คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย รังสิกรรพุม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 118 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อสัญญากู้ และการบังคับคดี
ปัญหาที่ว่าสัญญากู้ซึ่งมีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมเป็นเงินต้นด้วยเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นมาในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง การที่โจทก์นำดอกเบี้ยล่วงหน้าที่คิดจากจำเลยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 ไปรวมเป็นต้นเงินที่กู้ยืมตามสัญญากู้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นโมฆะ แต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน ยังคงสมบูรณ์ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ และในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อสัญญากู้ และขอบเขตของความโมฆะ
ปัญหาที่ว่าสัญญากู้ซึ่งมีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมเป็นเงินต้นด้วยเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นมาในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
การที่โจทก์นำดอกเบี้ยล่วงหน้าที่คิดจากจำเลยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 654 ไปรวมเป็นต้นเงินที่กู้ยืมตามสัญญากู้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นโมฆะ แต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน ยังคงสมบูรณ์ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับและในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราในสัญญากู้: โมฆะเฉพาะส่วนดอกเบี้ย แต่เงินต้นยังใช้บังคับได้
จำนวนต้นเงินในสัญญากู้ได้รวมดอกเบี้ยที่คิดล่วงหน้าและเป็นดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะแต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25ต่อเดือนยังคงสมบูรณ์ ปัญหาว่าสัญญากู้ซึ่งมีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมเป็นเงินต้นด้วยเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: ตัวการร่วม
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์พาคนร้ายไปบ้านผู้ตาย และจอดรถยนต์รออยู่ที่หน้าบ้านผู้ตาย หลังจากคนร้ายสองคนเข้าไปยิงผู้ตายแล้ว ได้วิ่งมาขึ้นรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 จอดรออยู่ แล้วจำเลยที่ 1 ก็ขับรถยนต์พาคนร้ายหลบหนีไปพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมคบคิดกับพวกวางแผนมาฆ่าผู้ตายโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวการร่วมกับพวกคนร้ายฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: พฤติการณ์ช่วยเหลือคนร้ายก่อน, ระหว่าง, และหลังการกระทำความผิด
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์พาคนร้ายไปบ้านผู้ตาย และจอดรถยนต์รออยู่ที่หน้าบ้านผู้ตาย หลังจากคนร้ายสองคนเข้าไปยิงผู้ตายแล้ว ได้วิ่งมาขึ้นรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 จอดรออยู่ แล้วจำเลยที่ 1 ก็ขับรถยนต์พาคนร้ายหลบหนีไปพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมคบคิดกับพวกวางแผนมาฆ่าผู้ตายโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยที่ 1จึงเป็นตัวการร่วมกับพวกคนร้ายฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำทางน้ำสาธารณะด้วยการก่อสร้างกำแพง เจ้าของที่ดินไม่มีสิทธิในที่ดินสาธารณะ
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 16573 และ 17726 ทิศใต้ของที่ดินทั้งสองแปลงมีลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ตั้งอยู่ ลำกระโดงดังกล่าวชาวบ้านได้ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำมาเป็นเวลานับสิบ ๆ ปี โดยไม่มีผู้ใดขัดขวางหวงห้าม นอกจากนี้ทางราชการยังเคยเข้าไปขุดลอกเมื่อลำกระโดงนั้นตื้นเขิน ถือได้โดยปริยายว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นลำกระโดงให้เป็นทางน้ำสาธารณประโยชน์แล้วลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) ซึ่งไม่อาจโอนให้กันได้ การที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารกำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กรุกล้ำเข้าไปในลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ซึ่งเป็นทางน้ำสาธารณประโยชน์โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 69 และข้อ 72 วรรคแรก เมื่อปรากฏว่ากำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กของจำเลยทั้งสองในส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในลำกระโดงดังกล่าวไม่สามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 72 วรรคแรกได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตกรุงเทพมหานคร จึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารกำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กให้พ้นพื้นที่ลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลตั้งเจ้าพนักงานตรวจอาการป่วยจำเลยเพื่อพิจารณาเลื่อนคดี แม้เจ้าพนักงานมิใช่แพทย์
ในกรณีที่จำเลยขอเลื่อนการสืบพยาน อ้างว่า จำเลยป่วยไม่สามารถมาศาลได้ ศาลมีอำนาจตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่าจำเลยป่วยจริงหรือไม่เพียงใด โดยไม่ต้องมีแพทย์ไปตรวจด้วย แม้เจ้าพนักงานศาลจะมิใช่แพทย์ แต่เมื่อเจ้าพนักงานศาลได้รายงานผลการตรวจดูอาการจำเลยต่อศาลโดยสาบานตัวแล้ว ศาลย่อมรับฟังและเชื่อได้ว่าอาการป่วยของจำเลยไม่ร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากข้อเท็จจริงเกินกรอบและมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น-อุทธรณ์
การโต้เถียงเรื่องวันเวลาในการเข้าแย่งการครอบครองที่พิพาทว่าเมื่อใดเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันอาจให้เช่าได้ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเดือนละไม่เกิน 10,000 บาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยสามารถยกปัญหาข้อกฎหมายนั้นขึ้นอุทธรณ์ได้ แต่จำเลยหาได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในอุทธรณ์ของจำเลยไม่ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา: ประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
การโต้เถียงเรื่องวันเวลาในการเข้าแย่งการครอบครองที่พิพาทว่าเมื่อใดเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันอาจให้เช่าได้ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเดือนละไม่เกิน 10,000 บาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
ปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยสามารถยกปัญหาข้อกฎหมายนั้นขึ้นอุทธรณ์ได้ แต่จำเลยหาได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในอุทธรณ์ของจำเลยไม่ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาล-อุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินภายใต้ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และการครอบครองปรปักษ์ที่ต้องพ้นระยะห้ามโอน
ที่ดินพิพาทมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยโจทก์ได้รับมาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ดังนั้นสิทธิของโจทก์ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะต้องเป็นไปตาม พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวมีข้อบังคับว่า ภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันได้รับโฉนดที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้นอกจากการตกทอดทางมรดก หรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี ดังนั้น แม้ส.บุตรจำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจากผ. สามีโจทก์และรับมอบการครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อตลอดมา จนกระทั่งจำเลยรับโอนครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาถึงวันที่ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่จำเลยจะนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาได้ไม่ แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง(2) โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตน โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาฟ้องศาลได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเพิกถอนได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน แต่ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว
of 12