คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อธิราช มณีภาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 542 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัย-ละเมิด: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมเมื่อประกันภัยจ่ายไม่คุ้ม
บริษัทประกันภัยที่โจทก์ที่ 3 เอาประกันภัยไว้จะชดใช้ราคารถยนต์ให้แก่โจทก์ที่ 3 บางส่วน อันเป็นสิทธิของโจทก์ที่ 3 ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาประกันภัยแล้ว แต่ถ้าจำนวนเงินที่โจทก์ที่ 3 ได้รับไปนั้นยังไม่คุ้มกับความเสียหายที่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 3 ก็ยังมีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดที่ได้กระทำต่อโจทก์ที่ 3 อยู่ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อระงับ การคิดดอกเบี้ยผิดนัด และค่าขาดประโยชน์จากการไม่ส่งมอบรถ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อระงับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย ไม่ส่งมอบรถคืน มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะใช้รถนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้สัญญาเช่าซื้อที่ทำขึ้นจะมีข้อความระบุทำนองว่า หากผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อและค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ ตามสัญญา ผู้เช่าซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยในเงินต้นที่ผิดนัดให้แก่เจ้าของในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่เมื่อสัญญาเช่าซื้อนั้นเลิกกันแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากฝ่ายจำเลยในอัตราดังกล่าวตามสัญญา หากแต่คงมีสิทธิเรียกให้ฝ่ายจำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดเพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับ ค่าเสียหายจากการไม่คืนรถ และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้บังคับหลังเลิกสัญญา
เมื่อสัญญาเช่าซื้อระงับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย ไม่ส่งมอบรถคืน มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะใช้รถนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้สัญญาเช่าซื้อที่ทำขึ้นจะมีข้อความระบุทำนองว่า หากผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อและค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ ตามสัญญา ผู้เช่าซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยในเงินต้นที่ผิดนัดให้แก่เจ้าของในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่เมื่อสัญญาเช่าซื้อนั้นเลิกกันแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากฝ่ายจำเลยในอัตราดังกล่าวตามสัญญา หากแต่คงมีสิทธิเรียกให้ฝ่ายจำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดเพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7653/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้ไม่เป็นยอมความ, การนำสืบพยานหลักฐานในคดีเช็ค
บันทึกข้อตกลงที่จำเลยและ ศ.ทำไว้แก่โจทก์เพื่อยืนยันและรับสภาพหนี้ระบุว่า จำเลยขอทำการตกลงกับโจทก์ว่าจะนำเงินมาชำระให้เสร็จตามจำนวนที่ลงในเช็คพิพาทภายใน 2 เดือน นับแต่วันทำหนังสือ เมื่อชำระเสร็จแล้วโจทก์ไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งอีกต่อไป หากไม่สามารถชำระได้อีกยินยอมให้โจทก์ดำเนินคดีตามเช็คดังกล่าวได้ทั้งทางอาญาและทางแพ่ง และ ศ.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวยินยอมสั่งจ่ายเช็คอีกฉบับหนึ่งซึ่งเป็นเช็คล่วงหน้าให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและตามเช็คดังกล่าว เมื่อเช็คถึงกำหนดชำระให้โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินได้ทันที บันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะยังมีเงื่อนไขที่ให้จำเลยชำระเงินคืนให้โจทก์เสร็จสิ้นก่อนโจทก์จึงจะไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ได้ชำระเงินคืนแก่โจทก์ และเช็คที่ ศ.บุตรจำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ให้โจทก์ถูก ศ.แจ้งธนาคารให้ระงับการจ่ายเงิน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องตามเช็คฉบับพิพาทของโจทก์จึงยังไม่ระงับ
ในคดีอาญา ป.วิ.อ. มาตรา 226 มาตรา 227 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการอ้างและการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานไว้โดยเฉพาะแล้วการที่จำเลยนำสืบถึงความเป็นมาแห่งหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย จำเลยย่อมนำสืบได้ แม้จะเป็นการนำสืบหักล้างเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขเอกสารก็ตาม กรณีเช่นว่านี้จะนำ ป.วิ.พ.มาตรา 94มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7638/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์กรณีไม่มีการขาย: คำนวณจากจำนวนเงินที่ชนะคดี ไม่ใช่ราคาทรัพย์
เดิมศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาความปรากฏว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายอยู่ก่อนการก่อหนี้คดีนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยขอให้ศาลพิจารณาใหม่ ซึ่งศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่แล้วพิพากษายกฟ้องจำเลย มีผลทำให้การยึดทรัพย์เป็นอันยกเลิกเพิกถอนไป แต่หาได้เป็นโมฆะไม่ โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมการยึดแล้วไม่มีการขายให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในอัตราร้อยละ3.5 ของจำนวนเงินที่โจทก์ชนะคดีตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ใช่ตามราคาทรัพย์ที่ยึดเพราะกรณีที่ให้ชำระตามราคาของทรัพย์ที่ยึดนั้นมีความหมายว่าราคาทรัพย์ที่ยึดหากขายได้ก็จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนหนี้ที่ต้องชำระตามคำพิพากษา หรือหากมีจำนวนมากกว่าก็ไม่มากเกินไปนัก เพราะมิฉะนั้นแล้วผู้นำยึดอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยึดโดยไม่เหมาะสมกับจำนวนหนี้ที่ผู้นำยึดจะได้รับจากการขายทรัพย์ที่นำยึดนั้นจึงกำหนดให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณีที่ยึดแล้วไม่มีการขายในอัตราร้อยละ 3.5 ของจำนวนเงินที่โจทก์ชนะคดีในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7598/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่าเสียหายในคดีละเมิด: ศาลแก้ไขค่าเสียหายให้ตรงตามที่ฟ้องได้ แม้ไม่มีการฎีกา
