พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4449/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องฐานจัดให้มีการเล่นการพนัน และขอบเขตการพิพากษาเกินคำขอ
แม้ในบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จะบรรยายถึงฐานความผิดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นเจ้าบ้านฯ อันเป็นการใช้คำอย่างย่อโดยละข้อความที่จะตามมาเสีย แต่ในเอกสารฉบับเดียวกันนั่นเองเมื่อกล่าวถึงฐานความผิดของจำเลยที่ 1 ก็บรรยายโดยใช้คำเต็มว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าบ้านจัดให้มีการเล่นและเมื่อศาลชั้นต้นได้บันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 19 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าสำนักผู้จัดให้มีการเล่นเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน จึงย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 นั่นเองคำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันจึงมิใช่เป็นเรื่องพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวมาในฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังมิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ไม่ร้ายแรงนัก จึงมีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 และคุมความประพฤติไว้ กรณีเช่นว่านี้เป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2โดยรอการลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนัน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันอีกฐานหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้พิพากษาแก้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังมิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ไม่ร้ายแรงนัก จึงมีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 และคุมความประพฤติไว้ กรณีเช่นว่านี้เป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2โดยรอการลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนัน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันอีกฐานหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้พิพากษาแก้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4283/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน - การผ่อนเวลาชำระหนี้ - อำนาจฟ้อง - ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบ
จำเลยได้นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำนวน 2 แปลง มาเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันชำระหนี้แทน ศ. เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าผูกพันตนต่อโจทก์ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อ ศ. ไม่ชำระหนี้อันมีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันครบถ้วนตามมาตรา 680 วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันตามเอกสารดังกล่าวในฐานะผู้ค้ำประกัน และแม้จำเลยจะมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ยึดถือไว้ด้วย ก็หาทำให้ผลของสัญญาค้ำประกันนั้นเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อจำเลยหาหลักประกันมาให้โจทก์ได้ โจทก์ก็อาจไม่ดำเนินคดีอาญาแก่ ศ. ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คได้หาใช่เป็นการอุปการะให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นอันจะทำให้สัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงไม่เป็นโมฆะ
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ ศ. ตามคำพิพากษาอยู่แล้ว การที่โจทก์ยอมรับเครื่องทองรูปพรรณและเครื่องเพชรไว้โดยที่ยังไม่ดำเนินการบังคับคดีแก่ ศ. ยังไม่ถือเป็นการผ่อนเวลาชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม อันจะทำให้จำเลยซึ่งเข้าค้ำประกันหนี้ดังกล่าวหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะโจทก์จะดำเนินการบังคับคดีแก่ ศ. เมื่อใดก็ได้
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อจำเลยหาหลักประกันมาให้โจทก์ได้ โจทก์ก็อาจไม่ดำเนินคดีอาญาแก่ ศ. ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คได้หาใช่เป็นการอุปการะให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นอันจะทำให้สัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงไม่เป็นโมฆะ
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ ศ. ตามคำพิพากษาอยู่แล้ว การที่โจทก์ยอมรับเครื่องทองรูปพรรณและเครื่องเพชรไว้โดยที่ยังไม่ดำเนินการบังคับคดีแก่ ศ. ยังไม่ถือเป็นการผ่อนเวลาชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม อันจะทำให้จำเลยซึ่งเข้าค้ำประกันหนี้ดังกล่าวหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะโจทก์จะดำเนินการบังคับคดีแก่ ศ. เมื่อใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3949/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ชำระเงินครบถ้วนแต่ไม่ตรงตามกำหนดและสถานที่ ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้
++ เรื่อง ซื้อขาย (ชั้นบังคับคดี)
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 159 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 159 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3949/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ ผิดนัดชำระหนี้ตามกำหนด บังคับคดีได้ แม้ชำระเงินครบถ้วน
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล โดยจำเลยที่ 1 ตกลงผ่อนชำระเป็นงวด หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใด บังคับคดีได้ทันที กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระให้ทนายโจทก์ที่สำนักงาน งวดแรกชำระในวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยที่ 1 กลับชำระในวันที่ 30 พฤษภาคม 2540โดยโอนเงินเข้าบัญชีของโจทก์ผ่านทางธนาคารครบถ้วนตามข้อตกลง แม้จะชำระเงินครบถ้วนดังกล่าว ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะชำระหนี้ล่วงเลยกำหนด ทั้งชำระผิดสถานที่ที่ระบุไว้อันเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 เอง การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย แม้ว่าจำนวนหนี้ตามหมายบังคับคดีมากกว่าความเป็นจริงเนื่องจากมีการชำระหนี้ไปบ้างแล้วศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องไม่เป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะขอยกเลิกหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3899/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับของผิดกฎหมาย และการแยกความผิดเป็นหลายกรรมต่างกัน
