คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย รังสิกรรพุม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 118 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกที่เป็นโมฆะและการฟ้องเอาคืนทรัพย์สินจากผู้รับโอนที่ไม่มีสิทธิ
การห้ามฟ้องบุพการีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1562 เป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์ทั้งสามผู้เป็นบุตรกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นบิดาเท่านั้น หามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วยไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ปัญหาเรื่องโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 ไม่อาจยกเรื่องห้ามฟ้องจำเลยที่ 1 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห.มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมของ ห.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 และจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ ตามมาตรา1722 การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห.โอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองในฐานะส่วนตัว โดยจำเลยที่ 1 มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมของ ห.เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ ห.ต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามมาตรา 1722 จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 113 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำนิติกรรม ต้องถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นเลยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นกองมรดกของ ห.อยู่ หาตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวไม่ สำหรับบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน ย่อมตกได้แก่โจทก์ทั้งสามผู้รับพินัยกรรมด้วย
จำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากและรับโอนชื่อทางทะเบียนในที่ดินพิพาทพร้อมบ้านไว้จากจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิจะขายฝากได้ย่อมไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามนิติกรรมขายฝาก
โจทก์ทั้งสามฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จะนำอายุความตามมาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาประนีประนอมยอมความและการฟ้องคดีเมื่อผิดสัญญา
การที่จำเลยตกลงแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามสิทธิในฐานะทายาท และโจทก์จำเลยได้ตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันและทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสืออันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลบังคับกันได้ตามมาตรา 850, 1750 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผลแห่งข้อตกลงทำให้ข้อคัดค้านของโจทก์ระงับไป และได้สิทธิในที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลบังคับใช้ได้ในการแบ่งทรัพย์มรดกและหน้าที่ในการโอนกรรมสิทธิ์
การที่จำเลยตกลงแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามสิทธิในฐานะทายาทและโจทก์จำเลยได้ตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันและทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสืออันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลบังคับกันได้ตามมาตรา 850,1750 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผลแห่งข้อตกลงทำให้ข้อคัดค้านของโจทก์ระงับไป และได้สิทธิในที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงโจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3644/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิในที่ดินและการฟ้องขับไล่ แม้ยังมิได้เข้าครอบครอง ศาลย่อมถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิเจ้าของ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 บุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์บางส่วน ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เข้าครอบครองต่อมา ขอให้ขับไล่และห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยที่ 2 ให้การว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทกรณีย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 โต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทของโจทก์แล้วแม้จำเลยที่ 2 จะยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียว การแยกฟ้องหลายคดี สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยรับของโจรรถจักรยานยนต์ 2 คัน ไว้ในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นแต่ละคดีตามจำนวนรถจักรยานยนต์เป็น 2 คดี เมื่อได้ความว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์คันหนึ่งแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่งเป็นคดีนี้อีกเพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
จำเลยรับของโจรรถจักรยานยนต์ 2 คัน ไว้ในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นแต่ละคดีตามจำนวนรถจักรยานยนต์เป็น 2 คดี เมื่อได้ความว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์คันหนึ่งแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่งเป็นคดีนี้อีกเพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายและการครอบครองปรปักษ์ การครอบครองโดยอาศัยสิทธิผู้ขายไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
ผู้คัดค้านทั้งห้าได้ขายที่พิพาทให้แก่ผู้ร้องโดยผู้ร้องได้ชำระราคาบางส่วนแล้ว และมีข้อตกลงกันว่า ผู้คัดค้านทั้งห้าจะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทให้แก่ผู้ร้อง และผู้ร้องจะชำระเงินส่วนที่เหลือในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อขาย การที่ผู้ร้องครอบครองที่พิพาทจึงเป็นการเข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิของผู้ขายตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นการยึดถือแทนผู้ขาย มิใช่ยึดถือในฐานะเป็นเจ้าของ แม้ผู้ร้องครอบครองที่พิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง กรณีพิพาทขับไล่และค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทคู่ความจึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ชอบ โดยฟังข้อเท็จจริงบางส่วนตามที่ทนายจำเลยที่ 2 แถลงรับ แต่ยังมีข้อเท็จจริงอื่น ๆ ในคำฟ้อง คำให้การและเอกสารประกอบคำให้การซึ่งหากนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยประกอบด้วยแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็จะไม่วินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของที่ดินที่ตึกแถวพิพาทปลูกอยู่และเป็นการปลูกสร้างโดยไม่มีสิทธิในที่ดินของโจทก์ร่วมแต่อย่างใดนั้น เป็นการคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับฟังข้อเท็จจริงที่สมควรจะฟัง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาและการขาดความเสียหายส่วนบุคคล กรณีปล่อยตัวผู้ต้องหาอื่น
จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นกำนันควบคุมตัว ด. กับ ม. และโจทก์ไว้ดำเนินคดีข้อหาลักทรัพย์แล้วได้ปล่อย ด.และ ม.ไป คงมอบตัวโจทก์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีเพียงคนเดียวจะถือว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีเพราะการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยตัว ด.และ ม.ไปไม่ได้ การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของโจทก์เองไม่เกี่ยวกับการปล่อยตัวบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด หากการปล่อยตัว ด.และ ม.ของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็คือรัฐมิใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและการพิสูจน์ความเสียหายของผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นกำนันควบคุมตัว ด. กับ ม.และโจทก์ไว้ดำเนินคดีข้อหาลักทรัพย์แล้วได้ปล่อย ด. และ ม.ไป คงมอบตัวโจทก์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีเพียงคนเดียวจะถือว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีเพราะการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยตัว ด. และ ม.ไปไม่ได้ การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเกี่ยวกับกระทำความผิดของโจทก์เองไม่เกี่ยวกับการปล่อยตัวบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด หากการปล่อยตัว ด. และ ม.ของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการผู้ที่ได้รับความเสียหายก็คือรัฐมิใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
of 12