พบผลลัพธ์ทั้งหมด 542 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและอายุความสัญญาเช่าซื้อ: สถานที่ทำสัญญา, การเรียกร้องค่าเสียหายหลังเลิกสัญญา
ศ.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในหนังสือสัญญาเช่าซื้อและหนังสือค้ำประกันได้ทำหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวไปให้จำเลยทั้งสองลงชื่อต่อหน้า ศ.ที่จังหวัดระนอง เสร็จแล้วจึงนำกลับไปให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นจังหวัดที่โจทก์มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมสมบูรณ์ทันทีที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อ ปรากฏว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาของโจทก์ ดังนี้ต้องถือว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 69 และจังหวัดสุราษฎร์ธานีย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และมาตรา 5
อายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 563 ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ คดีนี้ได้ความว่า หลังจากโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนได้แล้วได้นำรถไปขายทอดตลาด เมื่อนำเงินที่ขายทอดตลาดได้ไปหักออกจากเงินลงทุนแล้วเงินยังขาดอยู่ ดังนี้เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วและเป็นราคารถที่ยังขาดอยู่ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความหกเดือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 563แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
อายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 563 ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ คดีนี้ได้ความว่า หลังจากโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนได้แล้วได้นำรถไปขายทอดตลาด เมื่อนำเงินที่ขายทอดตลาดได้ไปหักออกจากเงินลงทุนแล้วเงินยังขาดอยู่ ดังนี้เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วและเป็นราคารถที่ยังขาดอยู่ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความหกเดือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 563แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง-อายุความค่าเสียหายเช่าซื้อ: ศาลตัดสินตามภูมิลำเนา-เหตุเกิดที่, อายุความ 10 ปีเมื่อเกิดหลังเลิกสัญญา
ศ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในหนังสือสัญญาเช่าซื้อและหนังสือค้ำประกันได้ทำหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวไปให้จำเลยทั้งสองลงชื่อต่อหน้าศ.ที่จังหวัดระนองเสร็จแล้วจึงนำกลับไปให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีอันเป็นจังหวัดที่โจทก์มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ดังนั้นสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมสมบูรณ์ทันทีที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อปรากฏว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาของโจทก์ดังนี้ต้องถือว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา69และจังหวัดสุราษฎร์ธานีย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)และมาตรา5 อายุความ6เดือนนับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา563ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่หรือเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่คดีนี้ได้ความว่าหลังจากโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนได้แล้วได้นำรถไปขายทอดตลาดเมื่อนำเงินที่ขายทอดตลาดได้ไปหักออกจากเงินลงทุนแล้วเงินยังขาดอยู่ดังนี้เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วและเป็นราคารถที่ยังขาดอยู่กรณีไม่ต้องด้วยอายุความหกเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา563แต่ต้องใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล, อายุความค่าเสียหายสัญญาเช่าซื้อ: มูลคดีเกิดที่ใด, นับอายุความอย่างไร
ศ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในหนังสือสัญญาเช่าซื้อและหนังสือค้ำประกันได้ทำหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวไปให้จำเลยทั้งสองลงชื่อต่อหน้า ศ.ที่จังหวัดระนอง เสร็จแล้วจึงนำกลับไปให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นจังหวัดที่โจทก์มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมสมบูรณ์ทันทีที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อ ปรากฏว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาของโจทก์ดังนี้ต้องถือว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 69 และจังหวัดสุราษฎร์ธานีย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) และมาตรา 5 อายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ คดีนี้ได้ความว่า หลังจากโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนได้แล้วได้นำรถไปขายทอดตลาด เมื่อนำเงินที่ขายทอดตลาดได้ไปหักออกจากเงินลงทุนแล้วเงินยังขาดอยู่ ดังนี้เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วและเป็นราคารถที่ยังขาดอยู่ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความหกเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 แต่ต้องใช้อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปรสภาพบริษัท, อำนาจฟ้อง, และการยอมรับเอกสาร - การบังคับจำนอง
โจทก์ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัดเป็นการแปรสภาพไปตามกฎหมายไม่ใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306จึงไม่ต้องทำหลักฐานการโอนหนี้เป็นหนังสือเมื่อโจทก์ส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจต่อศาลจำเลยมิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวแต่ประการใดถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาหนังสือมอบอำนาจนั้นถูกต้องแล้วศาลรับฟังเอกสารนั้นได้ ปัญหาว่าจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือทวงถามและบอกกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองจากโจทก์แล้วหรือไม่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ไว้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลฟ้องคดีสัญญาประกันภัย: สถานที่เกิดเหตุเป็นเกณฑ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์โดยสารประจำทางหมายเลขทะเบียน 10 - 2549 ขอนแก่น จากโจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะชดใช้และให้ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวแก่โจทก์ต่อมารถยนต์คันดังกล่าวไปเกิดอุบัติเหตุชนรถจักรยานยนต์ที่จังหวัดขอนแก่น ทำให้ฝ่ายรถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายรถจักรยานยนต์ แล้วเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่โจทก์ได้ชดใช้ไป แต่จำเลยไม่ชำระให้ จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัยไว้อยู่ที่จังหวัดขอนแก่น จำเลยมีตัวแทนและสาขาสำนักงานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ดังนี้ แสดงว่ามูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยเกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่น ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันภัยรายนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ที่ศาลจังหวัดขอนแก่นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลฟ้องคดีประกันภัย: มูลคดีเกิดขึ้นที่ใด?
