คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อธิราช มณีภาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 542 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7496/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยต้องเปิดถนนและรื้อกำแพง แม้จะชำระค่าเสียหายบางส่วนแล้ว
เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดบังคับให้จำเลยเปิดถนนพิพาท โดยให้จำเลยนำแผงเหล็กที่ปิดกั้นออกและขนย้ายวัสดุก่อสร้าง บนถนนพิพาทออกไปให้จำเลยใช้ค่าทดแทนไปจนกว่าจะเปิดถนนพิพาท และขนย้ายวัสดุก่อสร้างเสร็จ จำเลยเพียงแต่ขนย้าย วัสดุก่อสร้างออก เป็นการปฏิบัติส่วนหนึ่งตามคำพิพากษา เท่านั้น แต่จำเลยไม่รื้อรั้วกำแพงที่ปิดกั้นถนนพิพาทออก จึงมีผลเท่ากับจำเลยยังไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนที่ ให้เปิดถนนพิพาท และการที่จำเลยที่ 3 สร้างรั้วกำแพงขึ้นใหม่ ในถนนพิพาท เป็นการจงใจก่อเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ จากถนนพิพาทได้โดยปกติสุข ที่ศาลชั้นต้นให้ออกหมายตั้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการรื้อกำแพงดังกล่าว จึงชอบแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้นำเงินวางศาลชำระค่าเสียหายและขนย้ายแผงเหล็กกับวัสดุก่อสร้างออกไปแล้ว ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้งดการบังคับคดีแล้วแต่เมื่อศาลชั้นต้นเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีจึงย่อมมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องเกี่ยวกับการบังคับคดีได้ตลอดจนมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่เคยอนุญาตให้งดการ บังคับคดีด้วย การที่ศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสามยังปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ครบถ้วน จึงออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการรื้อกำแพงพิพาทตามคำขอของโจทก์ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นได้ยกเลิกคำสั่งที่อนุญาตให้งดการบังคับคดีไปโดยปริยายอยู่แล้ว โดยหาจำต้องให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7410/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีขอให้จดทะเบียนเช่าและเรียกค่าเสียหาย: ศาลพิจารณาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ และใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 735,000 บาท นับแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จะชำระเงินกินเปล่าให้แก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา 4,900,000 บาท หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 245,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและคืนเงินมัดจำ100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ตามคำฟ้องนี้คิดค่าขึ้นศาลแบ่งตามคำขอของโจทก์ได้ว่า การขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท การขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ735,000 บาท นับแต่เดือนสิงหาคม 2536 ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์คาดว่าจะก่อสร้างสถานประกอบการค้าเสร็จแล้วได้กำไรเป็นคำขอที่ให้จ่ายมีกำหนดระยะเวลาในอนาคต เสียค่าขึ้นศาล 100 บาท เมื่อจำเลยทั้งสองยอมจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จะให้เงินกินเปล่าตามสัญญาแก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน4,900,000 บาท เป็นจำนวนเงินที่โจทก์เสนอให้แก่จำเลยทั้งสอง มิใช่ขอให้บังคับจากจำเลยทั้งสอง จึงไม่ต้องนำเงินกินเปล่ามาคำนวณเป็นทุนทรัพย์เสียค่าขึ้นศาล ส่วนคำขอที่ว่าหากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ ก็ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 245,600,000 บาทและคืนเงินมัดจำ 100,000 บาท ตั้งแต่วันทำสัญญา เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 2.50 บาท ต่อทุก 100 บาทแต่ไม่เกิน 200,000 บาท แต่ถ้าคดีนั้นเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย ให้คิดค่าขึ้นศาล 2.50 บาท ทุก 100 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 200 บาท และไม่เกิน200,000 บาท หมายถึงว่าให้เสียค่าขึ้นศาลอัตราแบบคดีมีทุนทรัพย์แต่ไม่น้อยกว่า200 บาท โดยยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งบังคับให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินโดยรับเงิน 4,900,000 บาท จากโจทก์และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์หากไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินก็ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายเดือนละ50,000 บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ค่าขึ้นศาลให้ใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดี ผลตามคำพิพากษาที่จำเลยทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามก็คือ ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ การใช้ค่าขึ้นศาลแทนเกี่ยวกับการจดทะเบียนนั้น เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแบบคดีมีทุนทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชดใช้ค่าขึ้นศาลในคำขอนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด
คำขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์นั้น คำขอส่วนนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจากที่โจทก์เรียกค่าเสียหายเดือนละ 735,000 บาท ลดเหลือเดือนละ 50,000 บาท นับจากเวลาที่โจทก์คาดว่าจะก่อสร้างสถานประกอบการค้าเสร็จจะได้กำไร โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอนาคตไว้ 100 บาท โจทก์ชนะคำขออนาคตนี้ จำเลยทั้งสองจึงต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ 100 บาท
ส่วนคำขอที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้โจทก์ ก็ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 245,600,000บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้คืนมัดจำ 100,000 บาท เพียงอย่างเดียว มีผลเท่ากับโจทก์แพ้คดีในการเรียกค่าเสียหาย 245,600,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้ การคืนค่ามัดจำก็ต่อเมื่อไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้เท่านั้น เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้จดทะเบียนการเช่าที่ดินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว กรณีไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินไม่เกิดขึ้น จำเลยทั้งสองไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใช้ค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่รับผิดชอบใช้ค่าขึ้นศาลรวม 100 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7410/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลในคดีที่มีคำขอหลากหลายประเภท ศาลพิจารณาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ และใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 735,000 บาทนับแต่เดือน สิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จะชำระเงินกินเปล่าให้แก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา 4,900,000 บาท หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 245,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและคืนเงินมัดจำ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามคำฟ้องนี้คิดค่าขึ้นศาลแบ่งตามคำขอของโจทก์ได้ว่า การขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท การขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 735,000 บาท นับแต่เดือนสิงหาคม 2536ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์คาดว่าจะก่อสร้างสถานประกอบการค้าเสร็จแล้วได้กำไรเป็นคำขอที่ให้จ่ายมีกำหนดระยะเวลาในอนาคต เสียค่าขึ้นศาล 100 บาท เมื่อจำเลยทั้งสองยอมจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จะให้เงินกินเปล่าตามสัญญาแก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน 4,900,000 บาท เป็นจำนวนเงินที่โจทก์เสนอให้แก่จำเลยทั้งสอง มิใช่ขอให้บังคับจากจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องนำเงินกินเปล่ามาคำนวณเป็นทุนทรัพย์เสียค่าขึ้นศาล ส่วนคำขอที่ว่าหากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ ก็ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย245,600,000 บาท และคืนเงินมัดจำ 100,000 บาท ตั้งแต่วันทำสัญญา เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 2.50 บาท ต่อทุก 100 บาทแต่ไม่เกิน 200,000 บาท แต่ถ้าคดีนั้นเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย ให้คิดค่าขึ้นศาล 2.50 บาททุก 100 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 200 บาท และไม่เกิน200,000 บาท หมายถึงว่าให้เสียค่าขึ้นศาลอัตราแบบคดีมีทุนทรัพย์แต่ไม่น้อยกว่า 200 บาท โดยยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์ คดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งบังคับให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินโดยรับเงิน4,900,000 บาท จากโจทก์และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์หากไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินก็ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย ค่าขึ้นศาลให้ใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดี ผลตามคำพิพากษาที่จำเลยทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามก็คือ ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ การใช้ค่าขึ้นศาลแทนเกี่ยวกับการจดทะเบียนนั้น เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแบบคดีมีทุนทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชดใช้ค่าขึ้นศาลในคำขอนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด คำขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์นั้น