คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย รังสิกรรพุม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 118 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาและการขาดความเสียหายส่วนบุคคล กรณีปล่อยตัวผู้ต้องหาอื่น
จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นกำนันควบคุมตัว ด. กับ ม. และโจทก์ไว้ดำเนินคดีข้อหาลักทรัพย์แล้วได้ปล่อย ด.และ ม.ไป คงมอบตัวโจทก์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีเพียงคนเดียวจะถือว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีเพราะการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยตัว ด.และ ม.ไปไม่ได้ การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของโจทก์เองไม่เกี่ยวกับการปล่อยตัวบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด หากการปล่อยตัว ด.และ ม.ของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็คือรัฐมิใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกที่พินัยกรรมกำหนด และสิทธิของญาติพี่น้องที่ถูกตัดออกจากกองมรดก
พินัยกรรมของผู้ตายที่ตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีข้อความตอนใดจำกัดห้ามมิให้ผู้ร้องจัดการมรดกของผู้ตายที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม การที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด จึงเป็นการชอบ คำร้องของผู้ร้องได้บรรยายเหตุจำเป็นที่จะต้องตั้งผู้จัดการมรดกไว้แล้ว เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) บังคับให้ต้องดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านก็ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้โต้เถียงว่าไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก และยังได้ขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย แสดงว่าผู้คัดค้านได้ยอมรับแล้วว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย ประเด็นเรื่องเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกจึงไม่มี ผู้ร้องไม่จำต้องนำสืบถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายอีก เมื่อข้อความในพินัยกรรมระบุว่า ผู้ตายขอตัดญาติพี่น้องออกจากกองมรดกทั้งหมด ดังนี้ แม้ผู้คัดค้านจะเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายก็ไม่อยู่ในฐานะทายาทที่จะมายื่นคำร้องขอตั้งเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม เหตุขัดข้องในการจัดการมรดก และฐานะทายาท
ตามพินัยกรรมมีข้อความให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ไม่มีข้อความใดจำกัดห้ามมิให้ผู้ร้องจัดการมรดกของผู้ตายที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม เมื่อพินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกโดยมิได้จำกัดอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมด จึงชอบแล้ว
ตามคำร้องขอได้แสดงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก คำคัดค้านก็มิได้โต้เถียงว่าไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก และยังขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก แสดงว่ายอมรับว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ประเด็นเรื่องเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกจึงไม่มี ผู้ร้องไม่ต้องนำสืบถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกอีก
พินัยกรรมระบุให้ตัดญาติพี่น้องออกจากกองมรดกทั้งหมด ซึ่งหมายถึงตัวผู้คัดค้านด้วย ผู้คัดค้านจึงไม่อยู่ในฐานะทายาทที่จะยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการมรดกตามพินัยกรรมและการตัดสิทธิทายาท: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจจัดการทรัพย์สินทั้งหมด แม้ไม่ได้ระบุในพินัยกรรม
ตามพินัยกรรมมีข้อความให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ไม่มีข้อความใดจำกัดห้ามมิให้ผู้ร้องจัดการมิให้ผู้ร้องจัดการมรดกของผู้ตายที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม เมื่อพินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นจัดการมรดกโดยมิได้จำกัดอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมดจึงชอบแล้ว ตามคำร้องขอได้แสดงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก คำคัดค้านก็มิได้โต้เถียงว่าไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก และยังขอตั้งเองเป็นผู้จัดการมรดก แสดงว่ายอมรับว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ประเด็นเรื่องเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกจึงไม่มี ผู้ร้องไม่ต้องนำสืบถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกอีก พินัยกรรมระบุให้ตัดญาติพี่น้องออกจากกองมรดกทั้งหมดซึ่งหมายถึงตัวผู้คัดค้านด้วย ผู้คัดค้านจึงไม่อยู่ในฐานะทายาทที่จะยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความขาดใบอนุญาตดำเนินคดี คำให้การไม่สมบูรณ์ กระบวนพิจารณาเป็นโมฆะ
ทนายความที่ขาดต่อใบอนุญาตย่อมขาดจากการเป็นทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงและพิมพ์คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลตลอดจนดำเนินคดีในศาล ถ้าฝ่าฝืนย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) หาใช่กรณีเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวกับการเขียนคำคู่ความ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความขาดใบอนุญาตดำเนินคดี คำให้การไม่สมบูรณ์ กระบวนการพิจารณาเป็นโมฆะ
