คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันลูกจ้าง แม้หลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง สิทธิเรียกร้องสินจ้างต่างๆ ย่อมเป็นไปตามสัญญา
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า โจทก์ตกลงยินยอมและสัญญาว่าจะไม่ดำเนินการฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและอาญาแก่จำเลย และไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลยอีกต่อไป กับจำเลยไม่มีหนี้สินใด ๆ ที่จะต้องชำระให้โจทก์อีก เมื่อสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี แม้จะเป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 แต่ก็อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเช่นเดียวกัน ซึ่งสัญญาดังกล่าวทำขึ้นหลังจากที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีอิสระพ้นพันธะและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การทำสัญญาเป็นไปโดยความสมัครใจของคู่สัญญาโดยแท้จริง จึงไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7476/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนสะสมของลูกจ้าง การคำนวณค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนตามสัดส่วนระยะเวลาทำงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ครบ 1 ปี ในวันที่30 มิถุนายน 2534 ซึ่งโจทก์มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เริ่มทำงานในปีถัดมาทุกปีปีละ 10 วัน ตลอดมาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2539 รวม 6 ปี แต่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธินั้นดังนั้น โจทก์คงมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2540 โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม2539 เมื่อนับถึงวันสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2540 อันเป็นวันเลิกจ้างมีผลบังคับเป็นเวลา8 เดือน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 มีกำหนด6.66 วัน หาใช่มีสิทธิได้เต็ม 10 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7476/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนสะสมและการคำนวณค่าจ้างพักร้อนตามระยะเวลาทำงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ครบ 1 ปี ในวันที่30 มิถุนายน 2534 ซึ่งโจทก์มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เริ่มทำงานในปีถัดมาทุกปีปีละ 10 วัน ตลอดมาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2539 รวม 6 ปี แต่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธินั้นดังนั้น โจทก์คงมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2540 โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม2539 เมื่อนับถึงวันสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2540 อันเป็นวันเลิกจ้างมีผลบังคับเป็นเวลา8 เดือน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 มีกำหนด6.66 วัน หาใช่มีสิทธิได้เต็ม 10 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องมีเหตุสมควร แม้มีข้อตกลงบอกเลิกจ้างได้ การฟ้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่เคลือบคลุม
แม้ตามสัญญาจ้างระบุว่าการว่าจ้างอาจจะถูกบอกเลิกได้โดยการที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหนังสือแจ้งล่วงหน้าหนึ่งเดือนหรือจ่ายค่าสินไหมทดแทนเท่ากับเงินเดือนหนึ่งเดือนแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ตามแต่การบอกเลิกจ้างดังกล่าวก็จะต้องมีเหตุอันสมควรมิฉะนั้นจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา49ได้จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์หนึ่งเดือนแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วแต่ไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างการเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยจะต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้โจทก์ฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจะไม่ได้ระบุว่าเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างไว้โดยตรงก็ตามแต่เมื่ออ่านคำฟ้องที่บรรยายประกอบกันก็เข้าใจได้ว่าเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์ไม่ได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิในวันที่ยังเหลืออยู่14วันและโจทก์มาฟ้องเรียกเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแทนในวันดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงเข้าใจได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับปีที่เลิกจ้างโจทก์ซึ่งยังมีวันหยุดพักผ่อนประจำปีเหลืออยู่14วันนั่นเองฟ้องโจทก์ในส่วนที่เรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงไม่เคลือบคลุม อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานที่ไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตัวและสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบเพราะจำเลยไม่นำพยานมาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน-ตามประเพณี: สิทธิเกิดเมื่อเลิกจ้าง/ไม่ได้จ่ายค่าจ้างตามกำหนด
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ45กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเกิดขึ้นเมื่อเลิกจ้างเมื่อนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันฟ้งอยังไม่เกินกำหนด2ปีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวของลูกจ้างไม่ขาดอายุความ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ9กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วยแสดงว่าวันหยุดตามประเพณีนั้นนายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้วกรณีลูกจ้างไม่ได้หยุดในวันหยุดตามประเพณีประจำวันใดเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติแล้วนายจ้างมิได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีแก่ลูกจ้างสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีประจำวันนั้นย่อมเกิดขึ้นทันที ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีช่วงตั้งแต่วันที่12มิถุนายน2525ถึงวันที่12มิถุนายน2526โดยไม่ปรากฏว่าในระหว่างปีนั้นมีวันใดเป็นวันหยุดบ้างและนายจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติเดือนละ2ครั้งคือวันที่1และวันที่16ของเดือนดังนั้นสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นแล้วอย่างน้อยตั้งแต่วันที่16มิถุนายน2526เป็นต้นไปเมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน2ปีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวจึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน-ตามประเพณี: สิทธิเกิดเมื่อเลิกจ้าง/ไม่ได้จ่ายค่าจ้างตามกำหนด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯข้อ 45 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเกิดขึ้นเมื่อเลิกจ้าง เมื่อนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันฟ้งอยังไม่เกินกำหนด 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวของลูกจ้างไม่ขาดอายุความ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 9กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย แสดงว่าวันหยุดตามประเพณีนั้น นายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้วกรณีลูกจ้างไม่ได้หยุดในวันหยุดตามประเพณีประจำวันใดเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติแล้ว นายจ้างมิได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีแก่ลูกจ้าง สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีประจำวันนั้นย่อมเกิดขึ้นทันที
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีช่วงตั้งแต่วันที่ 12มิถุนายน 2525 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2526 โดยไม่ปรากฏว่าในระหว่างปีนั้นมีวันใดเป็นวันหยุดบ้าง และนายจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติเดือนละ 2 ครั้ง คือวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นแล้วอย่างน้อยตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไป เมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน 2ปี สิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง แม้ทำงานเกินหนึ่งปี และดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ10วรรคแรกกำหนดสิทธิของลูกจ้างว่าถ้าได้ทำงานมาครบหนึ่งปีเต็มก็จะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อยหกวันทำงานและสิทธินี้เป็นสิทธิแต่ละปีเมื่อลูกจ้างทำงานครบปีแรกแล้วถ้าได้หยุดพักผ่อนประจำปีก็ถือว่าเป็นการหยุดพักผ่อนประจำปีของปีที่ผ่านมาและในปีต่อไปถือว่าลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ทันทีโดยไม่ต้องทำงานให้ครบปีอีก โจทก์แต่ละคนทำงานกับจำเลยเป็นเวลาเกิน3ปีแล้วโจทก์บางคนได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2526ไปแล้วส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2527ซึ่งโจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2526นั้นโจทก์ยังมิได้ใช้สิทธิเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่2พฤศจิกายน2526โดยโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ2527จำนวน6วันให้แก่โจทก์แต่ละคนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ45 ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อถึงกำหนดวันจ่ายค่าจ้างเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าครองชีพซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของเดือนพฤศจิกายน2526และมีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่2พฤศจิกายน2526ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยุบเลิกกิจการและเลิกจ้างจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธจึงต้องถือว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนพฤศจิกายนนั้นในวันเลิกจ้างดังกล่าวในฟ้องเมื่อจำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง แม้ทำงานเกิน 1 ปี และการจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายเมื่อเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 10 วรรคแรกกำหนดสิทธิของลูกจ้างว่าถ้าได้ทำงานมาครบหนึ่งปีเต็มก็จะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อยหกวันทำงานและสิทธินี้เป็นสิทธิแต่ละปี เมื่อลูกจ้างทำงานครบปีแรกแล้ว ถ้าได้หยุดพักผ่อนประจำปีก็ถือว่าเป็นการหยุดพักผ่อนประจำปีของปีที่ผ่านมา และในปีต่อไปถือว่าลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ทันทีโดยไม่ต้องทำงานให้ครบปีอีก
โจทก์แต่ละคนทำงานกับจำเลยเป็นเวลาเกิน 3 ปีแล้ว โจทก์บางคนได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2526 ไปแล้ว ส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2527 ซึ่งโจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2526นั้นโจทก์ยังมิได้ใช้สิทธิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 2 พฤศจิกายน 2526 โดยโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2527จำนวน 6 วัน ให้แก่โจทก์แต่ละคนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45
ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อถึงกำหนดวันจ่ายค่าจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าครองชีพซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของเดือนพฤศจิกายน 2526 และมีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่2 พฤศจิกายน 2526 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยุบเลิกกิจการและเลิกจ้างจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธ จึงต้องถือว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนพฤศจิกายนนั้นในวันเลิกจ้างดังกล่าวในฟ้อง เมื่อจำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างทำงานไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารได้
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าเมื่อพนักงานของจำเลยผู้ใดทำงานครบกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีขึ้นไปจึงจะมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้แต่ละปีตามจำนวนวันที่กำหนดไว้และเมื่อมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้แล้วหากลาออกจากงานหรือมีการเลิกจ้างจำเลยก็จะจ่ายค่าจ้างสำหรับวันลาหยุดพักผ่อนประจำปีให้ซึ่งจะกระทำในกรณีจำเป็นและต้องได้รับอนุมัติจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยก่อนแต่กรณีของโจทก์ทั้งสองปรากฏว่ายังทำงานไม่ครบหนึ่งปีไม่มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีจึงไม่มีกรณีที่กรรมการผู้จัดการของจำเลยจะอนุมัติให้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ได้แม้ตามเอกสารที่จำเลยทำขึ้นจะมีข้อความว่าจำเลยได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ก็ตามจำเลยก็มีสิทธิที่จะนำสืบได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์นั้นความจริงแล้วเป็นการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ไม่เพราะกรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างนั้นกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือต่อกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าชดเชยวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับลูกจ้างที่ทำงานไม่ครบหนึ่งปี และการนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสาร
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าเมื่อพนักงานของจำเลยผู้ใดทำงานครบกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีขึ้นไปจึงจะมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้แต่ละปีตามจำนวนวันที่กำหนดไว้ และเมื่อมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้แล้ว หากลาออกจากงานหรือมีการเลิกจ้าง จำเลยก็จะจ่ายค่าจ้างสำหรับวันลาหยุดพักผ่อนประจำปีให้ ซึ่งจะกระทำในกรณีจำเป็น และต้องได้รับอนุมัติจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยก่อน แต่กรณีของโจทก์ทั้งสอง ปรากฏว่ายังทำงานไม่ครบหนึ่งปี ไม่มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี จึงไม่มีกรณีที่กรรมการผู้จัดการของจำเลยจะอนุมัติให้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ได้แม้ตามเอกสารที่จำเลยทำขึ้นจะมีข้อความว่า จำเลยได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ก็ตาม จำเลยก็มีสิทธิที่จะนำสืบได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์นั้นความจริงแล้วเป็นการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่ เพราะกรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างนั้น กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือต่อกัน
of 4