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์โดยสารประจำทางหมายเลขทะเบียน10-2549ขอนแก่นจากโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องชดใช้และให้ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวแก่โจทก์ต่อมารถยนต์คันดังกล่าวไปเกิดอุบัติเหตุชนรถจักรยานยนต์ที่จังหวัดขอนแก่นทำให้ฝ่ายรถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายรถจักรยานยนต์แล้วเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่โจทก์ได้ชดใช้ไปแต่จำเลยไม่ชำระให้จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัยไว้อยู่ที่จังหวัดขอนแก่นจำเลยมีตัวแทนและสาขาสำนักงานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่นดังนี้แสดงว่ามูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยเกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่นซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่นถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันภัยรายนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดขอนแก่นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลฟ้องคดีประกันภัย: สถานที่เกิดเหตุเป็นที่ตั้งมูลคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์โดยสารประจำทางหมายเลขทะเบียน 10-2549 ขอนแก่น จากโจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องชดใช้และให้ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวแก่โจทก์ ต่อมารถยนต์คันดังกล่าวไปเกิดอุบัติเหตุชนรถจักรยานยนต์ที่จังหวัดขอนแก่น ทำให้ฝ่ายรถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายรถจักรยานยนต์แล้วเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่โจทก์ได้ชดใช้ไป แต่จำเลยไม่ชำระให้ จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัยไว้อยู่ที่จังหวัดขอนแก่น จำเลยมีตัวแทนและสาขาสำนักงานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ดังนี้ แสดงว่ามูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยเกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่น ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันภัยรายนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดขอนแก่นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกหลายกระทงต้องไม่เกิน 50 ปี แม้คดีเกี่ยวพันกัน ศาลต้องปรับแก้หมายจำคุกให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คดีทั้งสามสำนวนนี้เกิดเหตุในคืนเดียวกัน โดยจำเลย ทั้งสามกับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ทั้งสามคดีติดต่อกันและจำเลยทั้งสามก็ถูกจับในวันเดียวกันทั้งสามสำนวนคดีทั้งสามสำนวนจึงเกี่ยวพันกันพอที่จะฟ้องรวมกันหรือพิจารณาพิพากษารวมกันได้ แม้โจทก์จะแยกฟ้องจำเลยที่ 2และที่ 3 เป็นสามสำนวนก็ตาม แต่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2และที่ 3 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปเช่นนี้โทษจำคุกที่ลงทุกกระทงเมื่อรวมทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมคดีปล้นทรัพย์หลายกรรม, โทษจำคุกรวมตาม ป.อ. มาตรา 91
คดีทั้งสามสำนวนนี้เกิดเหตุในคืนเดียวกัน โดยจำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ทั้งสามคดีติดต่อกัน และจำเลยทั้งสามก็ถูกจับในวันเดียวกันทั้งสามสำนวน คดีทั้งสามสำนวนจึงเกี่ยวพันกันพอที่จะฟ้องรวมกันหรือพิจารณาพิพากษารวมกันได้ แม้โจทก์จะแยกฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นสามสำนวนก็ตาม แต่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปเช่นนี้โทษจำคุกที่ลงทุกกระทงเมื่อรวมทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกินกำหนดตาม ป.อ.มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์: ศาลพิจารณาความเพียงพอของทรัพย์สินจำเลยในการชำระหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องได้นำยึดที่ดินของจำเลยซึ่งติดจำนอง ก. เป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยได้ขอกู้เพื่อซื้อที่ดินเป็นเงิน 500,000 บาทมียอดหนี้จำนองถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2534 เป็นเงิน 410,000 บาทและต่อมามียอดหนี้ค้างเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2537 เพียง 247,000บาท เท่านั้น แสดงว่าราคาที่แท้จริงของที่ดินแปลงนี้น่าจะมากกว่า500,000 บาท ตามที่ได้จดทะเบียนจำนองกับ ก.ไว้ และหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยต้องชำระให้ผู้ร้องนับถึงวันที่ศาลมีคำสั่งคำร้องของผู้ร้องคดีนี้คิดเป็นเงินประมาณ 257,760 บาท จึงยังถือไม่ได้ว่าทรัพย์ที่ผู้ร้องยึดไว้ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษาแม้ทรัพย์ที่ยึดมีการร้องขัดทรัพย์ แต่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าทรัพย์ที่ยึดไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 ทรัพย์ที่ยึดจึงยังเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีจึงยังไม่ต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสอง ที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้