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับ เลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ และความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำเพียงกรรมเดียว หรือหลายกรรมต่างกัน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วใน ศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ โจทก์ระบุในฟ้องแล้วว่า จำเลยได้บังอาจซื้อ รับจำนำ หรือ รับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลาง และได้ช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้นซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ ดังกล่าว โดยจำเลย รู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นได้ลักลอบนำหนีศุลกากรเข้ามา ในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ทั้งนี้ โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และคำขอท้ายฟ้อง โจทก์อ้าง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ และ พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 เช่นนี้ นับว่าเพียงพอที่จะฟังได้ว่าเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางเป็นของต้องห้าม ต้องกำ กัดตามกฎหมายในการนำเข้าและต้องชำระภาษี โจทก์หาจำต้องระบุว่าเป็นของต้องห้ามต้องกำ กัดตามประกาศ ของกระทรวงใดอีกไม่ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางสมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และ (6) แล้ว การพิจารณาว่า การกระทำเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงว่า ถ้าเป็นการกระทำความผิดหลายฐานในครั้งเดียวคราวเดียวแล้วจะต้องเป็นกรรมเดียวเสมอไป การกระทำความผิดหลายฐานในครั้งเดียวคราวเดียวอาจเป็นหลายกรรมต่างกันได้ หากผู้กระทำมีเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกันหรือประสงค์จะให้เกิดผลเป็นความผิดหลายฐาน การที่ตามวันเวลาเกิดเหตุซึ่งเจ้าพนักงานจับจำเลยพร้อมยึดของกลางในคดีในข้อหาความผิด ทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แปรรูปไม้ มีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครอง เกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายและซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาใน ราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร กรณีมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุบันดาลโทสะต้องเกิดจากการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง การผัดชำระหนี้ค่าจ้างไม่ถือเป็นการข่มเหง
พฤติการณ์ที่จำเลยมาทวงเงินค่าจ้างที่ค้างจากผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างแล้วถูกผัดชำระอยู่หลายครั้ง โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้กระทำการอื่นใดต่อจำเลยอีก เพียงเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยจะอ้างเหตุบันดาลโทสะเป็นประโยชน์แก่คดีของตนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การซื้อขายที่ดินโดยใช้ชื่อผู้อื่นเพื่อเหตุผลทางศาสนา ไม่ถือเป็นทรัพย์มรดก
แม้ ป. บิดาโจทก์จะมีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่พิพาทอันสันนิษฐานไว้ก่อนว่าป. ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ก็ตามแต่ทางนำสืบของโจทก์เป็นเรื่องเลื่อนลอยไม่น่าเชื่อ ส่วนพยานหลักฐานจำเลยมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยซื้อมาแล้วให้ ป. เป็นผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิดังกล่าวด้วยเหตุผลทางศาสนาอิสลามการที่จำเลยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่า ที่พิพาทเป็นมรดกของ ป. เป็นเพียงต้องการให้ที่พิพาทซึ่งเป็นของจำเลยกลับโอนมาเป็นของจำเลยตามที่มีผู้แนะนำให้ดำเนินการเท่านั้น ไม่อาจฟังว่าที่พิพาทเป็นมรดกของ ป. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์ของ ป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การซื้อขายและการครอบครองโดยชอบธรรมมีน้ำหนักกว่าชื่อในเอกสารสิทธิ
แม้ ป.บิดาโจทก์จะมีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ที่พิพาทอันสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ป.ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1373 ก็ตาม แต่ตามทางนำสืบของโจทก์เป็นเรื่องเลื่อนลอยไม่น่าเชื่อ ส่วนพยานหลักฐานจำเลยมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยซื้อมาแล้วให้ ป. เป็นผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิดังกล่าวด้วยเหตุผลทางศาสนาอิสลาม การที่จำเลยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่า ที่พิพาทเป็นมรดกของ ป. เป็นเพียงต้องการให้ที่พิพาทซึ่งเป็นของจำเลยกลับโอนมาเป็นของจำเลยตามที่มีผู้แนะนำให้ดำเนินการเท่านั้น ไม่อาจฟังว่าที่พิพาทเป็นมรดกของ ป. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์ของ ป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายและการมีอำนาจฟ้องของโจทก์
++ เรื่อง เครื่องหมายการค้า
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 126 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 126 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า การใช้เสียงเรียกขานเป็นสาระสำคัญ และอำนาจฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์ใช้ชื่อและชื่อสกุลโจทก์มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นลักษณะบ่งเฉพาะที่ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทยหรือไม่มีความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดาได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 มาตรา 7(1)โดยโจทก์โฆษณาสินค้าของโจทก์โดยใช้คำว่า RYKIEL เป็นเครื่องหมายการค้าจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้กันแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศคำว่าRYKELจึงเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ขอจดทะเบียนไว้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเอาเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ขอจดทะเบียนคำว่า RYKELซึ่งเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าทั้งชุดว่า RYKELHOMMEBIS ขึ้นเปรียบเทียบกับคำว่า RYKIELที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งชุดว่า SONIARYKIEL ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วว่าคล้ายหรือเหมือนกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดสินค้าจึงเป็นการชอบแล้ว ซึ่งเมื่อพิจารณาถ้อยคำว่า RYKIEL และ RYKELแล้วจะเห็นได้ว่าลักษณะตัวอักษรที่ใช้และการเรียงตัวเหมือนกันคงแตกต่างกันที่จำนวนตัวอักษรและคำทั้งสองยังมีสำเนียงการอ่านหรือเสียงเรียกขานเป็นอย่างเดียวกันว่า "ไรเคิ้ล" หรือ"ไรเคล"เมื่อเสียงเรียกขานส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของจำเลยพ้องกับเสียงเรียกขานส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมก่อให้สาธารณชนที่เลือกซื้อสินค้าซึ่งจะรับฟังเสียงเรียกขานเป็นสำคัญเกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดสินค้าได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6(3),8(11) และ 13ของผู้ยื่นคำขอ รวมทั้ง นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534เป็นผู้ใช้ดุลพินิจว่าจะรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยคำขอของบุคคลอื่นที่ยื่นเข้ามาเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนการค้านั้นๆนายทะเบียนฯจึงเป็นผู้มีอำนาจโดยตรงเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และเป็นผู้ที่โต้แย้งสิทธิของผู้เสียประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือผู้คัดค้านโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องนายทะเบียนฯ ห้ามรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ขอจดทะเบียนได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 38 วรรคสอง