พบผลลัพธ์ทั้งหมด 800 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายและการฎีกาที่ไม่ชอบ
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่ากระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องและจำเลยขอคืนค่าปรับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนค่าปรับแก่จำเลย กรณีจึงเป็นเรื่องผู้เสียหายใช้อำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 โดยพนักงานอัยการมิได้เป็นคู่ความในคดีด้วย ทั้งกรณีไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติพนักงานอัยการพ.ศ. 2498 มาตรา 11 ที่จะให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีนี้ได้พนักงานอัยการจึงไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ และไม่มีสิทธิฎีกาปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายและการไม่มีสิทธิฎีกาของพนักงานอัยการในคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์
ผู้เสียหายฟ้องจำเลยในคดีความผิดต่อส่วนตัว ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยซึ่งจำเลยชำระค่าปรับแล้ว แต่จำเลยฎีการะหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ขอถอนฟ้องศาลฎีกาอนุญาตต่อมาจำเลยขอคืนค่าปรับ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้คืนค่าปรับพนักงานอัยการซึ่งมิได้เป็นคู่ความไม่มีสิทธิฎีกา เนื่องจากกรณี ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 ที่จะให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีนี้ได้ ปัญหา ดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็คส่วนบุคคล: ผู้เสียหายฟ้องเอง พนักงานอัยการไม่มีอำนาจ
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องและจำเลยขอคืนค่าปรับศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนค่าปรับแก่จำเลย กรณีจึงเป็นเรื่องผู้เสียหายใช้อำนาจฟ้องคดีต่อศาล ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 28 โดยพนักงานอัยการมิได้เป็นคู่ความในคดีด้วย ทั้งกรณีไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.พนักงานอัยการพ.ศ.2498 มาตรา 11 ที่จะให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ดังนั้น พนักงานอัยการจึงไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ และไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์ (ปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง) ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานได้
ปัญหาว่าสัญญากู้เงินฉบับพิพาทไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนและขีดฆ่า จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญากู้เงินที่ยังไม่กรอกข้อความให้โจทก์ไว้เพื่อประกันหนี้ค่าหวยเถื่อนที่จำเลยซื้อจากโจทก์ สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยต่อสู้คดีว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างตามคำฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปจริง
เมื่อโจทก์ต้องอาศัยเอกสารสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน ซึ่งสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างมีลักษณะเป็นตราสารต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินกู้ยืม ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร โดยที่ยอดเงินกู้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีจำนวน 200,000 บาทจึงต้องปิดอากรแสตมป์ 100 บาท แต่ในสัญญาปรากฏว่าปิดอากรแสตมป์เพียง 50 บาทถือว่าสัญญากู้เงินนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนี้โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญากู้เงินที่ยังไม่กรอกข้อความให้โจทก์ไว้เพื่อประกันหนี้ค่าหวยเถื่อนที่จำเลยซื้อจากโจทก์ สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยต่อสู้คดีว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างตามคำฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปจริง
เมื่อโจทก์ต้องอาศัยเอกสารสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน ซึ่งสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างมีลักษณะเป็นตราสารต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินกู้ยืม ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร โดยที่ยอดเงินกู้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีจำนวน 200,000 บาทจึงต้องปิดอากรแสตมป์ 100 บาท แต่ในสัญญาปรากฏว่าปิดอากรแสตมป์เพียง 50 บาทถือว่าสัญญากู้เงินนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนี้โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งไม่ได้ ทำให้ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
