พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7491/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อพิพาทสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและราคาซื้อขาย ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
ประเด็นเรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์จริง จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกขึ้นอุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะยกขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกา ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การนำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งตามสัญญาอีกฉบับหนึ่งนอกเหนือจากสัญญาขายที่ดิน ที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์จึงนำสืบได้
การนำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งตามสัญญาอีกฉบับหนึ่งนอกเหนือจากสัญญาขายที่ดิน ที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์จึงนำสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7005/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าที่มีรูปลักษณ์ทั่วไป เช่น นกอินทรี ต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวม ไม่สามารถสงวนรูปลักษณ์ทั่วไปไว้ได้
การพิจารณาเปรียบเทียบกรณีมีผู้นำรูปลักษณะของคนหรือสัตว์หรือสิ่งของชนิดเดียวกันมาเป็นเครื่องหมายการค้าว่าเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดนั้น จะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นโดยรวมด้วย เพราะรูปลักษณะของคนหรือสัตว์หรือสิ่งของชนิดเดียวกันนั้น ต่างย่อมมีรูปลักษณ์สามัญของมันเอง
รูปนกอินทรีที่ทั้งโจทก์และจำเลยนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า หากสาธารณชนที่เคยเห็นนกอินทรีมาก่อน เมื่อเห็นรูปนกในเครื่องหมายการค้าของทั้งโจทก์และจำเลยก็ย่อมบอกได้ว่าเป็นรูปนกอินทรี ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการเขียนระบุชื่อไว้เลย ดังนั้นจึงไม่มีผู้ใดที่จะสงวนรูปลักษณะทั่ว ๆ ไปของนกอินทรีเอาไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนผู้เดียวได้เว้นแต่รูปนกอินทรีนั้นจะมีรูปลักษณ์เฉพาะหรืออยู่ในอริยาบถเดียวกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งหมดเน้นรูปนกอินทรีโดดเด่นเป็นสำคัญ โดยกางปีกหันข้างไปด้านซ้ายเกาะอยู่บนโขดหิน เครื่องหมายการค้าของโจทก์บางแบบก็มีชื่อโจทก์ทั้งอักษรไทยและอักษรโรมันเขียนเป็นวงกลมกำกับไว้หรือเขียนอยู่ใต้โขดหินที่นกอินทรีเกาะแต่ส่วนมากจะไม่มีชื่อโจทก์กำกับไว้คงเป็นรูปนกอินทรีเกาะอยู่บนโขดหินเท่านั้น นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกแบบไม่มีคำว่า "นกอินทรี"กำกับไว้ด้วยเลยเช่นกัน เป็นเพียงเน้นรูปนกอินทรีเป็นสำคัญที่ผู้ใดเห็นรูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้วก็คงรู้ว่าเป็นรูปนกอินทรี ส่วนที่โจทก์ได้จดทะเบียนคำว่า "นกอินทรี" เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็เป็นคนละส่วนกันกับที่โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีดังกล่าว คำว่า "นกอินทรี" จึงไม่ใช่ส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีที่โจทก์ขอจดทะเบียนไว้แต่อย่างใดส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแม้จะเป็นรูปนกอินทรีเหมือนกับของโจทก์ โดยเป็นรูปนกอินทรีกางปีกลักษณะโผบินหันหน้าไปด้านขวาเล็กน้อย มีรูปสามเหลี่ยมสามชั้นโดยที่จั่วของสามเหลี่ยมมีจุดวงกลมเล็กๆล้อม6จุดประกอบอยู่ด้านหลังนกอินทรีและมีถ้อยคำภาษาไทยคำว่า "อินทรีแดง" อยู่ด้านใต้ด้วย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่อาศัยรูปนกอินทรีเป็นสาระสำคัญแล้วเห็นได้ชัดเจนว่าลักษณะท่าทางรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยนั้นแตกต่างกันมาก โดยรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นรูปร่างลักษณะท่าทางของนกอินทรีทุกสัดส่วนชัดเจนเป็นสง่า ส่วนรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเพียงวางลักษณะท่าทางของนกอินทรีเพื่อให้รู้ว่ากำลังจะโผบินเท่านั้นมิได้เน้นสัดส่วนให้ชัดเจนเด่นชัดเหมือนรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งหากไม่มีคำว่า "อินทรีแดง" กำกับไว้ด้วยแล้วอาจจะเดาไม่ออกด้วยซ้ำว่าเป็นนกอินทรีทั้งคำว่า "อินทรีแดง" ก็เป็นคำเฉพาะที่ประกอบในเครื่องหมายการค้าของจำเลย ซึ่งแตกต่างจากคำว่า "นกอินทรี" ที่เป็นคำสามัญใช้เรียกชื่อนกชนิดหนึ่งตามธรรมชาติ ดังนั้น โดยองค์รวมของเครื่องหมายการค้าของจำเลย วิญญูชนที่ได้เห็นหรือได้ยินเสียงเรียกขานย่อมเห็นและรู้ได้ว่าไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