จำเลยได้นำเสาปูนมาปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะไม่ให้รถยนต์ของโจทก์ผ่านทางพิพาทไปยังที่ดินของโจทก์ซึ่งประกอบกิจการโรงสีและเลี้ยงเป็ด ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนในการใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่15 ธันวาคม 2534 จนกว่าจะรื้อถอนเสาคอนกรีตออกจากทางพิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 27 เมษายน2535 ว่า โจทก์ขอคิดค่าเสียหายนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเพียง 30 วัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2535 เป็นเวลาถึง 135 วันจึงเป็นการพิพากษาให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7598/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิใช้ทางสาธารณะ การรื้อถอนสิ่งกีดขวาง และขอบเขตการคิดค่าเสียหาย
จำเลยได้นำเสาปูนมาปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะไม่ให้รถยนต์ของโจทก์ผ่านทางพิพาทไปยังที่ดินของโจทก์ซึ่งประกอบกิจการโรงสีและเลี้ยงเป็ด ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนในการใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่15 ธันวาคม 2534 จนกว่าจะรื้อถอนเสาคอนกรีตออกจากทางพิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2535 ว่า โจทก์ขอคิดค่าเสียหายนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเพียง30 วัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2535เป็นเวลาถึง 135 วันจึงเป็นเวลาพิพากษาให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่งปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7523/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยข้อตกลง, ค่าเสื่อมราคา, และการหักกลบลบหนี้
จำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่ งวดที่ 1 ถึง งวดที่ 9เรียงลำดับมา แม้ทุกงวดจะชำระไม่ตรงเวลา แต่โจทก์ก็รับไปโดยไม่มีข้อโต้แย้งแสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จึงไม่ถือว่าการชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงเวลาเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครั้งสุดท้ายงวดที่ 9เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 แต่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 ห่างจากวันชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายเพียง 19 วัน เป็นการยึดรถคืนโดยไม่มีสิทธิจะกระทำได้ นอกจากนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังได้ตกลงไว้ว่าในกรณีผู้เช่าไม่ใช้เงินค่าเช่าสองงวดติด ๆ กัน เมื่อโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ผู้เช่าละเลยไม่ปฏิบัติตามภายในกำหนด 30 วัน ผู้เช่ายอมให้เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกการเช่าและริบเงินที่ได้รับชำระแล้วและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินได้ทันที อีกทั้งโจทก์ก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายใน30 วัน ก่อนจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่โจทก์มิได้ มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติการชำระค่าเช่าซื้อภายใน 30 วัน กลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาทันทีการบอกเลิกสัญญาโดยผิดข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ชอบ การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 25พฤศจิกายน 2534 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งเสียภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 เพิ่งมาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มี สิทธิยึดรถหลังจากถูกโจทก์ฟ้องและโจทก์ได้ยึดรถไปแล้ว1 ปีเศษ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับรถคืนแล้วโจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วแก่จำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถที่เช่าซื้อตั้งแต่วันทำสัญญาถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม รถที่โจทก์ยึดคืนปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นเงิน 220,000 บาท และก่อนทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินดาวน์แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไปแล้ว เป็นเงิน 200,000 บาท ถือได้ว่าเป็นการงาน อันได้กระทำให้ เพราะเมื่อโจทก์ยึดรถคืนมาย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์กล่าวคือ ตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นส่วนประกอบของรถ ส่วนเงินดาวน์ก็เป็นส่วนหนึ่งของราคารถ โจทก์จึง ต้องใช้คืนแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มก็ดี ชำระเงินดาวน์ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 อยู่ด้วยในการที่นำรถไปใช้รับจ้างบรรทุกสิ่งของ เป็นเวลาถึง 15 เดือน ซึ่งรถย่อมมีการเสื่อมสภาพลง จึงต้อง หักค่าเสื่อมราคาของรถออกเสียก่อน ส่วนค่าเสียหายอย่างอื่นที่ต่างฝ่ายต่างเรียกร้องนั้นเมื่อสัญญาเช่าซื้อมิได้เลิกกันเพราะความผิดของฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายจึงต่างไม่มีสิทธิเรียกให้อีกฝ่ายชำระ เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันที่จะต้องชำระหนี้เงินเป็นอย่างเดียวกัน และต่างฟ้องอีกฝ่ายหนึ่งให้รับผิดซึ่งศาลรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับคดี ศาลฎีกาจึงให้หักกลบลบหนี้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7523/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อ การหักกลบลบหนี้ และการชดใช้ค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์
จำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 1 ถึงงวดที่ 9เรียงลำดับมา แม้ทุกงวดจะชำระไม่ตรงเวลา แต่โจทก์ก็รับไปโดยไม่มีข้อโต้แย้งแสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จึงไม่ถือว่าการชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงเวลาเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครั้งสุดท้ายงวดที่ 9 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 แต่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 ห่างจากวันชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายเพียง19 วัน เป็นการยึดรถคืนโดยไม่มีสิทธิจะกระทำได้ นอกจากนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังได้ตกลงไว้ว่า ในกรณีผู้เช่าไม่ใช้เงินค่าเช่าสองงวดติด ๆ กัน เมื่อโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ผู้เช่าละเลยไม่ปฏิบัติตามภายในกำหนด 30 วัน ผู้เช่ายอมให้เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกการเช่าและริบเงินที่ได้รับชำระแล้วและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินได้ทันที อีกทั้งโจทก์ก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายใน 30 วัน ก่อนจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่โจทก์มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติการชำระค่าเช่าซื้อภายใน30 วัน กลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาทันที การบอกเลิกสัญญาโดยผิดข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ชอบ
การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งเสียภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 เพิ่งมาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิยึดรถหลังจากถูกโจทก์ฟ้องและโจทก์ได้ยึดรถไปแล้ว 1 ปีเศษ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับรถคืนแล้ว โจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วแก่จำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถที่เช่าซื้อตั้งแต่วันทำสัญญาถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์แก่โจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
รถที่โจทก์ยึดคืนปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นเงิน 220,000 บาท และก่อนทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินดาวน์แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ไปแล้ว เป็นเงิน 200,000 บาท ถือได้ว่าเป็นการงานอันได้กระทำให้ เพราะเมื่อโจทก์ยึดรถคืนมาย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์กล่าวคือ ตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นส่วนประกอบของรถ ส่วนเงินดาวน์ก็เป็นส่วนหนึ่งของราคารถ โจทก์จึงต้องใช้คืนแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสามแต่การที่จำเลยที่ 1 ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มก็ดี ชำระเงินดาวน์ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 อยู่ด้วยในการที่นำรถไปใช้รับจ้างบรรทุกสิ่งของเป็นเวลาถึง 15 เดือนซึ่งรถย่อมมีการเสื่อมสภาพลง จึงต้องหักค่าเสื่อมราคาของรถออกเสียก่อน
ส่วนค่าเสียหายอย่างอื่นที่ต่างฝ่ายต่างเรียกร้องนั้น เมื่อสัญญาเช่าซื้อมิได้เลิกกันเพราะความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายจึงต่างไม่มีสิทธิเรียกให้อีกฝ่ายชำระ
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันที่จะต้องชำระหนี้เงินเป็นอย่างเดียวกัน และต่างฟ้องอีกฝ่ายหนึ่งให้รับผิดซึ่งศาลรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับคดี ศาลฎีกาจึงให้หักกลบลบหนี้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7496/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำพิพากษา: ศาลมีอำนาจยกเลิกคำสั่งงดบังคับคดีได้หากจำเลยยังไม่ปฏิบัติตาม
เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดบังคับให้จำเลยเปิดถนนพิพาทโดยให้จำเลยนำแผงเหล็กที่ปิดกั้นออกและขนย้ายวัสดุก่อสร้างบนถนนพิพาทออกไปให้จำเลยใช้ค่าทดแทนไปจนกว่าจะเปิดถนนพิพาทและขนย้ายวัสดุก่อสร้างเสร็จจำเลยเพียงแต่ขนย้ายวัสดุก่อสร้างออก เป็นการปฏิบัติส่วนหนึ่งตามคำพิพากษาเท่านั้น แต่จำเลยไม่รื้อรั้วกำแพงที่ปิดกั้นถนนพิพาทออก จึงมีผลเท่ากับจำเลยยังไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนที่ให้เปิดถนนพิพาท และการที่จำเลยที่ 3 สร้างรั้วกำแพงขึ้นใหม่ในถนนพิพาท เป็นการจงใจก่อเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากถนนพิพาทได้โดยปกติสุข ที่ศาลชั้นต้นให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการรื้อกำแพงดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้นำเงินวางศาลชำระค่าเสียหายและขนย้ายแผงเหล็กกับวัสดุก่อสร้างออกไปแล้ว ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้งดการบังคับคดีแล้ว แต่เมื่อศาลชั้นต้นเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีจึงย่อมมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องเกี่ยวกับการบังคับคดีได้ ตลอดจนมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่เคยอนุญาตให้งดการบังคับคดีด้วย การที่ศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสามยังปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ครบถ้วน จึงออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการรื้อกำแพงพิพาทตามคำขอของโจทก์ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นได้ยกเลิกคำสั่งที่อนุญาตให้งดการบังคับคดีไปโดยปริยายอยู่แล้ว โดยหาจำต้องให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนไม่
of 55