คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัญ หัตถกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7979/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยค่ามัดจำที่จำเลยไม่โต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ และศาลวินิจฉัยค่าเสียหายพิเศษได้ตามวัตถุแห่งฟ้อง
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 136,000 บาท และคืนเงินค่ามัดจำอีก 81,000 บาท รวมแล้วเป็นเงิน 217,000 บาท และให้โจทก์รับผิดชำระเงินให้จำเลย 122,820 บาท เมื่อหักกลบแล้วให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ 94,180 บาท ซึ่งในส่วนค่ามัดจำจำนวน 81,000 บาท จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงถือว่าเรื่องเงินค่ามัดจำดังกล่าวได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องค่าเสียหาย 136,000 บาท และค่ามัดจำอีก 81,000 บาท รวมเป็น 217,000 บาท ฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่ามัดจำดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่อาจรับไว้วินิจฉัยได้ ฉะนั้นทุนที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงเป็นเงินเพียง 136,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
แม้ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า โจทก์ได้แจ้งข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ แต่ฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าเสื้อแจกเกตที่โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยทั้งสองตัดเย็บนั้นเพื่อจะนำไปขายให้แก่บริษัท บ. พร้อมทั้งระบุข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายอันเกิดจากการส่งมอบสินค้ามีตำหนิหรือไม่ถูกต้องตามแบบ กรณีจึงเป็นเรื่องที่ฝ่ายจำเลยคาดเห็นหรือควรจะได้ความเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7943/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาเช่าเรือ ผู้รับเช่ามีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามปกติและค่าใช้จ่ายที่สมควร ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหาย
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเรือที่ไม่นำเรือที่โจทก์เช่าไปบรรทุกสินค้าตามวันเวลาที่ตกลงกับโจทก์ตามสัญญาเช่าเรือทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้เพียงใดหรือไม่ ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบพิสูจน์ เว้นแต่หากโจทก์พิสูจน์ความเสียหายไม่ได้ตามที่เรียกร้องมาแล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะกำหนดค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่าเรือได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 แต่ค่าเสียหายที่โจทก์จะได้รับก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขสัญญาเช่าเรือด้วย หากโจทก์พิสูจน์ได้ว่าเสียหายไปจริง โจทก์ก็มีสิทธิได้รับค่าเสียหายไปตามจำนวนที่เรียกร้อง แต่ต้องไม่เกินกว่าค่าระวางโดยประมาณ
ความรับผิดในค่าเสียหายคงมีแต่เฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติในการผิดสัญญาเท่านั้น การที่ผู้ว่าจ้างโจทก์ซึ่งไม่ได้เป็นคู่สัญญาเช่าเรือได้ทำสัญญากับบริษัทผู้ซื้อสินค้าว่า หากผิดสัญญาจะต้องถูกปรับในอัตราร้อยละ 30 ของราคาซื้อขายกันหรือไม่นั้น ย่อมเป็นพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยมิอาจคาดเห็นได้ว่ามีข้อตกลงเช่นนั้น โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดค่าเสียหายที่เกิดจากพฤติการณ์พิเศษส่วนนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง การที่โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าเรือจากจำเลยย่อมก่อให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ ในการที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้กักเรือไว้ไม่ให้เดินทางออกจากท่าได้ด้วยเหตุที่จำเลยผิดสัญญาเช่าเรือตาม พ.ร.บ.การกักเรือ พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งถือเป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นประกันในการที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ค่าเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่าเรือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7879/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าเนื่องจากเหตุสุดวิสัย (ท่าเรือแออัด) ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล
เหตุที่ทำให้โจทก์ผู้ขนส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยชักช้าเพราะเรือสินค้าไม่สามารถเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือแอนต์เวิร์ปได้เนื่องจากความแออัดของท่าเรือดังกล่าวซึ่งมิใช่ความผิดหรือประมาทเลินเล่อหรืออยู่ในความรู้เห็นของโจทก์ และมิใช่ความผิดหรือประมาทเลินเล่อของตัวแทนหรือลูกจ้างของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 มาตรา 52(13)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7822/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์เพลง: สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์หลังการซื้อขาย และขอบเขตการอนุญาตใช้สิทธิ
คำฟ้องเป็นเพียงการบรรยายสรุปถึงความเกี่ยวพันกันระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งห้าเพื่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำการใดให้โจทก์ต้องได้รับความเสียหาย รวมทั้งคำขอบังคับที่จะให้จำเลยทั้งห้ารับผิดต่อโจทก์อย่างไรพอให้เข้าใจกันได้เท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ซึ่งซื้อมาจากจำเลยที่ 3 จำเลยทั้งห้าร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์เพลงพิพาท โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 นำเพลงพิพาทไปทำดนตรีขึ้นใหม่แล้วให้นักร้องร้องบันทึกลงในแถบเสียงออกจำหน่ายทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดต่อโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงให้เห็นแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการกล่าวหาจำเลยทั้งห้าเพื่อที่จะขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดต่อโจทก์ให้เป็นที่เข้าใจได้ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ทั้งคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยทั้งห้าแต่ละคนต่างคนต่างทำละเมิดต่อโจทก์ และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็มิได้ขอบังคับเอากับจำเลยทั้งห้าแต่ละคนให้รับผิดในส่วนของแต่ละคนที่จะเป็นฟ้องเคลือบคลุมไปได้ สัญญาซื้อขายเพลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกระบุไว้ในข้อ 2 ว่า "ผู้จัดการมรดกตกลงโอนขายและ ป. ตกลงซื้อลิขสิทธิ์เพลงตามข้อ 1การโอนขายนี้เป็นการโอนลิขสิทธิ์ทั้งหมด และเสร็จเด็ดขาดตลอดอายุแห่งลิขสิทธิ์"ย่อมเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 3 ได้ขายลิขสิทธิ์เพลงซึ่งรวมเพลงพิพาททั้งสี่นับแต่วันซื้อขายเป็นต้นไปจนกว่าจะสิ้นสุดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่แต่เพียงผู้เดียวมิใช่เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิในเพลงพิพาททั้งสี่ไปจัดหาประโยชน์แต่อย่างใด ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะขายลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้แก่โจทก์ในวันที่ 16 กรกฎาคม2535 จำเลยที่ 3 ย่อมมีสิทธิที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 5 นำไปบันทึกเทปเผยแพร่หาประโยชน์ได้โดยชอบตามหนังสือสัญญาลิขสิทธิ์เพลงที่จำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 นำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกเผยแพร่หาประโยชน์ แต่หลังจากที่จำเลยที่ 3 ขายลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้โจทก์ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้จำเลยที่ 5 ไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์ได้เลย การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 ทำหนังสืออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงพิพาทสามเพลงในสี่เพลงดังกล่าวให้จำเลยที่ 5 นำไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 จึงเป็นการกระทำหลังจากวันที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่แล้ว จำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาทสามเพลงดังกล่าวอนุญาตให้จำเลยที่ 5 นำไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกแถบเสียงออกเผยแพร่หาประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงทั้งสี่ได้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ของโจทก์ แม้จำเลยที่ 4 จะเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 3 โดยได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ให้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลงของเจ้ามรดกก็ตามแต่จำเลยที่ 4 ก็เป็นบุตรของจำเลยที่ 3 กับเจ้ามรดก จำเลยที่ 4 ก็รู้เห็นสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงระหว่างจำเลยที่ 3 กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 4 ก็ยังอนุญาตให้จำเลยที่ 5 นำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกแถบเสียงออกเผยแพร่หาประโยชน์อีกถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7807/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: พิจารณาเฉพาะความเสียหายโดยตรงที่ประเมินเป็นเงินได้
จำเลยเป็นเพียงผู้จำหน่ายเทปเพลงซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่มีผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยได้ทำซ้ำไว้แล้วเท่านั้น แม้การกระทำดังกล่าวจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง ประชาชนขาดความเชื่อถือ และโจทก์ได้เสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณาเทปเพลงลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบเป็นเงินจำนวนมากก็ตามแต่ความเสียหายของโจทก์ที่ได้รับจากการกระทำของจำเลยโดยตรงที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้คงมีเฉพาะที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการที่จำเลยนำเทปเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ออกจำหน่าย อันอาจทำให้การจำหน่ายเทปเพลงของโจทก์ตกต่ำไป 175 ม้วน ซึ่งคิดเป็นเงินที่โจทก์จำหน่ายราคาม้วนละ 90 บาท เป็นเงิน 15,750 บาท ส่วนความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ทำให้ประชาชนไม่เชื่อถือในกิจการของโจทก์นั้นมีไม่มากนัก ค่าเสียหายในส่วนนี้จำนวน 50,000 บาท จึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยแล้ว แต่การที่โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่สำนักงานทนายความเพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลยนั้นเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องจ่ายเพื่อรักษาประโยชน์ในการดำเนินกิจการของโจทก์เท่านั้น มิใช่ค่าเสียหายที่เกิดจากการละเมิดของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายส่วนนี้จากจำเลยได้
โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลย 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอเรียกค่าเสียหายเพิ่มในชั้นอุทธรณ์ 50,000 บาทเท่านั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์เพียง 50,000 บาท รวมค่าขึ้นศาลอนาคตด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 100,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนยื่นจดทะเบียน และความคล้ายคลึงจนสับสน
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังมิได้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
มาตรา 29 และ 35 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านไว้ด้วยแต่เมื่อไม่มีการคัดค้าน กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 35 และหาเป็นการตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว หากโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างประกอบด้วยตัวอักษรโรมันตัวเดียวกันคือ "K" และ "L" ซึ่งแม้จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะแตกต่างกัน แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองก็มีสำเนียงเรียกขานว่า "เคแอล" เช่นเดียวกัน ทั้งสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่างและมือจับที่ทำด้วยโลหะเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้
