คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ฯ ม. 14

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าสงวน: จำเลยต้องมีเจตนาครอบครองเพื่อตนเอง ไม่ใช่เพียงรับจ้างทำงาน
ในชั้นสอบสวนกับชั้นพิจารณาจำเลยให้การปฏิเสธ และไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยเข้าไปใส่ปุ๋ยหรือดูแลรักษาต้นยางพาราในสวนยางพาราที่เกิดเหตุก่อนหน้านี้หรือไม่และทำมานานเท่าใด กรณีอาจเป็นเรื่องที่จำเลยอาจจะรับจ้างใส่ปุ๋ยเมื่อใส่เสร็จแล้วจำเลยก็หมดภาระหน้าที่ โดยมิได้ครอบครองพื้นที่เกิดเหตุด้วยก็เป็นได้คดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองสวนยางพาราที่เกิดเหตุเพื่อผู้อื่นตามความหมายของมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ
คำขอท้ายฟ้องขอให้สั่งให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 31 วรรคสาม และพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา 72 ตรี วรรคสาม ซึ่งศาลจะมีคำสั่งเช่นนั้นได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิด เมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าวศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้บรรทุกไม้ผิดกฎหมาย: ศาลฎีกาชี้ขาดชอบธรรมตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ
จำเลยรับไว้ซึ่งไม้ไผ่จากผู้ลักลอบทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14 ประกอบมาตรา 34 เมื่อจำเลยฝ่าฝืนนอกจากจะมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 31 แล้ว มาตรา 35 บัญญัติว่า "บรรดาไม้ ของป่า เครื่องมือ เครื่องใช้... ยานพาหนะหรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลใช้หรือได้มาโดยการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น..." รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะที่จำเลยใช้บรรทุกไม้ไผ่ บทบัญญัติมาตรา 35 จึงเป็นโทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิดโดยให้รถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่จะต้องริบเสียตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ อีกบทหนึ่ง การริบรถยนต์ของกลางจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดเจตนา: การไถดินในพื้นที่ครอบครองตามปกติ ไม่เป็นความผิดป่าสงวน
บริเวณที่เกิดเหตุเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติชื่อป่าขุนซ่องซึ่งการกำหนดเขตป่าสงวนดังกล่าวได้ออกเป็นกฎกระทรวงและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งได้ปิดประกาศให้ ประชาชนทั่วไปทราบแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบว่า บริเวณที่เกิดเหตุเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่เขตป่าสงวนแห่งชาติ บริเวณนี้มีราษฎรเข้าทำประโยชน์อยู่ทั่วไป โดยทำไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลังและไร่ต้นยูคาลิปตัส ซึ่งทางกรมป่าไม้และ ฝ่ายปกครองอนุโลมผ่อนผันให้ราษฎรที่ทำประโยชน์อยู่แล้วได้ทำ ประโยชน์ต่อไปเป็นแต่ไม่ให้บุกรุกป่าเพิ่มขึ้น ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันจะได้รับหนังสือสิทธิทำกิน บริเวณที่เกิดเหตุเป็นที่ดินที่ผ่านการทำประโยชน์มาแล้ว สภาพทั่วไปมีแต่กิ่งไม้ ตอไม้จะมีต้นไม้ขึ้นบ้างเป็นต้นเล็ก ๆ แสดงว่าบริเวณที่เกิดเหตุเป็น ที่ดินที่ได้รับการผ่อนผันให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์ได้ จำเลยที่ 1 เป็นคนอยู่นอกพื้นที่ห่างไกลจากเขตป่าสงวนแห่งชาติบริเวณ ที่เกิดเหตุมีอาชีพรับจ้างขับรถ แบคโฮ ขุดสระน้ำและไถดิน เมื่อ จำเลยที่ 3 ว่าจ้างมาขุดสระน้ำในไร่อ้อยของจำเลยที่ 3 ทั้งบริเวณใกล้เคียงก็ล้วนเป็นที่ดินทำไร่มีผู้ครอบครอง หลังจากขุด สระน้ำให้จำเลยที่ 3 เสร็จแล้วก็ถูกว่าจ้างให้เข้าไปไถในบริเวณ ที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับที่ดินไร่อ้อยของจำเลยที่ 3 อีก ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจได้ว่าที่เกิดเหตุ เป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครองที่จะนำรถขุดเข้าไปไถได้เช่นที่ จำเลยที่ 3 ให้ขุดสระน้ำในไร่อ้อยของจำเลยที่ 3 ซึ่งในชั้นจับกุม และชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ก็ให้การยืนยันว่ามีผู้ว่าจ้าง ให้เข้าไปไถดินในบริเวณที่เกิดเหตุ ทำให้เห็นว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำไปโดยสำคัญผิดเข้าใจว่าสามารถที่จะเข้าไปไถที่บริเวณที่เกิดเหตุได้ เป็นการขาดเจตนา การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4282/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษคดีบุกรุกป่าสงวน: ศาลฎีกาแก้ไขโทษต่ำกว่าขั้นต่ำและให้รอการลงโทษโดยพิจารณาพฤติการณ์
จำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง และแผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ อันเป็นการกระทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นน้ำลำธาร เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 ประกอบด้วยมาตรา 31วรรคสอง (3) ซึ่งมาตรา 31 วรรคสอง กำหนดให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี จึงเป็นการลงโทษต่ำกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด แต่เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินป่าสงวนและปลูกบ้านอยู่อาศัยมานานแล้ว และปลูกต้นไม้และผลอาสินทำมาหากินซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านว่าไม่เป็นความจริง ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อนเห็นควรให้โอกาสจำเลยได้แก้ไขฟื้นฟูตนเองในสังคมภายนอก การรอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยน่าจะเป็นมาตรการที่เหมาะสมมากกว่า แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษแต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยไม่เหมาะสมก็ย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวน: ศาลปรับบทลงโทษและลดโทษจำเลย
