คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย รังสิกรรพุม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 118 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการได้รับทนายในคดีอัตราโทษสูง – การดำเนินการที่ไม่ถูกต้องของศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายกัญชา ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 75 วรรคแรก และมาตรา 76 วรรคสอง แต่ละกระทงมีอัตราโทษจำคุกถึง 15 ปี ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสองบัญญัติว่าในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ก็ให้ศาลตั้งทนายให้ คดีนี้ศาลชั้นต้นมีได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายเสียก่อนเริ่มพิจารณาแต่ได้ดำเนินคดีไปโดยจำเลยไม่มีทนายแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้พิพากษาลงโทษจำเลยอีกโดยไม่ได้ให้ศาลชั้นต้นจัดการเรื่องทนายเสียให้ถูกต้องเป็นการฝ่าฝืนทบกฎหมายที่กล่าวแล้ว ศาลฎีกาเห็นควรให้ปฏิบัติเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5084/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์เกิน และข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีเช่า
ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ช. และหรือ ว. ฟ้องจำเลยแทน เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว คือ ฟ้องคดีแทน หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาทเท่านั้น ตามบัญชีอัตราแสตมป์ ข้อ 7 (ก) แห่งประมวล-รัษฎากร หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ปิดอากรแสตมป์มา 30 บาท ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือได้ว่าครบถ้วนสมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แล้วรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 69,000 บาท และค่าเสียหายอีกเดือนละ 6,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากอาคารพิพาทแก่โจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น คงเรียกมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทเท่านั้น เมื่อได้ความว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องอาคารพิพาทมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5084/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์เกินกำหนด ถือว่าสมบูรณ์ ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องได้ คดีมีค่าเช่าต่ำกว่าเกณฑ์ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้
ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ช. และหรือว. ฟ้องจำเลยแทน เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว คือ ฟ้องคดีแทน หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาทเท่านั้น ตามบัญชีอัตราแสตมป์ ข้อ 7(ก) แห่งประมวลรัษฎากร หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ปิดอากรแสตมป์มา 30 บาท ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดถือได้ว่าครบถ้วนสมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แล้วรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 69,000 บาท และค่าเสียหายอีกเดือนละ 6,000 บาทนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากอาคารพิพาทแก่โจทก์แต่โจทก์ก็มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่นคงเรียกมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทเท่านั้น เมื่อได้ความว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องอาคารพิพาทมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงและประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วตามมาตรา 248, 249 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 26เป็นของโจทก์หรือจำเลย ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงคลุมไปถึงประเด็นตามคำให้การของจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่า นิติกรรมการกู้ยืมเงินอำพรางนิติกรรมการซื้อขายที่ดินแล้ว ส่วนที่จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขายที่ดินพิพาท และเมื่อมารดาโจทก์ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่มารดาจำเลยและจำเลยครอบครองต่อมา ที่ดินจึงตกเป็นของจำเลยแล้วนั้นเป็นฎีกาที่โต้เถียงข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง และที่จำเลยฎีกาว่า สัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของคู่สัญญาเป็นเอกสารที่รับฟังไม่ได้นั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นตัดสินแล้ว และประเด็นใหม่ที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่26 เป็นของโจทก์หรือจำเลย ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงคลุมไปถึงประเด็นตามคำให้การของจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่า นิติกรรมการกู้ยืมเงินอำพรางนิติกรรมการซื้อขายที่ดินแล้ว
ส่วนที่จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขายที่ดินพิพาท และเมื่อมารดาโจทก์ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่มารดาจำเลยและจำเลยครอบครองต่อมา ที่ดินจึงตกเป็นของจำเลยแล้วนั้นเป็นฎีกาที่โต้เถียงข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง และที่จำเลยฎีกาว่า สัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของคู่สัญญา เป็นเอกสารที่รับฟังไม่ได้นั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล การทำนิติกรรมโดยผู้เยาว์กับผู้แทนไม่อาจใช้สัตยาบันได้
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3และกรณีมิใช่โมฆียะกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้
แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล การทำสัญญาโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่มีผลผูกพัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาตนั้นเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะให้มีการคุ้มครองทรัพย์สิน และกิจการบางอย่างที่สำคัญของผู้เยาว์ เมื่อศาลได้ไต่สวนแล้วเห็นเป็นการสมควรก็สั่งอนุญาต แล้วผู้แทนโดยชอบธรรมจึงจะอาศัยคำอนุญาตของศาลไปทำนิติกรรมได้ ในเมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อนก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย ฉะนั้น สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์ แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 3 จะทำสัญญาในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3และกรณีมิใช่โมฆียะกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส จำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ การที่จำเลยที่ 3 แม้จะเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ในสัญญาฉบับเดียวกันแต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้เป็นลูกหนี้ร่วมกันไม่ ดังนั้นแม้สัญญาจะไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์เท่านั้นส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมายจำเลยที่ 2 จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆียะ
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 และกรณีมิใช่โมฆียะกรรมแม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วแต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วยโจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4964/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้ยกฟ้องข้อหาเบียดบังทรัพย์ เนื่องจากเงินที่ยักยอกไม่ใช่เงินของแผ่นดิน และคดีขาดอายุความ
เงิน รายได้ ฌา ปน สถานที่ จำเลย เบียดบัง ไม่ได้ ส่ง กรมตำรวจ ตาม ที่ โจทก์ กล่าวหา เป็น เงิน นอก งบประมาณ ไม่ใช่ เงิน รายได้ ของ แผ่นดิน และ ความผิด ต่อ ตำแหน่ง หน้าที่ ราชการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ทรัพย์ ที่ เจ้าพนักงาน เบียดบัง เอาไว้ เป็น ของ ตน หรือ ของ ผู้อื่น ต้อง เป็น ทรัพย์ ที่ เจ้าพนักงาน มี หน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการ หรือ รักษา แต่เมื่อ เงิน ที่ จำเลย ยักยอก เอาไป ใช้ ส่วนตัว ใน คดี นี้ เป็น เงิน ค่าบำรุง ที่ เจ้า ภาพ งาน ศพ มา ใช้ ฌา ปน สถาน มอบ ให้ แก่ จำเลย เพื่อ เก็บ ส่ง เป็น เงิน สวัสดิการ ต่อ กรมตำรวจ เท่านั้น มิใช่ เงิน ของ ทางราชการ หรือ ของ รัฐบาล ที่ จำเลย ผู้เป็น เจ้าพนักงาน มี หน้าที่ จัดซื้อ ทำ จัดการ หรือ รักษา จึง ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ไม่ได้ การกระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เป็น ความผิดอันยอมความได้ ซึ่ง ผู้เสียหาย จะ ต้อง ร้องทุกข์ ภายใน 3 เดือน นับแต่ รู้ เรื่อง ความผิด และ รู้ตัว ผู้กระทำ ความผิด แต่ ปรากฏว่า ผู้ช่วย อธิบดี กรมตำรวจ ปฏิบัติ ราชการ แทน อธิบดี กรมตำรวจ รู้ เรื่อง ความผิด และ รู้ตัว ผู้กระทำ ความผิด เมื่อ วันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท . เพิ่ง ได้รับ คำสั่ง จาก ผู้บังคับการ กองสวัสดิการ กรมตำรวจ ให้ ไป ร้องทุกข์ ต่อ พนักงานสอบสวน เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2530 การ ร้องทุกข์ ซึ่ง จะ ต้อง ดำเนินการ ตั้งแต่ รับคำ สั่ง จึง เกิน 3 เดือน นับแต่ รู้ เรื่อง และ รู้ตัว ผู้กระทำผิด แล้ว คดี จึง ขาดอายุความ แม้ จำเลย ไม่ได้ ยก อายุความ ขึ้น ต่อสู้ ศาลฎีกา ก็ ยกขึ้น พิจารณา ได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกเป็นโมฆะ ผู้รับซื้อฝากไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน โจทก์มีสิทธิเรียกคืนได้
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นการฟ้องบุพการีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562 ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วยไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ปัญหาเรื่องโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่ จึงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ไม่อาจยกเรื่องห้ามฟ้องจำเลยที่ 1 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ห. ย่อมเป็นตัวแทนของบรรดาทายาทในการจัดการมรดก มีหน้าที่ต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมและจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากพินัยกรรม และเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกแต่กลับโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองในฐานะส่วนตัว จึงเป็นการทำนิติกรรมให้ตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกอันเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722การโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นกองมรดกของ ห.อยู่ตามเดิม ส่วนบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินย่อมตกได้แก่โจทก์ทั้งสาม ไม่ตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินพิพาทพร้อมบ้านไว้จากจำเลยที่ 1ย่อมไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามนิติกรรมขายฝาก ทั้งเป็นการกระทำที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องเรียกที่ดินพิพาทพร้อมบ้านคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ เพราะเป็นการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และจะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
of 12