คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย รังสิกรรพุม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 118 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7347/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากราคาทรัพย์สินในชั้นฎีกาลดลงต่ำกว่า 200,000 บาท
โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูป หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามใช้ราคาเป็นเงิน 248,700 บาท แก่โจทก์ ซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 200,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษา กลับให้จำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูปตามฟ้องแก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถคืนได้ให้ใช้ราคาเป็นเงิน 128,340 บาท แก่โจทก์แทน เมื่อจำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7347/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องจำนวนทุนทรัพย์ – ศาลอุทธรณ์ลดจำนวนเงินที่พิพาท ทำให้ไม่สามารถฎีกาได้
โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูป หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามใช้ราคาเป็นเงิน248,700 บาท แก่โจทก์ ซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 200,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูปตามฟ้องแก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถคืนได้ให้ใช้ราคาเป็นเงิน128,340 บาท แก่โจทก์แทน เมื่อจำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและหักทาง โดยการแบ่งแยกที่ดินให้เป็นไปตามแผนที่
ข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักทางฯจำเลยที่1ถึงที่3มิได้ประสงค์จะให้ที่ดินที่แบ่งแยกเป็นทางนั้นตกเป็นของผู้หนึ่งผู้ใดในระหว่าง เจ้าของรวมด้วยกันจำเลยที่1ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินที่มี กรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่2และที่3ให้แก่โจทก์นอกจากจะระบุเนื้อที่ดินที่จะยกให้ว่ามีเนื้อที่385ตารางวาแล้วยังกำหนดด้วยว่ายอมให้ทำถนนผ่านกว้าง3เมตรตามแผนที่ท้ายสัญญายอมที่สัญญายอมระบุว่าจำเลยที่1ยกที่ดินให้โจทก์385ตารางวาจึงเป็นเพียงการกะประมาณเนื้อที่ไว้มิได้รวมถึงที่ดินแปลงที่ระบุว่าหักทางด้วยแต่อย่างใดจำเลยที่1แบ่งแยกที่ดินให้เป็นไปตามแผนที่และจดทะเบียนยกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7376/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดและการไม่เสียสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 ข้อความที่ว่า "บิดาเป็นคนต่างด้าว" นั้น คำว่า "บิดา" หมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และข้อความที่ว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง" คำว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย"หมายถึงผู้ที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทยแต่เดินทางเข้ามาเพื่อพักอาศัยในราชอาณาจักรไทย เมื่อ ล.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งหกเพราะมิได้จดทะเบียนสมรสกับ จ. มารดาโจทก์ทั้งหก และ จ.เป็นคนเกิดในราชอาณาจักรไทย แม้จะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) และกลายเป็นคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จ.ก็ไม่ใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) โจทก์ทั้งหกจึงไม่ใช่เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและในขณะเกิดบิดาหรือมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนั้นการที่ จ.ถูกถอนสัญชาติไทยไม่ทำให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 1(3) ไปด้วย และไม่ทำให้โจทก์ที่ 6 ซึ่งเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับเข้ากรณีไม่ได้สัญชาติไทยตามข้อ 2 ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10บัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7(1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วยและขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เกิด จ. ยังไม่ถูกถอนสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 จึงเป็นผู้เกิดโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามบทบัญญัติมาตรา 7(1) ดังกล่าว และพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 11 บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย แม้เป็นผลให้ จ.ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7(2) ประกอบมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง กลายเป็นบุคคลที่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ตามมาตรา 7 ทวิวรรคสาม แต่บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม ก็ต้องใช้บังคับกับ จ. ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2535 ใช้บังคับเป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่โจทก์ที่ 6 เกิด ขณะโจทก์ที่ 6 เกิด จ.ยังไม่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย คนเข้าเมือง ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม อีกทั้ง ล.บิดาโจทก์ที่ 6 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดา ล.เป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ล. จึงมิใช่ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม เมื่อถือไม่ได้ว่าในขณะโจทก์ที่ 6เกิด บิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้สมรสกับมารดาหรือมารดาของโจทก์ที่ 6 เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 6 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ดังนั้น โจทก์ทั้งหกไม่เสียสัญชาติไทยเพราะประกาศใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7376/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดภายใต้ประกาศและ พ.ร.บ.สัญชาติ กรณีบิดา/มารดาเป็นคนต่างด้าวหรือถูกถอนสัญชาติ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 ข้อความที่ว่า"บิดาเป็นคนต่างด้าว" นั้น คำว่า "บิดา" หมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และข้อความที่ว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง" คำว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย" หมายถึงผู้ที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทยแต่เดินทางเข้ามาเพื่อพักอาศัยในราชอาณาจักรไทย เมื่อ ล.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งหกเพราะมิได้จดทะเบียนสมรสกับ จ. มารดาโจทก์ทั้งหก และ จ.เป็นคนเกิดในราชอาณาจักรไทย แม้จะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3) และกลายเป็นคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จ.ก็ไม่ใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3)โจทก์ทั้งหกจึงไม่ใช่เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะเกิดบิดาหรือมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนั้น การที่ จ.ถูกถอนสัญชาติไทยไม่ทำให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3) ไปด้วย และไม่ทำให้โจทก์ที่ 6 ซึ่งเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับเข้ากรณีไม่ได้สัญชาติไทยตามข้อ 2 ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 10 บัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับด้วย และขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เกิด จ.ยังไม่ถูกถอนสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 จึงเป็นผู้เกิดโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามบทบัญญัติมาตรา 7 (1) ดังกล่าว และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535มาตรา 11 บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับด้วย แม้เป็นผลให้ จ.ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา7 (2) ประกอบมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง กลายเป็นบุคคลที่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม แต่บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม ก็ต้องใช้บังคับกับจ.ตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับเป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่โจทก์ที่ 6 เกิด ขณะโจทก์ที่ 6 เกิด จ.ยังไม่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม อีกทั้ง ล.บิดาโจทก์ที่ 6 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดา ล.เป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ล.จึงมิใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามาตรา 7 ทวิ วรรคสาม เมื่อถือไม่ได้ว่าในขณะโจทก์ที่ 6 เกิด บิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้สมรสกับมารดาหรือมารดาของโจทก์ที่ 6 เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 6 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ดังนั้นโจทก์ทั้งหกไม่เสียสัญชาติไทยเพราะการประกาศใช้ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันเจ้าของรวมอื่น การครอบครองปรปักษ์นอกประเด็น
