พบผลลัพธ์ทั้งหมด 542 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7010/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินสดของกลางในคดียาเสพติด: ต้องพิสูจน์ความเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 3 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ว่า หมายความว่าการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด และให้หมายความรวมถึงการสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้อง และคดีสำหรับจำเลยที่ 4 ถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้น พิพากษาลงโทษในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองมิได้มีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งมิได้อยู่ในความหมายของ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 3 เงินสดของกลางจำนวน 516,260 บาท จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 30,31ที่จะพึงรับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจติดตามค่าทดแทนที่ดินและการกระทำนอกเหนืออำนาจของกรรมการจำเลย
เจ้าอาวาสของวัดจำเลยที่ 1 เพียงแต่มอบอำนาจให้ อ.ไปติดต่อเรียกร้องเงินค่าผาติกรรมจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจนเสร็จเรื่องเท่านั้น โดยไม่มีข้อตกลงที่ว่าจะให้เงินเป็นค่าตอบแทนเพื่อการนั้นแก่ อ. เลย ส่วนเอกสารข้อตกลงว่าจะให้เงินค่าตอบแทนแก่ อ. นั้น เจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1ซึ่งถือว่าเป็นผู้แทนของนิติบุคคลจำเลยที่ 1 ก็มิได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ตามเอกสารดังกล่าวคงมีแต่จำเลยที่ 3 และที่ 4ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 แม้จะมีข้อความระบุว่าเจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการติดตาม เรื่องที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ถูกเวนคืนจนแล้วเสร็จนั้น ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือ มอบอำนาจให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 อีกทั้งเจ้าอาวาส ของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เคยเห็นและไม่เคยทราบเรื่องข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าว และไม่เคยแจ้งให้จำเลยที่ 4 ไปดำเนินการ เรียกค่าตอบแทนดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากมีมติของ มหาเถรสมาคมซึ่งมีขึ้นตั้งแต่ปี 2507 ว่า เงินค่าผาติกรรม ไม่สามารถนำไปใช้จ่ายในการใดได้ นอกจากจะนำผลประโยชน์ ของเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายได้เท่านั้น และมติดังกล่าวปัจจุบัน ก็ยังใช้บังคับอยู่ เจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับรู้ หรือได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ผูกพัน และไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว สำหรับจำเลยที่ 2 แม้มีตำแหน่งเป็นไวยาวัจกรของจำเลยที่ 1 แต่ก็มิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมตกลงที่จะให้เงิน ค่าตอบแทนแก่ อ. ตามข้อตกลงดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 นั้น แม้ว่าจะลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกข้อตกลง ตามเอกสารดังกล่าวแต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่า กระทำไปในฐานะ ที่เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 เท่านั้น อ. ย่อมทราบอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ใช่เจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 และ เจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับรู้หรือให้สัตยาบันแก่ การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นการกระทำโดยปราศจาก อำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด ต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย สำหรับจำเลยที่ 5 นั้น แม้จะมีตำแหน่งเป็น ประธานกรรมการฝ่ายฆราวาสของกองจัดการรายได้ และผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 5 ไม่ได้ร่วมลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวด้วย อีกทั้งจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน จำเลยทั้งห้ามีคำขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นใน ปัญหาข้อกฎหมายแม้ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวมา ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ขัดต่อกฎหมาย: การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ แม้คู่สมรสอีกฝ่ายเสียชีวิตแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้อง
ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ป.ป. ได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 แล้ว และยังเป็นคู่สมรสกับโจทก์ที่ 1อยู่ตลอดมาจนกระทั่ง ป. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. จึงเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1452 และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้ภายหลังจากที่ ป. ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยแล้ว ป.ได้ถึงแก่ความตาย เป็นเหตุให้การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.สิ้นสุดลงก็ตาม จำเลยก็จะอ้างว่าจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ป. โดยสุจริต การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.จึงไม่เป็นโมฆะหาได้ไม่ และเมื่อการจดทะเบียนสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. ยังเป็นโมฆะอยู่ โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาป. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับ ป.ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. เป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ขัดแย้งกับสถานะสมรสเดิม: โมฆะและการมีอำนาจฟ้อง
ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ป. ป.ได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 แล้ว และยังเป็นคู่สมรสกับโจทก์ที่ 1 อยู่ตลอดมาจนกระทั่ง ป.ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา1452 และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้ภายหลังจากที่ ป.ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยแล้ว ป.ได้ถึงแก่ความตาย เป็นเหตุให้การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.สิ้นสุดลงก็ตาม จำเลยก็จะอ้างว่าจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ป.โดยสุจริต การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.จึงไม่เป็นโมฆะหาได้ไม่ และเมื่อการจดทะเบียนสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.ยังเป็นโมฆะอยู่ โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยา ป. และโจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับ ป.ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.