ โดยต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานในฐานะพนักงานเป็นเวลาอย่างน้อย15 ปี ติดต่อกัน (2) มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และ(3) ทำงานให้จำเลยด้วยความขยันหมั่นเพียรและปราศจากข้อตำหนิในประวัติการทำงาน เห็นได้ว่าตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่จะจ่ายเงินบำเหน็จหรือเงินค่าเกษียณอายุเมื่อพนักงานทำงานครบเกษียณอายุเท่านั้น แต่การเลิกจ้างของจำเลยตามหนังสือแจ้งการเลิกจ้าง มิใช่เป็นการให้โจทก์ออกจากงานโดยเหตุครบเกษียนอายุ แต่เป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วย เหตุที่จำเลยประสบปัญหาการขาดทุนและจำเป็นต้องลดอัตรากำลังคน ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีเจตนาไม่ให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินค่าเกษียณอายุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การ-พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้ แม้จำเลยขาดนัด
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำเข้าสืบมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารก็ตาม แต่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายหากศาลเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่เพียงพอรับฟังตามที่โจทก์ฟ้องซึ่งเป็นดุลพินิจในทางรับฟังพยานหลักฐานศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคหนึ่งปรากฏว่าข้อเท็จจริงในคดีฟังได้เพียงว่า เมื่อวันที่20 มกราคม 2529 ส.เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเขตบางกะปิเป็นผู้ลงรับหนังสือด่วนมากฉบับวันที่ 14 มกราคม 2529แทนจำเลย และอ้างว่าได้มอบหนังสือดังกล่าวให้จำเลยไปเท่านั้นประกอบกับในช่วงเกิดเหตุอยู่ระหว่างโยกย้ายที่ทำการสรรพากรเขตบางกะปิ มีงานยุ่งและเอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมากทั้งขณะมีการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งนั้น หนังสือด่วนมากฉบับดังกล่าวยังค้นหาไม่พบ และการที่มิได้เวียนหนังสือดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไปก็ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเกิดจากการกระทำผิดหรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยหรือไม่ พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังว่า จำเลยได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพิกเฉยละเลยไม่นำหนังสือและประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอต่อเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบตรวจสอบหนี้ภาษีอากรของบริษัท ห. เพื่อยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายไม่อาจรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวได้ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 297/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินชดเชย vs. เงินบำเหน็จ: การจ่ายรวมกันไม่ขัดกฎหมาย หากเงินบำเหน็จสูงกว่า
ตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501 ข้อ 37กำหนดว่า ในกรณีที่พนักงานประจำมีสิทธิได้รับทั้งเงินชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานตามความในข้อ 23 และ 24 และเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าเงินชดเชย ให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับจำนวนเงินชดเชย แต่ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินชดเชยก็ให้ได้รับแต่เงินชดเชยอย่างเดียว และตามบันทึกข้อตกลง ฉบับลงวันที่ 3 มีนาคม 2524 ข้อ 3.1กำหนดว่า การจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปี บริษัทตกลงจ่ายแก่ผู้ขอรับให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม ของปีทำงานนั้น ๆ ส่วนลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปี คงให้ปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญาเช่า จึงเป็นได้ว่าตามข้อกำหนดของคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าวมุ่งประสงค์ที่จะให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินชดเชยในขณะที่ออกคำสั่งนั้นซึ่งหมายถึงค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่ประกาศใช้ในเวลาต่อมาและยังมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันให้แก่พนักงานหรือคนงานของกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานแต่เพียงอย่างเดียว หาได้ประสงค์ให้มีสิทธิได้รับเงินเต็มจำนวนทั้งสองประเภทไม่ ดังนั้นในกรณีที่พนักงานหรือคนงานมีสิทธิได้รับทั้งค่าชดเชยมากกว่าค่าชดเชย ก็ให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับจำนวนค่าชดเชย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยให้แล้วเช่นกัน เพียงแต่มีการจ่ายรวมกันไปกับเงินบำเหน็จเท่านั้น และในกรณีที่เงินบำเหน็จมีจำนวนน้อยกว่าค่าชดเชยก็ให้ได้รับแต่ค่าชดเชยเพียงอย่างเดียวที่พนักงานหรือคนงานมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว การจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนดังกล่าวเป็นการจ่ายค่าชดเชยรวมไปด้วย และมิใช่มีลักษณะเป็นการตัดสิทธิในการรับค่าชดเชยของพนักงานหรือคนงานตามกฎหมาย จึงถือว่าเงินบำเหน็จตัดตอนที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ทั้งสิบสามก็คือเงินบำเหน็จตามคำสั่งที่124/2501 ข้อ 37 นั่นเอง เพียงแต่จำเลยและลูกจ้างได้ตกลงเปลี่ยนแปลงระยะเวลาในการจ่ายเงินบำเหน็จจากการจ่ายครั้งเดียวมาเป็นจ่ายเป็นรายปี และไม่ถือว่าเงินบำเหน็จตัดตอนที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ทั้งสิบสามไปแล้วเป็นเงินประเภทอื่น และเมื่อคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501ดังกล่าวเพียงแต่ออกมาเพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.