พบผลลัพธ์ทั้งหมด 542 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยหนังสือนาซาร์ (พินัยกรรมอิสลาม) ต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมร่วมพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นบิดามารดาโจทก์ได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า หนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลามเพราะผู้ทำไม่ได้เปล่งวาจากล่าว (ลาภาซ) แสดงเจตนาตามข้อความในหนังสือนาซาร์หรือกล่าวลาภาซไม่ถูกต้อง จึงมีปัญหาข้อกฎหมายว่าหนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลามหรือไม่ เมื่อโจทก์จำเลยเป็นอิสลามมิกชน และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานีการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามจึงต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 4 ศาลชั้นต้นจึงให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยว่า หนังสือนาซาร์ของโจทก์เป็นนาซาร์ที่มีเงื่อนไขและไม่เปล่งวาจากล่าว(ลาภาซ) ซึ่งเป็นบทบังคับให้ผู้กล่าวปฏิบัติตาม หนังสือนาซาร์ของโจทก์เป็นนาซาร์ที่ไม่สมบูรณ์ตามหลักศาสนาอิสลามคดีโจทก์จึงไม่อาจนำกฎหมายอิสลามว่าด้วยมรดกมาใช้บังคับ เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายอิสลามดะโต๊ะยุติธรรมจึงต้องลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย การลงชื่อของดะโต๊ะยุติธรรม จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกตามนาซาร์ (พินัยกรรมอิสลาม) และการครอบครองที่ดิน กรณีโอนไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายและสละการครอบครอง
ที่ดินพิพาทแปลงปลูกบ้านเป็นที่ดินมีโฉนด แม้บิดา จะได้ทำหนังสือนาซาร์ ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลาม ยกที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่มิได้จดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ การ ยกให้นี้จึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 สำหรับที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 การที่โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือรับการยกให้และรับหนังสือนาซาร์เก็บรักษาไว้เอง ไม่ถือว่าเป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้และแม้โจทก์ได้รับการให้เมื่อปี 2508 ครอบครองทำนาอยู่2 ปี แล้วย้ายไปอยู่บ้านสามีเมื่อปี 2510 แต่ในปี 2522จำเลยยื่นแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ทางราชการได้ประกาศเรื่องราวที่จำเลยขอออก น.ส.3 ก. ตามระเบียบแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงออก น.ส.3 ก. ให้แก่จำเลยดังนี้การที่จำเลยได้นำที่นาไปออก น.ส.3 ก. ได้โดยโจทก์มิได้คัดค้านแสดงว่าแม้โจทก์จะเคยครอบครองที่นานี้มาก่อนโจทก์ก็ได้สละการครอบครองนั้นแล้ว ที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาจึงเป็นของจำเลย โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น บิดามารดาโจทก์ได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินให้แก่โจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่า หนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลาม เพราะผู้ทำไม่ได้เปล่งวาจากล่าว(ลาภาซ)แสดงเจตนาตามข้อความในหนังสือนาซาร์ หรือกล่าวลาภาซ ไม่ถูกต้อง ดังนี้ จึงมีปัญหาที่คู่ความโต้เถียงกันในปัญหาข้อกฎหมายว่าหนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลามหรือไม่ เมื่อโจทก์จำเลยเป็นอิสลามมิกชนและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานีการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามดังกล่าวจึงต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489มาตรา 4 ศาลชั้นต้นจึงให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ และเมื่อดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายอิสลามเช่นนี้ ดะโต๊ะยุติธรรมจึงต้องลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย การลงชื่อของดะโต๊ะยุติธรรมจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายตามสมควร: การพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์, ความยากง่ายของคดี, และอายุความค่าจ้าง
บันทึกข้อตกลงค่าจ้างว่าความที่ระบุว่า ค่าทนายตกลงกันตามสมควรภายหลังจากศาลชั้นต้นตัดสินหรือประนีประนอมยอมความนั้น คำว่า ตามสมควรย่อมหมายถึงไม่ได้กำหนดจำนวนแน่นอนว่าเป็นเท่าใด แต่ให้กำหนดโดยคำนึงถึงจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องและความยากง่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีและการงานที่โจทก์ได้ปฏิบัติไปแล้วในการว่าความให้จำเลยด้วย ซึ่งเมื่อทั้งโจทก์และจำเลยมิได้มีข้อตกลงกำหนดจำนวนเงินไว้ชัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกันแล้วก็ต้องถือเอาจำนวนพอสมควรเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาค่าจ้างว่าความ
ศาลชั้นต้นพิพากษาและมีการอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม2533 แต่มีการอุทธรณ์อยู่ แสดงว่าจำเลยตกลงให้โจทก์ว่าความในชั้นอุทธรณ์ด้วย สิทธิเรียกร้องค่าว่าความของโจทก์จึงยังไม่เริ่มนับ ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาและอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2536 แล้ว จำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้แก้ฎีกาให้จำเลย สิทธิเรียกร้องค่าจ้างว่าความจึงเริ่มนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 จึงไม่เกิน 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(16)
ศาลชั้นต้นพิพากษาและมีการอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม2533 แต่มีการอุทธรณ์อยู่ แสดงว่าจำเลยตกลงให้โจทก์ว่าความในชั้นอุทธรณ์ด้วย สิทธิเรียกร้องค่าว่าความของโจทก์จึงยังไม่เริ่มนับ ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาและอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2536 แล้ว จำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้แก้ฎีกาให้จำเลย สิทธิเรียกร้องค่าจ้างว่าความจึงเริ่มนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 จึงไม่เกิน 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(16)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย การชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงงวด และค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์
สัญญาเช่าซื้อกำหนดว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันหรือปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกัน หรือโจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ แต่โจทก์ยอมรับชำระค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระไม่ตรงตามงวดโดยที่โจทก์มิได้โต้แย้ง แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอางวดหรือระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อเป็นสิ่งสำคัญในการชำระค่าเช่าอันเป็นการทำให้ผิดสัญญาเช่าซื้อ ถือว่าจำเลยที่ 1 ยังมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยที่ 1 ก่อนที่โจทก์ยึดรถยนต์สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่เลิกกัน ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนโดยจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายคู่สัญญาต้องคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยที่ 1 รับผิดเพียงชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษยาเสพติด: เปลี่ยนจาก พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ตามกฎหมายที่คุ้มครองจำเลย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง มิได้มีไว้ในครอบครองเพื่อขาย จึงมิได้อยู่ในความหมายของความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 3 แห่งพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534และไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 10 ที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยและปรับบทลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534มาตรา 10 มาด้วยนั้นยังไม่ถูกต้อง แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง โดยไม่ปรับลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าว
ขณะจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 0.773 กรัม เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ต้องรับโทษตาม มาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท ต่อมาเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522เท่านั้น จึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 0.773 กรัมไม่ถึง 20 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทเท่านั้น ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518อีกต่อไป และเมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิด จึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 67 ตาม ป.อ.มาตรา 3 ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ.มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195
ขณะจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 0.773 กรัม เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ต้องรับโทษตาม มาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท ต่อมาเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522เท่านั้น จึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 0.773 กรัมไม่ถึง 20 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทเท่านั้น ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518อีกต่อไป และเมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิด จึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 67 ตาม ป.อ.มาตรา 3 ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ.มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี และการปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท2คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์0.773กรัมเกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้เป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯต้องรับโทษตามมาตรา106ทวิระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท1ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯเท่านั้นจึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวนเป็นสารบริสุทธิ์เพียง0.773กรัมไม่ถึง20กรัมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษมาตรา67ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯอีกต่อไปและเมื่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯมาตรา67ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา106ทวิซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิดจึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯมาตรา67ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา225ประกอบมาตรา195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4261-4264/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนการบังคับคดีเมื่อมีการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(3) ได้ในสองกรณี คือ คำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด หรือหมายบังคับคดีได้ถูกยกเลิกเสีย แต่คำพิพากษาตามยอมระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ถูกกลับในชั้นที่สุด ทั้งจำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์แล้วย่อมถือว่าโจทก์และจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถือว่ามีการบังคับคดีที่กำลังดำเนินการอยู่ที่ศาลจะเพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225-4226/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: พยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักกว่าโจทก์แม้พยานโจทก์เบิกความไม่ตรงกัน
การที่ อ. พยานโจทก์เบิกความไม่ตรงกับที่โจทก์และพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความ แต่คำเบิกความของ อ. กลับเจือสมกับที่จำเลยให้การ ทำให้ข้อต่อสู้และพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานโจทก์นั้น หากโจทก์เห็นว่า อ. ซึ่งเป็นพยานที่ฝ่ายโจทก์อ้างมาเบิกความเป็นปรปักษ์แก่โจทก์เอง โจทก์ก็อาจขออนุญาตต่อศาลเพื่อซักถาม อ. เสมือนหนึ่งเป็นพยานซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 วรรคหก แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขออนุญาตต่อศาลเพื่อซักถาม อ. พยานโจทก์เสมือนหนึ่งเป็นพยานที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมา ดังนี้จะถือว่า อ. เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อโจทก์ยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225-4226/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: พยานเบิกความขัดแย้งกับฝ่ายฟ้อง ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานและข้อต่อสู้ที่น่าเชื่อถือกว่า
การที่ อ. พยานโจทก์เบิกความไม่ตรงกับที่โจทก์และพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความ แต่คำเบิกความของ อ. กลับเจือสมกับที่จำเลยให้การ ทำให้ข้อต่อสู้และพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานโจทก์นั้น หากโจทก์เห็นว่า อ. ซึ่งเป็นพยานที่ฝ่ายโจทก์อ้างมาเบิกความเป็นปรปักษ์แก่โจทก์เอง โจทก์ก็อาจขออนุญาตต่อศาลเพื่อซักถาม อ. เสมือนหนึ่งเป็นพยานซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 วรรคหก แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขออนุญาตต่อศาลเพื่อซักถาม อ. พยานโจทก์เสมือนหนึ่งเป็นพยานที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมา ดังนี้จะถือว่า อ. เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อโจทก์ยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างที่มีข้อผิดหลงเล็กน้อย และอำนาจของศาลฎีกาในการแก้ไข
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดในค่าซ่อมรถให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 100,000 บาท และรับผิดในค่าเสื่อมราคาและในค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 รวมจำนวน 121,500 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยกำหนดให้โจทก์ที่ 2 รับผิดในค่าซ่อมรถจำนวน 100,000 บาท ค่าเสื่อมราคาและค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้ารวมจำนวน 30,000 บาท แล้ว แต่ในคำพิพากษากลับระบุให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินจำนวน 100,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 และชำระเงินจำนวน 30,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เช่นนี้ ย่อมเป็นการผิดหลงไปเล็กน้อยชอบที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้นได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีก เช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา (ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีก เช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา (ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143