คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งห้ามขับรถจักรยานยนต์รับจ้างของนายจ้างชอบธรรมได้ หากไม่กระทบธุรกิจ แต่เลิกจ้างเพราะเหตุนี้ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ประกาศคำสั่งของจำเลยที่ห้ามมิให้โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างแม้จะมีข้อความห้ามพนักงานของโรงแรมซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลาทำงานตามปกติก็ตาม แต่ประกาศดังกล่าวได้ระบุถึงเขตพื้นที่ไว้โดยเฉพาะคือบริเวณโรงแรมของจำเลยเท่านั้น จึงเป็นอำนาจของจำเลยที่จะออกประกาศคำสั่งเช่นนั้นได้ เพราะมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนประกาศคำสั่งของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งคนสวน และโจทก์ใช้เวลานอกเวลาทำงานไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างทั่วไป โจทก์ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเสียหายอันมีสาเหตุมาจากการขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง การที่โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างดังกล่าว แม้สถานที่จอดรถจักรยานยนต์รับจ้างจะอยู่ในซอยอันเป็นทางเข้าออกของโรงแรมจำเลย ก็ไม่มีผลทำให้กิจการของจำเลยได้รับความกระทบกระเทือนหรือภาพพจน์ของจำเลยเสียหาย เพราะโจทก์มิได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในเวลาทำงานและมิได้กระทำโดยอ้างว่าเป็นกิจการของจำเลย ทั้งกรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้าง โจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปในบริเวณโรงแรมอันเป็นการขัดคำสั่งห้ามของจำเลย โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องบอกกล่าวลวงหน้าและต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรมเนื่องจากลูกจ้างขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลางาน โดยไม่กระทบต่อภาพลักษณ์หรือกิจการของนายจ้าง
ประกาศของจำเลยที่ห้ามพนักงานของโรงแรมซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้างนอกเวลาทำงานตามปกติ ได้ระบุถึงเขตพื้นที่ที่ห้ามไว้โดยเฉพาะคือบริเวณโรงแรมของจำเลยเท่านั้น จึงเป็นอำนาจของจำเลยที่จะออกประกาศคำสั่งเช่นนั้นได้ เพราะมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่โจทก์ไปขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง แม้สถานที่จอดรถจักรยานยนต์จะอยู่ในซอยอันเป็นทางเข้าออกของโรงแรมจำเลยก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้กิจการของจำเลยได้รับความกระทบกระเทือนหรือภาพพจน์เสียหาย เพราะโจทก์มิได้ขับในเวลาทำงานและมิได้กระทำโดยอ้างว่าเป็นกิจการของจำเลย ทั้งเหตุเลิกจ้างครั้งนี้ก็ไม่ปรากฏจากทางนำสืบว่าโจทก์ได้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปในบริเวณโรงแรมอันเป็นการขัดคำสั่งห้ามของจำเลย โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยจำเลยไม่มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 328/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ขัดคำสั่ง แต่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา
แม้การที่โจทก์ร่างคำสั่งไม่ให้ อ. ผ่านการทดลองงานให้รองประธานกรรมการของจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ในสายงานลงนามอันเป็นผลให้ อ. พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลย โดยไม่ได้ปรึกษาจำเลยที่ 2 ก่อนจะเป็นการขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน แต่โจทก์ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาของโจทก์ในสายงาน จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งในกรณีร้ายแรง และการฝ่าฝืนคำสั่งเช่นนี้จำเลยที่ 1 อาจลงโทษโจทก์ได้ แต่เมื่อยังไม่ถึงขนาดที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุสมควรจะเลิกจ้าง เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร แม้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยผิดพลาด ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้จ่ายค่าชดเชยและวันหยุดพักผ่อน
คำตักเตือนเป็นหนังสือตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำผิดฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างมิให้กระทำผิดเช่นว่านั้นซ้ำอีก หากกระทำจะต้องถูกลงโทษ
ตามใบเตือนของจำเลยระบุแต่เพียงว่า โจทก์กระทำผิดมาทำงานสายเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นคำตักเตือนของนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีก และหากกระทำผิดอีกต้องถูกลงโทษ ใบเตือนของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือนตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 45,47(4) เพราะเหตุที่โจทก์กระทำผิดซ้ำ
โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมาทำงานสายหลายครั้ง และหลังจากจำเลยมีใบเตือนแล้ว โจทก์ก็ยังคงมาสายอยู่เป็น ประจำอีกทั้งยังกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เรื่องอื่น ๆ อีก การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ด้วย
ในวันพิจารณา โจทก์ได้แถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลแรงงานว่า ในการทำงานกับจำเลย โจทก์มาทำงานสายเป็นประจำและจำเลยได้มีหนังสือเตือนตามเอกสารท้ายคำให้การจริง อันเป็นการยอมรับว่าใบเตือน ดังกล่าวได้ออกโดยจำเลยแล้ว และศาลแรงงานก็ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มา ทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนเป็นหนังสือ การที่ โจทก์อุทธรณ์โต้เถียงว่าใบเตือนดังกล่าวของจำเลยได้ออกโดยผู้มีอำนาจ หรือไม่ปรากฏ เป็นการออกใบเตือนโดยไม่ชอบ ย่อมเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีละเลยหน้าที่จนกระทบความเชื่อถือของกิจการส่งเอกสาร ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง
กิจการของจำเลยในการให้บริการรับส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ด่วนพิเศษจะดำเนินการอยู่ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความเชื่อถือของลูกค้าในการให้บริการของจำเลยที่จะต้องจัดการนำส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าอย่างรวดเร็วและถูกต้องปรากฏว่าเอกสารของลูกค้าจำเลยส่งมาถึงจำเลยตั้งแต่วันที่25กรกฎาคม2538พนักงานแยกเอกสารได้นำเอกสารดังกล่าวไปใส่ในช่องเอกสารของโจทก์แล้วแต่โจทก์ละเลยไม่นำเอกสารไปส่งให้แก่ลูกค้าจำเลยจนเป็นเหตุให้ลูกค้าต้องโทรศัพท์ทวงถามเอกสารจากจำเลยในวันที่29กรกฎาคม2538จึงได้มีการตรวจค้นพบเอกสารอยู่ในกระเป๋าใส่เอกสารประจำตัวของโจทก์ซึ่งทิ้งไว้ที่บริษัทจำเลยพฤติการณ์การกระทำของโจทก์ย่อมส่งผลกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือของลูกค้าที่มีแก่บริการรับส่งเอกสารของจำเลยเป็นอย่างยิ่งถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ70ข้อ96และข้อ99.6กรณีร้ายแรงจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146-4147/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ชอบธรรมเนื่องจากผู้บริหารฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับทางการเงินและอนุมัติการเบิกจ่ายโดยมิชอบ
ระเบียบข้อบังคับเรื่องการอนุมัติค่าใช้จ่ายของจำเลยกำหนดว่าในการเบิกค่าใช้จ่ายระหว่างที่ทำงานให้บริษัทห้ามพนักงานอนุมัติค่าใช้จ่ายที่ตนเสนอเองเป็นอันขาดและบรรดาค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั้นต้องให้ผู้ควบคุมดูแลงานที่ใกล้ชิดที่สุดของพนักงานนั้นพิจารณาตรวจสอบเสียก่อนและต้องได้รับอนุมัติจากบุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจให้อนุมัติรายงานค่าใช้จ่ายได้ตามรายชื่อผู้มีสิทธิอำนาจทางการเงินหมายความว่าการอนุมัติค่าใช้จ่ายห้ามมิให้อนุมัติข้ามสายงานทั้งจำเลยไม่เคยอนุมัติให้โจทก์ทั้งสองนำทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ในกิจการของจำเลยโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและไม่เคยมอบอำนาจให้โจทก์ที่1มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้ดังนั้นการที่โจทก์ที่1อนุมัติให้โจทก์ที่2นำรถยนต์และวิทยุติดตามตัวซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์ที่2ใช้ในกิจการของจำเลยและให้เบิกจ่ายค่าน้ำมันและค่าบริการสำหรับวิทยุติดตามตัวก่อให้เกิดความผูกพันต่อบุคคลภายนอกโดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเมื่อโจทก์ที่2อยู่ในสายงานบังคับบัญชาของผู้อื่นที่โจทก์ที่1อนุมัติให้โจทก์ที่2เบิกจ่ายค่าน้ำมันและค่าบริการวิทยุติดตามตัวจึงเป็นการอนุมัตินอกสายงานเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่จำเลยได้วางไว้แม้โจทก์ที่2มาช่วยทำงานในสายงานของโจทก์ที่1ก็เป็นอำนาจบังคับบัญชาในการปฏิบัติงานเท่านั้นส่วนอำนาจการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆโจทก์ที่2ยังต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานการที่โจทก์ที่1มีตำแหน่งหน้าที่ระดับผู้บริหารเป็นผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินควรที่จะต้องเคร่งครัดระมัดระวังต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแต่โจทก์ที่1กลับฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเสียเองถือได้ว่าเป็นการจงใจทำให้จำเลยเสียหายทั้งฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ที่1ได้จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการเบิกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370-2374/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการแก้ไขเอกสารสำคัญของนายจ้าง
ใบตรวจสอบคืนน้ำเค็ม-ขวดเปล่าเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการควบคุมสินค้าเข้าออกทั้งหมดของนายจ้างหากมีการแก้ไขตัวเลขในเอกสารดังกล่าวให้ผิดไปจากความจริงจะทำให้ไม่สามารถตรวจสอบจำนวนสินค้าได้และการแก้ไขดังกล่าวจะทำมีการทุจริตได้การที่ลูกจ้างได้ลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขตัวเลขซึ่งพนักงานอีกคนหนึ่งเป็นผู้แก้ไขซึ่งนายจ้างมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานห้ามไว้เพื่อปกป้องผลประโยชน์หรือทรัพย์สินของนายจ้างและป้องกันการทุจริตการกระทำของลูกจ้างดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างเป็นกรณีที่ร้ายแรงกรณีต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)ซึ่งนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370-2374/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง กรณีแก้ไขเอกสารสำคัญเพื่อทุจริต
โจทก์ทั้งห้าเป็น ลูกจ้างจำเลยกระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับที่นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างปฏิบัติเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติงานและเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของนายจ้างและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ระบุว่าหากลูกจ้างกระทำผิดอย่างร้ายแรงเช่น(1)การกระทำโดยจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย(5)ปลอมแปลงแก้ไขเอกสารหรือหลักฐานหรือให้หลักฐานแก่นายจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯลฯโดยโจทก์ที่1ถึงที่4ได้ลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขตัวเลขในใบเช็คคืนน้ำเต็ม-ขวดเปล่าที่พนักงานตรวจสอบรายการสินค้าได้แก้ไขให้ผิดไปจากความเป็นจริงส่วนโจทก์ที่5ได้แก้ไขตัวเลขและลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขด้วยตนเองในเช็คคืนน้ำเต็ม-ขวดเปล่าเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการควบคุมสินค้าเข้าออกทั้งหมดการกระทำของโจทก์ทั้งห้าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องผลประโยชน์หรือทรัพย์สินของจำเลยและป้องกันการทุจริตถือได้ว่าเป็นกรณี ร้ายแรงต้องด้วย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)จำเลยมีสิทธิ เลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าได้โดย ไม่ต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องรับผิดชำระ ค่าชดเชยเงินสะสมสมทบพร้อมสิทธิประโยชน์ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และ ค่าเสียหายตามฟ้องแก่โจทก์ทั้งห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2263/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากคำสั่งให้หยุดงานชั่วคราว และการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่ขับรถยนต์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดใบอนุญาตขับขี่รถยนต์เพราะปฏิบัติผิดกฎจราจรต่อมาหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยกล่าวกับโจทก์ว่าหากไม่มีใบอนุญาตขับขี่ก็ไม่ต้องมาทำงานย่อมทำให้โจทก์เข้าใจว่านายจ้างสั่งให้โจทก์หยุดการทำงานไว้ก่อนจนกว่าจะได้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์กลับคืนมาเพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับว่าผู้มีหน้าที่ขับรถยนต์จะต้องมาปฏิบัติหน้าที่อื่นในกรณีเช่นนี้ด้วยการที่โจทก์ไม่ได้มาทำงานในระหว่างวันดังกล่าวโดยมิได้ยื่นใบลาหรือติดต่อมายังจำเลยจึงมิใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดระเบียบงานอย่างร้ายแรงกระทบชื่อเสียงโรงแรม
จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่าการประพฤติหรือปฏิบัติตนหรือบริการแขกหรือพนักงานอื่นในลักษณะที่หยาบโลนหรือผิดวัฒนธรรมประเพณีของไทยแม้เป็นการกระทำครั้งแรกจำเลยก็จะดำเนินการทางวินัยด้วยการปลดออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยทั้งนี้เพื่อให้พนักงานหรือลูกจ้างปฏิบัติเพื่อนำมาซึ่งความเชื่อถือไว้วางใจจากคนเดินทางหรือแขกผู้มาพักหรือใช้บริการว่าเป็นที่ซึ่งให้ความปลอดภัยสะดวกสบายและสงบจึงจะสามารถแข่งขันกับผู้ที่ประกอบธุรกิจในลักษณะอย่างเดียวกันได้ดังนั้นแม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยจะได้กระทำการโอบไหล่และพูดขอหอมแก้ม อ.ซึ่งเป็นพนักงานทำความสะอาดที่บริษัทอื่นส่งมาทำความสะอาดโรงแรมของจำเลยก็เข้าลักษณะเป็นแขกหรือพนักงานอื่นเช่นกันทั้งยังเป็นความผิดทางอาญาฐานกระทำอนาจารด้วยแม้ขณะที่โจทก์กระทำจะไม่มีผู้อื่นพบเห็นแต่ก็มี อ. ที่พบเห็นและได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ผู้ร่วมงานฟังจำเลยย่อมได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงแล้วและมิใช่เป็นเรื่องเล็กน้อยแต่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ ร้ายแรง จำเลยจึง เลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชย
of 3