แรงงาน พ.ศ.2499ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 และหาเป็นผลให้เป็นการยกเลิกคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501 เกี่ยวกับค่าชดเชยโดยเฉพาะข้อ 37 ไม่ ดังนั้นการที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างรวมไปกับเงินบำเหน็จจึงไม่เป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายคุ้มครอง-แรงงานและไม่ตกเป็นโมฆะเมื่อเงินบำเหน็จที่โจทก์แต่ละคนได้รับไปแล้วมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยที่โจทก์ทั้งสิบสามมีสิทธิได้รับ โจทก์ทั้งสิบสามจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 297/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนควบคู่กับค่าชดเชยตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501 ข้อ 37 กำหนดว่าในกรณีที่พนักงานประจำมีสิทธิได้รับทั้งเงินชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานตามความในข้อ 23 และ 24 และเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้ ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าเงินชดเชย ให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับจำนวนเงินชดเชย แต่ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินชดเชยก็ให้ได้รับแต่เงินชดเชยอย่างเดียว และตามบันทึกข้อตกลงฉบับลงวันที่ 3 มีนาคม 2524 ข้อ 3.1 กำหนดว่า การจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปี บริษัทตกลงจ่ายแก่ผู้ขอรับให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม ของปีทำงานนั้น ๆ ส่วนลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปี คงให้ปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญาเช่า จึงเห็นได้ว่าตามข้อกำหนดของคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าวมุ่งประสงค์ที่จะให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินชดเชยในขณะที่ออกคำสั่งนั้นซึ่งหมายถึงค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่ประกาศใช้ในเวลาต่อมาและยังมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันให้แก่พนักงานหรือคนงานของกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานแต่เพียงอย่างเดียวหาได้ประสงค์ให้มีสิทธิได้รับเงินเต็มจำนวนทั้งสองประเภทไม่ดังนั้นในกรณีที่พนักงานหรือคนงานมีสิทธิได้รับทั้งค่าชดเชยมากกว่าค่าชดเชย ก็ให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับจำนวนค่าชดเชยซึ่งถือได้ว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยให้แล้วเช่นกัน เพียงแต่มีการจ่ายรวมกันไปกับเงินบำเหน็จเท่านั้น และในกรณีที่เงินบำเหน็จมีจำนวนน้อยกว่าค่าชดเชยก็ให้ได้รับแต่ค่าชดเชยเพียงอย่างเดียวที่พนักงานหรือคนงานนั้นมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว การจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนดังกล่าวเป็นการจ่ายค่าชดเชยรวมไปด้วย และมิใช่มีลักษณะเป็นการตัดสิทธิในการรับค่าชดเชยของพนักงานหรือคนงานตามกฎหมาย จึงถือว่าเงินบำเหน็จตัดตอนที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ทั้งสิบสามก็คือเงินบำเหน็จตามคำสั่งที่ 124/2501 ข้อ 37 นั่นเอง เพียงแต่จำเลยและลูกจ้างได้ตกลงเปลี่ยนแปลงระยะเวลาในการจ่ายเงินบำเหน็จจากการจ่ายครั้งเดียวมาเป็นจ่ายเป็นรายปีและไม่ถือว่าเงินบำเหน็จตัดตอนที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ทั้งสิบสามไปแล้วเป็นเงินประเภทอื่น และเมื่อคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่124/2501 ดังกล่าวเพียงแต่ออกมาเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 และหาเป็นผลให้เป็นการยกเลิกคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501 เกี่ยวกับค่าชดเชยโดยเฉพาะข้อ 37 ไม่ ดังนั้นการที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างรวมไปกับเงินบำเหน็จจึงไม่เป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายคุ้มครองแรงงานและไม่ตกเป็นโมฆะ เมื่อเงินบำเหน็จที่โจทก์แต่ละคนได้รับไปแล้วมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยที่โจทก์ทั้งสิบสามมีสิทธิได้รับ โจทก์ทั้งสิบสามจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากหนังสือเสนอแนวทางปรับปรุงการบริหาร การกระทำของผู้บริหารระดับสูงไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
โจทก์ทำงานกับจำเลยในหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคลการที่โจทก์เห็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารของผู้จัดการทั่วไป โจทก์จึงมีหนังสือถึงประธานกรรมการจำเลยซึ่งมีข้อความว่า "ผู้จัดการทั่วไปขาดการเรียนรู้ถึงการบริหารงาน ทำงานไม่เป็น ปฏิบัติไป ในทางลิดรอนสิทธิอำนาจในการบริหารงานของหัวหน้าแผนก งานทุกอย่างจะต้องผ่านการเห็นชอบทำให้พนักงานทำงานกันไม่ได้ เต็มที่เนื่องจากการหวาดกลัว การวิตกว่าจะถูกตัดค่าจ้าง และหรือจ่ายค่าชดเชยแก่โรงแรม" และขอเข้าพบประธานกรรมการเพื่อต้องการเสนอปัญหา และประสงค์ที่จะเสนอข้ออันควรปรับปรุงแก้ไขต่อประธานกรรมการผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้ อันเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่เป็นฝ่ายบริหารระดับสูงด้วยคนหนึ่งเท่านั้นทั้งถ้อยคำตามหนังสือไม่มีข้อความตอนใดดูถูกดูหมิ่นอันเป็นการหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลใด ๆ ของจำเลยอันถือได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรง การกระทำของโจทก์อาจเป็น ผลดีต่อจำเลยก็ได้ เมื่อโจทก์ไม่มีความผิดใดในอันที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าและค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ลาป่วยเพื่อทำธุรกิจส่วนตัว และการขัดคำสั่งนายจ้างชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่โจทก์ยื่นใบลาป่วยขอหยุดงานรวม 90 วันนั้น เหตุแห่งการลาป่วยเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในขณะที่โจทก์ยื่นใบลา จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงอนุญาตให้โจทก์หยุดงานไปตามนั้น แต่ต่อมาเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์มิได้ป่วยเจ็บจนไม่สามารถทำงานตามปกติ และโจทก์หยุดงานไปเพื่อทำธุรกิจส่วนตัวอันเป็นการหยุดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและแจ้งลาป่วยเสร็จ ส่วนเหตุเลิกจ้างซึ่งจำเลยได้ออกหนังสือสั่งให้โจทก์ไปรายงานตัวเพื่อกลับเข้าทำงาน อันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏหลังจากจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยและอยู่ในระหว่างลาหยุดงานเป็นข้อเท็จจริงคนละส่วนกับข้อเท็จจริงในเหตุเลิกจ้างที่จำเลยถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและแจ้งลาป่วยเท็จ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยเหตุของการเลิกจ้างทั้งสองประการดังกล่าวนี้ จึงมิได้ขัดแย้งกัน หลังจากจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยและหยุดงานแล้ว ปรากฏว่า โจทก์มิได้ป่วยเจ็บจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้ จำเลยจึงมีหนังสือแจ้งให้โจทก์รายงานตัวกลับเข้าทำงานในตำแหน่งใหม่นั้นการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งดังกล่าวให้โจทก์ทราบและถือปฏิบัติแสดงว่าเหตุแห่งการลาป่วยที่จำเลยอนุญาตนั้นได้สิ้นไปแล้วและเป็นการยกเลิกการอนุญาตให้โจทก์ลาหยุดงานไปในตัวจำเลยหาจำต้องระบุข้อความไว้โดยแจ้งชัดว่ายกเลิกการอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยไม่ เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์มารายงานตัวเพื่อกลับเข้าทำงาน โจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติทั้ง ๆ ที่จำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหลายครั้ง เป็นการที่จำเลยจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ประเด็นที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินโดยไม่มีสัญญาเช่า: เจ้าของกรรมสิทธิ์และผู้เช่ามีสิทธิฟ้องได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีหนังสือสัญญาเช่า และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยการเช่าจาก ป. ญาติของโจทก์ หรือโจทก์ที่ 1 เชิด ป.เป็นตัวแทน ดังที่จำเลยต่อสู้ การที่จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่ 1ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์และโจทก์ที่ 2 ผู้มีสิทธิเช่าที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งสองย่อมฟ้องขับไล่จำเลยผู้กระทำละเมิดได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว และไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดิน โดยไม่มีสัญญาเช่า
จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีหนังสือสัญญาเช่า และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยการเช่าจาก ป.ญาติของโจทก์ หรือโจทก์ที่ 1 เชิด ป.เป็นตัวแทน ดังที่จำเลยต่อสู้ การที่จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่ 1 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์และโจทก์ที่ 2 ผู้มีสิทธิเช่าที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองย่อมฟ้องขับไล่จำเลยผู้กระทำละเมิดได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว และไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 566

