คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 32

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3476/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยค่าชดเชยและค่าจ้างกรณีเลิกจ้าง: ศาลฎีกาตัดสินดอกเบี้ยตามประเภทหนี้และวันผิดนัด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดกรณีค่าชดเชยและเงินบำเหน็จสะสมหรือบำเหน็จพิเศษไว้เป็นพิเศษ ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ค่าชดเชยเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ในทันทีที่มีการเลิกจ้าง จึงถือว่าจำเลยผิดนัดจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป
ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินบำเหน็จสะสมหรือบำเหน็จพิเศษ ไม่มีกฎหมายบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ ในทันทีนับแต่วันเลิกจ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลย ชำระหนี้ดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้นับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับค่าทำงานในวันหยุดและดอกเบี้ย กรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยนายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทราบล่วงหน้าซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ได้หยุดงานในวันดังกล่าวส่วนวันหยุดประจำสัปดาห์จำเลยมิได้ปฏิเสธไว้ต้องถือว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์โจทก์จึงมิต้องนำสืบในข้อนี้อีกจำเลยจึงต้องจ่ายเงินสำหรับวันหยุดทั้ง3ประเภทดังกล่าวแก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานหมวด4ข้อ31วรรคแรกถ้านายจ้างผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละ15ต่อปีแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ลูกจ้างต้องทวงถามเสียก่อนจึงจะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยซึ่งมีความหมายว่านายจ้างจะต้องจ่ายดอกเบี้ยทันทีที่ผิดนัดก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยผิดนัดในเรื่องดอกเบี้ยของแต่ละรายการตั้งแต่เมื่อใดและอย่างไรทั้งยังเบิกความว่าขอเรียกดอกเบี้ยนับจากวันฟ้องเป็นต้นไปที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดไม่ถือเป็นค่าทำงานวันหยุด หากจำเลยไม่ได้สั่งให้ทำงานในวันหยุด
การที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์ตามจำนวนวันที่ออกไปปฏิบัติงานที่ต่างจังหวัดเป็นการให้เงินตอบแทนการทำงานในช่วงเวลาที่ทำงานในต่างจังหวัดไม่ว่าจะเป็นวันทำงานปกติหรือวันหยุดประจำสัปดาห์มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือนและจำเลยก็มิได้มีคำสั่งหรือระบุเจาะจงว่าโจทก์จะต้องทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์แต่เป็นดุลพินิจของโจทก์ที่จะเลือกปฏิบัติงานในวันใดเวลาใดก็ได้ในระหว่างช่วงเวลาน้นจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันหยุดโจทก์ไม่มีสิทธิได้ค่าทำงานในวันหยุดในช่วงเวลาดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดไม่ถือเป็นค่าทำงานวันหยุด หากจำเลยไม่ได้สั่งให้ทำงานในวันหยุด
การที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์ตามจำนวนวันที่ออกไป ปฏิบัติงานที่ต่างจังหวัด เป็นการให้เงินตอบแทนการทำงานในช่วงเวลา ที่ทำงานในต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นวันทำงานปกติหรือวันหยุดประจำสัปดาห์ มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน และจำเลยก็มิได้มีคำสั่งหรือระบุเจาะจงว่า โจทก์จะต้องทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ แต่เป็นดุลพินิจของโจทก์ที่จะเลือกปฏิบัติงานในวันใดเวลาใดก็ได้ในระหว่างช่วงเวลานั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันหยุด โจทก์ไม่มีสิทธิได้ ค่าทำงานในวันหยุดในช่วงเวลาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างวันหยุดต่างรายกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวอ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม และมีคำขอเรียกเงินจากโจทก์หลายรายการที่เกี่ยวเนื่อง หรือเป็นผลที่เกิดจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมโดยมิได้มีคำขอเรียก ค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีด้วย คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย เป็นคดีนี้เรียกค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตาม ประเพณีได้ เพราะค่าจ้างทั้งสองประเภทนี้ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างค้างจ่าย ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย แม้โจทก์จำเลยจะยังมีสภาพจ้างกันอยู่ ก็ตามจึงเป็นสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ต่างรายกับมูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้อง เกี่ยวกับการเลิกจ้าง แม้โจทก์ได้เคยร้องขอเพิ่มเติมฟ้องในคดีก่อนและ ศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องแต่ในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ในคดีก่อนนั้นโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไว้ด้วยคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นอันยุติในชั้นศาลแรงงานกลางแล้วหาใช่อยู่ในระหว่างพิจารณา ของศาลฎีกาไม่คำฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงมิใช่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดพักผ่อนประจำปีต้องจ่ายค่าจ้าง การยินยอมของสหภาพแรงงานต้องเป็นประโยชน์ต่อสมาชิก การไม่คัดค้านไม่ถือเป็นความยินยอม
แม้การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีจะเป็นสิทธิของนายจ้างที่ จะเป็นผู้กำหนดก็ตาม แต่การหยุดนั้นนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้เท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ดังนั้น การที่นายจ้างประกาศหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างที่ยังไม่มีสิทธิหยุดกับลูกจ้างที่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไปแล้วให้ได้หยุดโดยไม่ได้รับค่าจ้างจึงไม่ชอบ
การที่สหภาพแรงงานยินยอมให้นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีได้โดยนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นประโยชน์แก่สมาชิกสหภาพแรงงานแต่อย่างใด การกระทำของสหภาพจึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น แม้ลูกจ้างจะไม่คัดค้านประกาศ และการประชุมชี้แจงของนายจ้างก็ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าลูกจ้างยินยอมที่จะไม่รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินเพิ่มจูงใจไม่ใช่ค่าจ้าง ไม่นำมารวมคำนวณค่าจ้างในวันหยุด
เงินเพิ่มจูงใจเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้เป็นกำลังใจในการทำงาน เป็นเงินรางวัลตอบแทนความดีของลูกจ้าง ไม่มีลักษณะเป็นค่าจ้าง จึงไม่อาจนำมารวมกับเงินค่าจ้างและค่าครองชีพเพื่อเฉลี่ยเป็นค่าจ้างให้โจทก์ในวันหยุดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน การจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน และความรับผิดของนายจ้าง
จำเลยจ้างให้โจทก์ทำงานจนกว่าจำเลยจะหาคนทำงานแทนโจทก์ได้ เป็นเวลากว่า 3 ปี จำเลยจึงหาคนมาทำงานแทนโจทก์ได้ จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ ดังนี้ โจทก์มิได้ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่จำเลยและจำเลยจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นหากแต่เป็นเรื่องโจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างในหน้าที่ซึ่งจำเลยมอบให้ และจำเลยตกลงจะให้สินจ้างเป็นรายเดือนตลอดเวลาที่โจทก์ทำงานให้ ลักษณะของสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงเป็นสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่สัญญาจ้างทำของไม่
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 45 ประกอบด้วยข้อ 10 และข้อ 32 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน และนายจ้างกับลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำ โดยลูกจ้างไม่มีความผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน แม้ตามสภาพของงานโจทก์ต้องไปทำงานให้จำเลยสัปดาห์ละเพียง 2 หรือ3 วัน ก็ไม่มีกฎหมายหรือประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดข้อยกเว้นไว้ว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีกและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กำหนดล่วงหน้าให้วันใดในแต่ละสัปดาห์เป็นวันทำงานซึ่งโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อน ฉะนั้น จึงจะถือว่านอกจากเวลาทำงานสัปดาห์ละ 2-3 วันแล้วนอกนั้นเป็นวันหยุดของโจทก์ทั้งสิ้นย่อมไม่ถูกต้อง การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยได้ทำงานให้จำเลยมาเป็นเวลากว่า 3 ปี โดยไม่เคยหยุดพักผ่อนประจำปีเลย จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ 6 วัน รวม 18 วัน
เมื่อจำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นนายจ้างซึ่งต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นแต่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และไม่ปรากฏเหตุที่จะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์และข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ศาลฎีกายกขึ้นอ้างได้เอง