ทนายความที่ขาดต่อใบอนุญาตย่อมขาดจากการเป็นทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงและพิมพ์คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลตลอดจนดำเนินคดีในศาล ถ้าฝ่าฝืนย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) หาใช่กรณีเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวกับการเขียนคำคู่ความ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างขัดกฎหมาย แม้เจ้าของไม่ได้กระทำผิดโดยตรง และผลของการวินิจฉัยอุทธรณ์ล่าช้า
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 เมื่อการก่อสร้างใดฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนสิ่งก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้นแต่หมายความรวมถึงเจ้าของหรือผู้ครอบครองสิ่งก่อสร้างที่ก่อสร้างฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวด้วย และการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จในสามสิบวัน กฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติไว้ว่ามีผลเป็นประการใด แสดงว่าไม่มีบทบังคับ จึงไม่ทำให้อำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในการที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์หมดไปคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังคงมีอำนาจที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์อยู่ หากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ล่าช้ามีผลเพียงให้ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีเมื่อพ้นกำหนดเวลาสามสิบวันโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอน หาใช่ไม่มีสภาพบังคับแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งรื้อถอนอาคารที่ขัดต่อกฎหมาย และหน้าที่ของเจ้าของอาคาร
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุต่าง ๆ ว่า โจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จำเลยไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยให้การถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ สรุปได้ว่า อาคารพิพาทปลูกสร้างขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารหลังจาก พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ใช้บังคับ จึงต้องผูกพันตามกฎหมายดังกล่าว เป็นการแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ทุกข้อชัดแจ้งแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาข้ออ้างต่าง ๆของโจทก์ประกอบกับเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ได้เป็นข้อสรุปแล้วปรับกับข้อกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อปรับได้แล้วจึงมีคำสั่งจะถือว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่คู่กรณี จึงไม่อาจยกเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นขึ้นมาโต้เถียงแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหาได้ไม่
การปลูกสร้างอาคารพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (3) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอน ไม่ว่าอาคารพิพาทจะก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือแต่บางส่วนได้ ซึ่งมิได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้นด้วย
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เกินกว่ากำหนดสามสิบวัน มีผลให้โจทก์ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอน หาใช่จะทำให้คำวินิจฉัยไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง เจ้าของ/ผู้ครอบครองต้องรับผิด แม้ไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้าง
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุต่าง ๆ ว่า โจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จำเลยไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทจำเลยให้การถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ สรุปได้ว่า อาคารพิพาทปลูกสร้างขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารหลังจากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ใช้บังคับ จึงต้องผูกพันตามกฎหมาย ดังกล่าว เป็นการแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ทุกข้อชัดแจ้งแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาข้ออ้างต่าง ๆของโจทก์ประกอบกับเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ได้เป็นข้อสรุปแล้วปรับกับข้อกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อปรับได้แล้วจึงมีคำสั่งจะถือว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่คู่กรณี จึงไม่อาจยกเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นขึ้นมาโต้เถียงแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหาได้ไม่ การปลูกสร้างอาคารพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(3) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอน ไม่ว่าอาคารพิพาทจะก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือแต่บางส่วนได้ซึ่งมิได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้นด้วย คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เกินกว่ากำหนดสามสิบวัน มีผลให้โจทก์ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอนหาใช่จะทำให้คำวินิจฉัยไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่นาของผู้เช่า: การบอกขายที่ไม่เป็นไปตาม พรบ.เช่าที่ดินฯ ไม่ตัดสิทธิซื้อ
การที่ผู้ให้เช่านาบอกขายที่นาให้แก่จำเลย เป็นการบอกขายกันเอง โดยมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต่อมาผู้ให้เช่านาขายนาให้แก่โจทก์แทน จำเลยผู้เช่านาไม่หมดสิทธิที่จะซื้อนาดังกล่าว ดังนั้นข้อความที่จำเลยเบิกความในคดีก่อนว่า ผู้ให้เช่านาขายนาให้โจทก์โดยผู้ให้เช่านาไม่ได้บอกจำเลยก่อน หากบอกจำเลยแล้วจะซื้อไว้เอง จึงไม่เป็นข้อความที่อาจทำให้คู่ความแพ้ชนะกันในประเด็นแห่งคดีได้ ไม่เป็นข้อสำคัญในคดี
of 12