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้รับอำนาจ และการขาดการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เข้าไปเรียกผู้โดยสารในท่าอากาศยานไม่ปรากฎว่ารบกวนผู้โดยสารให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด คงเป็นเพียงการเข้าไปชักชวน ผู้โดยสารให้ใช้บริการรถแท็กซี่ของจำเลยที่ 1 แม้จะทำให้ รถแท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของการท่าอากาศยานฯ ต้องขาด รายได้ไปบางส่วนก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐาน รบกวนผู้โดยสารตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2528) ข้อ 8(6) งออกตามความในพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 4(2) ต. เป็นหัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยจึงเป็นพนักงานตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฎิบัติการตามพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2530 ข้อ 2.1 ซึ่งแต่งตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ต. ได้รับทราบทางวิทยุว่าจำเลยทั้งหกเข้ามารบกวนผู้โดยสารที่บริเวณห้องผู้โดยสารขาเข้า จึงสั่งให้ อ.กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอื่นช่วยกันไล่จำเลยทั้งหกออกไปจากบริเวณดังกล่าว หากจำเลยทั้งหกไม่ยอมออกไปก็ให้ทำการจับกุม ต่อมาประมาณ 10 นาที ต. ได้รับแจ้งว่าอ. กำลังถูกรุมทำร้ายจึงรีบวิ่งไปที่เกิดเหตุ เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุพวกจำเลยกระจายกันวิ่งหลบหนี แสดงว่า ต.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก เพียงแต่ต.อนุญาตให้อ.ณ.และย. ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุมจำเลยกรณีจึงไม่อาจถือว่า ต.เป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือกระทำตามหน้าที่เพราะต.ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลย เมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฎิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่เช่นนี้แล้วการที่ อ.ณ.และย.เข้าจับจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะที่บุคคลทั้งสามเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานนั้นปฎิบัติ การหรือกระทำตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138,289(3),296 แต่กลับกลายเป็นการเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยทั้งหกจะต่อสู้ขัดขวางก็ถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เกินสมควรแก่เหตุโดยปรากฎตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ว่าผู้เสียหายทั้งสามได้รับอันตรายจากการเข้าจับกุมเพียงเป็นรอยถลอกและบวมเล็กน้อยตามบริเวณแขน ข้อมือ และขมับการกระทำของจำเลยทั้งหกจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางจับกุมและทำร้ายร่างกายผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะในการปฎิบัติหน้าที่นี้กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฎิบัติหน้าที่แทนตน เห็นได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เจ้าพนักงานจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารซึ่งจะต้องถูกจับหรือไม่บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานอาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ดังจะเห็นได้ในคดีนี้ว่าผู้จับวินิจฉัยผิดพลาดและเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ และแม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3จะถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาเห็นสมควรยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ ความชอบด้วยกฎหมายของการจับกุม
จำเลยที่ 1 เพียงแต่เข้าไปชักชวนผู้โดยสารให้ใช้บริการรถแท็กซี่ของจำเลยที่ 1 แม้จะทำให้รถแท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยต้องขาดรายได้ไปบางส่วน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รบกวนผู้โดยสารอากาศยานให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด กรณีก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1มีความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารตาม พ.ร.บ.การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522 มาตรา 4 (2)
ต.มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยต.เป็นเจ้าพนักงานตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ซึ่งแต่งตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ขณะเกิดเหตุ ต.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก เพียงแต่ ต.อนุญาตให้อ.และ ย.ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุมจำเลยทั้งหก โดย ต.ไปถึงที่เกิดเหตุหลังจากจำเลยทั้งหกหลบหนีไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจถือว่า ต.เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่ เพราะ ต.ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก และเมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่เช่นนี้แล้ว การที่ อ.และ ย.เข้าจับกุมจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. แต่เป็นการเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยทั้งหกจะต่อสู้ขัดขวางเป็นเหตุให้ อ.และ ย.ได้รับอันตรายเป็นรอยถลอกและบวมเล็กน้อยตามบริเวณแขนข้อมือและขมับ ก็ต้องถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
เมื่อเหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เจ้าพนักงานจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยเองว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารซึ่งจะต้องถูกจับหรือไม่บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานอาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนตนได้
แม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3 จะถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เมื่อเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
of 80