ปัญหาว่าสัญญากู้เงินฉบับพิพาทไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนและขีดฆ่า จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การก็ตาม โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยจำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญากู้เงินที่ยังไม่กรอกข้อความให้โจทก์ไว้เพื่อประกันหนี้ค่าหวยเถื่อน ที่จำเลยซื้อจากโจทก์ สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยต่อสู้ คดีว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่ ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างตามคำฟ้องว่าจำเลยกู้เงิน จากโจทก์ไปจริง สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งดังนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่ติดอากรแสตมป์ครบถ้วนใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้
ปัญหาว่าสัญญากู้เงินฉบับพิพาทไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนและขีดฆ่า จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อ ในช่องผู้กู้ในสัญญากู้เงินที่ยังไม่กรอกข้อความให้โจทก์ไว้เพื่อ ประกันหนี้ค่าหวยเถื่อน ที่จำเลยซื้อจากโจทก์ สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยต่อสู้คดีว่าจำเลย ไม่ได้กู้เงินจากโจทก์โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็น ตามข้ออ้างตามคำฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปจริง เมื่อโจทก์ต้องอาศัยเอกสารสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน ซึ่งสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างมีลักษณะเป็นตราสารต้องปิดอากรแสตมป์1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินกู้ยืม ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ประมวลรัษฎากรโดยที่ยอดเงินกู้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีจำนวน 200,000 บาท จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 100 บาท แต่ในสัญญาปรากฏว่า ปิดอากรแสตมป์เพียง 50 บาทถือว่าสัญญากู้เงินนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งดังนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างช่างฝีมือ: การสะดุดหยุด และการรับสภาพหนี้ ทำให้ระยะเวลาเริ่มนับใหม่
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ตกแต่ง จัดทำและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคาร โจทก์ทำงานเสร็จและส่งมอบแล้ว แต่มีงานที่ต้องซ่อมแซมอีกเล็กน้อย ส่วนจำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างเกือบครบแล้ว โดยตกลงกันให้ชำระเงินที่ค้าง เมื่อโจทก์ซ่อมแซมงานดังกล่าวเสร็จ กรณีจึงเข้าลักษณะโจทก์ผู้เป็นช่างฝีมือเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำจากจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้าง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
จำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายบางส่วนให้แก่โจทก์วันที่ 3 พฤษภาคม 2534 ฉะนั้น ต้องเริ่มนับอายุความ ตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วน อายุความย่อม สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) การนับระยะเวลาจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2534 และครบ 2 ปี ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2536 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 23 กันยายน 2537 คดีจึงขาดอายุความ แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2536 อันเป็นระยะเวลาก่อนโจทก์ฟ้องซึ่งคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 มีหนังสือทักท้วงโจทก์ว่า ยอดหนี้รายพิพาทที่โจทก์ทวงถามมานั้นไม่ถูกต้อง อีกทั้งเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2537 จำเลยที่ 1 ยังมีหนังสือแจ้งขอให้โจทก์ลดเงินที่ค้างลงอีก 30,000 บาท และขอให้โจทก์ไปซ่อมแซมงานในส่วนที่ค้างอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ายังเป็นหนี้โจทก์อยู่ อันเป็นการรับสภาพความรับผิดซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 ดั้งนั้น เมื่อนับจากวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวถึงวันฟ้อง ไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยัง ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายบางส่วนให้แก่โจทก์วันที่ 3 พฤษภาคม 2534 ฉะนั้น ต้องเริ่มนับอายุความ ตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วน อายุความย่อม สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) การนับระยะเวลาจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2534 และครบ 2 ปี ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2536 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 23 กันยายน 2537 คดีจึงขาดอายุความ แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2536 อันเป็นระยะเวลาก่อนโจทก์ฟ้องซึ่งคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 มีหนังสือทักท้วงโจทก์ว่า ยอดหนี้รายพิพาทที่โจทก์ทวงถามมานั้นไม่ถูกต้อง อีกทั้งเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2537 จำเลยที่ 1 ยังมีหนังสือแจ้งขอให้โจทก์ลดเงินที่ค้างลงอีก 30,000 บาท