คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย รังสิกรรพุม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 118 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน หลังพ้นระยะห้ามโอนตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และผลกระทบต่อคำสั่งศาล
โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งได้รับมาตามพระราชบัญญัติ จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ดังนั้นสิทธิของโจทก์ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะต้องเป็นไปตามมาตรา12 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งบัญญัติว่า "ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้..." ได้ความว่าทางราชการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวให้โจทก์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2519 ระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินภายในห้าปีจึงมีอยู่จนถึงวันที่ 26 เมษายน 2524 แม้ว่า ส.บุตรจำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจาก จ. สามีโจทก์และรับมอบการครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อคือวันที่ 5 เมษายน 2519 ตลอดมาจนกระทั่งจำเลยรับโอนครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาถึงวันที่ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 830/2531 จำเลยจะนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่เมื่อพ้นระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์วันที่ 26 เมษายน 2524 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาลชั้นต้น จำเลยยังครอบครองที่ดินพิพาทไม่ครบสิบปีจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์คำสั่งศาลในคดีหมายเลขแดงที่ 830/2531 จึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง(2)โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพและการครอบครองปรปักษ์: สิทธิของเจ้าของเดิม
ที่ดินพิพาทมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยโจทก์ได้รับมาตามพ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ดังนั้นสิทธิของโจทก์ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวมีข้อบังคับว่า ภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันได้รับโฉนดที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้นอกจากการตกทอดทางมรดก หรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี ดังนั้นแม้ ส.บุตรจำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจาก ผ.สามีโจทก์และรับมอบการครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อตลอดมา จนกระทั่งจำเลยรับโอนครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาถึงวันที่ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่จำเลยจะนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 หาได้ไม่
แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตน โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาฟ้องศาลได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเพิกถอนได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน แต่ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ไม่ได้จดทะเบียนการไถ่ถอน แต่มีเจตนาเป็นเจ้าของและครอบครองโดยสงบต่อเนื่องเกิน 10 ปี
แม้ ส. ได้ชำระเงินค่าไถ่ที่ดินพิพาทจากการขายฝากแล้วมิได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่การครอบครองที่ดินพิพาทของ ส.นับแต่บัดนั้นส.ย่อมมีเจตนายึดถือเพื่อตนเมื่อผู้ร้องได้รับการยกให้ที่ดินพิพาทจากส.โดยส.มอบการครอบครองให้ แล้วผู้ร้องได้ครอบครองที่พิพาทมาจนส.ถึงแก่กรรมและหลังจากนั้นจนถึงวันที่ผู้ร้องมาร้องต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ ก็ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้โต้แย้งการครอบครองของผู้ร้องแต่ประการใด ถือว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันตลอดมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า สิ้นสุดเมื่อตาย ไม่ตกทอดเป็นมรดก ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อผู้เช่าตายไม่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่ทายาท โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ผู้เช่า จึงไม่อาจสงวนสิทธิการเช่าของ บ.ได้และไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิการเช่าดังกล่าวได้อีกเพราะสิทธิการเช่าของ บ.เป็นอันสิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ บ.ตายไม่มีสิทธิการเช่าที่จะบังคับแก่จำเลยได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องทุกข์ในคดีเช็ค: ผู้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยไม่มีสิทธิร้องทุกข์
ณ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างผู้เสียหาย ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คต่อพนักงานสอบสวน แต่เป็นการร้องทุกข์ในนามตนเอง ณ ในฐานะส่วนตัวไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ณ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายคดีนี้ ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องทุกข์ในคดีเช็ค: ผู้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ไม่มีสิทธิร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย
ณ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างผู้เสียหาย ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คต่อพนักงานสอบสวน แต่เป็นการร้องทุกข์ในนามตนเอง ณ. ในฐานะส่วนตัวไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยณ. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายคดีนี้ ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถจักรยานยนต์ฝ่าฝืนกฎจราจรเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และสิทธิของผู้เสียหาย
แม้รถยนต์ของโจทก์ร่วมที่ 2 จะได้รับความเสียหาย แต่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายในความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯโจทก์ร่วมที่ 2 ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ไปตามทางเดินเล็ก ๆ ซึ่งเป็นทางคนเดินตัดตรงขึ้นถนนพระรามที่ 2 ขาเข้า เป็นการกระทำผิดกฎจราจร เมื่อจำเลยไม่ดูให้ดีว่ามีรถอื่นแล่นมาเพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุชนกันขึ้น ถือได้ว่าเกิดจากความประมาทของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายและครอบครองกัญชา ศาลฎีกาแก้โทษจำหน่ายกัญชา แต่ไม่อาจฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายกัญชา จำคุกกระทงละ 1 ปี 4 เดือน รวมสองกระทงจำคุก2 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ปรับ 10,000บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ข้อหาอื่นให้ยกดังนี้ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะพิพากษาแก้ไขมาก แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายและครอบครองกัญชา: ศาลฎีกาพิจารณาการลงโทษและขอบเขตการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา26,76 ลงโทษจำคุก 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มิได้มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 26 วรรคแรก 76 วรรคแรก ลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 10,000 บาท และให้รอการลงโทษ ดังนี้ แม้จะเป็นการแก้ไขมาก แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 โจทก์ฎีกาว่า คำเบิกความของพยานโจทก์สอดคล้องต้องกันฟังได้ว่า จำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยจากการกระทำของผู้ตายทำให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ จำเลยไม่มีความผิดฐานประมาท
จำเลยขับรถยนต์ไปด้วยความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงผู้ตายได้วิ่งไล่ตี ช. ข้ามถนนตัดหน้าช่องเดินรถที่จำเลยขับไปแล้ว แต่ได้มีรถยนต์อีกคันหนึ่งแล่นมา ผู้ตายจึงชะงักและถอยหลังเข้ามาทางช่องเดินรถของจำเลยโดยกะทันหัน และในระยะกระชั้นชิดทำให้จำเลยไม่สามารถหยุดรถหรือหลบไปทางอื่นได้ทันท่วงทีและในภาวะเช่นนั้นจำเลยไม่อาจคาดคิดได้ว่า จะมีคนวิ่งข้ามถนนตัดหน้าช่องเดินรถที่จำเลยขับไปแล้วกลับชะงัก และถอยหลังเข้ามาขวางหน้ารถยนต์ที่จำเลยขับไปอีก การที่จำเลยขับรถยนต์ชนผู้ตายจึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจป้องกันได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย
of 12