โจทก์จ้างสถาปนิกให้ออกแบบเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับซึ่งทำด้วยโลหะของโจทก์ตั้งแต่ปี 2526 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่โจทก์ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลโจทก์ยังได้จัดพิมพ์ใบโฆษณาขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่สินค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวแก่สาธารณชนมาก่อนจำเลยโดยเฉพาะสินค้าของโจทก์จะมีตัวอักษรโรมันว่า "KL" ติดอยู่ด้วยเมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันว่า "KL" ในสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะมาก่อนจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันดังกล่าวในสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะและสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังมิได้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
มาตรา 29 และ 35 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เป็นบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการคัดค้าน กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 35 และหาเป็นการตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว หากโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างประกอบด้วยตัวอักษรโรมันเดียวกันคือ "K" และ "L" ซึ่งแม้จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะแตกต่างกัน แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองก็มีสำเนียงเรียกขานว่า "เคแอล" เช่นเดียวกันทั้งสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชน
สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้
โจทก์จ้างสถาปนิกให้ออกแบบเครื่องหมายการค้า เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับซึ่งทำด้วยโลหะของโจทก์ตั้งแต่ปี 2526 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่โจทก์ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์ยังได้จัดพิมพ์ใบโฆษณาขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่สินค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวแก่สาธารณชนมาก่อนจำเลยโดยเฉพาะสินค้าของโจทก์จะมีตัวอักษรโรมันว่า "KL" ติดอยู่ด้วย เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันคำว่า "KL" ในสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะมาก่อนจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันดังกล่าวในสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะและสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7572/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับพยานโจทก์ร่วมหลังสืบพยานเดิม & เจตนาดูหมิ่นในคดีหมิ่นประมาท
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมภายหลังจากการสืบพยานโจทก์นัดแรกผ่านพ้นไปแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์ร่วม และอนุญาตให้โจทก์ร่วมนำพยานของตนเข้าสืบภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ศาลจึงใช้ดุลพินิจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมรับฟังพยานของโจทก์ร่วมได้
ปัญหาว่าการกระทำใดไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำต่อโจทก์ร่วมว่า "มึงเข้าไปในที่ของกูได้อย่างไร กูจะแจ้งข้อหาบุกรุกมึง มึงเป็นผู้ใหญ่บ้านได้อย่างไร ไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้หน้าที่ ไอ้หน้าโง่มึงต้องเจอกับกูแน่ที่ศาล" นั้น เห็นได้ว่าสรรพนามที่จำเลยใช้แทนตัวจำเลยและโจทก์ร่วมว่ากูและมึงนั้นเป็นเพียงถ้อยคำไม่สุภาพ ส่วนถ้อยคำในทำนองว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ใหญ่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ ไม่รู้กฎหมายและจะฟ้องร้องดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมนั้นเป็นเพียงถ้อยคำต่อว่าโจทก์ร่วมที่เข้าไปในที่ดินของ ม. พ่อตาจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาต และแสดงเจตนาที่จะดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมเท่านั้น ไม่ใช่ถ้อยคำที่ดูถูกเหยียดหยามโจทก์ร่วม แต่ที่จำเลยว่าโจทก์ร่วมว่าไอ้หน้าโง่นั้น ถ้อยคำดังกล่าวแสดงอยู่ในตัวถึงการหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ร่วม แม้จะเป็นการกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นโจทก์ร่วมในขณะที่จำเลยและโจทก์ร่วมทะเลาะกันก็ต้องถือว่าจำเลยกล่าวโดยมีเจตนาดูหมิ่นโจทก์ร่วม หาใช่ว่าการกล่าวในขณะทะเลาะกันจะถือว่าจำเลยมิได้มีเจตนาดูหมิ่นอันจักเป็นการขาดองค์ประกอบความผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์โดยมีและไม่มีอาวุธปืน การพิจารณาโทษตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และการพิจารณาบาดแผลของผู้เสียหาย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนเท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการชิงทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคนเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ล็อกคอผู้เสียหายไม่ได้มีหรือใช้อาวุธปืนด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองตระเตรียมการนำรถแท็กซี่มาใช้ประกอบอาชญากรรมชิงทรัพย์เพื่อให้พ้นจากการจับกุม การที่จำเลยทั้งสองชิงทรัพย์ผู้เสียหายแล้วหนีลงมาชั้นล่างแล้วขึ้นรถแท็กซี่หลบหนีไป จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นจากการจับกุม ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
การชิงทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดแผลที่คอ มีรอยถลอกทางยาว 3 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร และมีรอยขีดข่วน 2 รอย ขนาดเล็ก ๆบาดแผลถลอกเล็ก ๆ อีก 2 ถึง 3 แห่ง ที่หลังมือซ้าย ข้อมือซ้ายบวมแดงเป็นหย่อม ๆและมีบาดแผลถลอกที่ริมฝีปากบนทางด้านซ้าย แพทย์มีความเห็นว่าจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 7 วัน ดังนี้ บาดแผลของผู้เสียหายมีเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม คงมีความผิดตามมาตรา 339 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษชิงทรัพย์โดยมีอาวุธปืน: ผู้ร่วมกระทำที่ไม่ใช้อาวุธไม่ต้องรับโทษหนักขึ้น
ป.อ.มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนเท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการชิงทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้มีหรือใช้อาวุธปืนด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
of 80