จำเลยทั้งสามร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติและทำให้เสื่อมสภาพป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทคือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา11,73วรรคสองโทษจำคุกตั้งแต่1ปีถึง20ปีและปรับตั้งแต่5,000บาทถึง200,000บาทและเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯมาตรา14,31วรรคสองโทษจำคุกตั้งแต่2ปีถึง15ปีและปรับตั้งแต่20,000บาทถึง150,000บาทจึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา11,73วรรคสองอันเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90 เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฎจำเลยจำเลยทั้งสามทำไม้หวงห้ามในลักษณะเป็นนายทุนมีอิทธิพลเพื่อทำลายป่าแต่จำเลยได้ร่วมกันตัดฟันทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติมีปริมาตรถึง32.38ลูกบาศก์เมตรนับว่าทำไม้จำนวนมากจึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9170/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: การรบกวนสิทธิระหว่างบุคคล แม้ไร้สิทธิโดยชอบธรรม
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ที่ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่น ดังนั้นหากโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทอยู่ก่อนแล้วจำเลยบุกรุกไปครอบครอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิและเรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4159/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขาย, การครอบครอง, และสิทธิเหนือกว่าระหว่างราษฎร
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยแล้วได้เข้าครอบครองที่ดินและชำระภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมาโจทก์จึงได้สิทธิครอบครองเมื่อโจทก์อนุญาตให้จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทจำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครองแม้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติโจทก์เพียงอ้างสิทธิครอบครองใช้ยันกับรัฐไม่ได้เท่านั้นแต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกันโจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4159/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย แม้ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยแล้วได้เข้าครอบครองที่ดินและชำระภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมา โจทก์จึงได้สิทธิครอบครอง เมื่อโจทก์อนุญาตให้จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครองแม้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โจทก์เพียงอ้างสิทธิครอบครองใช้ยันกับรัฐไม่ได้เท่านั้น แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกป่าสงวน: จำเลยไม่มีความผิด หากไม่ทราบว่าเป็นพื้นที่ป่าสงวน แม้เป็นพื้นที่ป่าจริง
ที่ดินที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำการก่นสร้าง แผ้วถาง เป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริง หากไม่ใช่ป่าสงวนแห่งชาติจำเลยย่อมไม่มีความผิดและแม้จะเป็นป่าสงวนแห่งชาติแต่จำเลยเข้าก่นสร้าง แผ้วถางโดยไม่ทราบว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติจำเลยก็ไม่มีความผิด จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เป็นเพียงผู้รับจ้างเข้าทำไร่มันสำปะหลังให้จำเลยที่ 1 โดยสภาพพื้นที่เคยปลูกมันสำปะหลังมาก่อน จำเลยที่ 2ถึงที่ 7 ไม่อาจทราบได้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งโจทก์ไม่มีพยานคนใดเบิกความว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติและตามสภาพที่ดินก็ไม่มีต้นไม้ใหญ่กลับเป็นไร่มันสำปะหลังทั้งไม่มีป้ายแนวเขตว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติพฤติการณ์ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบว่าที่เข้าไปก่นสร้าง แผ้วถางเป็นป่าสงวนแห่งชาติเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดป่าสงวน: ผู้กระทำไม่ทราบว่าเป็นป่าสงวนฯ ย่อมไม่มีความผิด แม้พื้นที่เป็นป่าสงวนฯ จริง
ที่ดินที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำการก่นสร้างแผ้วถางเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ย่อมเป็นข้อเท็จจริงหากไม่ใช่ป่าสงวนแห่งชาติจำเลยย่อมไม่มีความผิดและแม้จะเป็นป่าสงวนแห่งชาติแต่จำเลยเข้าก่นสร้างแผ้วถางโดยไม่ทราบว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติจำเลยก็ไม่มีความผิด จำเลยที่2ถึงที่7เป็นเพียงผู้รับจ้างเข้าทำไร่มันสำปะหลังให้จำเลยที่1โดยสภาพพื้นที่เคยปลูกมันสำปะหลังมาก่อนจำเลยที่2ถึงที่7ไม่อาจทราบได้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติทั้งโจทก์ไม่มีพยานคนใดเบิกความว่าจำเลยที่1รู้ว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติและตามสภาพที่ดินก็ไม่มีต้นไม้ใหญ่กลับเป็นไร่มันสำปะหลังทั้งไม่มีป้ายแนวเขตว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติพฤติการณ์ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้ทราบว่าที่เข้าไปก่นสร้างแผ้วถางเป็นป่าสงวนแห่งชาติเช่นกัน
of 3