และขอให้โจทก์ไปซ่อมแซมงานในส่วนที่ค้างอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ายังเป็นหนี้โจทก์อยู่ อันเป็นการรับสภาพความรับผิดซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 ดั้งนั้น เมื่อนับจากวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวถึงวันฟ้อง ไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยัง ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2377/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของผู้ประกอบกิจการท่าเรือนอกเหนือจากฐานะผู้ขนส่ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ยกฟ้องฐานความรับผิดนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าสุราที่โจทก์รับประกันภัยทอดสุดท้ายจากท่าเรือสิงคโปร์ถึงท่าเรือของจำเลยที่ 2 ในประเทศไทย และระหว่างที่สินค้าสุรา อยู่ที่ลานพักสินค้าซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ปรากฏว่าสินค้าสุราดังกล่าวได้รับความเสียหาย อันเป็นการ ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ขนส่งทางทะเลจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2ไม่ได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าสุราพิพาท แต่จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการท่าเรือ ความเสียหายมิได้เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 2ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย และต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งทอดสุดท้ายเพียงแต่จำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจท่าเรืออย่างเดียว จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิดในการที่สินค้าเสียหาย อันเนื่องมาจากการขนส่งไม่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการท่าเรือ มีหน้าที่บำรุงรักษารวมทั้งจัดสถานที่ และอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานเพื่อบริการแก่ผู้ใช้ท่าเรือ ของจำเลยที่ 2 การที่น้ำท่วมลานพักสินค้าของจำเลยที่ 2 เพราะฝนตกหนักไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ต่อโจทก์ โดยโจทก์มิได้กล่าวบรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 2ต้องรับผิดในฐานะผู้ประกอบกิจการท่าเรือแล้วไม่ดูแลรักษาสินค้าจนทำให้สินค้าต้องเสียหายไว้แต่อย่างใด จึงเป็นการ วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 รับผิดนอกฟ้องนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2363/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับฟ้องแย้งในคดีทรัสต์รีซีทและเลตเตอร์ออฟเครดิต เหตุฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
++ เรื่อง เลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท (ชั้นไม่รับคำคู่ความ)
++ จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 73 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 73 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในชื่อการค้าและเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองชื่อที่ใช้ก่อนและป้องกันการใช้ในธุรกิจที่คล้ายคลึง
โจทก์ประกอบกิจการโรงแรมโดยใช้ชื่อทางการค้าและใช้เครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า "Comfort Inn" จนมีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2524 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะดำเนินธุรกิจให้เช่าห้องพักในรูปแบบเกสต์เฮาส์โดยใช้ชื่อว่า "Comfort Inn" และใช้ชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ว่า "Comfort Inn Co,. LTD." ถึง 5 ปี และก่อนที่จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ (รูปสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยด้านล่างวงกลมมีข้อความ "Comfort Inn Co,. LTD.") เพื่อใช้กับบริการให้เช่าห้องพักและโรงแรมถึง 11 ปี เมื่อโจทก์ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" เป็นชื่อกิจการโรงแรมของโจทก์ เป็นเครื่องหมายบริการสำหรับธุรกิจโรงแรมของโจทก์ และเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องเขียน เช่น กระดาษ แผ่นการ์ด ซองจดหมาย และสิ่งพิมพ์โฆษณากิจการโรงแรมของโจทก์มาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะใช้คำว่า "Comfort Inn" เป็นชื่อกิจการเกสต์เฮาส์ให้เช่าห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกิจการที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับกิจการโรงแรมของโจทก์ ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำดังกล่าวมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องเขียน กระดาษ ซองจดหมาย และสิ่งพิมพ์โฆษณาต่าง ๆ ที่ใช้ในกิจการเกสต์เฮาส์ของจำเลยที่ 1 และก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำว่า "Comfort Inn" มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการ (รูปสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยด้านล่างวงกลมมีข้อความ "Comfort Inn Co,. LTD.") หลายปี โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้าและที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" ดีกว่าจำเลยทั้งสาม