คำขอส่วนนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจากที่โจทก์เรียกค่าเสียหายเดือนละ735,000 บาท ลดเหลือเดือนละ 50,000 บาท นับจากเวลาที่โจทก์คาดว่าจะก่อสร้างสถานประกอบการค้าเสร็จจะได้กำไรโจทก์เสียค่าขึ้นศาลอนาคตไว้ 100 บาท โจทก์ชนะคำขออนาคตนี้จำเลยทั้งสองจึงต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ 100 บาท ส่วนคำขอที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้โจทก์ ก็ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย245,600,000 บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้คืนมัดจำ 100,000 บาทเพียงอย่างเดียว มีผลเท่ากับโจทก์แพ้คดีในการเรียกค่าเสียหาย245,600,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้การคืนค่ามัดจำก็ต่อเมื่อไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้เท่านั้น เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้จดทะเบียนการเช่าที่ดินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว กรณีไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินไม่เกิดขึ้น จำเลยทั้งสองไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใช้ค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่รับผิดชอบใช้ค่าขึ้นศาลรวม 100 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7051/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญา, ความเสียหายจากการผิดสัญญาเช่า, และขอบเขตอำนาจศาลในการบังคับคดี
แม้ในสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท ข้อ 1 ระบุว่า "...ผู้ให้สัญญา(จำเลย) ยินยอมให้ผู้รับสัญญา (โจทก์) ขนย้ายทรัพย์สินทั้งหมดออกไปจากห้องเช่าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2531 โดยผู้ให้สัญญาได้ให้ค่าตอบแทนในการขนย้ายให้กับผู้รับสัญญาเป็นเงินจำนวน 400,000 บาท ในวันที่ทำสัญญานี้ โดยมอบให้จ.เป็นผู้เก็บรักษาไว้และจะมอบให้ผู้รับสัญญาเมื่อได้ส่งมอบห้องเช่าทั้งสามห้องคืนให้ผู้ให้สัญญาแล้ว" ก็ตาม แต่ในข้อ 5 ระบุว่า "คู่สัญญาตกลงดำเนินการตามข้อตกลงนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก" แสดงว่าข้อตกลงเกี่ยวกับเวลาตามข้อ 1 ไม่ใช่ข้อตกลงเด็ดขาด คงเป็นข้อตกลงในหลักการเบื้องต้นเท่านั้น แต่ข้อตกลงในข้อ 5 เป็นข้อตกลงที่เด็ดขาดว่าคู่สัญญาจะดำเนินการตามข้อตกลงนี้ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531หากพ้นกำหนดนี้จึงให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก ดังนั้น โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาจากข้อ 1 จนถึงข้อ 5 แล้ว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องและไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท
โจทก์ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ มุก ตุ๊กตาจีน และแจกันลายคราม การที่โจทก์ได้ติดต่อซื้อรถสามล้อเครื่องจำนวน 50 คัน จากบริษัทว.โดยได้วางเงินมัดจำไว้ 2,500,000 บาท ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่อยู่ในกิจการค้าขายของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติวงเงินกู้จากธนาคารทำให้โจทก์ไม่สามารถชำระเงินให้ผู้ขายรถสามล้อเครื่องจนผู้ขายริบมัดจำและทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่องก็ตาม กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น และไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดเแก่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยผู้ให้เช่าได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 222 จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าเสียหายตามที่โจทก์อ้าง
แม้ตามฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกริบมัดจำและขาดประโยชน์ที่จะได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่อง ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาในความเสียหายที่ไม่ได้รับประโยชน์จากทรัพย์ที่ถูกยึดก็ตาม แต่เมื่อตามคำฟ้องโจทก์กล่าวด้วยว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองตามคำฟ้องทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและตึกแถว กล่าวคือโจทก์ต้องสูญเสียความเชื่อถือจากธนาคารโดยไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารตามที่โจทก์ต้องการได้ ดังนี้พอถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะจำเลยทั้งสองยึดที่ดินและตึกแถวของโจทก์ ทำให้โจทก์ใช้ประโยชน์จากทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ ซึ่งค่าเสียหายนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยใช้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 222