ตามคำฟ้องโจทก์ยืนยันว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์มาแต่เดิมขอให้จำเลยจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้เป็นของโจทก์ตามสัญญา มิได้ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ด้วย เพราะการครอบครองปรปักษ์จะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย แม้โจทก์จะครอบครองมากว่า 10 ปี ศาลก็จะพิพากษาให้เป็นของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
โจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกิดขึ้นต่อกัน โดยจำเลยขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินรังวัดที่ดินรวมเอาที่พิพาทเข้าด้วยเพื่อแบ่งแยกออกโฉนดที่ดินระหว่างเจ้าของรวม แต่โจทก์ไม่ยอมโดยได้ระวังชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์รวมไปถึงที่พิพาทตามที่ครอบครองมาด้วย จำเลยจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงมีข้อความว่า ที่ดินแปลงที่แบ่งแยกจากโฉนดเป็นแปลงที่ 7 (ซึ่งหมายถึงที่พิพาท) แบ่งให้โจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยดำเนินการรังวัดไปได้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 เจ้าของรวมเพียง 2 คน ทำบันทึกอันเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความว่าให้แบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์เป็นการจำหน่ายตัวทรัพย์สินของเจ้าของรวม เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5ผู้เป็นเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ตกลงยินยอมในการให้ที่พิพาทแก่โจทก์ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 และในขณะที่ทำบันทึกที่พิพาทยังมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดของจำเลยที่ 2 และที่ 4 โจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับให้จำเลยทั้งห้าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมทั้งหมด ไม่ผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ไม่ยินยอม
ตามคำฟ้องโจทก์ยืนยันว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์มาแต่เดิมขอให้จำเลยจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้เป็นของโจทก์ตามสัญญา มิได้ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้นไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ด้วย เพราะการครอบครองปรปักษ์จะเกิดมีขึ้นได้แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย แม้โจทก์จะครอบครองมากว่า10 ปี ศาลก็จะพิพากษาให้เป็นของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 โจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกิดขึ้นต่อกัน โดยจำเลยขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินรังวัดที่ดินรวมเอาที่พิพาทเข้าด้วยเพื่อแบ่งแยกออกโฉนดที่ดินระหว่างเจ้าของรวม แต่โจทก์ไม่ยอมโดยได้ระวังชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์รวมไปถึงที่พิพาทตามที่ครอบครองมาด้วย จำเลยจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงมีข้อความว่าที่ดินแปลงที่แบ่งแยกจากโฉนดเป็นแปลงที่ 7(ซึ่งหมายถึงที่พิพาท) แบ่งให้โจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยดำเนินการรังวัดไปได้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 เจ้าของรวมเพียง 2 คน ทำบันทึกอันเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความว่าให้แบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์เป็นการจำหน่ายตัวทรัพย์สินของเจ้าของรวม เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 5 ผู้เป็นเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ตกลงยินยอมในการให้ที่พิพาทแก่โจทก์ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 และในขณะที่ทำบันทึกที่พิพาทยังมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดของจำเลยที่ 2 และที่ 4 โจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับให้จำเลยทั้งห้าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6816/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: หนังสือแสดงเจตนาโอนเพียงฝ่ายเดียวถือเป็นการสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 บัญญัติเพียงว่าการโอนสิทธิเรียกร้องจะต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอนโดยได้ทำคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเป็นหนังสือ หาได้บัญญัติว่าการโอนนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนไม่ ฉะนั้นการโอนสิทธิเรียกร้องทีไ่ด้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนแต่ฝ่ายเดียวก็เป็นการสมบูรณ์ โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายห้องชุดพิพาทจากจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอซื้อห้องชุดพิพาทจากโจทก์ โจทก์ตกลงจะขายให้และมีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 1 จะซื้อห้องชุดพิพาทต่อจากโจทก์ ขอให้จำเลยที่ 2 ออกหนังสือรับรองจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อการกู้เงินจากธนาคาร ดังนี้ หนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยที่ 2 เป็นหนังสือที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้แสดงเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อขายห้องชุดพิพาทที่มีต่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 ถือได้ว่าการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำเป็นหนังสือเป็นการสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ผู้โอนจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6772/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาจำกัดตามคำให้การเดิม, ที่ดินพิพาทไม่ใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อย
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่เป็นข้อ-เท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้องและไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาทำกินและปลูกกระท่อมลงในที่ดินของโจทก์บางส่วน จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ก่อสร้างครอบครองทำประโยชน์มานานกว่า 20 ปี ที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยที่ 1 ครอบครอง ดังนี้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 จำเลยทั้งสองจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6772/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: จำเลยมิได้ยกประเด็นป่าสงวนฯ และประเด็นแย่งการครอบครองขึ้นในศาลอุทธรณ์ จึงไม่อาจฎีกาได้
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้องและไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาทำกินและปลูกกระท่อมลงในที่ดินของโจทก์บางส่วน จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ก่อสร้างครอบครองทำประโยชน์มานานกว่า 20 ปี ที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยที่ 1 ครอบครอง ดังนี้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 จำเลยทั้งสองจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้
of 12