รูปนกอินทรีที่ทั้งโจทก์และจำเลยนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า หากสาธารณชนที่เคยเห็นนกอินทรีมาก่อน เมื่อเห็นรูปนกในเครื่องหมายการค้าของทั้งโจทก์และจำเลยก็ย่อมบอกได้ว่าเป็นรูปนกอินทรี ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการเขียนระบุชื่อไว้เลย ดังนั้นจึงไม่มีผู้ใดที่จะสงวนรูปลักษณะทั่ว ๆ ไปของนกอินทรีเอาไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนผู้เดียวได้เว้นแต่รูปนกอินทรีนั้นจะมีรูปลักษณ์เฉพาะหรืออยู่ในอริยาบถเดียวกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งหมดเน้นรูปนกอินทรีโดดเด่นเป็นสำคัญ โดยกางปีกหันข้างไปด้านซ้ายเกาะอยู่บนโขดหิน เครื่องหมายการค้าของโจทก์บางแบบก็มีชื่อโจทก์ทั้งอักษรไทยและอักษรโรมันเขียนเป็นวงกลมกำกับไว้หรือเขียนอยู่ใต้โขดหินที่นกอินทรีเกาะแต่ส่วนมากจะไม่มีชื่อโจทก์กำกับไว้คงเป็นรูปนกอินทรีเกาะอยู่บนโขดหินเท่านั้น นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกแบบไม่มีคำว่า "นกอินทรี"กำกับไว้ด้วยเลยเช่นกัน เป็นเพียงเน้นรูปนกอินทรีเป็นสำคัญที่ผู้ใดเห็นรูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้วก็คงรู้ว่าเป็นรูปนกอินทรี ส่วนที่โจทก์ได้จดทะเบียนคำว่า "นกอินทรี" เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็เป็นคนละส่วนกันกับที่โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีดังกล่าว คำว่า "นกอินทรี" จึงไม่ใช่ส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีที่โจทก์ขอจดทะเบียนไว้แต่อย่างใดส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแม้จะเป็นรูปนกอินทรีเหมือนกับของโจทก์ โดยเป็นรูปนกอินทรีกางปีกลักษณะโผบินหันหน้าไปด้านขวาเล็กน้อย มีรูปสามเหลี่ยมสามชั้นโดยที่จั่วของสามเหลี่ยมมีจุดวงกลมเล็กๆล้อม6จุดประกอบอยู่ด้านหลังนกอินทรีและมีถ้อยคำภาษาไทยคำว่า "อินทรีแดง" อยู่ด้านใต้ด้วย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่อาศัยรูปนกอินทรีเป็นสาระสำคัญแล้วเห็นได้ชัดเจนว่าลักษณะท่าทางรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยนั้นแตกต่างกันมาก โดยรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นรูปร่างลักษณะท่าทางของนกอินทรีทุกสัดส่วนชัดเจนเป็นสง่า ส่วนรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเพียงวางลักษณะท่าทางของนกอินทรีเพื่อให้รู้ว่ากำลังจะโผบินเท่านั้นมิได้เน้นสัดส่วนให้ชัดเจนเด่นชัดเหมือนรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งหากไม่มีคำว่า "อินทรีแดง" กำกับไว้ด้วยแล้วอาจจะเดาไม่ออกด้วยซ้ำว่าเป็นนกอินทรีทั้งคำว่า "อินทรีแดง" ก็เป็นคำเฉพาะที่ประกอบในเครื่องหมายการค้าของจำเลย ซึ่งแตกต่างจากคำว่า "นกอินทรี" ที่เป็นคำสามัญใช้เรียกชื่อนกชนิดหนึ่งตามธรรมชาติ ดังนั้น โดยองค์รวมของเครื่องหมายการค้าของจำเลย วิญญูชนที่ได้เห็นหรือได้ยินเสียงเรียกขานย่อมเห็นและรู้ได้ว่าไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้ถูกต้องตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ.ผู้เสียหาย ที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าซอสหอยนางรมที่จำเลยผลิตขึ้นโดยติดเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา109, 110 และ ป.อ. มาตรา 90 แสดงว่า โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าการกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเดียวคือเจตนามีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ติดเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายอันเป็นความผิดกรรมเดียวกัน โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่างกรรมกันโดยจำเลยมีเจตนาต่างกันไม่ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันและให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยมาเป็น 2 กระทง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา195 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พ.ศ. 2539มาตรา 45 เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534มาตรา 109 และมาตรา 110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 109 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 ความผิดทั้งสองบทดังกล่าวมีระวางโทษเท่ากัน จึงให้ลงโทษจำเลยฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบุคคลอื่น ตามมาตรา 110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 109
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า ศาลฎีกาแก้ไขโทษปรับและยืนยันความผิดฐานมีสินค้าละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ. ผู้เสียหาย ที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าซอสหอยนางรมที่จำเลยผลิตขึ้นโดยติดเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายดังกล่าว ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 109,110 และ ป.อ. มาตรา 90 แสดงว่า โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าการกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเดียวคือเจตนามีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ติดเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายอันเป็นความผิดกรรมเดียวกันโจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่างกรรมกันโดยจำเลยมีเจตนาต่างกันไม่ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าการกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันและให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยมาเป็น 2 กระทง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ. 2539 มาตรา 45เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 109 และมาตรา 110(1)ประกอบด้วยมาตรา 109 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ความผิดทั้งสองบทดังกล่าวมีระวางโทษเท่ากันจึงให้ลงโทษจำเลยฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบุคคลอื่น ตามมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 109
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนของทางทะเล: การพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานสภาพสินค้าเสียหาย และความรับผิดของผู้ขนส่ง
