คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2247/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและข้อบังคับบริษัท: การพิจารณาหน้าที่และความร้ายแรงของการกระทำผิด
อุทธรณ์ที่ว่าศาลแรงงานรับฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนผิดไปจากหลักฐานในสำนวน เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 54
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดไว้เฉพาะเป็นพนักงานที่มีหน้าที่จะต้องต้อนรับหรือบริการแขก มีอาการมึนเมา นำของมึนเมาเข้ามาทำงานหรือดื่มของมึนเมาในเวลาทำงาน เป็นการกระทำผิดกรณีร้ายแรง โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลไม่ใช่พนักงานที่มีหน้าที่ดังกล่าวแม้หากจะฟังได้ว่าโจทก์มีหน้าที่รับแขกที่มาติดต่อกับแผนกบุคคล ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องต้อนรับหรือบริการแขกโดยตรง การที่โจทก์กระทำผิดข้อบังคับนี้จึง มิใช่กรณีร้ายแรง
ส่วนที่โจทก์แก้อุทธรณ์ว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์มีสิทธิได้ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าเสียหายเนื่องจากถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม และเงินค่าบริการนั้น โจทก์ต้องยื่นเป็นฟ้องอุทธรณ์ จะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาพักร้อนที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ และการเลิกจ้างลูกจ้างที่สมเหตุผล
โจทก์ยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปีสืบเนื่องมาจากโจทก์ถูกกล่าวหาว่ารายงานเท็จ โดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการลาหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งกำหนดว่า ลูกจ้างจะต้องยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โจทก์ลาหยุดพักผ่อนแล้วไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2524 แต่ผู้บังคับบัญชาไม่อนุมัติถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่โดยไม่แจ้งตามข้อบังคับนายจ้าง ไม่ถือเป็นเหตุอันสมควรเลิกจ้างได้หากมีเหตุป่วย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 47(4) ที่กำหนดว่าละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนั้น หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันมิใช่การละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่งานต่อเนื่อง แม้มีวันหยุดคั่น ก็ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47ที่กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำ ที่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันนั้นมุ่งหมายมิให้ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ครั้งเดียวกันหลายวันทำงาน ฉะนั้น เมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ในวันที่ 18,19,20,21,22 และ 23 แม้วันที่ 19,21 และ22 จะเป็นวันหยุดก็ตาม ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่ครั้งเดียวกัน ความเสียหายของนายจ้างไม่น้อยไปกว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานโดยไม่มีวันหยุดคั่นจึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ตามประกาศดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในชั้นอุทธรณ์คดีแรงงาน: การเลิกจ้างและค่าชดเชย
จำเลยให้การต่อสู้เหตุที่ไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะ โจทก์ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่มีเหตุอันสมควรเพียงประการเดียว มิได้ยกเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรงขึ้นต่อสู้ ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการขาดงานของโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวหรือแจ้งสาเหตุให้จำเลยทราบ เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้น ถึงแม้ศาลแรงงานกลางจะได้วินิจฉัยว่า โจทก์เพียงกระทำผิดเกี่ยวกับการลาซึ่งไม่ใช่ความผิดกรณีร้ายแรง และจำเลยไม่ได้มีคำเตือนเป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อน ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหาเป็นเหตุให้จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการคำนวณค่าชดเชย: การแจ้งเรื่องถูกจับกุม, การประพฤติไม่เหมาะสม, และค่าครองชีพ
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องถูกจับให้ผู้บังคับบัญชาทราบการที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้แจ้งเรื่องนี้แล้ว จึงเป็น อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 54
แม้โจทก์ขาดงานเพราะถูกจับและถูกควบคุมตัวตลอดมาโจทก์ก็ชอบที่จะแจ้งเรื่องที่ถูกจับให้ผู้บังคับบัญชาทราบ การที่โจทก์ไม่แจ้ง ถือว่าเป็นการประพฤติไม่เหมาะสมตามระเบียบว่าด้วยการจ้างและเลิกจ้างคนงานฯ ของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อที่โจทก์มิได้ตั้งประเด็นมาในคำฟ้อง คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์ไปทำงานไม่ได้เพราะถูกจับและถูกควบคุมตัวตลอดมา ถือไม่ได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ การไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือไม่ขอลางาน หาทำให้เป็นการละทิ้งหน้าที่ขึ้นไม่ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการ ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(4) อันจำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์เกี่ยวข้องกับภาวะค่าครองชีพโดยเฉพาะอย่างไร การที่จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนทำนองเดียวกับเงินเดือนค่าครองชีพ ที่โจทก์ได้รับจึงเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทน การทำงาน จึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมาคำนวณค่าชดเชยด้วย
of 3