เป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6601/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์ซ้ำโดยไม่มีข้อเท็จจริงใหม่ เป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำที่ต้องห้าม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับแรกของผู้ร้องเพราะผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลย ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องจะบังคับคดีเอาชำระหนี้ได้ ข้อที่ผู้ร้องอ้างเป็นที่สุดไปแล้วเพราะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับหลังอีกโดยมีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับแรก และไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มเติมอีกเลย นอกจากจำนวนหนี้ที่คำนวณดอกเบี้ยถึงวันยื่นคำร้องฉบับหลังซึ่งมีจำนวนมากกว่าเดิมเท่านั้น จึงเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว แม้เป็นขั้นตอนชั้นบังคับคดีก็ตาม ก็ต้องห้ามตามมาตรา 144 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6601/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์ซ้ำในคดีบังคับคดี แม้มีข้อเท็จจริงเดิม ศาลยกคำร้องตามมาตรา 144 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับแรกของผู้ร้องเพราะผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลย ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องจะบังคับคดีเอาชำระหนี้ได้ ข้อที่ผู้ร้องอ้างเป็นที่สุดไปแล้วเพราะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับหลังอีกโดยมีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับแรก และไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสืบหาทรัพย์สินของจำเลย เพิ่มเติมอีกเลย นอกจากจำนวนหนี้ที่คำนวณดอกเบี้ย ถึงวันยื่นคำร้องฉบับหลังซึ่งมีจำนวนมากกว่าเดิมเท่านั้น จึงเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดี หรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว แม้เป็นขั้นตอน ชั้นบังคับคดีก็ตาม ก็ต้องห้ามตามมาตรา 144 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระ: ไม่มีเหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจากที่จำเลยได้รับรถไปตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเพียง 12 งวด และผิดนัดไม่ชำระตั้งแต่งวดที่13 เป็นต้นมาจนถึงวันฟ้อง โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว การผิดนัดของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปถึงเรื่องรายละเอียดของค่าเสียหาย ส่วนคำขอท้ายฟ้องเป็นการขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์คืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์ ลักษณะคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องเช่นนี้ เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอ้างเหตุว่า จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อทั่วไปเท่านั้น คดีจึงไม่มีกรณีที่จำเลยต้องชำระค่าเสียหายแม้จะเกิดจากเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยคำฟ้องไม่ได้ระบุถึงเหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจากที่จำเลยได้รับรถไปตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเพียง 12 งวดและผิดนัดไม่ชำระตั้งแต่งวดที่ 13 เป็นต้นมาจนถึงวันฟ้องโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว การผิดนัดของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปถึงเรื่องรายละเอียดของค่าเสียหาย ส่วนคำขอท้ายฟ้องเป็นการขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์คืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์ ลักษณะคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องเช่นนี้ เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอ้างเหตุว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อทั่วไปเท่านั้น คดีจึงไม่มีกรณีที่จำเลยต้องชำระค่าเสียหายแม้จะเกิดจากเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8299/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดหลายกรรม แม้ยึดของกลางพร้อมกัน ศาลต้องลงโทษปรับตามแต่ละความผิด
การมีไว้เพื่อขาย ซึ่งยาสูบที่ผลิตในต่างประเทศโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ สุราต่างประเทศที่มิได้ปิดแสตมป์สุรา และสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีสรรพสามิต กับมีไพ่ไว้ในครอบครอง แม้จะยึดของกลางทั้งหมดได้ในคราวเดียวกัน แต่การกระทำผิดแต่ละข้อหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายต่างพระราชบัญญัติโดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม รวม 4 กระทง ไม่ใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 50 พ.ร.บ.สุราพ.ศ.2493 มาตรา 33 พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 162และ พ.ร.บ.ไพ่ พ.ศ.2486 มาตรา 14 ทวิ กำหนดโทษปรับผู้กระทำผิดโดยมิได้มีข้อจำกัดว่าถ้ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนให้ปรับรวมกัน ศาลจึงต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งห้าเรียงตามรายตัวบุคคลตาม ป.อ.มาตรา 31
พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 50 พ.ร.บ.สุราพ.ศ.2493 มาตรา 33 พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 162และ พ.ร.บ.ไพ่ พ.ศ.2486 มาตรา 14 ทวิ กำหนดโทษปรับผู้กระทำผิดโดยมิได้มีข้อจำกัดว่าถ้ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนให้ปรับรวมกัน ศาลจึงต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งห้าเรียงตามรายตัวบุคคลตาม ป.อ.มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8299/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตามกฎหมายหลายบท กรณีมีสินค้าผิดกฎหมายและไพ่
การมีไว้เพื่อขาย ซึ่งยาสูบที่ผลิตในต่างประเทศโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ สุราต่างประเทศที่มิได้ปิดแสตมป์สุราและสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีสรรพสามิต กับมีไพ่ไว้ในครอบครอง แม้จะยึดของกลางทั้งหมดได้ในคราวเดียวกัน แต่การกระทำผิดแต่ละข้อหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายต่างพระราชบัญญัติโดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม รวม 4 กระทงไม่ใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 50 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 33 พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2527 มาตรา 162 และพระราชบัญญัติไพ่ พ.ศ. 2486มาตรา 14 ทวิ กำหนดโทษปรับผู้กระทำผิดโดยมิได้มีข้อจำกัดว่าถ้ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนให้ปรับรวมกัน ศาลจึงต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งห้าเรียงตามรายตัวบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31