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจัดการถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์หากจำเลยไม่ยอมถอนการยึดให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นเมื่อการบังคับคดีดังกล่าวเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลในคดีเดิม ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอในคดีนี้ให้บังคับจำเลยร่วมกันถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดในคดีดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7051/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการยึดทรัพย์และการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ ศาลพิจารณาตามหลักประมาทเล negligence และกำหนดค่าเสียหายตามสมควร
แม้ในสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท ข้อ 1 ระบุว่า "...ผู้ให้สัญญา (จำเลย) ยินยอมให้ผู้รับสัญญา (โจทก์) ขนย้ายทรัพย์สินทั้งหมดออกไปจากห้องเช่าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2531 โดยผู้ให้สัญญาได้ให้ค่าตอบแทนในการขนย้ายให้กับผู้รับสัญญาเป็นเงินจำนวน 400,000 บาท ในวันที่ทำสัญญานี้ โดยมอบให้ จ. เป็นผู้เก็บรักษาไว้และจะมอบให้ผู้รับสัญญาเมื่อได้ส่งมอบห้องเช่าทั้งสามห้องคืนให้ผู้ให้สัญญาแล้ว"ก็ตาม แต่ในข้อ 5 ระบุว่า "คู่สัญญาตกลงดำเนินการตามข้อตกลงนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก" แสดงว่าข้อตกลงเกี่ยวกับเวลาตามข้อ 1 ไม่ใช่ข้อตกลงเด็ดขาด คงเป็นข้อตกลงในหลักการเบื้องต้นเท่านั้น แต่ข้อตกลงในข้อ 5 เป็นข้อตกลงที่เด็ดขาดว่าคู่สัญญาจะดำเนินการตามข้อตกลงนี้ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้จึงให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก ดังนั้น โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาจากข้อ 1 จนถึงข้อ 5 แล้ว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องและไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท
โจทก์ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ มุกตุ๊กตาจีนและแจกันลายคราม การที่โจทก์ได้ติดต่อซื้อรถสามล้อเครื่องจำนวน 50 คัน จากบริษัท ว. โดยได้วางเงินมัดจำไว้2,500,000 บาท ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่อยู่ในกิจการค้าขายของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติวงเงินกู้จากธนาคารทำให้โจทก์ไม่สามารถชำระเงินให้ผู้ขายรถสามล้อเครื่องจนผู้ขายริบมัดจำและทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่องก็ตามกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น และไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยผู้ให้เช่าได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าเสียหายตามที่โจทก์อ้าง
แม้ตามฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกริบมัดจำและขาดประโยชน์ที่จะได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่อง ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาในความเสียหายที่ไม่ได้รับประโยชน์จากทรัพย์ที่ถูกยึดก็ตาม แต่เมื่อตามคำฟ้องโจทก์กล่าวด้วยว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองตามคำฟ้องทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและตึกแถว กล่าวคือโจทก์ต้องสูญเสียความเชื่อถือจากธนาคารโดยไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารตามที่โจทก์ต้องการได้ ดังนี้พอถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะจำเลยทั้งสองยึดที่ดินและตึกแถวของโจทก์ ทำให้โจทก์ใช้ประโยชน์จากทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ ซึ่งค่าเสียหายนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยใช้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจัดการถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์หากจำเลยไม่ยอมถอนการยึดให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นเมื่อการบังคับคดีดังกล่าวเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลในคดีเดิม ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอในคดีนี้ให้บังคับจำเลยร่วมกันถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดในคดีดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7051/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการยึดทรัพย์และการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ ศาลกำหนดค่าเสียหายตามความเหมาะสม
แม้ในสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท ข้อ 1 ระบุว่า "...ผู้ให้สัญญา (จำเลย) ยินยอมให้ผู้รับสัญญา (โจทก์) ขนย้ายทรัพย์สินทั้งหมดออกไปจากห้องเช่าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2531 โดยผู้ให้สัญญาได้ให้ค่าตอบแทนในการขนย้ายให้กับผู้รับสัญญาเป็นเงินจำนวน 400,000 บาท ในวันที่ทำสัญญานี้ โดยมอบให้ จ. เป็นผู้เก็บรักษาไว้และจะมอบให้ผู้รับสัญญาเมื่อได้ส่งมอบห้องเช่าทั้งสามห้องคืนให้ผู้ให้สัญญาแล้ว"ก็ตาม แต่ในข้อ 5 ระบุว่า "คู่สัญญาตกลงดำเนินการตามข้อตกลงนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก" แสดงว่าข้อตกลงเกี่ยวกับเวลาตามข้อ 1 ไม่ใช่ข้อตกลงเด็ดขาด คงเป็นข้อตกลงในหลักการเบื้องต้นเท่านั้น แต่ข้อตกลงในข้อ 5 เป็นข้อตกลงที่เด็ดขาดว่าคู่สัญญาจะดำเนินการตามข้อตกลงนี้ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้จึงให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก ดังนั้น โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาจากข้อ 1 จนถึงข้อ 5 แล้ว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องและไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท
โจทก์ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ มุกตุ๊กตาจีนและแจกันลายคราม การที่โจทก์ได้ติดต่อซื้อรถสามล้อเครื่องจำนวน 50 คัน จากบริษัท ว. โดยได้วางเงินมัดจำไว้2,500,000 บาท ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่อยู่ในกิจการค้าขายของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติวงเงินกู้จากธนาคารทำให้โจทก์ไม่สามารถชำระเงินให้ผู้ขายรถสามล้อเครื่องจนผู้ขายริบมัดจำและทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่องก็ตามกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น และไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยผู้ให้เช่าได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าเสียหายตามที่โจทก์อ้าง
แม้ตามฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกริบมัดจำและขาดประโยชน์ที่จะได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่อง ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาในความเสียหายที่ไม่ได้รับประโยชน์จากทรัพย์ที่ถูกยึดก็ตาม แต่เมื่อตามคำฟ้องโจทก์กล่าวด้วยว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองตามคำฟ้องทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและตึกแถว กล่าวคือโจทก์ต้องสูญเสียความเชื่อถือจากธนาคารโดยไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารตามที่โจทก์ต้องการได้ ดังนี้พอถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะจำเลยทั้งสองยึดที่ดินและตึกแถวของโจทก์ ทำให้โจทก์ใช้ประโยชน์จากทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ ซึ่งค่าเสียหายนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยใช้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจัดการถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์หากจำเลยไม่ยอมถอนการยึดให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นเมื่อการบังคับคดีดังกล่าวเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลในคดีเดิม ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอในคดีนี้ให้บังคับจำเลยร่วมกันถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดในคดีดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีจากสารบบเนื่องจากการถอนฟ้องและไม่มีคู่ความร่วม
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อปรากฏว่าคดีแพ่งเรื่องนี้โจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยไม่ค้าน และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความแล้วเช่นนี้ ไม่มีคู่ความที่ผู้ร้องสอดจะขอเข้าเป็นคู่ความร่วมอยู่อีกต่อไปแล้ว จึงไม่มีประโยชน์แก่คดีที่จะพิจารณาฎีกาของผู้ร้องสอดต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีจากสารความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีจากสารบบความ เมื่อโจทก์ถอนฟ้องและจำเลยไม่ค้าน ทำให้คำร้องสอดสิ้นประโยชน์
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อปรากฏว่าคดีแพ่งเรื่องนี้โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยไม่ค้าน และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความแล้วเช่นนี้ ไม่มีคู่ความที่ผู้ร้องสอดจะขอเข้าเป็นคู่ความร่วมอยู่อีกต่อไปแล้วจึงไม่มีประโยชน์แก่คดีที่จะพิจารณาฎีกาของผู้ร้องสอดต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ถอนฟ้องและไม่มีคู่ความอื่นที่ผู้ร้องสอดจะร่วมด้วย
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อปรากฏว่าคดีแพ่งเรื่องนี้โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยไม่ค้าน และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความแล้วเช่นนี้ ไม่มีคู่ความที่ผู้ร้องสอดจะขอเข้าเป็นคู่ความร่วมอยู่อีกต่อไปแล้วจึงไม่มีประโยชน์แก่คดีที่จะพิจารณาฎีกาของผู้ร้องสอดต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6694/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารและการกระทำอนาจารต่อเด็ก
จำเลยกับ พ.ได้พา ม.ผู้เยาว์อายุ 16 ปีเศษ และ ว.เพื่อนผู้เยาว์ไปที่บ้าน ส. ผู้เยาว์ขอให้จำเลยไปส่งผู้เยาว์ไปที่บ้าน ว. จำเลยไม่ยอมแต่กลับพาผู้เยาว์ไปที่บ้านพี่สาวของ พ.และให้ผู้เยาว์นอนค้างคืนที่บ้านพี่สาว พ.โดยจำเลยให้ผู้เยาว์นอนเตียงเดียวกับจำเลยตลอดทั้งคืน โดยจำเลยต้องการนอนกับผู้เยาว์ตามลำพัง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันไม่สมควรในทางเพศและเป็นการพรากผู้เยาว์ไปจากผู้ปกครองและดูแลเพื่อการอนาจารตาม ป.อ.มาตรา319 วรรคแรก
of 55