โจทก์ได้ประกอบกิจการโรงแรมโดยใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ และเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" จนมีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลกมาก่อน เมื่อจำเลยทั้งสามได้ทราบถึงกิจการโรงแรมของโจทก์ที่ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" แล้วนำคำดังกล่าวมาใช้กับกิจการเกสต์เฮาส์ของจำเลยทั้งสาม การที่จำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn " เป็นชื่อธุรกิจเกสต์เฮาส์เพื่อให้เช่าห้องพัก และใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "Comfort Inn Co., LTD." กับใช้ชื่อทางการค้าที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" กับสินค้ากระดาษ ซองจดหมาย ใบสั่งซักรีดเสื้อผ้า กระดาษห่อสบู่ ใบสั่งจองห้องพัก ใบเสร็จรับเงิน และแผ่นพับโฆษณาธุรกิจเกสต์เฮาส์เพื่อให้เช่าห้องพักของจำเลยทั้งสาม และใช้คำว่า "COMFORT INN โรงแรมคอมฟอร์ต อินน์" พิมพ์ไว้ที่ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่แก้วน้ำในห้องพัก ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าเดียวกันกับชื่อทางการค้าของโจทก์และใช้กับกิจการโรงแรมหรือเกสต์เฮาส์ที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับกิจการของโจทก์ ย่อมทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่ากิจการบริการของจำเลยทั้งสามเป็นกิจการบริการของโจทก์ อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องขาดรายได้จากลูกค้าโรงแรมของโจทก์ในประเทศไทยซึ่งสับสนหลงผิดไปใช้บริการของจำเลยทั้งสามได้ เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" โจทก์จึงมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติมาตรา 18 แห่ง ป.พ.พ.
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" สำหรับธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยดีกว่าจำเลยทั้งสาม ห้ามจำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ของโจทก์ในการประกอบธุรกิจโรงแรมของจำเลยทั้งสามในประเทศไทย และห้ามจำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกกระดาษ การ์ด สิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์โฆษณา ภาพพิมพ์ รูปภาพ และรูปถ่ายเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" ดีกว่าจำเลยทั้งสาม และห้ามจำเลยทั้งสามใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
โจทก์ได้ประกอบกิจการโรงแรมโดยใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ และเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" จนมีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลกมาก่อน เมื่อจำเลยทั้งสามได้ทราบถึงกิจการโรงแรมของโจทก์ที่ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" แล้วนำคำดังกล่าวมาใช้กับกิจการเกสต์เฮาส์ของจำเลยทั้งสาม การที่จำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn " เป็นชื่อธุรกิจเกสต์เฮาส์เพื่อให้เช่าห้องพัก และใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "Comfort Inn Co., LTD." กับใช้ชื่อทางการค้าที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" กับสินค้ากระดาษ ซองจดหมาย ใบสั่งซักรีดเสื้อผ้า กระดาษห่อสบู่ ใบสั่งจองห้องพัก ใบเสร็จรับเงิน และแผ่นพับโฆษณาธุรกิจเกสต์เฮาส์เพื่อให้เช่าห้องพักของจำเลยทั้งสาม และใช้คำว่า "COMFORT INN โรงแรมคอมฟอร์ต อินน์" พิมพ์ไว้ที่ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่แก้วน้ำในห้องพัก ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าเดียวกันกับชื่อทางการค้าของโจทก์และใช้กับกิจการโรงแรมหรือเกสต์เฮาส์ที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับกิจการของโจทก์ ย่อมทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่ากิจการบริการของจำเลยทั้งสามเป็นกิจการบริการของโจทก์ อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องขาดรายได้จากลูกค้าโรงแรมของโจทก์ในประเทศไทยซึ่งสับสนหลงผิดไปใช้บริการของจำเลยทั้งสามได้ เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" โจทก์จึงมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติมาตรา 18 แห่ง ป.พ.พ.
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" สำหรับธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยดีกว่าจำเลยทั้งสาม ห้ามจำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ของโจทก์ในการประกอบธุรกิจโรงแรมของจำเลยทั้งสามในประเทศไทย และห้ามจำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกกระดาษ การ์ด สิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์โฆษณา ภาพพิมพ์ รูปภาพ และรูปถ่ายเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" ดีกว่าจำเลยทั้งสาม และห้ามจำเลยทั้งสามใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง