พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างเกิน 3 วัน ถือเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 8 ถึงวันที่ 15 ในชั้นแรกหยุดงานไปโดยไม่ได้ลาในวันที่ 8 และวันที่ 10 (วันที่ 9 เป็นวันหยุด) ต่อมาได้โทรศัพท์ขอลากิจในวันที่ 11 ถึงวันที่ 13 และโทรศัพท์ลาป่วยในวันที่ 14 และวันที่ 15 ต่อเนื่องมาอีก ครั้นมาทำงานก็มิได้ส่งใบลาตามระเบียบ ถือได้ว่าลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 17 จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันเลิกจ้าง ส่วนวันที่ 16 แม้เป็นวันหยุด ลูกจ้างก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว.
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 17 จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันเลิกจ้าง ส่วนวันที่ 16 แม้เป็นวันหยุด ลูกจ้างก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898-912/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดี และสิทธิเรียกร้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนที่สิ้นไป
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) หาใช่ 'บุคคลอื่น'ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ไม่ จึงชอบที่จะแต่งฟ้องลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์และยื่นฟ้องได้ และการที่ผู้รับมอบอำนาจแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีหรือเกี่ยวกับอำนาจของตนต่อศาล ก็มิใช่เป็นการกระทำที่ถือว่า 'ทำการเป็นทนายความ' หรือ 'ว่าความ' ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33 ดังกล่าว
ระเบียบการลาหยุดพักผ่อนประจำปีของจำเลยทุกฉบับอนุญาตให้ลูกจ้างสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้เพียง 2 ปีเท่านั้น จะสะสมเกินกว่านั้นมิได้ การที่โจทก์ซึ่งถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2529 ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีย้อนหลังไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2526 จึงเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิที่สิ้นไปหามีไม่แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าวแก่โจทก์.
ระเบียบการลาหยุดพักผ่อนประจำปีของจำเลยทุกฉบับอนุญาตให้ลูกจ้างสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้เพียง 2 ปีเท่านั้น จะสะสมเกินกว่านั้นมิได้ การที่โจทก์ซึ่งถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2529 ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีย้อนหลังไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2526 จึงเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิที่สิ้นไปหามีไม่แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าวแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเริ่มนับจากวันเลิกจ้าง ส่วนค่าจ้างวันหยุดตามประเพณีเริ่มนับจากวันจ่ายค่าจ้างปกติ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯข้อ 45 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเกิดขึ้นเมื่อเลิกจ้าง เมื่อนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันฟ้องยังไม่เกินกำหนด 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวของลูกจ้างไม่ขาดอายุความ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 9 กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย แสดงว่าวันหยุดตามประเพณีนั้น นายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้ว กรณีลูกจ้างไม่ได้หยุดในวันหยุดตามประเพณีประจำวันใดเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติแล้ว นายจ้างมิได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีแก่ลูกจ้าง สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีประจำวันนั้นย่อมเกิดขึ้นทันที
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีช่วงตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2525 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2526 โดยไม่ปรากฏว่าในระหว่างปีนั้นมีวันใดเป็นวันหยุดบ้าง และนายจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติเดือนละ 2 ครั้ง คือวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน ดังนั้นสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นแล้วอย่างน้อยตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไป เมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวจึงขาดอายุความ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 9 กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย แสดงว่าวันหยุดตามประเพณีนั้น นายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้ว กรณีลูกจ้างไม่ได้หยุดในวันหยุดตามประเพณีประจำวันใดเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติแล้ว นายจ้างมิได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีแก่ลูกจ้าง สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีประจำวันนั้นย่อมเกิดขึ้นทันที
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีช่วงตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2525 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2526 โดยไม่ปรากฏว่าในระหว่างปีนั้นมีวันใดเป็นวันหยุดบ้าง และนายจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติเดือนละ 2 ครั้ง คือวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน ดังนั้นสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นแล้วอย่างน้อยตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไป เมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน 2 ปี สิทธิเรียกร้องค่าจ้างดังกล่าวจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง แม้ทำงานเกิน 1 ปี และสิทธิการรับค่าจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 10 วรรคแรก กำหนดสิทธิของลูกจ้างว่าถ้าได้ทำงานมาครบหนึ่งปีเต็มก็จะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อยหกวันทำงานและสิทธินี้เป็นสิทธิแต่ละปี เมื่อลูกจ้างทำงานครบปีแรกแล้ว ถ้าได้หยุดพักผ่อนประจำปีก็ถือว่าเป็นการหยุดพักผ่อนประจำปีของปีที่ผ่านมา และในปีต่อไปถือว่าลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ทันทีโดยไม่ต้องทำงานให้ครบปีอีก
โจทก์แต่ละคนทำงานกับจำเลยเป็นเวลาเกิน 3 ปีแล้ว โจทก์บางคนได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2526 ไปแล้ว ส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2527 ซึ่งโจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2526 นั้นโจทก์ยังมิได้ใช้สิทธิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 2 พฤศจิกายน 2526 โดยโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2527จำนวน 6 วัน ให้แก่โจทก์แต่ละคนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45
ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อถึงกำหนดวันจ่ายค่าจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าครองชีพซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของเดือนพฤศจิกายน 2526 และมีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2526 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยุบเลิกกิจการและเลิกจ้าง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธ จึงต้องถือว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนพฤศจิกายนนั้นในวันเลิกจ้างดังกล่าวในฟ้อง เมื่อจำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป
โจทก์แต่ละคนทำงานกับจำเลยเป็นเวลาเกิน 3 ปีแล้ว โจทก์บางคนได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2526 ไปแล้ว ส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2527 ซึ่งโจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2526 นั้นโจทก์ยังมิได้ใช้สิทธิ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 2 พฤศจิกายน 2526 โดยโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2527จำนวน 6 วัน ให้แก่โจทก์แต่ละคนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45
ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อถึงกำหนดวันจ่ายค่าจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าครองชีพซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของเดือนพฤศจิกายน 2526 และมีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2526 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยุบเลิกกิจการและเลิกจ้าง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธ จึงต้องถือว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนพฤศจิกายนนั้นในวันเลิกจ้างดังกล่าวในฟ้อง เมื่อจำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างวันพักผ่อนประจำปี แม้สั่งให้ใช้สิทธิก่อนเกษียณ แต่ยังไม่ได้กำหนดวันหยุด
คำสั่งของจำเลยแจ้งให้พนักงานของจำเลยใช้สิทธิลาพักผ่อนประจำปี รวมทั้งวันลาสะสมที่มีอยู่ให้หมดในปีที่พนักงานผู้นั้นจะเกษียณอายุ หาใช่เป็นการกำหนดให้พนักงานหยุดพักผ่อนในช่วงเวลาใดที่กำหนดไว้แน่นอนไม่ และไม่ปรากฏว่า หัวหน้าฝ่ายหัวหน้ากอง และหัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานของจำเลยได้จัดวันหยุดให้พนักงานในสังกัดลาพักผ่อนประจำปี จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีแล้ว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุ จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์ตามข้อ 45 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนก่อนเกษียณ ลูกจ้างไม่หยุด นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างวันหยุด
โจทก์จะครบเกษียณอายุในวันที่ 1 ตุลาคม 2528 ครั้นวันที่ 10 มิถุนายน 2528 ก่อนโจทก์ครบเกษียณอายุ 3 เดือน 21 วัน จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งว่า หากโจทก์มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีเหลืออยู่เท่าใดก็ให้ขออนุญาตหยุดเสียก่อนที่โจทก์จะเกษียณอายุ ถือได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีล่วงหน้าให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 10 แล้ว เป็นการกำหนดช่วงระยะเวลาให้โจทก์เลือกวันหยุดเอาเองเพื่อความสะดวกแก่โจทก์ ได้ชื่อว่าจำเลยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ยอมหยุดเอง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122-130/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม: ศาลมิอาจแก้ไขคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการสอบถามและแถลงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
ฟ้องเคลือบคลุมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบมาแต่แรก ประเด็นตามคำฟ้องจึงไม่เกิด แม้ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทแต่การสอบถามนั้นก็จำต้องตรวจจากคำคู่ความที่ชอบ หากไม่เป็นคำคู่ความที่ชอบเสียแล้วแม้คู่ความจะแถลงเป็นประการใดก็หาอาจทำให้คำคู่ความนั้นกลับเป็นคำคู่ความที่ชอบและมีประเด็นขึ้นตามที่ศาลสอบถามและที่คู่ความแถลงไม่
โจทก์ที่ 2 บรรยายฟ้องเพียงประโยคเดียวว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี แล้วมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวน 1,428.33 บาท โดยมิได้บรรยายว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีละกี่วัน มิได้หยุดในปีใดปีละกี่วัน ฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ส่วนโจทก์ที่ 9 บรรยายฟ้องว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ 12 วัน รวม 2 ปี เป็นเวลา 24 วัน ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนไปแล้ว 15 วันจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้หยุด 9 วัน คิดเป็นเงิน 5,724 บาท ดังนี้ เป็นฟ้องที่พอเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ที่ 9 ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับสองปีสุดท้าย เป็นฟ้องที่ได้แสดงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอแก่ความต้องการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ที่ 2 บรรยายฟ้องเพียงประโยคเดียวว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี แล้วมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวน 1,428.33 บาท โดยมิได้บรรยายว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีละกี่วัน มิได้หยุดในปีใดปีละกี่วัน ฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ส่วนโจทก์ที่ 9 บรรยายฟ้องว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ 12 วัน รวม 2 ปี เป็นเวลา 24 วัน ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนไปแล้ว 15 วันจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้หยุด 9 วัน คิดเป็นเงิน 5,724 บาท ดังนี้ เป็นฟ้องที่พอเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ที่ 9 ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับสองปีสุดท้าย เป็นฟ้องที่ได้แสดงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอแก่ความต้องการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ค่าชดเชย, ค่าจ้างหยุดพักผ่อน, ดอกเบี้ย, และการบอกกล่าวล่วงหน้า
การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกตินั้น เป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติแม้ตามระเบียบข้อบังคับ ของนายจ้างและสัญญาผู้เข้าทำงานของนายจ้างซึ่งลูกจ้างทำกับนายจ้าง จะให้อำนาจนายจ้างเลิกจ้างได้ ก็เป็นเพียงให้สิทธิไว้เท่านั้นถือไม่ได้ว่า ลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือสัญญาเมื่อนายจ้างเลิกจ้าง จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 กำหนดเพียงว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี มิได้มีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดว่าถ้าลูกจ้างไม่ใช้สิทธิขอลาหยุดแล้วลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างดังกล่าว
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายกรณีเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ไม่ใช่เงินซึ่งกฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายทันที ที่ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าฉะนั้นนายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างได้บอกกล่าว หรือทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าได้บอกกล่าวหรือทวงถามลูกจ้างชอบที่จะได้ ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 จะกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ก็ตาม แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยตามกฎหมาย โดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ชัดแจ้งทั้งโจทก์เรียกร้องเงินมาหลายประเภท ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่างกันการที่ศาลให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปีจึงชอบแล้ว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 กำหนดเพียงว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี มิได้มีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดว่าถ้าลูกจ้างไม่ใช้สิทธิขอลาหยุดแล้วลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างดังกล่าว
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายกรณีเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ไม่ใช่เงินซึ่งกฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายทันที ที่ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าฉะนั้นนายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างได้บอกกล่าว หรือทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าได้บอกกล่าวหรือทวงถามลูกจ้างชอบที่จะได้ ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 จะกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ก็ตาม แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยตามกฎหมาย โดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ชัดแจ้งทั้งโจทก์เรียกร้องเงินมาหลายประเภท ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่างกันการที่ศาลให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดร้ายแรง และสิทธิในการได้รับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังพยานปากใดและไม่รับฟังพยานปากใดเป็นดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังเป็นประการใดแล้วข้อเท็จจริงย่อมยุติคู่ความจะอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอื่นหาได้ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยทำร้ายร่างกายผู้บังคับบัญชาในระหว่างที่มีการประชุมพนักงานในบริษัทจำเลยจนปากแตกโลหิตไหล การกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นการทำผิดอาญาซึ่งมีโทษตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นการประพฤติตนไม่เหมาะสมไม่เคารพยำเกรงผู้บังคับบัญชาซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายด้านการปกครอง และไม่ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดเป็นความผิดรุนแรงมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม ความผิดของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องตักเตือน และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ได้กระทำผิดตามข้อ 47 แล้ว จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทั้งสิ้นไม่ว่าปีใด
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยทำร้ายร่างกายผู้บังคับบัญชาในระหว่างที่มีการประชุมพนักงานในบริษัทจำเลยจนปากแตกโลหิตไหล การกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นการทำผิดอาญาซึ่งมีโทษตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นการประพฤติตนไม่เหมาะสมไม่เคารพยำเกรงผู้บังคับบัญชาซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายด้านการปกครอง และไม่ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดเป็นความผิดรุนแรงมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม ความผิดของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องตักเตือน และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ได้กระทำผิดตามข้อ 47 แล้ว จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทั้งสิ้นไม่ว่าปีใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีและการจ่ายค่าจ้างเมื่อลาออก ลูกจ้างมีสิทธิเลือกใช้สิทธิหยุดพักผ่อน ไม่สามารถเรียกร้องค่าจ้างแทนได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯข้อ 10 ที่กำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันแล้วครบหนึ่งปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่าปีละหกวันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้ นั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อทำงานครบหนึ่งปีแล้ว มิได้เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเลือกเอาค่าจ้างแทนการหยุดพักผ่อนประจำปี การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิและลาออกจากงานไปก่อน จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 45 ที่กำหนดว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำ โดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง จะนำมาใช้บังคับกับกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงานหาได้ไม่
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 45 ที่กำหนดว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำ โดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง จะนำมาใช้บังคับกับกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงานหาได้ไม่