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง คงบัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพ จำนวน น้ำหนักและรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งเป็นเพียงการสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น ดังนี้แม้ผู้รับตราส่งได้รับมอบสินค้าพิพาทไปเก็บรักษาไว้ที่โกดังของตนแล้ว ต่อมาจึงได้มอบหมายให้บริษัท อ. เป็นผู้ทำการสำรวจสภาพของสินค้าที่พิพาทโดยไม่ปรากฏว่าได้มีการส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ขนส่งทราบถึงความเสียหายภายในเวลาหนึ่งวันทำการก็ตาม ผู้รับตราส่งก็สามารถนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างให้เห็นแตกต่างไปจากข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานสภาพสินค้าตาม พ.ร.บ.รับขนของทางทะเล ผู้รับตราส่งพิสูจน์หักล้างได้
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 49วรรคหนึ่ง คงบัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพ จำนวนน้ำหนัก และรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งเป็นเพียงการสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น ดังนี้แม้ผู้รับตราส่งได้รับมอบสินค้าพิพาทไปเก็บรักษาไว้ที่โกดังของตนแล้ว ต่อมาจึงได้มอบหมายให้บริษัท อ.เป็นผู้ทำการสำรวจสภาพของสินค้าที่พิพาทโดยไม่ปรากฏว่าได้มีการส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ขนส่งทราบถึงความเสียหายภายในเวลาหนึ่งวันทำการก็ตาม ผู้รับตราส่งก็สามารถนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างให้เห็นแตกต่างไปจากข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: สันนิษฐานการส่งมอบสินค้าสภาพดี แต่โจทก์พิสูจน์ความเสียหายได้
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง เป็นเพียงบทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพ จำนวน น้ำหนัก และรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งให้แก่ผู้รับตราส่ง และเป็นการสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยในสินค้าพิพาทจึงยังสามารถนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างให้เห็นความแตกต่าง ไปจากข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแสดงให้เห็นได้ว่าผู้ขนส่งได้มอบสินค้าพิพาทซึ่งมีสภาพเสียหายจากการปนเปื้อนน้ำมะขามเปียกและมีจำนวนไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์ตามจำนวนที่โจทก์ได้ใช้แก่บริษัท อ. ผู้รับตราส่งก่อนหน้านี้ไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในมรดกยุติลงหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในการเป็นผู้จัดการมรดก
ณ. เคยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยคำสั่งศาลมาก่อน ต่อมาผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรผู้ตายฟ้องขอให้ศาลเพิกถอน ณ. จากการเป็นผู้จัดการมรดกแล้วถอนฟ้อง โดยตกลงกันให้ ณ. ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป ซึ่ง ณ. ยอมแบ่งเงินจากกองมรดกของผู้ตายจำนวน 180,000 บาท ให้แก่ผู้ร้อง และผู้ร้องไม่ติดใจเรียกร้องทรัพย์มรดกอื่นใดอีก ข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นการระงับข้อพิพาท ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ซึ่งทำให้การเรียกร้องของแต่ละฝ่ายที่ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ 852 ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายอีก จึงมาร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6648/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า แม้มีสิทธิใช้เครื่องหมายเดิม แต่เจตนาทำให้หลงเชื่อถือเป็นเครื่องหมายผู้เสียหาย ถือเป็นความผิด
แม้จำเลยที่ 2 จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปรวงข้าวอยู่ในวงกลมสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องจักร กับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปรวงข้าวอยู่ในวงกลมและมีภาษาไทยคำว่า "ตรารวงข้าว" อยู่ใต้รูปสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และยังคงจดทะเบียนอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าข้างต้นต่อไปตามมาตรา 117 ก็ตาม แต่การที่จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้ารูปรวงข้าวในวงกลมและคำว่า "InterNationalGroup" กับสินค้าจำพวกเครื่องไฟฟ้าโดยไม่มีคำว่า "ตรารวงข้าว" กำกับ ทั้งยังเน้นคำว่า "National" ซึ่งไม่ใช่เครื่องหมายการค้าของตนให้ใหญ่เป็นพิเศษยิ่งกว่าคำอื่น ย่อมแสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองยังคงมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตรารวงข้าวที่จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมายเดิมต่อไปหรือไม่จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสองเสียเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมแต่อย่างใด เพราะข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเป็นคนละเรื่องกับการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "National" ของผู้เสียหาย ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จำเลยคงมีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6631/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนและตัวการต่างประเทศในการขนส่งทางทะเล และการประเมินค่าเสียหายจากสินค้าที่ส่งมอบล่าช้า
ป.พ.พ. มาตรา 824พ.ร.บ. การขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 41(2), 48, 52(13),
58, 60
58, 60